Switch to full style
รวมบทความที่น่าสนใจต่าง ๆ จากนักเขียนชื่อดัง และ ผู้ที่ทรงภูมิความรู้มากมาย
ตอบกระทู้

เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:34 pm

khooor01.jpg
khooor01.jpg (33.04 KiB) เปิดดู 1561 ครั้ง


สำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง ตักกสิลาทางไสยเวทแห่งภาคใต้สยามประเทศไทย
: มหาวิชชาไลยพุทธาคม แบบพราหมณ์-ฮินดู พุทธมหายานศรีวิไชยในอดีตกับปัจจุบันที่คงอยู่ในความไหวเปลี่ยน


(ทุ) เขาอ้อคดีศึกษา ๑ : ประวัติศาสตร์และโบราณคดี


วัดเขาอ้อ เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่ง ที่มีความสำคัญทางด้านศิลปะและโบราณคดี ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ชาวพัทลุงเชื่อกันว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีชื่อเสียงทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์มาตั้งแต่โบราณกาล

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ท่านเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อหลายต่อหลายรูป ล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไสยศาสตร์ วิชาการ เวทมนตร์ และคาถาต่างๆ จึงได้รับการรักษาถ่ายทอดสืบต่อกันมามิได้ขาดสาย จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ

ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของวัดเขาอ้อที่นิยมใช้ประกอบพิธีกรรม ที่สำคัญมีอยู่ ๔ พิธี คือ


๑. พิธีเสกว่านให้กิน ทำโดยการนำว่านที่เชื่อว่ามีสรรพคุณทางด้านอยู่ยง คงกระพัน มาลงอักขระเลขยันต์ แล้วนำไปปลุกเสกด้วยอาคมตามหลักไสยศาสตร์ หลังเสร็จพิธีจะนำมาแจกจ่ายให้กิน

๒. พิธีหุงข้าวเหนียวดำ ทำโดยนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านต่างๆ ไม่น้อยกว่า ๑๐๘ ชนิด มาต้มเอาน้ำยาใช้หุงกับข้าวเหนียวดำ เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้วนำไปเข้าพิธีปลุกเสก ก่อนนำมาป้อนให้กิน

๓. พิธีเสกน้ำมันงาดิบ ทำโดยใช้นำน้ำมันงาดิบหรือน้ำมันยางแดงผสมว่าน พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีนั่งบริกรรมคาถาจนน้ำมันแห้ง แล้วจึงนำมาป้อนให้กิน

๔. พิธีแช่ว่านยา ทำโดยให้ผู้ต้องการเข้าประกอบพิธีกรรม ลงไปนอนแช่ในน้ำว่านยา ที่ได้ปลุกเสกตามหลักไสยศาสตร์ จากพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมมาแล้ว

เชื่อกันว่าศิษย์จากสำนักวัดเขาอ้อที่ได้เล่าเรียนวิชา และผ่านพิธีกรรมต่างๆ ทางไสยศาสตร์ที่กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมมีพลังร่างกายที่คงกระพัน

สำนักวัดเขาอ้อ ตามตำนานกล่าวว่า ภูเขาอ้อเป็นบรรพตแห่งพราหมณ์หรือฤาษีผู้ทรงวิทยาคุณใช้เป็นที่พำนักเพื่อบำเพ็ญพรตและตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้แสวงหาวิชาเพื่อใช้ในการปกครองและเลี้ยงชีพ ตามตำราพระธรรมศาสตร์ ตำราอาถรรพเวท ตำราพิชัยสงครามและอายุรเวท ต่อมาเมื่ออิทธิพลของพราหมณ์ลดบทบาทลง วิชาของเขาอ้อได้ถูกถ่ายทอดสู่พระภิกษุ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์วัดเขาอ้อ มีปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุง ในเรื่องการตั้งเมืองพัทลุง ต่อมาอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ “พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าเขาอ้อ” และมีกล่าวถึงวีรกรรมของท่านมหาช่วย คราวสงครามเก้าทัพต้นรัตนโกสินทร์ ในหนังสือ “ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕, จดหมายเหตุของหลวงอุดมสมบัติ ต่อมาได้มีการจัดทำหลักฐานล่าสุดในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ โดยสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

หลักฐานทางโบราณคดีภายในวัดเขาอ้อภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์ คือ ถ้ำฉัททันต์ พระพุทธรูปภายในถ้ำ ซากเจดีย์ ซากรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ๑ องค์ และหล่อด้วยเงิน ๑ องค์ ชาวบ้านขนานพระนามเรียกกันว่า “เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ” อุโบสถมหาอุด รูปปั้นพระอาจารย์ทองหูยานภายในถ้ำ และ “เต้พ่อท่าน” (กุฏิเจ้าอาวาส) กับ "บัว" (เจดีย์บรรจุกระดูกอดีตเจ้าอาวาส) ซึ่งมาในสมัยหลวงพ่อกลั่น เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:39 pm

ติดตามอ่านเรื่องราวสำนักเขาอ้อ เมืองพัทลุง ได้ครับ
จะทยอยลงเรื่อยๆ

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:40 pm

ได้ความรู้ดีมากครับ ขอบพระคุณมาก แต่อยากรบกวนให้มาต่ออีกน่ะ สะดวกไหมเอ่ย ?

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:45 pm

@**...ขอบคุณค่ะ..สำหรับเรื่องราวความรู้ของสายเขาอ้อ จะรอ..จะรอ..อ่านตอนต่อไปนะคะ :D :D

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:51 pm

วันนี้จะลง ๑ ชุดบทความ รวม ๓ ตอนครับ

******* สำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง : มหาวิชชาไลยพุทธาคม แบบพราหมณ์-ฮินดู พุทธมหายานศรีวิไชยในอดีตกับปัจจุบันที่คงอยู่ในความไหวเปลี่ยน ๑-๓ *******

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 9:58 pm

ขออนุญาตเซฟเก็บไว้อ่านครับ ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆ ครับผม :D

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

พฤหัสฯ. 16 ต.ค. 2008 10:06 pm

อนุญาต/เผยแพร่เพื่อการศึกษาเรียนรู้-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
นำไปเผยแพร่แหล่งใด แจ้งบอกเล่า อ้างอิงได้ครับ

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 12:02 am

นำภาพพระอาจารย์ทองเฒ่า
มาฝากกันครับ....ไฟล์ขนาดใหญ่โหลดที่นี่ครับ---->


http://picasaweb.google.com/buddhanormo ... _TongTaou#

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 12:49 am

ตำนานสำนักเขาอ้อ


เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่นเนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมาก ตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบัน ประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณส่วนนั้น (เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤาษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำบนเขาอ้อบำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์) แล้วได้ถ่ายทอดวีชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจ ซึ่งตามวรรณะแล้วพราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์หรือวรรณะกษัตริย์และลูกหลานผู้นำเพื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สำนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆ สำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ


พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมาซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้คณาศิษย์ นอกจากวิชาในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศสาตร์แล้วก็ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยามการจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนไปถึงไสยเวทและการแพทย์ ตามตำนานบอกวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสาย สำนักเขาอ้อในสมัยนั้นเป็นสำนักทิศาปาโมกข์จึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ


การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นท่านแล้วสถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังล่างไว้ที่นั้น สถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้พราหมณ์ผู้เฒาท่านนั้นจึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดและรักษาสถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้ว


บริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ “วัดน้ำเลี้ยว” มหาพราหมณ์ทั้งสองท่านเล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้น การที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดีท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยวให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่านแล้วมอบ


คำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ


พระภิกษุรูปแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า “ทอง” ส่วนจะทองอะไรนั้นสุดจะเดาได้เพราะวัดแห่งนี้ช่างอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป


ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่าน ภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลื่องไปทั่ว


ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะห์กันด้วยเหตุผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มาก มีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ


๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่


วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้นส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนา อีกด้านเป็นคลองใหญ่ อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมัยนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้ พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต


๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ “ไสยเวท”


เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวทแต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดถึงขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวทคือคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ มี ๓ ส่วน คือ


๑) ฤคเวท เป็นคำภีร์ที่รวบรวมบทสรรเสริญเทพเจ้า

๒) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ส่วนรวมบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ

๓) สามเวท เป็นส่วนที่รวบรวมบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ


นอกจากคัมภีร์สามส่วนนี้ ต่อมาพราหมณ์ได้เพิ่มคำภีร์สำคัญเข้ามาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมวิชาเกี่ยวกับไสยเวทและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรียกว่า “อถรรพเวท”


๓. วัตถุมงคลของสำนัก วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังของสำนักเขาอ้อแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ กล่าวคือ สมัยก่อนไม่มีการทำรูปพระเครื่องหมายถึงการทำรูปพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ หากแต่ทำเป็นของขลังอย่างอื่นแทน เป็นต้นว่า ตะกรุด คต ฯลฯ อาจจะเป็นพระเครื่องรางนั้นสืบทอดต่อมาจากพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดจริงๆ จะไม่ทำเป็นรูพระ

ในขณะที่สำนักอื่น ๆ ในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียง ล้วนมีหลักฐานพระเครื่องเป็นรูปพระทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นพระร่วง, พระซุ้มกอ, พระคง, พระนางพญา,พระชินเขียวต่าง ๆ ฯลฯ ที่มีการขุดค้นพบ

แต่ต่อมาพระภิกษุรุ่นหลัง ๆ ในสำนักเขาอ้อได้เริ่มทำเป็นพระบ้างแล้ว โดยทำเป็นรูปบูรพาจารย์ของสำนักแห่งนี้ เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์ทองหูยาน พระอาจารย์ปาล เป็นต้น และได้ทำมาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


ด้วยจุดน่าสังเกตดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้ตำนานดังกล่าวมีส่วนน่าเชื่อถืออยู่ไม่น้อย

+

+






(คัดจากหนังสือ “เขาอ้อ วิทยาลัยไสยเวทแห่งสยาม”
เวทย์ วรวิทย์ ค้นคว้า-เรียบเรียง
สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม)

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 1:08 am

ความรู้ตรึมครับ จะติดตามอ่านต่อไปครับผม :shock:

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 1:41 am

อืม....
นับถือครับนับถือ...เขียนได้เยี่ยมครับ
รบกวนเขียนเรื่อยๆ นะครับ.....
เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับเขาอ้อ..
เป็นเรื่องที่น่าศึกษาครับ :P

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 12:29 pm

ขอบคุณคับ

สำหรับข้อมูลดีๆๆๆ
แล้วมาเขียนให้อ่าน อีกนะคับ



ขอบคุณ คับ

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 9:31 pm

ติดตามอ่าน--

๕ พระอาจารย์อุปัชฌาย์ สายสำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง (๑)
post2019.html#p2019
๕ พระอาจารย์อุปัชฌาย์ สายสำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุง (๒)
post2020.html#p2020

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

อาทิตย์ 19 ต.ค. 2008 8:58 am

วัดเส้าหลินแห่งภาคใต้ประเทศไทย ทั้งบุ๋น และบู๊

Re: เขาอ้อคดีศึกษา ๑

อาทิตย์ 19 ต.ค. 2008 5:24 pm

"ในถ้ำ คือ หนทางแสวงหา บนยอดเขาอ้อ คือ พระนิพพาน"
ตอบกระทู้