บทสวดพระคาถาพุทธาภิเสก : สิกขาบทพุทธบริษัท (เล่าความพุทธธรรม ๑) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
พุทธาทิจโจ มะหาเตโช ธัมมะจันโท ระสาหะโร
สังฆะตาระคะโณ เสฏโฐ อัมเห รักขันตุ ปายะโต ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ พุทโธ วิยะ พุทธะรูปานิปิ
มะหาเตชานิ มะหานุภาวานิ ภะวันตุ ยาวะ สาสะนัง ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา
มะนุสสัตตาทิอัฏฐะวิธาภินิหาระสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทานะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทานะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทานะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สีละปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สีละอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สีละปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เนกขัมมะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เนกขัมมะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโนฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ปัญญาปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ปัญญาอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ปัญญาปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา วิริยะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา วิริยะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา วิริยะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ขันติปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ขันติอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ขันติปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สัจจะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สัจจะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สัจจะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อะธิฏฐานะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อะธิฏฐานะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อะธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโนฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เมตตาปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เมตตาอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา เมตตาปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อุเปกขาปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อุเปกขาอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา อุเปกขาปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทะสะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทะสะอุปะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะปาระมิสัมปันโน ฯ
นิสสังสะยัง โส โข โน ภะคะวา สะมะติงสะปาระมิสัมปันโน ฯ
บทสวดพุทธาภิเสก ที่พระคณาจารย์ ๔ รูปนั่งสาธยายเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีพุทธาภิเสก เทวาภิเสกที่เราได้เห็นกันในยุคสมัยแห่งจตุคามรามเทพ และทั้งก่อนหน้านั้น นับว่าบทสวดนี้เป็นยอดพระพุทธมนต์ที่เป็นสิกขาบทพุทธบริษัท ที่มีความยาวอย่างยิ่ง
ในแต่ละท้องถิ่น หรือแต่ละวัดก็จะมีบทสวดที่แปลกต่างกันไป เพราะบทสวดพุทธาภิเสกนี้มีหลายฉบับ คัดลอกต่อๆ กันมา มีบางตอน บางช่วงแตกต่างกันบ้าง
ฉบับที่ได้นำเสนอนี้ เป็นฉบับที่ใช้สวดโดยศิษย์สายสำนักวัดเขาอ้อ ตรวจทานชำระครั้งแรกโดย พระมหาศุภกร ธมฺมสาโร (น.ธ.เอก,ป.ธ.๔) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ และต่อมาพระมหาสุวรรณ อธิวโร (ป.ธ.๗) วัดบ้านสวน ควนขนุน พัทลุง ได้จัดพิมพ์เป็นฉบับคอมพิวเตอร์และตรวจชำระอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘
หลายท่านที่เคยได้เห็น ได้ฟังแล้วคิดว่านี้เป็นเพียงบทที่พระท่านสวดในพิธีเพื่อให้เกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์อำนวยอิทธิผลแก่วัตถุมงคลและแก่ผู้รับวัตถุมงคลนั้นๆ ไป บูชาเท่านั้น
แท้ที่สุดแล้วบทสวดนี้ ท่านโบราณาจารย์ ท่านประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สาธยาย ทรงจำและน้อมนำไปปฏิบัติ
แม้เพียงได้ฟัง ได้สาธยายสวดท่องบ่น จิตใจก็สงบรำงับ แต่เมื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติตามแล้ว อิทธิผลเกิดแก่ตนยิ่งมหาศาล
ท่านบอกเล่าถึงพระพุทธคุณ ๙ ประการ เพื่อให้เรานำไปปฏิบัติ ดังนี้ –
๑. (อะ) อะระหัง - (ทำใจอย่าให้เศร้าหมอง,ห่างไกลจากกิเลส)
๒. (สัง) สัมมาสัมพุทโธ – (พินิจตรองรู้ให้ได้โดยตนเอง)
๓. (วิ) วิชชาจะระณะสัมปันโน – (ใช้ชีวิตประพฤติตนด้วยความรู้ที่ถูกต้อง)
๔. (สุ) สุคะโต - (คิดเห็นและไปสู่สถานที่ดีๆ)
๕. (โล) โลกะวิทู อะนุตตะโร - (เรียนรู้ความเป็นจริงของโลกให้ได้)
๖. (ปุ) ปุริสะทัมมะสาระถิ - (เป็นผู้นำในการฝึกฝนตนเองและผู้อื่น)
๗. (สะ) สัตถา เทวะมะนุสสานัง - (เป็นเพื่อนเป็นครูให้แก่มนุษย์ด้วยกันและ
เทวดา ไม่กล่าวร้ายทำร้ายซึ่งกัน)
๘. (พุ) พุทโธ - (รู้ ตื่น เบิกบาน เห็นความเป็นจริงๆ ของสรรพสิ่ง
วางใจให้เป็นกลางได้ เท่าทัน ไม่หวั่นไหว)
๙. (ภะ) ภะคะวาติ - (มีส่วนร่วมในการเรียนรู้,ให้การเรียนรู้,
ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน)
ต่อมากล่าวถึงพระบารมีที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบำเพ็ญ เรียกกันว่า
“บารมี ๓๐ ทัศ” เป็นบารมี ๑๐ ประการที่ต้องกระทำให้ยิ่งขึ้น ประการหนึ่ง มี ๓ ระดับ คือระดับต้น ระดับกลางสูงขึ้นมา และระดับสูงสุดเป็นปรมัตถบารมี ดังนี้ –
๑. ทานบารมี - (ให้ แบ่งปัน ด้วยใจยินดีทั้งก่อนให้
ขณะให้และหลังจากได้ให้แล้ว)
๒. ศีลบารมี – (มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กฎหมายของสังคม
ไม่สร้างความขัดแย้ง ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น)
๓. เนกขัมมะบารมี – (ประพฤติปฏิบัติในการสละออกซึ่งอกุศลทั้งปวง)
๔. ปัญญาบารมี – (เรียนรู้ให้เกิดความรู้รอบ รู้แจ้งเห็นจริง
ใช้ความรู้ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต)
๕. วิริยะบารมี – (พากเพียรในการกระทำความดี สละความชั่วเพื่อทำชีวิต
ให้งาม และมุ่งมั่นในการงานของตน)
๖. ขันติบารมี – (อดทน ต่อสู้ต่ออุปสรรคในแนวทางที่ถูกต้อง)
๗. สัจจะบารมี – (เรียนรู้อยู่กับความเป็นจริง พูดจริง ทำจริง
เห็นความจริงถูกต้อง)
๘. อธิษฐานบารมี – (ตั้งใจมั่นเพื่อเพียรกระทำในสิ่งต้องการ
เพื่อทำชีวิตให้มีสุขและสงบงาม)
๙. เมตตาบารมี – (มีความรัก ปรารถนาดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น)
๑๐. อุเบกขาบารมี – (วางใจเป็นกลาง เฝ้าใคร่ครวญ ระวัง หยุดมองเพื่อที่จัก
เดินไปข้าง เพื่อที่จักได้กระทำในสิ่งต่อไปๆ
ให้ถูกต้อง มีความสุขด้วยธรรม)
หากเราพุทธบริษัททั้ง ๔ ได้เจริญรอยตามทั้งเจริญคำ เจริญจริยะ รำลึกถึงพระพุทธคุณ รำลึกถึงพระบารมีแห่งพระพุทธองค์ น้อมนำมากระทำไว้ในชีวิตตนเองให้เกิดเป็น “บารมีในตน” จนแก่กล้า “คุณและบารมี” นั้นๆ ก็จักส่งผลให้เราประสพอิทธิผล บังเกิด “ความขลัง ศักดิ์สิทธิ์” ในเชิงประจักษ์แก่ตนเองโดยหาที่สุดประมาณมิได้
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าและธรรมของพระองค์นั้น เป็น “นิสสังสะยัง” – มีความสงสัยออกแล้ว กล่าวคือ พระพุทธองค์ “หมดความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นแล้ว” และธรรมแห่งพระองค์ไม่ต้องสงสัยแล้ว ทั้งเมื่อเราน้อมนำมาปฏิบัติ เราก็จักเป็น “นิสสังสะยะบุคคล”
ไม่มีความสงสัย ไม่มีความข้องหมองหม่น ดำเนินชีวิตอยู่กับโลกด้วยสุขกายใจ
โดยไม่ต้องลงทุนทางการเงินอย่างมากมาย !
///// ๐๒.๔๙ น. จันทวาร สุรทินที่ ๒๔ กันยายนมาส พุทธศักราช ๒๕๕๐ /////