พุธ 22 ต.ค. 2008 7:30 pm
หลวงพ่อสาคร มนูญโญ วัดหนองกรับ ตอนบูรพาไม่สิ้นแสง
โดย ศิษย์กวง จาก http://www.oknation.net/blog/sitthi/2008/03/06/entry-1
- 01.jpg (22.82 KiB) เปิดดู 1983 ครั้ง
ผมได้มีโอกาสตามคณะศรัทธาของคุณสมศักดิ์ ศักดิ์วิเศษชัยกุลและคุณเปิ้ล ร้านเบญจพร ไปเยี่ยมท่าน
“พระครูมนูญธรรมวัตร” หรือท่าน
หลวงพ่อสาคร มนูญโญ เจ้าอาวาสวัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เพราะทราบว่าท่านประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปร่วมงานพุทธาภิเษก ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2550 หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้นำท่านส่งโรงพยาบาล ทราบในเบื้องต้นว่ากระดูกซี่โครงหัก แต่น่าประหลาดใจเนื่องจากตามร่างกายของหลวงพ่อไม่ปรากฏบาดแผลหรือมีเลือดตกยางออกแต่อย่างใด
ท่านพระครูวรวงศ์วิวัฒน์(อาจารย์เต็ก) เจ้าอาวาสวัดชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ลูกศิษย์ที่ติดตามท่านไปด้วย ก็หัวปูดหัวโน แต่ไม่ยักกะแตก เรียกว่าเหนียวทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ คงปล่อยให้คนขับรถหัวแตกอยู่คนเดียว(ฮา) ปัจจุบันท่านได้กลับมาพักรักษาตัวที่วัด และยังคงไปๆมาๆ ระหว่างวัดกับโรงพยาบาลอยู่อย่างสม่ำเสมอ (ขอย้ำว่าสม่ำเสมอ หากท่านใดจะไปเยี่ยมที่วัดกรุณาโทรเช็กสอบก่อนนะครับ จะได้ไม่เสียเวลา)
- 02.jpg (30.95 KiB) เปิดดู 1984 ครั้ง
ผลจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น ทำให้ท่านไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก ขนาดที่ท่านบอกกับพวกเราว่า เมื่อก่อนเดินทางไปไหนมาไหนสบายมากตอนนี้เดินไปเข้าห้องน้ำแล้วไม่อยากเดินกลับเลย
ในวันที่เราไปขอเข้าเยี่ยมท่าน ได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจากบรรดาลูกศิษย์ของท่าน เช่นคุณโยธิน เจ้าหน้าที่ประจำตู้พระของวัด ช่วยนำพวกเราไปเข้านมัสการหลวงพ่อซึ่งขณะนั้นท่านตื่นจากจำวัดพอดี พอพวกเราโผล่หน้าเข้าไปในห้อง ท่านยิ้มให้และทักทายเราด้วยความเมตตา
- 03.jpg (25.51 KiB) เปิดดู 1982 ครั้ง
“สวัสดี สวัสดี เข้ามาก่อน ไม่ได้เจอกันตั้งนาน เออ..นานเท่าไหร่แล้วนะ พวกโยมสบายดีมั๊ยละ แล้วโยมแก้วตาล่ะเป็นยังงัยบ้าง(คุณแก้วตา พี่สาวของคุณเปิ้ล เบญจพร ซึ่งเกือบจะทุกครั้งที่หลวงพ่อสาครมีกิจนิมนต์ หากต้องผ่านมาที่ร้านคุณแก้วตา ตลาดท่าสะอ้าน บางประกง จะต้องแวะเยี่ยมครอบครัวของคุณแก้วตาและคุณพรต เสมอ
สันนิษฐานตามความเห็นของผม น่าจะรู้จักกันมานาน-ขออภัยนอกเรื่องไปหน่อย)” ....ได้ยินท่านทักทายแบบนี้เล่นเอาบรรดาญาติธรรมชุดนี้ยิ้มไม่หุบ..................
- รูปหล่อหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ชั้นสองของพิพิธภัณฑ์
- 04.jpg (33.18 KiB) เปิดดู 1984 ครั้ง
- 05.jpg (40.21 KiB) เปิดดู 1979 ครั้ง
สำหรับหลวงพ่อสาครองค์นี้ เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าท่านเป็นผู้ที่ได้สืบทอดวิทยายุทธมาจาก
หลวงปู่ทิม โดยที่หลวงพ่อท่านมากินนอนและปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ทิม ตั้งแต่อายุประมาณ 15 ขวบ และก็เป็น
เรื่องเล่าที่บอกต่อกันมาตลอดว่า เมื่อครั้งที่หลวงปู่ทิม ยังมีชีวิตอยู่ ลูกศิษย์หลวงปู่ทิม หลายท่านได้ถามหลวงปู่ทิมว่า
“หลวงปู่ครับ เมื่อสิ้นหลวงปู่แล้วพวกผมจะพึ่งพระรูปใดได้บ้าง” หลวงปู่ทิมท่านได้ชี้ไปที่พระหนุ่มรูปหนึ่งซึ่งกำลังปรนนิบัติหลวงปู่อยู่ด้วย แล้วท่านพูดว่า
“โน่น...ท่านสาคร เขาเรียนของนี่ไว้เยอะ” และมีเพื่อนรุ่นพี่ผมอยู่กลุ่มหนึ่งเล่าให้ฟังว่าในวันที่หลวงปู่ทิมท่านมรณภาพว่า ลูกศิษย์หลายคนต่างทยอยเอาของที่มาให้ท่านปลุกเสก เกิดการวุ่นวาย หลวงพ่อสาคร เมื่อมาถึงได้ก้มลงกราบศพหลวงปู่ทิมแล้วเดินออกไปทันที โดยไม่ยอมแตะต้องของทุกอย่างภายในกุฎิแล้วเดินทางกลับวัดหนองกรับทันที
นอกจากหลวงปู่ทิมแล้ว ท่านยังมีอาจารย์อีกหลายท่าน เป็นทั้งฆราวาสและเป็นทั้งพระซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับอาจารย์ของท่านนั้น หลวงพ่อสาครท่านเมตตาเล่าให้พวกเราฟังว่า
“เราเรียนกับอาจารย์หลายท่านฆราวาส ก็มีเป็นพระก็มี เช่น หลวงพ่อหิน วัดหนองสนม หลวงปู่โสม วัดบ้านช่อง
หลวงพ่ออาคม วัดดาวนิมิตร กับหลวงพ่อคูณ ยังเคยไปเรียนเลย(หัวเราะ)
หลวงปู่ทิม สมัยก่อนท่านยังไม่ค่อยมีชื่อ มีทั้งพระ ทั้งฆราวาสหลายคนมาขอเรียนกับท่าน ท่านก็เมตตาสอนให้กับทุกคน แต่ใครจะได้อะไรกันบ้างเราไม่รู้ วิชาของท่านมีเยอะมาก จัดวางไว้เป็นเล่มๆซ้อนกันตั้งหลายชั้น ท่านสอนเราวันละวิชา เขียนผ้ายันต์วันละบท ๆ แรกๆ ก็ยังจำได้ หลังๆ ชักจำไม่ไหวแฮะ เลยแอบเข้าไปในห้องท่าน จุดธูปบอกครูบาอาจารย์ ขอยืมตำรับตำราไปคัดลอกไว้ก่อนเถอะ เวลาท่านสอนจะได้เข้าใจอย่างรวดเร็ว แต่ท่านก็รู้นะ ไม่ใช่ว่าท่านรู้ด้วยญาณหรอก ท่านรู้เพราะเราสัพเพร่าหยิบแล้ววางไม่ตรง ไม่ถูกที่ เรื่องความมีระเบียบวินัยนี่ หลวงปู่ทิม ท่านมีมากพอท่านจับได้ว่าเรามาแอบจด ท่านก็ไม่ว่าอะไรบอกว่าสมัยท่านเรียนท่านก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน(หัวเราะ) สำหรับหลวงพ่ออาคมท่านก็เก่ง เป็นพระที่ขยันมาก ตะกรุดของท่านท่านจะทำเองทั้งหมด ลงแผ่นตะกรุดเอง ถักเชือกเอง ทาสีตะกรุดเอง ท่านเป็นพระที่นอนดึกตื่นเช้า เราไปนอนในกฏิท่าน ช่วงสักตีสี่ตีห้า ได้ยินเสียงกุกกักใจไม่ดี นึกว่าโดนลองของ ย่องไปดูเห็นท่านนั่งจารตะกรุดอยู่องค์เดียว ท่านทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน”
- ภาพปูนปั้น ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
- 06.jpg (30.74 KiB) เปิดดู 1982 ครั้ง
- ภาพปูนปั้นบนจั่วของพิพิธภัณฑ์
- 07.jpg (32.44 KiB) เปิดดู 1982 ครั้ง
นอกเหนือจากความชำนาญในเรื่องของคาถาอาคมแล้ว
หลวงพ่อสาครท่านยังมีฝีมือในเชิงช่างและการออกแบบก่อสร้าง ชนิดที่เรียกว่าสถาปนิกมาเห็นยังต้องทึ่ง
ย้อนหลังกลับไปประมาณซัก 3-4 ปีผมเคยมากราบท่านครั้งหนึ่งแล้ว คราวนั้นวัดหนองกรับยังมีการก่อสร้างถาวรวัตถุค้างคาอยู่หลายแห่ง เช่นองค์หลวงพ่อพระสังกระจาย หรือ พิพิธภัณฑ์ยันต์ จะว่าไปแล้ว ณ ขณะนั้นพิพิธภัณฑ์ยังคงเป็นเพียง
จินตนาการและความตั้งใจของหลวงพ่ออยู่ในแผ่นกระดาษพิมพ์เขียวเท่านั้น
- หลวงพ่อพระสังกัจจายะนะ
- 08.jpg (16.79 KiB) เปิดดู 1979 ครั้ง
- 09.jpg (24.63 KiB) เปิดดู 1981 ครั้ง
- พระอุโบสถวัดหนองกรับ
- 10.jpg (39.14 KiB) เปิดดู 1980 ครั้ง
- สวนป่าภายในวัด มองจากชั้นสองของพิพิธภัณฑ์
- 11.jpg (43.18 KiB) เปิดดู 1976 ครั้ง
- พิพิธภัณฑ์ยันต์(ชั้นสอง)
- 12.jpg (28.88 KiB) เปิดดู 1977 ครั้ง
- พิพิธภัณฑ์ยันต์ ส่วนที่อยู่ภายในห้องของหลวงพ่อ
- 13.jpg (33.02 KiB) เปิดดู 1967 ครั้ง
มาในวันนี้จินตนาการและความตั้งใจของหลวงพ่อได้สำเร็จเป็นรูปธรรมให้เห็นและสัมผัสจับต้องได้ โดยตัวพิพิธภัณฑ์ถูกก่อสร้างเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างถูกตกแต่งสำหรับใช้เก็บสะสมของเก่าของวัดตลอดจนเป็นที่ต้อนรับบรรดาญาติโยมที่เดินทางมาเยี่ยม มาทำบุญที่วัด ในส่วนของชั้นสองเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ยันต์ โดยนำยันต์ที่หลวงพ่อได้เรียนมาจากหลวงปู่ทิมและอาจารย์อื่นๆ มาปั้นเป็นลายยันต์ติดตามผนัง โดยเราสามารถเห็นยันต์ต่างๆ ได้ทุกซอก ทุกมุม ของตัวตึก สำหรับชั้น 3 (ขออภัยในวันนั้นไม่ได้ขึ้นไป เพราะประตูปิด) ถามพี่โยธินทราบว่าใช้เป็นที่เก็บวัตถุมงคลของวัด เรียกว่าใครอยากศึกษาเรื่องการเขียนยันต์ มาที่นี่รับรองได้ว่าไม่ผิดหวัง (อลังการงานสร้าง ขอบอก) หลวงพ่อท่านบอกว่าเสียดายที่สุขภาพท่านไม่เอื้ออำนวย ไม่งั้นท่านจะพาพวกเราชมและจะอธิบายให้ฟัง
เล่ามาถึงตรงนี้หลายท่านอาจสงสัยว่าพระเก่าอาคมขลังขนาดนี้ ทำไมต้องประสบอุบัติเหตุ ทำไมไม่รู้ตัวล่วงหน้า
ทำไมแก้ไขไม่ได้ ทำไมต้องบาดเจ็บ หรืออีกหลายคำว่าทำไม ในเรื่องนี้หลวงพ่อสาครท่านได้เมตตาอธิบายว่า
“ทุกอย่างเป็นเรื่องของกรรม อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเราอาจเป็นวิบากกรรมในชาติที่แล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นพวกโยมควรจะสร้างกรรมดีๆให้กับตัวเองในชาตินี้ให้เยอะๆ วิชาอาคมหรืออักขระเลขยันต์ต่างๆ ที่พวกโยมเห็นมันเป็นเรื่องของความเชื่อ เป็นส่วนประกอบชักนำให้เราสู่ศาสนา แต่จะใช้เพื่อการพ้นทุกข์ กันความตาย คงไม่ได้แน่ เราว่าธรรมะ ศีล ดีกว่าทุกอย่าง เชื่อเราซิ ใครจะไปช่วยพวกโยมได้ เรายังต้องเจ็บ หลวงปู่ทิมท่านยังต้องมรณภาพ ทุกคนหนีวิบากกรรมไม่พ้นหรอก ทำความดีไว้เยอะๆเถอะ ดีเอง”จบประโยคนี้ทุกคนร้องอ้าว....แล้วบรรดาเครื่องรางของขลัง ประเภทพระเครื่องห้อยคอ หรือตะกรุดคาดเอว จะเอาไปไหนละครับ
“ใช้เป็นพุทธานุสติ ให้มีการระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นึกถึงคุณงามความดี คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ถึงสิ่งเหล่านี้เราจะมองไม่เห็น แต่กรณีฉุกเฉินมันก็ช่วยให้เราสามารถรอดแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ ไปได้ จากเรื่องที่หนักก็ให้เป็นเบา ในทางกลับกันพวกที่ได้เครื่องรางของขลังไปแล้วคิดว่าตัวเองต้องแน่ ต้องเหนียวคงกระพัน ทำให้เกิดความประมาทกับตัวเอง ไปมีเรื่องมีราวกับคนอื่นมักจะไม่รอด โดยเฉพาะพวกที่เล่นทางไสยศาสตร์เชื่อกันว่า ในแต่ละวันมีเวลาเปิด เวลาปิด สังเกตดูคนโบราณมักจะถูกสอนให้เสกข้าวกิน เพื่อเป็นการป้องกัน ตอกย้ำให้ไม่ประมาท เรายังเคยเห็นคนแขวนหลวงปู่ทิมโดนสอยร่วงเลย ดันไปด่าแม่ตัวเอง แม่ตัวเองยังไม่รักแล้วจะไปเหลืออะไร พวกโยมแขวนพระของเราแล้วต้องรักษาศีลธรรมให้ขึ้นใจด้วยนะ ฉุกละหุกคุณของพระพุทธเจ้าจะได้ช่วยบรรเทาได้บ้าง (ยิ้ม)”
- ผ้าผันต์ราชสีห์ หนุมาณ ฝีมือการเขียนของหลวงพ่อ
- 14.jpg (29.63 KiB) เปิดดู 1966 ครั้ง
- ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ ฝีมือการเขียนของหลวงพ่อ
- 15.jpg (32.11 KiB) เปิดดู 1969 ครั้ง
หลังจากที่ได้สนทนากับท่านหลวงพ่อสาคร พอสมควรแก่เวลาพวกเราจึงได้กราบลาท่าน เพื่อให้ท่านได้พักผ่อน แล้วก็เหมือนเดิมครับ แวะที่ตู้พระของวัดพร้อมกับบูชาวัตถุมงคลกันพอสมควร(ตามสไตล์ของแต่ละคน) โดยทุกคนลงความเห็นว่า
“เพื่อเป็นพุทธานุสติ กรณีฉุกเฉิน ฉุกละหุกจะได้ช่วยบรรเทา” เฮ้อ...ซะอย่างนั้น
- พี่โยธิน เจ้าหน้าที่ของวัด
- 16.jpg (34 KiB) เปิดดู 1964 ครั้ง
- 17.jpg (29.24 KiB) เปิดดู 1962 ครั้ง
ครับ เราทุกคนล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในวิบากกรรมกันทุกคน การจะบรรเทากรรมลงไปได้จึงขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีสติ มีความเข้มแข็งและก้าวไปในธรรมได้ไกลแค่ไหน ไม่ต้องปฏิบัติจนถึงกับขั้นหลุดพ้นหรอกครับ มันจะเหนือสติปัญญาคนอย่างเราไป เอาแค่กรณีฉุกเฉิน ฉุกละหุกแล้วช่วยบรรเทาได้ก็พอแล้วครับ
ประมวลภาพ ยันต์ต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์
- 18.jpg (36.55 KiB) เปิดดู 1963 ครั้ง
- 19.jpg (25.1 KiB) เปิดดู 1962 ครั้ง
- 20.jpg (27.11 KiB) เปิดดู 1961 ครั้ง
- 21.jpg (23.56 KiB) เปิดดู 1963 ครั้ง
- 22.jpg (30.76 KiB) เปิดดู 1956 ครั้ง
- 23.jpg (31.15 KiB) เปิดดู 1958 ครั้ง
ขอขอบคุณ คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย ร้านเบญจพร เอื้อเฟื้อภาพและการเดินทางไปวัด เพื่อนต่อ สำหรับคำแนะนำ คุณสมบูรณ์ ร้านนายอ้อ สระบุรี สำหรับข้อคิดและกำลังใจที่มีให้เสมอและหวังว่าจะมีให้ตลอดไป