อาทิตย์ 26 ต.ค. 2008 11:40 pm
2. พระนางพญา สก. และพระสมเด็จจิตรดาอุณาโลม (ประวัตินี้พิมพ์โดยคุณกิตติ ในเว็บอมูเล็ทดอทคอม)
- พระนางพญา สก.ด้านหน้า
- 3_1149361395.jpg (56.4 KiB) เปิดดู 20322 ครั้ง
- พระนางพญา สก. ด้านหลัง
- 3_1149361655.jpg (54.73 KiB) เปิดดู 20321 ครั้ง
เมื่อครั้งทางวัดบวรนิเวศวิหารได้รื้อกระเบื้องมุงพระอุโบสถที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้เพื่อเปลี่ยนใหม่นั้น ทางสภามหามกุฏฯได้ขอส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นมงคล ทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นที่กระทำสังฆกรรมและมีพิธีการต่างๆเป็นประจำ รังสีแห่งพลังจิตย่อมพวยพุ่งขึ้นจับอยู่ในทุกอณูของกระเบื้องเป็นแน่แท้.เมื่อได้รวบรวมอิทธิวัสดุไว้ได้พอสมควรแล้วทางสภามหามกุฏจึงกราบทูลขออัญเชิญพระบรมนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาประทับไว้ด้านหลังของพระนางพญาซึ่งทางสภามหามกุฏได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จอุณาโลม.พระนางพญานี้ทางมหามกุฏได้ถวายพระนามว่า”พระนางพญา ส.ก.” และพระสามเหลี่ยมที่มีพระพุทธประทับนั่งบนอาสานะบัวสองชั้นว่า พระสมเด็จอุณาโลม โดยพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า”กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง ๓ พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”.
สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.ไปใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต เนื่องจากวิทยาลัยสงฆ์นั้นอยู่ในที่ราบต่ำ น้ำท่วมทุกปี จึงต้องมีการขุดคันดินกั้นน้ำและยังต้องขุดสระเพื่อนำดินไปถมที่ ในหน้าแล้งน้ำในสระก็ใช้ไม่ได้เนื่องจากน้ำเปรี้ยว และการออกบิณฑบาตรก็ลำบาก เพราะอยู่ไกลจากชาวบ้าน.มูลนิธิส่งเสริมพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้สร้างสมเด็จนางพญา ส.ก.เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการนี้ โดยนำมาตั้งเป็นทุนมูลนิธีเพื่อนำดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไชยย่อ”ส.ก.”มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.
พระนางพญา ส.ก.นั้นได้จำลองมาจากแบบมาจากพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของกรุตาเถรขึงหนังสุโขทัย ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งมารวิชัย ด้านล่างมีอักขระขอมอยู่ว่า” เอ ตัง สะ ติง”อันเป็นหัวใจของกรณียเมตตาสูตร ด้านหลังเป็นพระบรมนามาภิไธยว่า ส.ก.อยู่ใต้พระมหามงกุฎ
- พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหน้า
- 3_1149362280.jpg (39.15 KiB) เปิดดู 20293 ครั้ง
- พระสมเด็จอุณาโลม ด้านหลัง
- 3_1149362394.jpg (41.15 KiB) เปิดดู 20284 ครั้ง
พระสมเด็จอุณาโลมนั้นด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา ด้านหลังมีอักขระจารึกว่า เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ
ขนาดพระมีสองพิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ สูง ๓ ซม. กว้าง ๒ ซม. หนา ๐.๕ ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง ๒.๕ ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา พิมพ์ได้จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ องค์
รายการมวลสาร (บางส่วน)
1.ผงดอกไม้พระราชทาน เมื่อ ๕ พ.ย.๒๕๑๗
2.ผงธูปพระราชทาน
3.ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา ๒๕๑๗
4. ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานทักษิณนิเวศน์ ๒๕๑๗
5.ผงธูปและดอกไม้ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
6. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
7.ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
8. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์เปล่ง(แปลง) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
9. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุทัย วัดป่าขอนแก่น
10. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สาม วัดไตรวิเวกการาม สุรินทร์
11. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส สกลนคร
12. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์สุวัจน์ วัดถ้ำศรีแก้ว สกลนคร
13. ผงธูปและดอกไม้ อาจารย์อุ่น วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
14. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดราชบพิธ
15. ผงธูปและดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
16. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระญาณสังวร
17.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
18. ผงธูปและดอกไม้ จากที่บูชาของสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ
19.ผงดอกไม้ จากห้องปฎิบัติกรรมฐาน ณ สภาการศึกษาฯ
20.ผงดอกไม้ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
21.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
22.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถวัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา
23.ผงดอกไม้ผงธูป บูชาในเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
24.ผงนพปดลมงคลเศวตฉัตร พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
25.ผงพระสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม
26.ผงพระอาจารย์ลี วัดอโศการาม
27.ผงพระหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
28.ผงกะเทาะจากองค์พระธาตุเจดีย์นครพนม
29.ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตร
30.ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม
31.ผงพระสมเด็จวัดสามปลื้ม
32.ผงพระหลวงปู่โต๊ะ วัดโพธินิมิตร
33.ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
34.ผงธูป-ทอง ศาลกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ ปากน้ำชุมพร
35.ผงธูป-ทอง พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
36.ผงกระเบื้องหลังคาวิหาร พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
37.ผงสะเก็ดพระสมัยศรีวิชัย พระบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
38.ผงสะเก็ดพระสมัยทวาราวดีได้จากฐานอุโบสถวัดเกาะจาก นครศรีธรรมราช
39.ผงดอกไม้ ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
40.ผงว่าน ๙๙ วัดดอนรัก สงขลา
41.ผงวิเศษจากถ้ำเสือ กระบี่
42.ผงธูป พระธาตุลำปางหลวง
43.ผงอิฐ พระธาตุลำปางหลวง
44.ผงกระเบื้อง พระธาตุลำปางหลวง
45.ผงอิฐโบราณ พระปรางค์ลพบุรี
46.ผงพระเครื่องเกจิอาจารย์จาก ๑๖ วัด
47.ผงเข้าพิธีเสาร์ห้า ๒๕๑๓ วัดเทพศิรินทราวาส ท่านธัมมวิตักโก ปลุกเสก
48.ผงดอกไม้ จากพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตร
49.ผงธูป ดอกไม้ จากพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
50.ผงพระ ๒๕ พุทธศตวรรษ
51.ผงกะเทาะจากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
52.ผงตะไคร่จากองค์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
53.ผงว่าน ๑๐๘ ของ นครศรีธรรมราช
54.ผงเกจิอาจารย์ จากวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
55.ผงกะเทาะองค์พระ ในด้านบริเวณพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
56.ผงธูป จากพระพุทธบาทสระบุรี
57.ผงธูป จากพระพุทธฉาย สระบุรี
58.ผงธูป จากที่บูชาพระพวย วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
59.ผงธูป จากที่บูชาพระปัญญา วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
60.ผงธูป จากที่บูชาพระศรีอาริย์ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
61.ผงทอง จากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
62. ผงทอง จากพระพุทธบาทสระบุรี
63.ผงทอง จากองค์พระนอนใหญ่ วัดพระเชตุพนฯ
64. ผงทอง จากพระพุทธฉาย สระบุรี
65.ผงกะเทาะ จากพระนลาฎ องค์พระหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
66.ผงกระเบื้องกะเทาะ จากองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
67.ผงอิฐ-ปูน-รัก-ทอง จากฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
68.ผงเม็ดพระศกหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
69.ผงพระสมเด็จ ธัมมวิตักโก
70.ผงเข้าพิธีมาแล้ว คือ 1.วัดราชบพิธ ปี ๒๕๑๒–๑๓–๑๔
2.วัดหัวลำโพง ปี ๒๕๑๓
3.วัดราชสิทธาราม ปี ๒๕๑๒–๑๓
4.วัดธาตุหลวง ปี ๒๕๑๓
5.วัดชิโนรส ปี ๒๔๑๒–๑๓
6.วัดอัมพวา ปี ๒๕๑๒–๑๓
7.วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ปี ๒๕๑๓
71.ผงนพดลมงคลเศวตฉัตรพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
72.ผงกระจก-รัก จากฐานพระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
73.ผงทอง จากองค์พระหลวงพ่อโต ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
74.ผงบัวเสา พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
75.ผงลายรวงผึ้ง หน้าพระพุทธชินสีห์ ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
76.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
77.ผงกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
78.ผงดินทราย พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งในหลวงทรงเททอง ณ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ๒๕๑๗
79. ผงกระจก-ปูน-รัก-ทอง จากเสาพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
80.ผงกระจกหน้าบัน หน้าพระอุโบสถ วัดราชบพิธ
81.ผงธูปพระไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ
82.ผงธูป ศาลลูกศร ลพบุรี
83.ผงใบลานชาญวิชา ๑๐๘ คัมภีร์ วัดบวรนิเวศวิหาร
84.ผงอิฐ ฝาผนังพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
85.ผงเกจิอาจารย์ วัดราชาธิวาส
86.ผงทรายแก้ว เกาะหมู ตรัง
87.ผงไม้กลายเป็นหิน สุรินทร์
88.ผงตะกั่วในพิธี ๑๐๐ ปี วชิรญาณานุสรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๕
89.ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี
90.ผงอิฐจากฐานพระพุทธบาท วัดบวรนิเวศวิหาร
91.ผงหินทราย ใบพัทธสีมาพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
92.ผงปูน-ทราย เสาพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนฯ
93.ผงจากสังเวชนียสถาน ๔แห่งในอินเดีย(ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน)
94.ผงทองของเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเจ้าคุณนรฯได้ประกอบพิธีปลุกเสก ปี๒๕๑๓
95.ผงธูป จากศาลพระกาฬ ลพบุรี
96.ผงธูป หลวงพ่ออี๋ สัต***บ
97.ผงหิน-ทราย จากภูเวียง ขอนแก่น มีธาตุยูเรเนียม
98.ผงหินดาน ลึก ๒,๒๒๐ ฟุต จากเชียงใหม่
99.ผงนิลจากกาญจนบุรี
100.ผงตะกั่ว ในพิธี ๕๐ ปี(พระมหาสนณานุสรณ์ปี ๒๕๑๘ วัดบวรนิเวศวิหาร)
101.ผงหอย ๗๕ ล้านปี กระบี่
102.ผงทองพระมงคลนิมิต ซึ่งในหลวงทรงเททองปี ๒๕๑๔ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
103.ผงสะเก็ดระเบิดภูเขาไฟลาวา ฟิลิปปินส์
104.ผงกะเทาะจากองค์พระเจดีย์ วัดราชผาติการาม
105.ผงทองพระขาว วัดเกาะจาก ปากพนัง นครศรีธรรมราช
106.ผงเขี้ยวหนุมาน นครศรีธรรมราช
107.ผงโมกุล ลำนารายณ์ ลพบุรี และผงโป่งขาม
108.ผงพระสมเด็จแสน วัดพระเชตุพนฯ
109.ผงดอกไม้ ๑๐๘ จากวัดโพธิ์แมน
110.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์บุโบบุโธ อินโดนีเซีย
111.ผงพระสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(สมเด็จวัดพลับ)
112.ผงพระสมเด็จโต และผงเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้สะสมไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๓–๒๕๑๗
113.ผงเมล็ดพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา อินเดีย
114.ผงขี้เถ้า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๑๐๐ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
115.ผงทอง พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
116.ผงธูป ดอกไม้ และผงวิเศษอาจารย์เทศน์(พระนิโรธรังษี) วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
117.ผงทอง-ธูป พระพุทธชินราช พิษณุโลก
118.ผงธูป จากพระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
119.ผงหินพระบรมธาตุเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย
120ผงธูปว่าน ๑๐๘จากภาคอีสาน
121.ผงปลุกเสกโดย---หลวงปู่แหวน เชียงใหม่ นาน ๑ เดือน
หลวงปู่ขาว อุดรธานี เวลา ๓ เดือน
หลวงปู่บุญ อุดรธานี เวลา ๑ เดือน
อาจารย์ฝั้น สกลนคร เวลา ๑ เดือน
อาจารย์จวน วัดภูทอก หนองคาย เวลา ๑ เดือน
122.ผงธูป-ทอง หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
123.ผงใบพระศรีมหาโพธิ์ จากอินเดีย
124.ผงหินทรายลึก ๖๐๐ ฟุตวังน้อย อยุธยา
125.ผงของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
126.ผงของหลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาป่อง เชียงใหม่
127.ผงหินน้ำมัน ใต้ทะเลลึก ๑๐,๐๐๐ ฟุต
128.ผงดิน-หิน บนยอดเขาอินทนนท์ เชียงใหม่
129.ไมก้าและข้าวตอกฤษี ที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่
130.ผงธูปและทราย พระธาตุดอยตุง เชียงราย
131.ผงอิฐ ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
132.ผงดอกไม้ ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงปู่ขาว
133.ผงธนบัตร ๒,๐๐๐ล้านบาท
134.ผงอิฐ ยอดเจดีย์ยักษ์ นครศรีธรรมราช
135.เส้นพระเกษา สมเด็จพระสังฆราช หลายพระองค์
136.เส้นเกษา สมเด็จพระญาณสังวร และสมเด็จพระวันรัตและพระอาจารย์ต่างๆอันมี พระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์ แหวน พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์มหาบัว และ พระอาจารย์ขาว เป็นต้น
137.ผงอิฐและกระเบื้อง พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส
138.ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ
139.ผงเข้าพิธีเสด็จพระราชดำเนินพุทธาภิเษก สมเด็จพระนเรศวร ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ๘ พ.ย.๒๕๑๘
140.ฉัตรพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่
141.ผงดอกไม้อีก ๑๐๐ชนิด
142.ผงว่านต่างๆอีก ๑๐๐ ชนิด
143.ผงตะไตร่ขูดจากเจดีย์ ๑๐๘ วัด
144.ผงธูปในพระอุโบสถ ๑๐๘ วัด
145.ผงอิฐเจดีย์ จากพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
146.ผงอิฐรากฐาน จากพระธาตุพนม
147.กระเบื้องพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
148.ปูนหน้าบ้าน พระอุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส
149.ผงประหลาดโบราณในถ้ำ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
150.ผงดอกไม้ ณ ที่บูชาสมเด็จและเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส
ผงทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร ๑๐๘ คาบและอิติปิโส ๑๐๘ คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม.สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง”จิตรลดา”ขนาดเท่าของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.
รายการผงวัตถุมงคลดังกล่าวนี้สภามกามกุฏฯได้รวบรวมบดเป็นผงละเอียด ส่วนกระเบื้องมุงหลังคานั้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยจำกัด ได้รับหน้าที่ดำเนินการเข้าเครื่องบดให้ทั้งหมดโดยไม่คิดค่าตอบแทน
เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯเมื่อวันที่ ๕–๑๑ กค.๒๕๑๙
รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก ๑.วันจันทร์ ๕ กค. ๒๕๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ น. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
๑.สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
๓.สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
๔.พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
๕. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
๖.พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
๗.พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
๘.พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
๙.พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
๑๐.พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๒.วันอังคาร ๖ กค. ๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
พระโพธิสังวรเถร(หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง(ท่านผู้นี้ไม่ได้ เอนกายลงจำวัดเป็นเวลานานปี)
๓.วันพุธ ๗ กค. ๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด
๔.วันพฤหัสบดี ๘ กค.๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย
๕.วันศุกร์ ๙ กค.๒๕๑๙ พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
๖.วันเสาร์ ๑๐ กค. ๒๕๑๙ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
๗.วันอาทิตย์ ๑๑ กค.๒๕๑๙ ตอนกลางวัน(เวลา ๑๓–๑๖ น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว ๔ ชั่วโมงเต็ม
ในตอนค่ำ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม.
ในวันที่ ๑๒ กค.๒๕๑๙ รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป ในการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ
คณะรังษี วัดบวรฯ
๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
๒. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
๓. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
๔. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
๕.พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
๖.พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
๗. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
๘.พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๙.พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
๑๐. พระเทพกวี วัดบวรฯ
ในพิธีพุทธาภิเษกทั้ง ๗ วันนั้นหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกพิธีทั้ง ๗ วัน
- prapart.jpg (47.5 KiB) เปิดดู 20270 ครั้ง
..หมายเหตุ... ปัจจุบันนี้ยังมีพระตกค้างอยู่ที่สำนักงานฌาปนกิจสถาน วัดมกุฏกษัตริย์ กทม.