พฤหัสฯ. 06 พ.ย. 2008 4:50 pm
ปี พ.ศ. 2534 เป็นปีที่หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดสวนหินฯ ภูกระเจียว เริ่มอุ่นเครื่องเรื่องชื่อเสียง ข่าวขลังของท่านแพร่กระจายไปในหมู่ผู้นิยมพระ ดังไฟลามทุ่งบนวัดที่แสนกันดารปราศจากไฟฟ้า และน้ำประปา แทบไม่มีแม้ศาลาให้สานุศิษย์อาศัยนอนพักหลบแดดฝนใด ๆ เมื่อยามบากบั่นขึ้นไปหาท่านประสาศิษย์ที่ดีมีกตเวทิตา อาจารย์เบิ้มจึงคิดทำพระถวายหลวงปู่พรหมา เพื่อสร้างเสนาสนะอย่างเป็นทางการ
อาศัยที่อยู่กับหลวงปู่โต๊ะมานาน และเรียนรู้วิทยาคุณกับท่านอาจารย์รอด สุขเจริญ ฆราวาสผู้ขลังสุดขีดในไสยเวทพุทธาคม ด้วยอาจารย์รอด เป็นศิษย์แท้ๆ ของพระครูวิมลคุณากร หรือหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ทว่าท่านบวชอยู่กับหลวงปู่ศุขได้เพียง 30 พรรษา ก็จำต้องลาสิกขามาครองขาว หากยังเป็นพระอยู่คงไม่แคล้วดังสนั่น

- เนื้อนวโลหะองค์นี้ก้นตัน ไม่ตอกโค้ดไม่อุดผง ด้วยเป็นช่อนำฤกษ์ช่อแรก
- -1.jpg (44.72 KiB) เปิดดู 13755 ครั้ง
เมื่อมีครูดี การทำของก็ต้องทำให้ดี อาจารย์เบิ้มจึงเน้นเรื่องชนวนมวลสารมาก และไม่ต้องไปหาไกลเท่าใดนัก ค้น ๆ เอาในบ้านก็มากมาย เพราะเก็บสะสมไว้แต่หนุ่มแต่น้อย อาจารย์เคยบอกผมว่าไม่จดเรื่องชนวน เกรงคนจะหาว่าโม้ เชื่อก็เอา ไม่เชื่อก็อย่าเอาไป หากสุดท้ายอาจารย์ก็ใจอ่อน ยอมปรารภให้ฟังถึง ‘บางส่วน’ ของมวลสารดังนี้
1. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชสังวราภิมณฑ์
(หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพฯ
2. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของพระราชวุฒาจารย์
(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
3. แผ่นเงินบริสุทธิ์ ลงพระยันต์โดยมือของ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
และจะไม่กล่าวถึงแผ่นยันต์ต่าง ๆ มากมายหลายร้อยแผ่นที่พระเถรานุเถระในสายอีสานอันเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาลงให้ไว้แต่นานเน ทั้งยังพระยันต์เก่าเก็บจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศอีกเป็นกุรุสโกดัง ถึงขนาดอาจารย์ออกปากว่า “เสร็จงานนี้บ้านโล่งไปเยอะ”
ที่สำคัญยิ่งคือ แผ่นทองแดงลงอักขระยันต์ และคาถาต่างๆ นับพันบท ซึ่งจารโดยมือของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง ได้ลงไว้มีจำนวนทั้งสิ้น 1 ปิ๊บเต็ม ๆ ทองแดงบางอย่างกระดาษวางลงในปีบจนเต็ม
มันจะมีกี่แผ่น?

- เนื้อเงิน ก้นตอกโค้ด+อุดผงและเกศา สร้างเพียง 103 องค์
- -02.jpg (50.37 KiB) เปิดดู 13744 ครั้ง
หลวงปู่พรหมาเสกปี๊บยันต์บน ‘คาย’ ในถ้ำอยู่นานมาก แล้วมอบให้ประสมกับชนวนพระกริ่งปวเรศ (ปี 2530) ซึ่งในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททองโดยพระหัตถ์เอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานพิธี, ชนวนพระกริ่งหลายรุ่นของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่มีจำนวนพอสมควร มิใช่นิดหน่อยแล้วเขียนเอา , ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์, ชนวนพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง, ชนวนพระกริ่งปรโม ของหลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ชนวนพระกริ่งอรหัง ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, ชนวนพระกริ่งพุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ , ชนวนพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ของหลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.เชียงราย, ชนวนพระพุทธรูปเททองโดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เรื่องชนวนถ้าต้องเขียนจริง ๆ อาจต้อง 5 เล่มจบ จึงขอจบตรงนี้พอ