โดย รณธรรม ธาราพันธุ์
วันหนึ่งของกลางปี 2538 ผมกำลังหลับอย่างเป็นสุขเนื่องจากฝนตกพรำมาตลอดรุ่ง ค่าที่เป็นวันหยุดจึงนอนอย่างที่คุณแม่ชอบว่ากินบ้านกินเมือง ผมมารู้สึกตัวอีกทีราว 10 โมงเช้าก็พลิกตัวดูพื้นข้างเตียง และผมต้องตกใจเป็นอย่างมากที่มองพื้นบ้านแต่ดันเห็นหน้าตัวเอง เมื่อลองเอามือจิ้มลงไปจึงได้รู้ว่าน้ำท่วมบ้านเข้าแล้ว
อารามตกใจก็ลุกพรวดพราดลงจากเตียงไปห้องน้ำและยังมีแก่ใจล้างหน้าแปรงฟันอีกต่างหาก ผมมองฟองยาสีฟันและฟองสบู่ลอยเกลื่อนไปทั่วบ้านอย่างกลุ้มใจไม่รู้จะเริ่มจัดการอย่างไรดี ผมกลับมาที่หัวเตียงหยิบแว่นขึ้นใส่แล้วจะเดินไปหลังบ้านเพื่อเอาไดโว่มาสูบน้ำ วินาทีนั้นเองผมก็คิดอะไรขึ้นมาได้ เลยมองไปที่พัดลมตั้งโต๊ะและปลั๊กสามตาซึ่งวางอยู่กับพื้น
เฮ้ย ! ผมร้องอย่างตกใจเมื่อเห็นทุกอย่างจมอยู่ใต้น้ำฝนที่เย็นเฉียบ อ้าว ! ทำไมไฟไม่ดูดเรานะ อ้อ...ฝนตกไฟฟ้าก็ดับเป็นธรรมดา ผมตอบตัวเองอย่างสบายใจแล้วลองเอื้อมมือไปกด สวิทช์ไฟ แชะ หลอดนีออนในห้องสว่างขึ้นทันที !
ผมยืนตัวแข็งทื่อ ความคิดตอนนั้นมันบอกไม่ถูกเลยครับ สับสนอลหม่านไปหมดระหว่างความฝันกับความจริง... ระหว่างความเป็นกับความตาย... นี่เรื่องจริงหรือเปล่า เมื่อตั้งสติได้ผมก็ค่อย ๆ ก้มลงเอื้อมมือไปถอดสายปลั๊กสามตาที่เสียบติดผนังอยู่ เหมือนกลัวว่าเดี๋ยวมันจะรู้สึกตัวแล้วตื่นขึ้นมาดูดผม
เมื่อกระชากสายไฟออกแล้วผมก็เดินไปที่พัดลมและตัวปลั๊กซึ่งจมอยู่ใต้น้ำเพื่อยกขึ้นมาแต่ผมก็ต้องตกใจอีกครั้งเมื่อน้ำตรงบริเวณนั้นร้อนจี๋ยังกับน้ำอุ่นจัด ๆ เลยทีเดียว ผมจึงลองเอามือจุ่มน้ำฝนข้างหลังที่อยู่ไกลออกไปก็ปรากฏว่าน้ำเย็นเจี๊ยบ แต่พอลากมือใกล้จุดเกิดเหตุเข้ามาเรื่อย ๆ น้ำก็เริ่มอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
ผมนั่งคิดอยู่พักหนึ่งก็หยิบปลั๊กขึ้นมาซึ่งตอนนั้นน้ำก็เย็นลงไปมากแล้ว เหตุการณ์ทั้งหมดนี้คืออะไร ?
ผมเล่าเรื่องนี้ให้ทั้งเพื่อนและรุ่นน้องที่จบปริญญาตรี โท เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้าฟัง รวมไปถึงผู้ที่เรียนจบ
‘ปวส.อีเลคทรอนิคส์’ กับ
‘ไฟฟ้ากำลัง’ ด้วย ผมเล่าจบแล้วถามว่าผมรอดมาได้อย่างไร ที่จริงแล้วผมน่าจะถูกไฟดูดใช่ไหม ? หรือที่ไม่ดูดก็เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ธรรมดา ๆ แต่ผมงมงายไปเอง
ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวว่า
“ผมไม่น่ารอด” เขาอธิบายเหมือนกันว่ากำลังไฟ 220 โวลต์นี้อย่าว่าแต่ระยะ 1 ฟุต ที่ผมเดินเฉียดไปเลย ห่างกัน 5 เมตรผมก็ไม่รอด บ้านหลังเล็ก ๆ ของผมแค่นี้น่ะหรือ ยืนอยู่หน้าบ้านไฟยังดูดตายเลย...
เป็นคำอธิบายที่ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจต่อมาผมได้เล่าให้เพื่อนสนิทอีกคนฟังคือ
คุณบงกช มงคลชัย เจ้าของบริษัทบางแสนคอมพิวเตอร์ ซึ่งท่านจบปริญญาโทด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพ เมื่อฟังจบแล้วท่านว่าไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์อะไรหรอก คำอธิบายมีว่า
“ปลั๊กทุกชนิดจะมีสองรูเห็นไหม รูหนึ่งคือให้ไฟออกมาอีกรูหนึ่งคือไฟไหลกลับไป คนที่ถูกไฟดูดตายเพราะกระแสไฟวิ่งเข้าร่างแล้วผ่านออกไปลงดิน ถ้าไม่ผ่านร่างกายไปก็ไม่ตาย ดังนั้นการที่ปลั๊กสามตาจมอยู่ใต้น้ำ น้ำเลยเป็นสื่อให้กระแสไฟวิ่งผ่านจากรูหนึ่งไปอีกรูหนึ่งทำให้ไฟฟ้าไม่วิ่งออกมาจากบริเวณนั้น คุณก็เลยไม่เป็นอันตราย”
ผมรับฟังอย่างทึ่งใจ ที่เพื่อนผมเป็นเสมือนแสงประทีปเพียงดวงเดียวในถ้ำมืด แต่ประสาคนจบแค่การบริหารธุรกิจ ปริญญาตรี ความสงสัยเลยมีมากเป็นธรรมดาก็กัดฟันถามท่านว่า
“ที่อธิบายมานี้เป็นวิทยาศาสตร์จริง ๆ เลยใช่ไหม”
คุณบงกชตอบว่า “ใช่”
ผมจึงถามต่อว่า “ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์มันย่อมเป็นจริงเสมอไปทุก ๆ ครั้งที่ทดลองจนกำหนดเป็นทฤษฎีได้ เช่น ไฟร้อน น้ำแข็งเย็น ไม่มีผิดพลาดเฉไฉเป็นอื่นเลยจริงไหม ?”
ท่านก็ตอบว่า “ใช่”
ผมเลยเรียนว่า “ถ้ามั่นใจอย่างนั้นผมขอลองเอาปลั๊กสามตาตัวที่เกิดเรื่องนี่เลย ไปแช่ในถังน้ำในห้องน้ำตอนเนี้ย แล้วให้คุณลองเอามือจุ่มดูว่าไฟมันจะดูดหรือเปล่าได้ไหมกั๊บ”
ท่านนิ่งเงียบไปในทันที !!เงียบนานจนผมรู้สึกเหมือนจะได้ยินเสียงหัวใจท่านเต้น เต้นไปพร้อม ๆ กับคำก่นด่าผม...ที่แม้จะด่าอยู่ในใจก็เหมือนผมจะได้ยินกับหูเลยเทียว...
ก่อนหน้าวันชี้ชะตาเป็นตายดังเล่ามานั้น บ้านทาวเฮ้าส์ผมหลังนี้ไม่เคยมีพระเครื่องหรือพระบูชาเลย ผมจะเก็บไว้ที่บ้านคุณแม่ทั้งหมดเพราะผมมีเพื่อนมาเที่ยวบ้านเยอะ หลายคนชอบเอาเบียร์มาดื่ม เอาบุหรี่มาสูบ นั่งเหยียดเท้าตามสบาย พูดจาหยาบโลนตามสบาย แต่ผมรู้สึกไม่ค่อยสบาย
เลยตัดสินใจขอบ้านทาวเฮ้าส์หลังเล็กในซอยเพื่อเอาไว้รับรองเพื่อน ๆ โดยไม่ต้องกังวลใจเพราะไม่มีพระเลยนอกจากเครื่องอำนวยความสะดวกเท่านั้น แล้วผมก็ย้ายไปอยู่บ้านนั้นแบบเกือบถาวรร่วม 2 ปี
อยู่มาวันหนึ่งในกลางปี 38 ผมเกิดความรู้สึกอยากยกกล่องพระบางส่วนมาไว้ที่บ้านเล็กของผมเป็นอย่างมาก และจะต้องเป็นพระหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เท่านั้น แต่จะเป็นของสำนักไหนสร้างก็ไม่เป็นปัญหา ขอเพียงเป็นหลวงพ่อทวดก็ใช้ได้
ผมต้านความรู้สึกนั้นไว้ด้วยเหตุผลที่ว่า ก็เราจะไม่ให้มีพระเลยมิใช่หรือ จะได้เหยียดเท้า จะได้ทานเหล้า จะได้พูดจาตามสบายไงล่ะ แต่ความรู้สึกใหม่นั้นก็เหมือนจะไม่ฟังเสียงค้านเลย ยังคงดึงดันจะเอา...จะเอา...ให้ได้ สุดท้ายผมก็แพ้ความคิดใหม่ ต้องอัญเชิญกล่องใส่พระหลวงพ่อทวดทั้งหมดที่มีประมาณ 5-6 กล่องมาไว้ที่บ้านเล็ก รวมถึงพระหลวงปู่ดู่ทั้งหมด
หลังจากนั้นเพียงสามวันก็เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
ใครจะว่างมงายก็ช่าง แต่ผมรู้สึกทันทีว่าหลังปี 38 เป็นต้นมาผมเป็นหนี้ชีวิตหลวงพ่อทวด ไม่ว่าจะทำความดีเล็กน้อยหรือใหญ่หลวงเพียงใด ผมต้องน้อมถวายกุศลนั้นเป็นสังฆบูชาแก่ท่านเสมอไป
ดังนั้น เรื่องของหลวงพ่อทวดสำหรับผม จึงเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ในความรู้สึกของผมทุก ๆ เรื่อง ทุกครั้งที่มีคนเล่าถึงท่านโดยเคารพ ไม่ว่าจะในแง่ไหนมุมใด ผมเป็นต้องสนใจฟังอย่างยิ่งทุกทีไป ถ้าเทียบกับชาวโลกก็คงเหมือนแฟนคลับที่คลั่งดารานั่นแหละ
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เคยกล่าวถึงหลวงพ่อทวดอย่างเคารพเทิดทูนสูงสุดบ่อยครั้ง และมีวัตถุมงคลที่เป็นรูปของหลวงพ่อทวดซึ่งหลวงปู่ดู่สร้างเองและสานุศิษย์สร้างถวายเยอะแยะมากมายหลายพิมพ์ ท่านเคยบอกกับพี่ชายผมว่า
“แกรู้ไหมบารมีหลวงพ่อทวดน่ะ ครอบฟ้าครอบดิน” ผมไม่เคยได้ยินครูบาอาจารย์องค์ไหนกล่าวยกย่องอย่างสูงเช่นนี้มาก่อน ท่านยังบอกอีกว่า
“พระหลวงพ่อทวดนั้นแม้จะเป็นของปลอม แต่ถ้าแกนับถือก็ศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น อันนี้เป็นได้ด้วยบารมีของท่าน”แล้วท่านก็สอนพี่ผมว่า
“ของจริง คนจริง
ของจริง คนปลอม
ของปลอม คนจริง
ของปลอม คนปลอม”ความหมายนั้นหลวงปู่ท่านไม่ได้นิยามให้ คงฝากให้พี่ชายผมไปคิดเป็นการบ้าน แล้วพี่ผมก็คิดออกเสียด้วย มีความหมายลึกซึ้งมากทีเดียว ใครตีความออกผมว่าเท่ากับได้ขุมทรัพย์ทางปัญญาอันแสนประเสริฐ ใครคิดไม่ตก จะสละเวลาเขียนจดหมายไปถามผมก็ได้นะครับ
เคยมีหลายคนสงสัยว่า หลวงปู่ดู่รู้จักหลวงพ่อทวดได้อย่างไร ? เป็นไปได้ไหมว่าพอท่านพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ สร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นมาจนมีชื่อเสียงหลวงปู่ท่านก็สร้างตามอย่างด้วยเห็นเป็นความนิยม
ผมจะบอกความจริงบางอย่างให้ ท่านพระอาจารย์ทิมนั้นแต่เดิมเป็นพระเรียนหนังสือคือเรียนพระปริยัติธรรมนี่แหละ สมัยบวชใหม่ ๆ ท่านยังไม่ได้ศึกษาเรื่องการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาเท่าใดนักเพราะยุ่งอยู่กับการเรียน ผมจะเทียบให้เห็นอย่างนี้
ท่านพระอาจารย์ทิมเกิดเมื่อวันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 หลวงปู่ดู่เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2447 ท่านพระอาจารย์ทิมบวชเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลวงปู่ดู่บวชเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 และ
ท่านพระอาจารย์ทิมสร้างพระหลวงพ่อทวดเป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2497 แต่หลวงปู่ดู่สร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2485 !!พระหลวงพ่อทวดที่หลวงปู่ดู่สร้างขึ้นนั้นมีพิมพ์ทรงเป็นลักษณะสามเหลี่ยมแต่มุมทั้งสามโค้งมน ภายในเป็นรูปหลวงพ่อทวดนั่งสมาธิห่มลดไหล่พาดสังฆาฏิและนั่งบนฐานบัวสองชั้น ด้านหลังเรียบ
เกือบจะเป็นฝาแฝดกับพระว่านปี 97 ของวัดช้างให้ มหัศจรรย์เป็นนักหนา
เข้าใจว่าท่านเป็นผู้ทำพิมพ์ขึ้นเองเพราะถามศิษย์รุ่นเก่าหลายต่อหลายท่านก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดสร้างถวาย พระผงรุ่นนี้สำคัญมากที่สุด แต่สำคัญอย่างไรผมไม่อาจเปิดเผยได้เพราะจะทำให้ราคาพุ่งขึ้นสูงลิบลิ่วทีเดียว ลำพังเหรียญเปิดโลกทุกวันนี้ก็หลายหมื่นแล้วครับ ผมเห็นใจคนศรัทธาจริงที่อยากได้
นี่คือหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าหลวงปู่ดู่รู้จักหลวงพ่อทวดก่อนที่ท่านพระอาจารย์ทิมจะรู้จัก และสร้างพระหลวงพ่อทวดขึ้นก่อนที่ท่านพระอาจารย์ทิมจะสร้าง ดังนั้น ประเด็นที่ว่าหลวงปู่ทำพระเลียนแบบวัดช้างให้จึงตกไปแน่นอนที่สุด
แต่หลวงปู่ดู่รู้จักหลวงพ่อทวดได้อย่างไร ? ท่านเป็นหลวงพ่อทวดแบ่งภาคมา ? หรือจะเป็นหลวงพ่อทวดมาเกิดอย่างที่เขาลือจริงไหม ? ข้อนี้ผู้ที่สงสัยคงต้องคุยกันเป็นส่วนตัวครับ
อันว่าหลวงพ่อทวดนั้นไม่ว่าใครสร้างก็ตาม หากมีการบวงสรวงบอกกล่าวอย่างถูกต้อง ย่อมมีอภินิหารนานาประการอยู่แล้ว ก็ขนาดเก๊ยังแท้ได้ถ้านับถือ แล้วที่ตั้งใจให้แท้จะยากอะไร
ในปี พ.ศ. 2546
คุณสุธันย์ สุนทรเสวี ได้กราบขอบารมีหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด สร้างรูปเหมือนของท่านโดยทำจากหุ่นที่
คุณอำพล เจน เป็นผู้ปั้น ซึ่งดูแล้วขลังไม่ใช่เล่น โดยคุณสุธันย์ได้เอาแผ่นโลหะที่เคยนำไปขอความเมตตาจากครูบาอาจารย์ที่มีความเคารพและเกี่ยวพันกับหลวงพ่อทวดเป็นพิเศษให้ลงพระยันต์ต่าง ๆ มาหลอมเป็นชนวน ดังมีรายนามต่อไปนี้
1.
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
2.
พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร) วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
3.
พระครูถาวรชัยคุณ (พ่อท่านหมุน ยสโร) วัดเขาแดงตะวันออก อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
4.
หลวงปู่เนียร โชติธัมโม สำนักสงฆ์ต้นเลียบ อ.สทิงพระ จ.สงขลา
5.
พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธัมมภูโต) วัดทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
6.
พระครูวิรัชโสภณ (หลวงปู่แดง สุนทโร) วัดศรีมหาโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
7.
พระครูปภัสสรวิริยะคุณ (หลวงพ่อด่วน ถามวโร) วัดวารีบรรพต (วัดบางนอน) อ.เมือง จ.ระนอง
8.
พระศีลมงคล (พ่อท่านทอง) วัดสำเภาเชย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
9.
พระครูอนุศาสนกิจจาทร (พ่อท่านเขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
10.
พระเทพศีลวิสุทธิ์ (พ่อท่านฉิ้น) วัดเมือง อ.เมือง จ.ยะลา
11.
พระครูอาทรศุภการ (พ่อท่านพล) วัดนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
และที่สำคัญยิ่ง คือผู้สร้างได้ทำการรีด
แผ่นทองคำบริสุทธิ์ขนาดกว้างคูณยาวเท่ากับ 4 นิ้ว น้ำหนักแผ่นละ 1.50 บาท ไปถวายพระมหาเถระผู้ทรงคุณวิเศษให้ลงพระยันต์ที่องค์ท่านถนัดมาหลอมเป็นชนวนด้วย ดังนี้
1.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพ
2.
พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทโธ) วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
3.
พระครูสิริภัทรกิจ (สมศรี ปริสุทโธ) วัดหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
4.
พระครูวิสุทธิบุญดิษฐ์ (นวล ปริสุทโธ) วัดไสหร้า อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
5.
พระมงคลวิสุทธิ์ (สุภา กันตสีโล) วัดสีลสุภาราม อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นอกนั้นก็ยังมีแผ่นยันต์ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อีกมากมายที่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์และมีอภิญญาเป็นที่เคารพของสาธุชนชาวพุทธจำนวนหลายร้อยแผ่น ซึ่งจะอ่านได้จากสูจิบัตรอันจะแนบมากับพระที่ท่านเช่าบูชา
ครั้นได้ชนวนมาครบบริบูรณ์แล้ว ผู้สร้างก็ได้ทำการหลอมชนวนเข้าด้วยกันแล้วเทลงสู่เบ้าตามฤกษ์ยามที่คำนวณไว้ดีแล้วจากโหราจารย์ แบ่งเนื้อและจำนวนออกได้ดังนี้
1. เนื้อนวโลหะพิเศษแก่ทองคำ จำนวน 86 องค์
2. เนื้อนวโลหะ จำนวน 163 องค์
3. เนื้อทองโภคทรัพย์ จำนวน 194 องค์
รวมทั้งสิ้นได้ 443 องค์ เฉพาะเนื้อทองโภคทรัพย์นั้น ได้นำเหรียญ 50 สตางค์ ที่ผ่านการเสกแล้วมาหลอม เนื้อจึงสวยงามมากและจะไม่ดำด่างอย่างเนื้อทองเหลืองทั่วไป จากนั้นได้นำพระทั้งหมดมาคว้านใต้ฐานเพื่อบรรจุผงพุทธคุณและว่านที่มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เข้าไป ดังรายการต่อไปนี้
1. ผงจิตรลดา ที่เหลือจากการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
2. ผงพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่แตกหักชำรุด
3. ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่แตกหักได้เมื่อคราวเปิดกรุ พ.ศ. 2500
4. ผงว่านที่เหลือจากการสร้างพระหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ ในปี พ.ศ. 2497 , พ.ศ. 2506และ พ.ศ. 2524
5. ผงดินจากเขื่อน (สถูป) ที่พักศพของหลวงพ่อทวด ในรัฐแปะรัค ประเทศมาเลเซีย
6. ผงมหาจักรพรรดิ์ ที่ลงและลบเอง ของ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก
7. ผงมหาจักรพรรดิ์ ที่ลงและลบเอง (ประมาณปี พ.ศ. 2485) ของ พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ อุตตมะรัมโภ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
8. ผงโสฬสมหามงคล ของ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
9. ผงแก้วสามดวง ของ พ่อท่านเขียว อินทมุนี วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
จะเห็นได้ว่าผงวิเศษทั้งหมดดังกล่าวมาล้วนเป็นของหายากและมีจำนวนไม่มากนัก ผู้สร้างได้นำผงทั้งหมดมาประสมเข้าด้วยกันแล้วกรอกลงใต้ฐานพระ โดยมิได้ใช้ตัวประสานใด ๆ เช่น กล้วย น้ำอ้อย หรือ กาว มาผสมเลย แต่เทลงไปทั้งที่ยังเป็นผงนั่นแล
จากนั้นก็ผสมเรซินใสแล้วหยอดลงไปเพื่อปิดผนึกป้องกันผงรั่วไหลออกมาและกันน้ำเข้าไป เมื่อแห้งแล้วก็แข็งแรงดีทั้งยังใสส่องมองเห็นผงข้างในได้ด้วย นับเป็นมิติใหม่ของพระเครื่องแขวนคอเลยทีเดียว
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็อัญเชิญพระเครื่องทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการเสกโดยอาราธนาไปขอบารมีหลวงพ่อทวดยังสถานเกี่ยวพันคือ
1.
สำนักสงฆ์ต้นเลียบ อันเป็นจุดที่ใกล้สถานที่เกิดของหลวงพ่อทวดมากที่สุด โยมบิดา-มารดา ของท่านจึงได้ทำการฝังรกของท่านไว้ที่นี่
2.
วัดพะโคะ อันเป็นอารามที่หลวงพ่อทวดได้สร้างขึ้นและอยู่จำพรรษาจนโละหายไปทั้งของวิเศษคู่บารมี คือ ดวงแก้วพญางูก็ยังประดิษฐานอยู่ที่นี่
3.
วัดช้างให้ อันเป็นอารามที่หลวงพ่อทวดถูกอัญเชิญศพมาพัก ,ทำการถวายเพลิง และ บรรจุอัฐิธาตุไว้ จนพวกเราได้มากราบไหว้บูชาและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
เห็นได้ว่าผู้สร้างมีความละเอียดลออยิ่งนักที่ได้เชิญรูปเคารพของท่านไปขอบารมียังสถานที่ที่ถือได้ว่าเป็นแหล่ง เกิด บรรลุธรรม และ มรณภาพ คล้ายความเป็นไปของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า สมดังเค้าที่ว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิ
ต่อนั้นได้เชิญมาเข้าพิธีมังคลาภิเษกที่สำคัญดังนี้
1. พิธีมหาจักรพรรดิ์พุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2546
2. พิธีเหรียญพระพุทธเสฏฐมุนี ว.ว. ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2546
3. พิธีพระกริ่งนารายณ์แปลงรูป ณ วัดทรายขาว ต.ป่าไร่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2546
4. พิธีเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเงิน ณ วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547
5. พิธีพระกริ่งดำรงราชานุภาพ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2548
6. พิธีมังคลาภิเษกพระนิรันตราย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2548
7. พิธีเททองหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อคง ธัมมโชโต ณ วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548
ครั้นสำเร็จจากพิธีใหญ่ ๆ แล้วได้นำไปถวายครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมและเลือกเฟ้นองค์ที่มีความเคารพเกี่ยวพันกับหลวงพ่อทวดได้ดังรายนามต่อไปนี้
1.
พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ อุตตมะรัมโภ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี อธิษฐานจิตสองวาระ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546
2.
พระมงคลวุฒิ (ทอง โสณุตตโร) วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) กรุงเทพ อธิษฐานจิตปลุกเสกสามวาระด้วยกัน คือ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2546 , วันที่ 2 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2547
3.
พระนิมมานโกวิท (ทองดำ ฐิตวัณโณ) วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ อธิษฐานจิตตั้งแต่ วันที่ 23 มกราคม ถึง วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2547
4.
พระศีลมงคล (ทอง) วัดสำเภาเชย อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี อธิษฐานจิตปลุกเสกตั้งแต่วันที่ 1 – 30 เมษายน พ.ศ. 2547
5.
พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เสกสองวาระด้วยกันคือ วันที่ 21 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และ เสกตลอดไตรมาสตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2548 จนออกพรรษา
6.
พระครูสังวรานุโยค (ช่อ) วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงครามเสกตั้งแต่วันที่ 26 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547
7.
พระครูวินัยวัชรกิจ (อุ้น สุขกาโม) วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี อธิษฐานจิตปลุกเสกวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547
8.
พระมงคลสิทธิคุณ (พูล อัตตรักโข) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม เสกตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
9.
พระราชสังวรญาณ (ไพบูลย์ สุมังคโล) วัดอนาลโยทิพยาราม อ.เมือง จ.พะเยา อธิษฐานจิตสองวาระ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2548
10.
พระครูอนุศาสนกิจจาทร (เขียว) วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เสกตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
นับได้ว่าการนำเสกที่เต็มเปี่ยมเพียบพร้อมและยาวนานอย่างนี้หาได้ยากนักในปัจจุบัน และครูบาอาจารย์หลายรูปที่ปลุกเสกก็มรณภาพจากไปแล้ว คงเหลือไว้เพียงคุณความดีให้พวกเราได้ระลึกถึงและประพฤติตาม
กับอีกอย่างคือมรดกขลังที่พวกท่านประทานไว้ให้เราได้อาราธนารักษาชีวิต ผู้ใดเคารพนับถือหลวงพ่อทวด แต่ไม่มีความรู้ที่จะดูของเก่า ไม่มีสตางค์ที่จะเช่ารุ่นหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ฯลฯ ไม่แน่ใจว่าของที่มีอยู่ในมือดีแท้ขลังแน่หรือไม่อย่างไร
ผมขอแนะนำพระหลวงพ่อทวดชุดนี้ว่าดีแน่ ๆ เยี่ยมยอดด้วยชนวนมวลสารที่อวดได้อย่างไม่อายใคร มีทั้งการหลอมโลหะศักดิ์สิทธิ์ด้วยเตโชธาตุอันเป็นการหนุนคงกระพันและมหาอุด แต่งเติมด้วยผงพุทธคุณที่ละเอียดอ่อนให้ผลทางเมตตามหาเสน่ห์และเจริญก้าวหน้าในการงาน อุดมด้วยลาภและยศศักดิ์โดยอานุภาพแห่งผงวิเศษที่พระเถราจารย์ได้ลบถมไว้
ทั้งสองสิ่งล้วนครบถ้วนบริบูรณ์อยู่แล้วในหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ ผมเองยังรีบอาราธนาขึ้นคอแทบไม่ทัน เพราะทุก ๆ ขั้นตอนโดนใจผมเหลือเกิน และขอกระซิบดัง ๆ เลยว่า
พ่อท่านทอง วัดสำเภาเชย ที่ร่วมเสกนี้ไม่ธรรมดา
ผมเห็นทหารภาคใต้นำโดยกองอนุศาสน์ฯ ปัตตานีสร้างพระหลวงพ่อทวดให้พ่อท่านทองเสก ตอนนี้ทุกเนื้อทุกพิมพ์แพงระยับจับไม่ลงเลยคุณ ขนาดท่านเสกองค์เดียว เนื้อหาก็ไม่เท่าไร และเสกแค่วันเดียวอีกต่างหาก แต่ “รุ่นแก้วสารพัดนึก” นี้ท่านทำให้นานถึง 30 วันเต็มเจียวหนา
พ่อท่านทองน่ะเสกแมลงปอเรียกทรัพย์ให้เคลื่อนไหวบินว่อนออกจากที่ได้ภายในไม่กี่นาที ย่อมแสดงให้เห็นถึงจิตตานุภาพของท่านว่าแข็งแกร่งเพียงใด แล้วด้วยเวลาที่ยาวนานถึง 30 วัน สำหรับการเสกหลวงพ่อทวด...?
ผมว่าพระชุดนี้เหลือรับประทานจริง ๆ
ยังไม่อยากเอ่ยอ้างไปถึงพระมหาเถระองค์อื่น ๆ มิฉะนั้น ‘ศักดิ์สิทธิ์’ เล่มนี้ต้องยกให้ผมเขียนคนเดียว ไม่งั้นหน้าจะไม่พอผมโม้
ออกฉบับพิเศษเลยดีไหมคุณ ?
เอาเป็นว่าใครที่ศรัทธา มีสตางค์ และอยากได้ ครบองค์สามแล้วขอได้โปรดรีบติดต่อด่วนไปยังท่านผู้ดำเนินการ เพราะตอนนี้สาธารณสุขสมุทรสงครามยังมีหนี้ค่าหอพระและองค์พระพุทธรูปอยู่ ถือว่ามีน้ำใจช่วยกันและแบ่งปันของดีไปสักการะนะครับ
ส่งธนาณัติไปที่ คุณสุธันย์ สุนทรเสวี
สำนักงานสาธารณสุข จ.ว.สมุทรสงคราม
อ.เมือง
จ.สมุทรสงคราม 75000
สั่งจ่ายที่ ปณ. สมุทรสงคราม
ค่าบูชากำหนดไว้ดังนี้ครับ
1. เนื้อนวโลหะแก่ทองคำเป็นพิเศษ (ทำให้กลับดำสนิทเร็วมาก) องค์ละ 1,000 บาท
2. เนื้อนวโลหะ (กลับดำ) องค์ละ 500 บาท
3. เนื้อทองโภคทรัพย์ องค์ละ 300 บาท
ผมมั่นใจในหลวงพ่อทวดชุดนี้จริง ๆ ถ้าเสียดายก็มีอยู่แค่สองอย่าง คือขาดพระอาจารย์นอง วัดทรายขาว และ พ่อท่านพล วัดนาประดู่ ร่วมเสก ไม่อย่างนั้นพระนี้จะถือว่าเป็นยอดวิทยายุทธเลยเทียว แต่ถ้าจะให้ดี น่าจะทันหลวงปู่ดู่ และ ท่านอาจารย์ทิม
เอ ! ก็ยังไม่ดีเนอะ
ถ้าจะให้ดียิ่งกว่านี้ต้องให้ทันหลวงพ่อทวดเสกเองเลยเนอะ
คุณว่าจริงมั้ย ?
#### เรื่องนี้ตีพิมพ์ในศักดิ์สิทธิ์เมื่อประมาณปี 2548 ฮะ พระอาจจะหมดไปแล้ววววววววว####