เสาร์ 21 ก.พ. 2009 10:44 am
เมื่อวาน...คุณพ่อหยุดสุดสัปดาห์ เลยเป็นโอกาสดีที่พวกเราได้ไปกินข้าวนอกบ้านกันทั้งครอบครัว..
คราวนี้พ่อมาแปลก...พาพวกเราไปดูของตกแต่งบ้านด้วย..
"
ที่บ้านก็มีอยู่แล้ว จะซื้อทำไมอีก"แม่บ่น
"ก็อันนี้ มันเป็นของเก่านี่นา" พ่อเถียง
แน่ล่ะ...เมื่อพ่อตัดสินใจซื้อ ก็จะเป็น"
ของโบราณ"สำหรับน้อง
ตอนที่เราทานข้าวเสร็จและกลับบ้าน น้องถามพ่อกับแม่ว่า"
พ่อซื้อชุดรับแขก ทำไมเล็กจัง พวกเราจะนั่งได้เหรอ"
พ่อบอกว่า ไม่ใช่โต๊ะรับแขก คนขายบอกพ่อว่า
“มันคือม้าหมู่” เมื่อกลับมาถึงบ้านตอนประมาณ 3 ทุ่ม คุณพ่อก็ไปรื้อลังที่ใส่ “ม้าหมู่” แล้วนำมาประกอบ
น้องบอกพ่อสั้นๆว่า
"เก่าแบบนี้ พวกเราจะนั่งได้เหรอ"
คุณแม่หัวเราะ แล้วบอกว่า
“เขาไว้ตั้งบูชาพระพุทธรูปจ้ะ”
- IMG_1116.jpg (98.08 KiB) เปิดดู 2151 ครั้ง
"
ม้าหมู่” เป็นชื่อโบราณของ โต๊ะหมู่บูชา ที่ในระยะเริ่มต้นชาวสยามต่างให้ความนิยมด้านการจัดตกแต่งเพราะเชื่อว่าเมื่อมีพิธีหรือวันสำคัญต่าง ๆ สิ่งนี้จะหลงลืมเสียไม่ได้ วันมาฆบูชา นี้ก็เช่นกัน เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศ หลักธรรมคำสอนเพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลายที่มาประชุมกันนำไปเผยแพร่ ซึ่งวันนี้นิยมใช้ดอกบัวประดับโต๊ะหมู่เพื่อแสดงออกถึงพระภิกษุที่มาจากทุกสารทิศ เมื่อบวชควรปฏิบัติตนตามคำสอน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง
“อธิบายเครื่องบูชา” ว่า เครื่องบูชาชนิดนี้เป็นแบบไทยแกมจีน เพราะความคิดในการจัดเครื่องบูชาเป็นความคิดไทย แต่กระบวนการจัดเอาอย่างมาจากที่จีนเขาจัดตั้งเครื่องแต่งเรือน แต่ตามเรื่องตำนานปรากฏว่า เมื่อรัชกาลที่ 2 ทรงสร้างสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง (ตรงสวนศิวาลัยบัดนี้) ครั้งนั้น ประจวบเวลาราชทูตไทยออกไปเมืองปักกิ่ง ได้เครื่องแต่งเรือนจากจีนมาจัดแต่งพระราชตำหนัก เป็นเหตุให้เกิดนิยมกันขึ้นเป็นที่แรก
เริ่มนำ
“ม้าหมู่” มาใช้เป็นเครื่องบูชาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีพระราชดำริให้สร้างม้าหมู่ใหญ่ 11 ตัว และมีพระราชดำริให้สร้างม้าหมู่ขนาดน้อย มีม้าสำหรับตั้งเครื่องบูชาหมู่ละ 4 ตัว เพื่อบูชาพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์
น้องเชื่อคุณพ่อครับ ว่า
“ม้าหมู่” นี่มีจริงๆ