หลวงปู่ทวดนวล วัดตุยง ปี 2507 จ.ยะลา พิมพ์กลาง เนื้อว่าน คราบว่านขึ้นสวยงามมาก มาในกล่องเดิม ๆ สุดยอดทั้งมวลสารและพิธีปลุกเสก
ด้วยบารมี ของหลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโม วัดมุจลินทวาปีวิหาร(ตุยง)
พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ) และพุทธศาสนิกชนจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกันสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดนวล ขึ้นในปี พ.ศ.2505 ถึง พ.ศ.2507
โดยที่หลวงพ่อดำได้วางแผนการจัดสร้างพระรุ่นนี้ไว้ถึง 3 ปีเต็มๆ
และในด้านพิธีการปลุกเสกก็ถือว่าสมบูรณ์ตามแบบฉบับโบราณทุกประการ
หลวงพ่อดำท่านได้นิมนต์เกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้ามาร่วมปลุกเสกถึง 200 องค์
ซึ่งมีพระเกจิรูปหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างพระชุดนี้จนถึงขั้นตอนการปลุกเสกก็คือ
อาจารย์ทิม แห่งวัดช้างให้ อีกทั้งยังได้อัญเชิญดวงวิญญาณ ลป.ทวด มาเป็นประธานเช่นเดียวกับหลวงปู่ทวดรุ่นแรกของวัดช้างให้ทุกประการ
โดยด้านหลังจะมียันต์ประทับอยู่ทุกองค์
ประกอบด้วยพิมพ์พระ 5 พิมพ์ ดังนี้
1. พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว
2. พิมพ์ใหญ่
3. พิมพ์ขาโต๊ะ
4. พิมพ์กลาง
5. พิมพ์เล็ก
ประวัติหลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโม
อดีตเจ้าอาวาส วัดมุจลินทวาปีวิหาร (ตุยง) อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
หลวงพ่อทวดนวล ท่านเป็นภิกษุที่จำพรรษาอยู่แถบจังหวัดปัตตานี เป็นสหธรรมิกร่วมสมัยเดียวกันกับ หลวงพ่อทวดหมาน วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
ผู้เรืองวิชาอาคม มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่าหลวงพ่อทวดหมาน สมัยนั้นท่าน
ดำรงตำแหน่งพระครูธรรมประดิษฐ์ เจ้าคณะอำเภอมะกรูด ( อ.โคกโพธิ์ )
ท่านใช้มือตบต้นมะพร้าวเบาๆ ลูกมะพร้าวก็หล่นลงมา เป็นอัศจรรย์ และท่านมักเย้าแหย่หลวงพ่อทวดนวล เวลามาวัดตุยง ด้วยการเขย่าเสากุฏิของหลวงพ่อทวดนวล ด้านทิศตะวันตก จนกุฏิสั่นสะเทือน เป็นประจำ
หลวงพ่อทวดนวล ท่านสั่งสอนธรรมะ สืบทอดพระศาสนา ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาส วัดมุจลินทวาปีวิหาร หรือวัดตุยงตามปรากฏในประวัติศาสตร์การประพาสหัวเมืองทางใต้
หลวงพ่อทวดนวลท่านเป็นเสาหลักของกองทัพธรรมในจังหวัดปัตตานี
ในสมัยนั้น ทำให้พระพุทธศาสนาเฟื่องฟูและดำรงอยู่ได้ ท่ามกลาง ชาวมุสลิม และ คติความเชื่อของศาสนาอิสลาม
หลวงพ่อทวดนวล ท่านเป็นที่พึ่งพาของพุทธศาสนิกชนในละแวกแถบนั้น ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดโรคระบาด โดนคุณไสยถูกกระทำ ผีเข้า ลมเพลมพัด ฯลฯ
ต่างต้องมาพึ่งบารมีของหลวงพ่อทวดนวลให้ช่วยรักษา ถอดถอนของนั้นๆ ด้วยยาสมุนไพร และอาคม เสมอๆ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในแถบนั้นอย่างมาก ไม่เว้นแม้ชาวมุสลิม ที่ท่านได้ช่วยถอนคุณไสย ( สมัยนั้นชาวมุสลิมนิยมทำร้ายศัตรูด้วยคุณไสย ) แต่ถึงกระนั้นวัดตุยงก็ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เท่ากับ ยุคของพระราชพุทธิรังษี หรือ หลวงพ่อดำ ที่ท่านได้ตั้งวัดตุยงเป็นโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร และเป็นสถานที่สอบนักธรรมของจังหวัดปัตตานี ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2480 รัชกาลปัจจุบัน
ในสมัยของหลวงพ่อดำนี้ หลวงพ่อทวดนวล ท่านก็ยังลงมาประทับทรงพระเณรในวัดตุยง เพื่อโปรดชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนที่มีเรื่องทุกข์ร้อน
ครั้งหนึ่งพระมหาสุข กำลังเดินทางมาจากกรุงเทพ ด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศ เพื่อย้ายมาจำพรรษา ณ วัดตุยง แต่เครื่องยนต์เกิดดับขณะบินอยู่บนท้องฟ้า พระมหาสุข จึงอธิฐานจิต ถึงหลวงพ่อทวดนวล ว่าหากตนยังมีคุณค่ากับพระศาสนา ขอให้ปลอดภัยเถิด เป็นอัศจรรย์ที่แม้เครื่องยนต์จะดับ แต่เครื่องบินยังคงทรงตัวต่อไปในอากาศ จนถึงที่หมายสนามบิน บ่อทอง จ.ปัตตานี อย่างปลอดภัย เช้าวันนั้นหลวงพ่อทวดนวล ท่านลงทรงมาพบปะชาวบ้าน ท่านเปรยว่า “ วันนี้เราไปแบกแมลงภู่เหล็ก ช่วยลูกท่านดำมา” สร้างความงุนงงแก่ช้าวบ้าน จนช่วงเย็นพระมหาสุขเดินทางมาถึงวัดตุยง จึงคลายสงสัย ว่าแมลงภู่เหล็ก นั้นคือ เครื่องบิน และ ลูกหลวงพ่อดำ ก็คือ พระมหาสุข นั่นเอง
พระมหาสุข รูปนี้ต่อมาท่านเป็นศิษย์และเป็นเจ้าอาวาสวัดตุยง ต่อจากหลวงพ่อดำ
สมณศักดิ์ที่ พระสิทธิการมุนี ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่พระศาสนาอย่างมากมาย จวบจนท่านมรณะภาพ ท่านเป็นที่รักและเคารพของชาวปัตตานี จนมาถึงปัจจุบัน
มวลสารในการสร้างพระหลวงพ่อทวดนวลประกอบด้วย
ว่านศักดิ์สิทธิ์ 108 ชนิด ผงพุทธคุณผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงตรีนิสิงเห
และผงแก่นไม้ขนุนที่กลายเป็นหิน ที่หลวงพ่อดำ ท่านเก็บรักษาเอาไว้
และปลุกเสกอยู่นานหลายปี
ที่เลือกแก่นขนุนเป็นส่วนประกอบเพราะ “ขนุน”
เป็นไม้มงคล ให้ผลทางการช่วย “หนุน” ดวงชะตา และช่วย “เกื้อหนุน” ในยามตกทุกข์
พระเครื่องหลวงพ่อทวดนวล วัดตุยง จึงมีอานุภาพมาก ในทางคงกระพัน แคล้วคลาด ปลอดภัยในการเดินทาง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และช่วยหนุนนำ ผู้มีเคราะห์ ให้พ้นจากทุกข์โศก ตลอดจนมีโชคมีลาภ เป็นโภคทรัพย์
บูชาที่
999 บาทเท่านั้นคร้าาบ