อังคาร 23 มิ.ย. 2009 4:28 am

- เหรียญพระคเณศ ด้านหน้า
- 23-06-09 049.jpg (120.93 KiB) เปิดดู 2861 ครั้ง

- เหรียญพระคเณศ ด้านหลัง
- 23-06-09 059.jpg (100.85 KiB) เปิดดู 2858 ครั้ง
พระเคณศหรือ
พระพิฆเนศ นั้นได้ชื่อว่าเป็นเทพของการเริ่มต้นในการพิธีทั้งปวง และถูกยกให้เป็น Universal God ด้วยบัญญัติแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้สถาปนาให้เป็นเทพพระองค์แรกซึ่งต้องกราบไหว้บูชาก่อนเริ่มพิธีมงคลต่างๆทั้งทางโลกและทางธรรม(ยกเว้นงานศพ) นอกจากนั้นยังเป็นเทพแห่งผู้ขจัดอุปสรรคและประทานความสำเร็จรวมถึงโภคทรัพย์
ขอขอบคุณ คุณป๊อก เชลซี ข้อมูลจากหนังสือ พระศรีคเณศ มหาเทพแห่งความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
เหรียญพระคเณศเหรียญนี้ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง(ผสม) องค์พระคเณศทาทองบรอนซ์
สร้างโดยพระราชครูศิวาจารย์ ในปี 2551
เป็นเหรียญที่สร้างน้อย หายาก แจกเฉพาะคณะศิษย์ใกล้ชิดประกอบพิธีเทวาภิเษกอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาพราหมณ์ทุกประการ
โดยพระราชครูศิวาจารย์ (พราหมณ์ ถาวร ภวังคนันท์)เปิดราคาที่ 1,500 บาท รวมค่าจัดส่ง
สนใจติดต่อ 081 - 4248172
ตอนท้ายขอเสนอข้อมูลเรื่อง
การปกครองของงานพราหมณ์ในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (พราหมณ์ ละเอียด รัตนพราหมณ์)ดำรงตำแหน่ง ประธานพราหมณ์
ทำหน้าที่ทางด้านการศาสนา เป็นผู้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
พระราชครูวามเทพมุนี (พราหมณ์ ชวิน รังสิพราหมณกุล)
ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพราหมณ์ทำหน้าที่ดูแลคณะพราหมณ์ ทำหน้าที่ทางด้านศาสนา เป็นผู้ช่วยพระมหาราชครูอัษฎาจารย์
พระราชครูศิวาจารย์ (พราหมณ์ ถาวร ภวังคนันท์)เป็น พระครูพราหมณ์ พระครูสตานันทมุนี (พราหมณ์ อรุณ สยมภพ) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูญาณสยมภูว์ (พราหมณ์ ขจร นาคะเวทิน) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูสิทธิไชยบดี (พราหมณ์ ยศ โกมลเวทิน) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูสุริยาเทเวศร์ (พราหมณ์ ศรีล รังสิพราหมณกุล) เป็น พระครูพราหมณ์
พราหมณ์พิธี จำนวน 6 ท่าน คือ
1) พราหมณ์ สมบัติ รัตนพราหมณ์
2) พราหมณ์ คีษณพันธ์ รังสิพราหมณกุล
3) พราหมณ์ ปฏิหาริย์ สยมภพ
4) พราหมณ์ ธนพล ภวังคนันท์
5) พราหมณ์ ปรีชาวุธ นาคะเวทิน
6) พราหมณ์ ปกรณ์ วุฒิพราหมณ์
หน้าที่ ด้านงานพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายแด่พระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ในวาระสำคัญ
ด้านหน่วยงานและเอกชน เป็นผู้ประกอบพิธีตามประเพณี และ วัฒนธรรมของไทยแต่โบราณ ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวกับการรวมขวัญและมงคลของประชาชน เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย เป็นต้น
พิธีเกี่ยวกับรัฐ บวงสรวงวาระวันสำคัญวันสถาปนา
พิธีเกี่ยวกับประชาชน เป็นประเพณี มีพิธีเกิด ทำขวัญเดือน ตัดจุก แต่งงาน ปลูกบ้าน และ พิธีมงคลตามวาระที่มีความประสงค์ ฯลฯ
ด้านการเผยแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ตามคติประเพณี ด้วยการประกอบพิธีกรรม เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีแต่โบราณ การให้ความรู้ การสอนหลักปรัชญาของศาสนา
ด้านการเตรียมบุคลากรพราหมณ์ผู้สืบทอดศาสนา ให้การศึกษาและให้โอกาสลูกหลานพราหมณ์เรียนต่อที่ประเทศอินเดีย โดยมุ่งให้ความรู้ด้านปรัชญาและศาสนา ตามความสามารถของแต่ละคน ให้ความรู้การฝึกฝน ด้านการประกอบพิธีกรรม
ด้านการสังคมสงเคราะห์ จัดตั้ง มูลนิธิ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการศาสนา บูรณะ และ ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเยาวชน สนับสนุนกิจการด้านจริยธรรม และ วัฒนธรรมอีกด้วย
ขอขอบคุณ เวปไซต์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
http://devasthan.org/list.html