Switch to full style
มาร่วมสนทนากันในหมู่สมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ท่านประสบมาได้ที่นี่ครับ
ตอบกระทู้

ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 10:02 am

ขอถามเลยได้ไหมคะ ว่าผ้ายันต์บรมครูผืนนี้เป็นรุ่นแรกของท่านหรือเปล่าคะ เพราะเพื่อนบอกว่าไม่ใช่รุ่นแรกของท่าน แต่เขาก็ไม่เคยเห็นผ้ายันต์รุ่นแรกเหมือนกัน แล้วผ้ายันต์รุ่นแรกเป็นอย่างไรคะ ไม่ทราบว่าท่านใดมีครอบครองอยู่หรือเปล่าคะ ?

สืบเนื่องจากที่คุณวริสราเคยถามถึงผ้ายันต์องค์บรมครูของท่านพระอาจารย์ไว้ในกระทู้ "ขอโชว์บ้าง ผ้ายันต์หนุมานรุ่นแรกของท่านอาจารย์ติ๋ว" ซึ่งผมคิดว่าหากตอบในกระทู้นั้นก็ยากที่คนทั่วไปจะตามเข้าไปดู เพราะนับวันกระทู้ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจไม่สะดวกกับผู้มาทีหลังในการค้นหา จึงจำเป็นต้องขออนุญาตคุณวริสรายกขึ้นมาตอบเป็นการเฉพาะในกระทู้ใหม่ หวังว่าคงให้อภัยนะครับ
ขออนุญาตตอบเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. ผ้ายันต์องค์บรมครูผืนนี้เป็นรุ่นแรกของท่านหรือเปล่า ?

p1.jpg
p1.jpg (16.05 KiB) เปิดดู 5101 ครั้ง


ตอบ
ไม่ใช่ครับ ผ้ายันต์ผืนนี้ผู้สร้างขึ้นคือ พระมหาวีรธรรม ธัมมวีโร หรือที่สานุศิษย์เรียกขานอย่างสนิทใจและเคารพรักว่า "มหาแจ๊ค" แห่ง วัดยานนาวา สาธร กรุงเทพ ท่านสร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นทานบารมีในงานพุทธาภิเษกพระบูชาสมเด็จองค์ปฐมปางจักรพรรดิ ซึ่งในงานนั้นยังมี "แหวนปลอกมีด" ของท่านพระอาจารย์ติ๋วเนื้ออัลปาก้าซึ่งท่านมหาสร้างขึ้นมาเข้าพิธีเสกด้วย องค์เสกในวันนั้นเท่าที่ผมจำได้ก็มี ท่านพระอาจารย์ติ๋ว ฐิตวัฑฒโน วัดมณีชลขัณฑ์ หลวงพ่อหล่ำ สิริธัมโม วัดสามัคคีธรรม ครูบากฤษณะ อินทวัณโณ สำนักสงฆ์เวฬุวัน พระอาจารย์หรีด จิรปุญโญ วัดป่าโมกข์ หลวงพ่อชำนาญ อุตตมปัญโญ วัดบางกุฎีทอง พระมหาพรหมา วัดยานนาวา ฯลฯ จึงถือได้ว่าของในพิธีมีความศักดิ์สิทธิ์มิใช่น้อย ใช้ได้ไม่เคอะเขินเลยทีเดียว

2. ผ้ายันต์รุ่นแรกเป็นอย่างไร ?

re4.jpg
re4.jpg (50.6 KiB) เปิดดู 5102 ครั้ง


ตอบ ผ้ายันต์รุ่นแรกจะมีลักษณะดังภาพ คือเป็นผ้าพื้นสีขาวเนื้อดี วาดลวดลายยันต์องค์บรมครูทั้งสี่อันเป็นองค์แทนของพระคาถารัตนมาลาบทสำคัญในตำรับวิชาของหลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ทั้งสี่บท คือ อิ ติ ปิ และ โส ทั้งสี่พระองค์สี่บท ล้วนทรงอานุภาพมหาศาลและเกื้อหนุนกันอยู่เสมอดังธาตุทั้ง 4 แต่ละพระยันต์ก็มีอำนาจต่าง ๆ กันไปตามที่หลวงปู่ศุขรจนากำกับไว้ในตำราของท่าน

re5.jpg
ดูกันใกล้ ๆ กับองค์บรมครูทั้งสี่พระองค์ที่เรียงรายกันไปตามบทพระคาถา
re5.jpg (43.66 KiB) เปิดดู 5095 ครั้ง

re6.jpg
re6.jpg (42.13 KiB) เปิดดู 5089 ครั้ง

re7.jpg
re7.jpg (44.94 KiB) เปิดดู 5083 ครั้ง

re9.jpg
re9.jpg (46.26 KiB) เปิดดู 5079 ครั้ง


ตรงกลางเป็น "ยันต์บัวแก้ว" ให้ผลทางแคล้วคลาดป้องกันภัยและทำมาค้าขาย รับราชการเจริญรุ่งเรืองดี

re10.jpg
re10.jpg (49.53 KiB) เปิดดู 5075 ครั้ง


ผ้ายันต์องค์บรมครูรุ่นแรกนี้สร้างประมาณปี พ.ศ. 2542 จำนวนทั้งสิ้น 200 ผืน และในการนี้ท่านยังได้สร้าง "ผ้ายันต์ราชสีห์คู่" ซึ่งเป็นตำราของ หลวงปู่สี พินทสุวัณโณ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยท่านสร้างขึ้นในจำนวนที่เท่ากันคือ 200 ผืน

re1.jpg
re1.jpg (51.18 KiB) เปิดดู 5070 ครั้ง

re2.jpg
ดูกันใกล้ ๆ กับลวดลายพญาสิงหราชทั้งสองตัว
re2.jpg (65.39 KiB) เปิดดู 5069 ครั้ง

re3.jpg
มีการปั๊มโค้ดตรายางกันปลอม เป็นรูปตัว "นะ" ที่ชื่อว่า "นะทรงแผ่นดิน" ข้างใต้กำกับด้วยพระคาถาว่า "นะอะระหัง" และบอกวัดคือ "วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี"
re3.jpg (42.14 KiB) เปิดดู 5061 ครั้ง


ระยะนั้นเป็นเวลาอันประจวบเหมาะพอดีกับที่ทางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้ประกอบพิธีจักรพรรดิพุทธาภิเษกขึ้น และได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์ติ๋วเป็นองค์ลง "ตะกรุดมหาจักรพัตราธิราช" ตำรับวัดพระญาติการาม โดยจัดพิธีได้อย่างถูกต้องตามแบบแผนโบราณ ท่านพระอาจารย์จึงถือโอกาสนำผ้ายันต์ทั้งหมดติดองค์ขึ้นไปเข้าพิธีด้วย

เมื่อเสร็จจากพิธีมหาพุทธาภิเษกแล้วท่านได้ออกจากพิษณุโลกขึ้นจังหวัดเชียงใหม่เพื่อไปพักผ่อนและกราบครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ และท่านยังได้นำผ้ายันต์ทั้งหมดเข้าถวายขอความเมตตาพระมหาเถระทั้งหลายให้อธิษฐานจิตปลุกเสกเพิ่มเติมให้อีก ซึ่งแต่ละองค์ก็เมตตาทำให้ด้วยความเต็มใจยิ่ง มีรายนามดังต่อไปนี้

1. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอิน อินโท)
วัดฟ้าหลั่ง บ้านสันหิน ต.ดอยหล่อ กิ่งอ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่


อินโท a1.jpg
อินโท a1.jpg (21.62 KiB) เปิดดู 5061 ครั้ง


เมื่อตอนที่ท่านอาจารย์ติ๋วไปกราบ ครูบาอินมีชนมายุได้เกือบ 100 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงสายตาดี มือไม้ไม่สั่นเลย จารอักขระเลขยันต์สวยคมราวกับคนอายุ 30 ปี ครูบาอินนี้มีคุณธรรมสูงและมีอำนาจจิตน่าอัศจรรย์หลายประการ เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเชียงใหม่และสานุศิษย์ทั่วประเทศดี แม้ท่านพระญาณสิทธาจารย์ หรือ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็ยังยกย่องเทอดทูน และต้องเดินทางไปกราบครูบาอินในช่วงก่อนเข้าพรรษาเป็นกิจวัตรประจำทุกปี ทั้ง ๆ ที่ท่านเป็นศิษย์คนละอาจารย์ และเป็นพระต่างนิกายกัน หากคุณธรรมภายในของครูบาอินนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่ "ใจ" ของหลวงปู่สิม ท่านจึงออกปากรับรองและไปกราบ "นำ" ทางให้ศิษย์ทุกปี

s1.jpg
พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทธาจาโร)
s1.jpg (12.51 KiB) เปิดดู 5057 ครั้ง



2. ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ
วัดร้องขุ้ม ต.บ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่


วัดร้องขุ้ม b1.gif
วัดร้องขุ้ม b1.gif (85.87 KiB) เปิดดู 5054 ครั้ง


ครูบาบุญปั๋นนี้เป็นพระที่ "ดังเงียบ" ในท้องถิ่นมานาน แต่ถึงกระนั้นก็ยังลือชื่อไปในหมู่นักปฏิบัติภาวนาสายเหนือว่าท่านเป็นผู้ที่ "พ้นไปแล้ว" โดยแท้ แม้พระมหาเถระผู้ใหญ่ในภาคเหนือหลายรูปก็ยังออกปากรับรองถึงคุณธรรมอันสูงของครูบาบุญปั๋น ไม่เว้นแม้แต่ครูบาอินอันเป็นที่เคารพยิ่งของหลวงปู่สิม และการณ์ก็มาปรากฏชัดเอาเมื่อพระราชทานเพลิงสรีระของท่านแล้วเสร็จ อัฐิธาตุจำนวนมากของท่านได้แปรเป็นแก้วใสบริสุทธิ์ดังเพชรลูก เป็นเครื่องยืนยันตามพระพุทธพจน์ว่าหลวงปู่ครูบาบุญปั๋น "ถึงที่สุดแห่งทุกข์" แล้วจริงไม่มีใดต้องสงสัย

ba1.gif
ครูบาบุญปั๋นกับครูบาอินเมื่อท่านมาเยี่ยมกัน ไหว้สาแล้วสนทนาธรรมอย่างรื่นเริงตามแบบของสหธรรมิกผู้เข้าถึงโลกุตตรธรรมเหมือนกัน
ba1.gif (75.8 KiB) เปิดดู 5051 ครั้ง



3. พระครูพิศิษฐ์สังฆการ (ครูบาผัด ผุสสิตธัมโม)
วัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่


วัดศรีดอนมูลph1.jpg
วัดศรีดอนมูลph1.jpg (20.4 KiB) เปิดดู 5041 ครั้ง


ครูบาผัด ผุสสิตธัมโม นั้นนับว่าเป็นครูบาผู้ทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่นไม่น้อย ชื่อเสียงกิตติคุณของท่านร่ำลือไปไกลถึงความเมตตาแก่ผู้คนทุกชนชั้นไม่เลือกหน้า งานพัฒนาวัดก็ทำได้ดีอย่างจะหาผู้เทียบเทียมยาก และหากพูดถึงขลังแห่งท่านคงต้องยกเรื่อง "ตะกรุดมหากาสะท้อน" ขึ้นเป็นหัวข้อสนทนาหลัก เพราะตะกรุดนี้มีอานุภาพในทางกลับร้ายให้กลายเป็นดี คนผู้คิดคดทรยศต่อบุคคลอันบูชาสักการะอยู่ซึ่งตะกรุดกาสะท้อนนี้ จักได้รับความวิบัติไปเองโดยที่บุคคลนั้นไม่ต้องลงมือตอบโต้แช่งชักใด ๆ เลย เรียกว่า แพ้ภัยตัวเองนั่นแล เพราะเหตุนี้จึงได้สมญานามว่า "กาสะท้อน"

และอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากศรัทธาสาธุชนมากก็คือ "ตะกรุดพุทธคุณ 108" ซึ่งร้อยเรียงมาในรูปลักษณ์คล้ายประคำ สร้อยตะกรุดนี้สร้างชื่อครูบาผัดให้ลือกระฉ่อนไปทั่ววงการขลัง เพราะคนผู้นำตะกรุดมาติดตัวบูชาหรือเพียรนับเพียรสวดต่างได้พบกับโชคลาภเงินทองที่หลั่งไหลมาไม่ขาด ทั้งยังเจริญก้าวหน้าในการงานเป็นอย่างดี ทำให้เกิดเสียงเล่าลือแบบปากต่อปากไปไม่ขาดสาย ครูบาผัดจะทำออกมาสักเท่าไร ๆ ก็ไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการของสาธุชน แม้จะออกจากวัดในราคาที่ค่อนข้างสูงคือเส้นละ 3,000 บาท แต่ก็หมดทุกคราวไป

สำหรับผู้ศรัทธาคงไม่ต้องคิดหาสิ่งใดมาติดตัวในยามนี้เนื่องจากท่านละสังขารไปนานแล้ว แต่ท่านก็ได้เมตตาปลุกเสกผ้ายันต์ทั้งสองชนิดนี้ให้อย่างเต็มกำลัง


4. ครูบาคำปัน

ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดและเป็นถึงเจ้าคณะอำเภอ แต่ก็เบื่อหน่ายในเรื่องของลาภยศและการปกครอง ได้ขอลาออกมาปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าช้า ซึ่งองค์นี้สุดวิสัยที่ผมจะหาประวัติมาให้ได้จริง ๆ ครับ เพราะแม้ศิษย์ที่เคยไปกราบก็ยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่ก็กำลังติดต่อศิษย์ท่านนี้อยู่ หากได้ความคืบหน้าที่มากกว่านี้ ก็จะนำมาโพสท์อัพเดทให้ทราบกัน

เมื่อผ้ายันต์ทั้งสองชนิดได้รับการอธิษฐานจิตจากเมืองเหนือแล้วเสร็จก็ถึงเวลาเดินทางกลับ ครั้นมาถึงวัดมณีชลขัณฑ์แล้ววันต่อมาท่านพระอาจารย์ติ๋วก็ลงมือเรียกสูตร-ปลุกเสกอีกครั้งตามที่ครูบาอาจารย์สอนเพื่อให้ "เป็น" ขึ้นมาดังที่ตำราว่าไว้ ท่านเสกอยู่นานพอสมควรจึงได้เริ่มแจกจ่ายบางส่วนออกไป และส่วนใหญ่ที่ยังคงอยู่นั้นท่านได้นำไปเก็บรักษาไว้ยังกุฏิอีกหลังหนึ่ง...

ด้วยเวลาที่ยาวนานนับปีซึ่งท่านไม่ได้ไปดูห้องนั้นเลย...
ครั้นวันหนึ่งท่านมีธุระที่ต้องเข้าไปค้นของกับศิษย์ในนั้น จึงได้พบว่าปลวกขึ้นห้องมาเป็นหมื่นตัว กัดกินวัตถุข้าวของพังเสียหายไปมาก โดยเฉพาะผ้าจีวรที่ห่อพลาสติกเก็บไว้อย่างดี ปลวกยังกัดจนยับเยินเสียหายไปหลายสิบไตร เมื่อรื้อค้นทำความสะอาดมาจนถึงลังใบหนึ่ง ก็พบว่าปลวกกัดกินลังจนเป็นผงหยิบไม่ติดมือ แต่เมื่อรื้อเศษลังออกจึงได้พบว่าข้างในเป็น "ผ้ายันต์องค์บรมครู" กับ "ยันต์ราชสีห์คู่" วางอยู่ในนั้น มีรอยขี้ปลวกขึ้นเต็มไปหมด

ทว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งที่ผ้านับร้อย ๆ ผืนนั้นมิได้มีแม้สักผืนที่จะถูกปลวกกัด มิได้มีสักผืนที่จะปรากฏรอยเขี้ยวเคี้ยวงับลงไป ในขณะที่ ผ้า ไม้ กระดาษ ทุกชนิดในห้องเดียวกันเสียหายอย่างบอกไม่ถูก ผ้ายันต์ทุกผืนสะอาดเอี่ยมปลอดภัย คงมีเพียงคราบปลวกเกาะติดอยู่ เมื่อปัดออกแล้วก็ดูดีดังเดิม

นี้คือความขลังที่น่าตื่นใจยิ่ง

ห้ามได้กระทั่งเขี้ยวงาของสัตว์ตัวน้อยที่ไม่รู้เดียงสา... ไม่รู้ความ...

เป็นมหาระงับดับภัยโดยแท้


ดังนั้น หากท่านใดก็ตามที่มีโอกาสได้ครอบครองผ้ายันต์วิเศษทั้งสองชนิดนี้แม้เพียงผืนใดผืนหนึ่ง ชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ขอจงโปรดได้เก็บรักษาสักการะบูชาให้ดีเถิด จักเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านและครอบครัวของท่านสืบไป

สำหรับคำถามข้อสุดท้ายที่ว่า ไม่ทราบว่าท่านใดมีอยู่ในครอบครองหรือเปล่า ?

ตอบ ผมครับ แต่คนอื่นผมไม่ทราบแล้วล่ะ

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 10:48 am

:o
เยี่ยมเลยครับท่านอาจารย์รณธรรม
เอากระทู้นี้ไปเข้าหมวดบทความด้วยเลยครับ
ชื่นชม..
นอกจาก "คำตอบ" จะเป็นประโยชน์แล้ว
"คำตอบ" ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้ตอบ
ว่า "คำตอบ" ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดจากการนั่งสมาธินึกไปเอง
หากแต่เป็น "คำตอบ" เกิดจากประสบการณ์และการสะสมความรู้
ผมคงไม่มีอะไรจะพูด...
นอกจากฝากบอกน้องๆ...
ช่วยกันรักษากระทู้นี้และปักธงโดยด่วน!! :idea:

หวังว่าคนหน้าตาดี มีลักษณะแขวนเหรียญไว้ที่ท้ายทอย
จะรีบเร่งดำเนินการโดยฉับพลัน
:lol: :lol:

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 11:23 am

ยอดเยี่ยมครับท่าน

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 2:18 pm

ขอบคุณพี่ต่อครับสำหรับบทความดีๆ ต้องเก็บไว้ในคลังข้อมูลเช่นเคย

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 9:13 pm

ขอบพระคุณเช่นกันครับ โดยเฉพาะกำลังใจเป็นอันดีจากคุณศิษย์กวง

ผมก็ตามอ่านงานเขียนของคุณศิษย์กวงในบล็อค
ok nation อยู่เช่นกัน ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นงานเขียนที่หมดจด "ยากหาใดเทียม" ในบรรณพิภพนี้เช่นกัน โลกแห่งตัวอักษร และ โลกแห่งสื่อที่ปัจจุบันถูกคุกคามด้วยความหวาดกลัว หรือย้อมฉาบด้วยความโลภในลาภสักการ ยากหาคนที่ยืนหยัดสะบัดปากกาเป็นตัวอักษรให้วิ่งแล่นอยู่บนความจริงและความรับผิดชอบ

จุดยืนที่เคยมั่นคงกลับสั่นไหวแล้วถูกผ่องถ่ายมาเป็น อคติ 4 แทนที่

ขอบคุณที่คุณศิษย์กวงยังมีจุดยืนอันแน่นหนามั่นคงไม่สั่นคลอนครับ...

รักษามาตรฐานไว้อย่างนี้เถิดครับ ดังเกลือรักษาตัวเอง

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 9:46 pm

ขอคาราวะทั้งคู่เลยคับเก่งกันทั้งน้าน จะเก่งเยอะกว่านี้อีกนะฮะ ถ้ามอบพระให้ผมมั่ง อิอิอิ :)

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 9:53 pm

เอ่อ... :roll:

งั้นเดี๋ยวผมไปขอพระจากคุณbecknuiมาฝากดีกว่า

รอแป๊บนะครับ ;)

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

เสาร์ 20 ก.ย. 2008 11:54 pm

ขอบคุณครับท่านรณธรรม สำหรับคำชื่นชม
แต่ผมสงสัยครับว่า ที่ท่านเขียนน่ะ หมายถึงผมเหรอครับ
ไม่ใช่อะไรหรอกครับ
เพราะถึง"ผมจะหน้าตาดี" แต่ผมก็อายเป็นนะครับ...

กิ๊ววววววววววววววววววววววว :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

จันทร์ 22 ก.ย. 2008 8:42 pm

ต้องขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ กับความกรุณาในครั้งนี้

เพราะนอกจากวริสราจะได้ทราบแล้ว ยังแจกจ่ายความรู้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

ศุกร์ 17 ต.ค. 2008 7:12 am

ด้วยความยินดีครับ ขอบคุณครับ

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

อังคาร 25 ส.ค. 2009 7:44 am

สงสัยต้องขอผ้ายันต์องค์พระเเบบผืนใหญ่จากน้ารณสะเเล้ว :lcky:

Re: ตอบคุณวริสราเรื่อง ผ้ายันต์องค์บรมครู ของ ท่านพระอาจารย์ติ๋ว

อังคาร 25 ส.ค. 2009 3:36 pm

ต้องขออภัยด้วยครับที่ไม่มีให้ เพราะผมเอาทุกผืนมาเย็บรวมเป็นผ้าห่มไปแล้ว เอิ๊ก เอิ๊ก :lol: :lol: :lol:
ตอบกระทู้