มาร่วมสนทนากันในหมู่สมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่ท่านประสบมาได้ที่นี่ครับ
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:22 pm
เมื่อวานนี้(4ก.ย.52)ไปทำบุญที่วัดพระธาตุหริภุญชัยมา จึงนำบรรยากาศงานบุญมาให้ชมกันครับ
- แนบไฟล์
-
- 27.jpg (111.46 KiB) เปิดดู 1358 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:26 pm
งานนี้เรียกว่างานบุญสลากภัตรซึ่งงานนี้จะมีในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ไปจนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างเว้นจากการทำนา เพราะต้องรอให้ต้นข้าวออกรวง จึงจะถึงฤดูเก็บเกี่ยว ในช่วงที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากการทำนานี้ ถือเป็นช่วงที่อดอยากของชาวบ้านเพราะข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉางใกล้จะหมด หรือบางบ้านอาจจะหมดไปแล้ว คนที่มีข้าวเปลือกก็จะเก็บไว้กินจนกว่าจะเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ได้ในปีต่อไป ส่วนคนที่ซื้อข้าวสารกินก็จะหาซื้อยากและมีราคาแพง ในเมื่อคนทั่วไปอดอยากก็พลอยให้นึกไปถึง ผู้ที่เป็นญาติพี่น้องที่ตายจากไปแล้วว่าคงจะไม่มี เครื่องอุปโภค บริโภคเช่นเดียวกัน จึงได้เกิดเป็นประเพณี ในการทำบุญครั้งใหญ่ประจำปีขึ้น ในช่วงเดือน 10 ถึง เดือน 12 ของทางเหนือเรา เรียกว่า ประเพณีการทำบุญสลากภัตร หรือที่เราคุ้นหูกันในประเพณี ตานก๋วยสลาก บางที่ก็เรียกตานสลาก ซึ่งที่จริงแล้วคือความหมายเดียวกัน
- แนบไฟล์
-
- พระประธานในโบสถ์
- 19.jpg (145.1 KiB) เปิดดู 1352 ครั้ง
-
- ต้นสลากฯ
- 13.jpg (120.27 KiB) เปิดดู 1352 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:28 pm
ในการทำบุญสลากภัตรนั้น เป็นการจัดข้าวปลา อาหาร ของกิน ของใช้ ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยในการทำบุญนั้น จะไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะถวายแด่พระสงฆ์รูปใด รูปหนึ่ง จึงได้ทำสลาก เขียนคำอุทิศลงในสลาก แล้วนำไปรวมปะปนกัน ให้พระภิกษุสามเณร จับสลาก หากภิกษุหรือสามเณรรูปใด จับสลากได้ก๋วยสลาก หรือภาชนะที่บรรจุเครื่องไทยทานอันไหน ก็ยกถวายแก่รูปนั้น
การจับสลากภัตรนั้น มี 2 วิธีด้วยกัน คือแบบจับเส้น และจับเบอร์ การจับเส้นนั้นเป็นวิธีเก่า คือเขียนข้อความการทำบุญสลาก และชื่อผู้ศรัทธาลงในแผ่นกระดาษแข็ง ใบตาล หรือใบลาน ให้เท่ากับจำนวนของไทยทาน เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่อเป็นบุญกุสลแก่ตนเอง โดยจะนำไปกองรวมกันในโบสถ์ หรือวิหารที่จัดไว้ แล้วจึงให้พระเณรมาจับตามจำนวนที่กำหนด ส่วนสลากที่เหลือ ก็จะถวายแก่พระพุทธ จากนั้นชาวบ้านจึงถวายของตามชื่อเส้น ของตนเอง หลังจากพระให้ศีล ให้พรแล้วจึงรับเส้นของตนไปเผา พร้อมทั้งกรวดน้ำ อุทิศส่วนบุญกุศลให้กับผู้ตาย เป็นอันเสร็จพิธี
- แนบไฟล์
-
- 18.jpg (133.16 KiB) เปิดดู 1350 ครั้ง
-
- 14.jpg (102.35 KiB) เปิดดู 1347 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:31 pm
ส่วนวิธีจับสลากนั้น เป็นวิธีที่นิยมมากกว่าการจับเส้น วิธีในการจับก็คือ ทำสลากของไทยทานให้เท่ากับจำนวนของพระและสามเณร แล้วจึงจับสลากเช่นเดียวกับการจับแบบเส้น ทำเป็นธงให้เจ้าภาพจับ เมื่อจับได้แล้วก็นำไปเสียบไว้ที่ไทยทานของตนเอง แล้วทำสลากอีกส่วนหนึ่งลงเลขจำนวนตรงกันกับที่ให้เจ้าภาพจับไปแล้วม้วนเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้ภิกษุสามเณรจับ ถ้ารูปใดจับได้ตรงกับเลขของใคร ก็ให้นำไปถวายแก่พระรูปนั้น
ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนนั้น มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากจังหวัดอื่นๆบ้างทั้งรูปแบบของเครื่องไทยทานที่นำมาถวาย ซึ่งจะเน้นที่เครื่องอุปโภค และของใช้มากกว่า รวมไปถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทน ก็ไม่ใช่รูปหงส์เหมือนที่นิยมกันในจังหวัดอื่น ๆ
“ตางเจียงใหม่ ละปูน ส่วนใหญ่จะหื้อความสำคัญกับสิ่งของ คือของกิ๋น ก็มีอยู่พ่อง แต่ว่าไปเน้นเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ไว้ภายหน้า หรือว่าตานไปหาคนตาย และจะเน้นที่พาหนะ ตะกี้เป็นหงส์ อันนี้เป็นสำเภา ล้านนาเปิ้นฮ้องว่าสะเปา เป็นตัวแทน มันจะเริ่มหายไปนัก ส่วนใหญ่จะเป็นต้น เป็นต้นครัวตาน แป๋งเป็นต้นฟาง ขึ้นไปละก็เสียบดอก เสียบเครื่องใช้ โดยเฉพาะที่หละปูน คนใดเป็นสาวขึ้นมาแล้ว ก่อนจะแต่งงานจะต้องตานสลาก ย้อมเตี่อ นึ้ง สลากย้อมก็คือ ต้นสลากใหญ่
ใส่ของเต็มไปหมด อันนั้นเป็นสลากโชค ตุ้จ้าตนใดจับใดสลากอันนั้น ก็จะเป็นโชค ชาวหละปูนเปิ้นฮื้อความสำคัญ มีตึงเครื่องอุปโภค และบริโภค แต่ทางเชียงใหม่และหละปูนจะเน้นเครื่องอุปโภค ขอวกิ๋นมีน้อยกว่าเครื่องใช้ นี่คือสิ่งที่แตกต่างกั๋น”
- แนบไฟล์
-
- 13.jpg (120.27 KiB) เปิดดู 1345 ครั้ง
-
- 17.jpg (141.59 KiB) เปิดดู 1343 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:33 pm
ในวันงานทำบุญสลากภัตรนั้น ชาวบ้านจะนัดหมายตกลงวันที่ทำพิธีกัน โดยงานจะมี 2 วันด้วยกัน คือ วันแรกจะเป็นวันแต่งดา หรือวันสุกดิบ และวันต่อมาจะเป็นวันถวายทาน ในวันแต่งดา ทุกหลังคาเรือนจะจัดหาวัตถุของกิน ของใช้ตามกำลังศรัทธา และจะมีญาติพี่น้องที่รู้ข่าวมาช่วย และร่วมบริจาคจตุปัจจัย สบทบ ในการทำบุญตามสายญาติของตน
“ญาติพี่น้องนี่จะมาช่วยกันกิ๋น ช่วยกันฮอม เอาสตางค์มาช่วย เอาของมาช่วย ในอดีตก็มีอาหารการกินมาช่วยกั๋น หื้อมันเป็นการฮ่วมบุญ ฮ่วมกุศล ชาติหน้าเกิดมาจะได้เกิดมาใต้ร่มพระศาสนาเหมือนกัน”
ในประเพณีทำบุญสลากภัตรนี้ บางท้องถิ่นจะจัดให้มีการถวายทาน รักษาศีล เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ญาติที่ตายไปแล้ว นอกจากนี้ยังจัดให้มีการฟังเทศน์ ตลอดทั้งวันอีกด้วย โดยเรื่องที่นำมาเทศน์ส่วนมาก เป็นเรื่องวรรณกรรมท้องถิ่น และมีอิทธิพลต่อความเชื่อของท้องถิ่น ในลักษณะของการขัดเกลาจิตใจ และเร่งเร้าให้ทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ เช่นเรื่องมโหสถ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ เป็นต้น
- แนบไฟล์
-
- 28.jpg (116.95 KiB) เปิดดู 1338 ครั้ง
-
- 30.jpg (139.37 KiB) เปิดดู 1337 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:37 pm
แม้พิธีการในการทำบุญสลากภัตร จะดูยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ก็ตรงตามความหมาย ของคำว่าสลากภัตร และถือเป็นความสนุกสนานของคณะ เจ้าภาพด้วยเพราะเป็นการประกวดประขันกันในตัว และถือได้ว่าการถวายสลากภัตรนี้เป็นการทำบุญแบบถวายสังฆทานโดยแท้ เพราะตัวเจ้าภาพก็ไม่ได้รู้จักพระเณรที่จะถวายไทยทานให้ พระเณรเองก็ไม่รู้จักเจ้าภาพมาก่อน จะรู้ก็ต่อเมื่อพระมานั่งตรงสลากของตน ถือได้ว่า ประเพณีการทำบุญสลากภัตรนี้ เป็นประเพณีที่ดีงาม ที่ควรจะได้รับการสนใจ และประพฤติปฏิบัติ สืบสานกันต่อไปตราบนานเท่านาน
.............ขอบคุณข้อมูลจากคุณกัญญา ชมศิลป์/สิโรบล ใหม่วัน.................
- แนบไฟล์
-
- 35.jpg (146.52 KiB) เปิดดู 1331 ครั้ง
-
- 12.jpg (127.12 KiB) เปิดดู 1330 ครั้ง
-
- 16.jpg (142.23 KiB) เปิดดู 1326 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 12:42 pm
.......ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม......
.......โปรดติดตามผลงานการกำกับเรื่องต่อไปเร็วๆนี้.......
........ขอได้รับความขอบคุณจาก.....ราชันย์ดำ ลำพูน....
- แนบไฟล์
-
- 31.jpg (129.19 KiB) เปิดดู 1322 ครั้ง
-
- 33.jpg (139.89 KiB) เปิดดู 1320 ครั้ง
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 2:45 pm
โอ้... ได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติม
ขอบคุณ และ อนุโมทนาด้วยครับ
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 9:13 pm
ขอบคุณฮับ
เสาร์ 05 ก.ย. 2009 10:42 pm
ขอบคุณครับ เรื่องต่อไปขอเป็นแบบเมตตา มหานิยม บ้างนะครับ
จันทร์ 07 ก.ย. 2009 10:13 am
- thanks.gif (20.96 KiB) เปิดดู 1189 ครั้ง
อ่านแล้วได้บรรยากาศจริงๆครับ
จันทร์ 07 ก.ย. 2009 10:28 am
รู้จัก
บรรยาก่ง บรรยากาศ ด้วยหรอครับพี่
ย้อเย่นนน
จันทร์ 07 ก.ย. 2009 6:28 pm
จันทร์ 07 ก.ย. 2009 6:35 pm
ศิษย์กวง เขียน:ขอบคุณครับ เรื่องต่อไปขอเป็นแบบเมตตา มหานิยม บ้างนะครับ
..เรื่องต่อไปเสนอเรื่อง"ปลาบู่ทอง"ครับ เพราะจำเพลงได้ท่อนดียว"สงสารแต่แม่ปลาบู่ อาศัยอยู่ที่เจ้าพระยา"(อาบอบนวด) ไม่รู้เมตตาพอรึยัง ได้บรรยากาศด้วยนะ
- แนบไฟล์
-
- 64_861850.jpg (33.03 KiB) เปิดดู 1139 ครั้ง
จันทร์ 07 ก.ย. 2009 6:36 pm
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.