จันทร์ 14 ธ.ค. 2009 10:02 pm
ประวัติครูบาธร(พระครูใบฎีกากำธร กิตติโสภโณ)
--------------------------------------------------------------------------------
วัดหนองแขม ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
เดิมชื่อ กำธร กาวี เกิดเมื่อ ๔ กย. พศ.๒๕๑๔ เป็นบุตร นางบัวแก้ว และพ่อหนานรัตน์ กาวี ชาวบ้านหนองแขม ผู้เป็นศิษย์ของครูบาแก้ว วัดปากร้อง เกจิดัง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน พ่อเสียชีวิตลงตั้งแต่ท่านอายุ ๓ ขวบ ดช.ธร ในสมัยนั้นเกิดมาในตะกูลหมอเมืองรักษาคนมาตลอด เนื่องจากปู่เป็นหมอไสยศาสตร์และยาโบราณโดยเรียนมาจากเจ้าน้อยแสนคำ พระเวทย์ต่างๆได้ของตะกูลได้สืบทอดมาถึง ดช.ธร อย่างไม่รู้ตัวเนื่องจากในขณะที่ยังเล็กนั้นพ่อแม่ต้องออกไปทำการเกษตรทิ้งท่านไว้ให้ปู่เป็นคนเลี้ยงจนกลายเป็นหลานรักของปู่ขนาดพ่อแม่ว่ายังไม่ได้เพราะปู่จะห้าม การที่ท่านได้อยู่กับปู่นั้นทำให้ท่านได้เห็นปู่ใช้ไสยศาสตร์คาถาอาคมสงเคราะห์คนตลอดตั้งแต่จำความได้ พิธีการต่างๆคาถาทุกๆบทถูกซึมซับเข้าสู่ความจำของเด็กน้อยอย่างรวดเร็ว การเรียนสมาธิจิตก้าวหน้าเกินผู้ใหญ่ไปไกลเพราะเด็กเล็กมีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์และสมองอยู่ในระยะจดจำเรียนรู้ ทำให้เมื่อท่านอายุ ๕ ขวบปู่จึงให้เริ่มปัดเป่ารักษาคนซึ่งก็ได้ผลดี ส่งผลให้ดช.กำธร กลายเป็นเด็กเหนือธรรมดาและเป็นอีกที่พึ่งหนึ่งของชาวบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เด็กชายกำธร มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผิดแปลกไปคือไม่ชอบเรียนหนังสือเหมือนเด็กอื่นๆ จนกระทั่งปู่เสียชีวิตลง ดช.ธรจึงได้บวชลูกแก้วเป็นสามเณรเมื่ออายุ๑๒ปี ณ.อุโบสถ วัดหนองแขมมีพระครูวิบูลย์วิหารกา วัดเวฬุวนาราม สันป่าตอง เป็นอุปัชฌาย์ โดยบวชแล้วไปอยู่กับครูบาบุญทา ปัญญาวุฒิโท ตุ๊ลุง(ญาติข้างแม่)ผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ วัดหลักพัน อ.สันทราย ช่วงที่อยู่กับตุ๊ลุงนั้นท่านพาเณรธรไปฝากเรียนหนังสือตามโรงเรียนโดยเรียนรวมกับเด็กปกติทั่วไป เณรธรมิอาจขัดได้ทั้งๆที่ใจไม่ชอบ ท่านเลยไปตามใจตุ๊ลุงแต่ไปโรงเรียนละวัน เปลี่ยนไปหลายโรงเรียนจนตุ๊ลุงเริ่มท้อ ในที่สุดตุ๊ลุงและญาติๆเริ่มคิดว่าท่านเป็นเณรไม่เหมือนเด็กอื่นจึงอายที่จะเรียนร่วมกัน จึงให้ท่านสึกออกมาเมื่ออายุ ๑๕ ปี แต่ความจริงญาติๆไม่รู้ว่าที่เณรธรไม่อยากเรียนหนังสือนั้นเพราะท่านชอบที่จะเรียนพระเวทย์มากกว่า มีเวลาครั้งใดท่านต้องเที่ยวไปเสาะหาหนานแก่ๆต่อคาถาอาคม ระหว่างที่สึกจากเณรมานั้น ท่านก็ยังไม่ไปเรียนหนังสือต่ออยู่ดี เพราะวันๆหนึ่งได้แต่ศึกษาวิชาอาคมกับรักษาสงเคราะห์ชาวบ้านที่มาพึ่งเด็กหนุ่มวัยรุ่นผู้เรืองอาคมอย่างท่าน จนขนาดสวยดอก(กรวยดอกไม้ธูปเทียนที่ผู้มาหานำมาบูชาครู)เสียบเต็มชายหลังคาบ้าน กระทั่งอายุ ๑๘ ย่าง ๑๙ ปี วัดหนองแขมล้างพระจำวัด เหลือเณรเพียงรูปเดียวกำลังจะสึกอีกต่างหาก ชาวบ้านและพ่อหลวง(ผู้ใหญ่บ้าน)จึงรวมตัวกันมาขอร้องให้ท่านบรรพชาไปรักษาวัด ทำให้ท่านไม่อาจปฏิเสธได้จึงทำการบวชเณรอีกครั้ง และบวชพระในเวลาต่อมาเมืออายุครบ ๒๐ เป็นพระอยู่ ๑ ปีได้สึกไปเป็นทหารรับใช้ชาติ จนปลดจากทหารพระครูอาทรตันติธรรมเจ้าคณะตำบลและชาวบ้านจึงไปรับกลับมาบวชในปี พศ.๒๕๓๗กระทั่งปัจจุบัน
ประวัติการเรียนวิชาอาคม
นอกจากวิชาอาคมสายเจ้าน้อยแสนที่สืบมาจากปู่และคาถาอาคมที่ต่อมาจากหนานอุ๊ยต่างๆแล้ว ครูบาธรท่านยังร่ำเรียนจากครูบาอาจารย์ต่างๆดังนี้
1. พ่อหนานปัน บ้านสบทา ป่าซาง ลำพูน เรียนหัวใจพระรอด แก้ ของรักษาคน
2.พ่อหนานเจริญ บ้านสันทราย สันป่าตอง เชียงใหม่ เรียนกำแพง๗ชั้น ๙ยอด
3.พ่อหนานแก้ว เมือง๑๒ ปันนา เมืองจีน เรียนสักยันต์ว่านยา กลองสะท้อน ๙ ยอด หัวใจอ้ายงั่ง วีคำ
4.พ่อหลวงสุข บ้านแม่ปู ดอยเต่า เชียงใหม่ เรียนแก้ของ
5.พ่อหนานจัน บ้านทุ่งปุย ดอยหล่อ เชียงใหม่ เรียนวิชาทั้งหมดของท่าน แต่ที่โดดเด่น คือ แมงวันคำ กับ เสือ ๗ ป๊อด(ชิ้น)หรือเสือแยกร่างนั่นเองแต่ถ้ารวมเป็นร่างเดียวกันจะแรงมาก หากจะสัก คนที่รับการสักต้องคาบเนื้อและต้องสักในป่าช้าจะขลังมากแต่ขณะเดียวกันการถือของวิชานี้ก็มีข้อห้ามมากมายเช่นกัน พ่อหนานจันนี้เป็นหลานครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทำตะกรุดกาสะท้อน และทำวัตถุมงคลหลายๆอย่างส่งให้ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งและครูบาดวงดี วัดท่าจำปี และพ่อหนานจันนี้เป็นลุงเขยของครูบาธรจึงได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาเต็มๆที่ทำได้ผลให้อย่างไม่ปิดบังเพราะเป็นญาติกันไม่ต้องกลัวศิษย์ล้างครูจึงไม่บังวิชาไว้ ให้แบบเต็มๆ โดยเฉพาะวิชาแมลงวันคำ ที่ครูบาธรทำได้ผลเป็นที่ประจักษ์มาตลอด
6. พ่อน้อยมูล บ้านหนองห้า สันป่าตอง เชียงใหม่ เรียนแผงยันต์เตียนปารมี๓๐ทัศ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ครูบาวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้มใช้อยู่ก็มาสืบไปจากพ่อน้อยมูลนี้เนื่องจากพ่อน้อยมูลเป็นผู้สืบทอดมาจากครูบาศรีวิชัย
7. พ่อน้อยเจย บ้านดงขี้เหล็ก สันป่าตอง เชียงใหม่ เรียนไล่ผี
8. พ่อน้อยเป็ง กะเหรี่ยงบ้านปง แม่ทา ลำพูน เรียนวิชาอิ่นแต่งงาน
ลุงปะระ กะเหรี่ยงบ้านแม่ตื่น อมก๋อย เชียงใหม่ เรียนสักว่านยาเมตตา
9. ครูบาจันติ๊บ วัดไชยชนะ เมือง ลำพูน เรียนกรรมฐานและวิชาของครูบาชุ่ม วัดวังมุย ทั้งหมดเพราะครูบาจันติ๊บเป็นศิษย์เอกผู้ลงตะกรุดกาสะท้อนแทนครูบาชุ่มในยุคแรกๆ
10. ครูบาคำ สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง เชียงใหม่ เรียนกรรมฐาน
11. ครูบาโสภา วัดสันคะยอม แม่วาง เชียงใหม่ เรียนกะปุ๋งแก้วจากปั๊ป
และอ.ท่านอื่นๆที่ยังมิได้นำมากล่าวถึง ณ.ที่นี้อีกหลายท่านหลายวิชาซึ่งจะได้ค้นคว้ารวบรวมมาเพิ่มเติมต่อไป
เรื่องเล่าประสบการณ์ทั่วไปของครูบาธรนั้นมีทั้งสักยันต์ไปแล้วฟันไม่เข้าตะกรุดท่านมีประสบการณ์มากมายโดยเฉพาะตะกรุดกลองสะท้อน ศิษย์ที่ท่านลงของให้ไปบางรายก็ร่ำรวยจากมีเงินสองแสนกลายป็นเกือบสิบล้าน บางรายก็ได้สามีเป็นเจ้าของเหมืองเพชร บางรายให้ตามสามีๆก็กลับใน ๓ วัน บางรายไม่สบายท่านก็ให้ยารักษาจนหาย ใครโดนของมาท่านก็เอาออกหมด เจ้าของบ่อนการพนันโดนลูกค้ามีของเล่นรวยจนบ่อนจะเจ๊งท่านก็ไปแก้ให้จนเจ้าของบ่อนศรัทธามาก..มาสร้างเสนาสนะให้ ดารามดดำ เงาะกชกร ขวัญภิรมย์หลิน แชมเปญเอ็กซ์ฯลฯและดาราอีกมากมายก็เป็นศิษย์ท่านจนท่านจำไม่ได้เพราะเดี๋ยวนี้ดาราใหม่ๆมีมาก ประกอบกับครูบาฯท่านไม่ค่อยได้ดูทีวีบางคนท่านไม่รู้ว่าเป็นดารา เซียนพระภาคเหนือล้วนแล้วแต่เป็นลูกศิษย์มาเอาของกับท่านทั้งนั้น ตั้งแต่คุณโจ๊กลำพูนนายกชมรมเซียนพระภาคเหนือ เอกพุทธผดุง เชนเครื่องราง อ.วิรัตน์ศรีป่าซาง ป๊อปเครื่องราง ต้อมเชียงแสนน้อย ต้อมสารภี เอกปืนใหญ่ฯลฯ ลองคิดดูเซียนพระนั้นรอบรู้เรื่องพระมากมายขนาดไหนถ้าครูบาธรไม่ใช่เกจิของจริงพวกเขาคงไม่มาเอาของหรอก
- แนบไฟล์
-
- IMG_1666.jpg (33.79 KiB) เปิดดู 4968 ครั้ง