พุธ 13 ม.ค. 2010 7:42 am
พุธ 13 ม.ค. 2010 10:01 am
เรียนคุณ........
ขออนุญาตตอบนะครับ
ตั้งแต่หลวงพ่อยังทรงสังขารอยู่ ได้สร้างตะกรุดออกมารวมเบ็ดเสร็จ 7 รายการ(ในยุคนั้น) ประกอบด้วย
1. ตะกรุดโทนสมเด็จพระนเรศวร(ตะกรุดนเรศวรปราบหงสา) เสาร์ 5 ปีพ.ศ. 2512
2. ตะกรุดโทนมหาระงับ ปี พ.ศ. 2522
3. ตะกรุดมหาจักพัตราธิราช ปี พ.ศ. 2525
4. ตะกรุดอริยสัจจ์โสฬสมหามงคล ปี พ.ศ. 2525
5. ตะกรุดหัวใจพระวิภัตติ์ ปี พ.ศ. 2525
6. ตะกรุดหัวใจมหาบุรุษแปดจำพวก ปี พ.ศ. 2525 และ
7. ตะกรุดอะระหังสุคะโตภะคะวา ปี พ.ศ. 2525
ตะกรุดทั้ง 7 ชนิดนั้น คณะศิษย์เมื่อจะแขวนบูชาติดตัวไป ไม่มีใครกล้านำไปไว้ต่ำเสมอแม้แต่เพียง "เอว" ทั้ง ๆ ที่คตินิยมของการพกพาตะกรุดก็มักเป็นไปอย่างเดียวกันคือ "คาดเอว" ทว่าความเคารพนับถือของปวงศิษย์ที่มีต่อองค์หลวงพ่อสาลีโขนั้น เขามองท่านเสมอด้วยพ่อ แม่ และ ครูบาอาจารย์ผู้อยู่สูงสุดเหนือเกล้าเกศา
เมื่อเทิดทูนกันถึงเพียงนั้น จึงไม่มีใครกล้าพกเครื่องมงคลของท่านต่ำเสมอเอว จึงกลายเป็นว่าทุกคนต้อง "คาด" ตะกรุดเฉวียงบ่าราวกับห้อยสังวาลย์สาย บางคนตะกรุดร้อยเรียงกันไปทั้ง 7 ชนิดราวกับมาลัยชั้นดี หากผู้ใดนำไปคาดเอว ก็ถูกมองว่ายังไม่ใช่ศิษย์ตัวจริง
ทั้งหมดนี้หลวงพ่อมิได้บังคับให้ผู้ใดทำ เขาทำกันเองด้วยศรัทธา
ดังนั้น หากคุณ........ไม่สะดวกจะพกเพียงเอว ก็ลองนำใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าถือดูก่อนเถิดครับ อย่าเพ่อให้ถึงขั้นลงสู่กระเป๋ากางเกงเลยจักเป็นพระคุณยิ่ง
เชื่อว่าหลวงพ่อรับคุณ........ศิษย์ตั้งแต่มีใจเคารพท่านโดยแท้แล้วครับผม
พุธ 13 ม.ค. 2010 11:02 am
พุธ 13 ม.ค. 2010 9:09 pm
fengptn เขียน:ผมขออนุญาตินำคำตอบของพี่ต่อที่เคยตอบมาลงให้นะครับผม
ส่วนข้อพึงปฏิบัติของสำนัก
หมั่นรักษาศีล ไม่ถ่มน้ำลายลงในโถส้วมและบนพื้นดิน ห้ามกินหรือลอดต้นมะเฟือง
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 12:25 am
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 7:22 am
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 8:00 am
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 9:35 am
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:
ไม่หวงครับ
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 6:50 pm
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 11:15 pm
artcrub เขียน:ขอบคุณ คุณรณธรรม ครับ
ได้ความรู้ขึ้นเยอะเลย
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 11:52 pm
ken เขียน:ขอสอบถามพี่รณธรรมหน่อยครับว่าพระหรือเครื่องรางที่ปลุกเสก วันเสาร์5 จะไม่มีเสื่อมจริงหรือป่าวครับ
พฤหัสฯ. 14 ม.ค. 2010 11:58 pm
fengptn เขียน::grt:
ขอบคุณมากครับ เป็นคำตอบที่เยี่ยมยอดและชัดเจนยิ่งนักครับ
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:
ไม่หวงครับ
งั้นพวกเราไปบ้านพี่ต่อกัน พี่ต่อไม่หวง อยากได้อะไรขอเลย อิอิอิ
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:
อยากอ่านเรื่องก็เรียนเชิญ อยากดูรูปก็เรียนเชิญ อยากก๊อปปี้ก็เรียนเชิญ
ศุกร์ 15 ม.ค. 2010 1:35 am
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:เรียนคุณartcrub
ไม่รบกวนหรอกครับ ถ้าท่านใดที่มีความรู้ในเรื่องใดอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าท่านเหล่านั้นในเว็บแห่งนี้ก็พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ให้แก่กันโดยไม่หวงและมิได้หวังสิ่งใดตอบแทน ทุกอย่างในเว็บนี้ทั้งรูปภาพและเรื่องราวของทุกท่าน ผมเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องของน้ำใจและเมตตาล้วน ๆ ครับ ไม่มีสิ่งใดแอบแฝงหรือมีเหลี่ยมมีคมแบบใช้ชั้นเชิงวิธีการต่าง ๆ กับท่านที่เข้ามาชม
อยากอ่านเรื่องก็เรียนเชิญ อยากดูรูปก็เรียนเชิญ อยากก๊อปปี้ก็เรียนเชิญ
ไม่หวงครับ
ผมเคยกราบเรียนถามหลวงพ่อสาลีโข (สมภพ เตชปุญโญ) ถึงเรื่องการที่ท่านห้ามทานและลอดต้นมะเฟืองว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ท่านเมตตาตอบว่า
"ในทางไสยศาสตร์ ถือว่ามะเฟืองเป็นว่านชนิดหนึ่ง และอาถรรพณ์ของมันเป็นสิ่งที่แพ้ทางกันกับ ผงปถมัง ที่ฉันลบ เมื่อสักกระหม่อม หรือลงทองให้แล้ว จึงห้ามกินและลอดต้นมะเฟืองเพราะจะทำให้ผงที่ลงไปให้นั้นเสื่อม"
และนี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงห้ามรับประทานมะเฟืองและลอดต้นมะเฟือง
ผมก็เรียนถามต่ออีกว่า
"แล้วสมมติว่าต่อไปเดินป่า แต่ต่อไม่รู้จักต้นมะเฟือง เกิดเดินลอดไปใต้กิ้งก้านมันโดยไม่มีเจตนาอย่างนี้จะเสื่อมไหมครับ ?"
ท่านตอบว่า
"ถ้ามีคนเอายาพิษใส่ข้าวให้เธอกินโดยเธอไม่รู้ เธอจะตายไหม ?"
ผมก็(จำเป็น)ต้องเข้าใจแล้วล่ะทีนี้
สำหรับเรื่องลงทอง เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าทำไมถึงเสื่อมได้หากทานหรือลอดต้นมะเฟือง เพราะเมื่อหลวงพ่อลงทองในขั้นตอนของท่านแล้วเสร็จ ท่านก็จะเทผงปถมังที่ท่านเขียนเองลบเองจากช้อนทองคำลงเหล็กจารใส่ฝ่ามือให้เราผัดหน้า และเสยผม อันนี้ก็พอเห็นภาพและเข้าใจ แต่เรื่องการสักหมึก สักกระหม่อมนี่ยังงง เพราะมันไม่เกี่ยวกับผงปถมังเลย แล้วจะว่าสักหมึก สักกระหม่อมไปลอด ไปทานมะเฟืองจะเสื่อมได้อย่างไร ? จึงหาโอกาสกราบเรียนถามท่าน ท่านเมตตาตอบว่า
"เพราะในหมึกสัก ฉันก็ผสมผงปถมังที่ฉันเรียนและลบมาตลอด 17 ปีลงไปด้วย"
ก็คงถึงบางอ้อกันแล้วนะครับ
ต่อมาผมก็สงสัยอีกว่า แล้วถ้าเอาวัตถุมงคลที่เป็นรูปเหรียญผ้ายันต์ตะกรุดต่าง ๆ ของท่านมาพกติดตัว แล้วไปทานมะเฟืองไปลอดต้นมะเฟือง ของเหล่านั้นจะเสื่อมไหม ? พอได้จังหวะกราบเรียนถามท่านในวันที่ไปบูชาตะกรุดมหาระงับนับสิบดอก ท่านก็ตอบหัวเราะ ๆ ว่า
"ไม่เสื่อมหรอก ฉันห้ามกินมะเฟืองห้ามลอดต้นมะเฟืองเฉพาะแต่คนที่สักและลงทองไปเท่านั้น ถ้าเป็นวัตถุมงคลทุกชนิดของฉันแล้วก็ไม่เสื่อมหรอก"
ซึ่งข้อนี้ก็รวมไปถึงการบ้วนน้ำลายลงบนทางเท้าเดินและโถส้วมด้วยครับ พกแต่วัตถุมงคลไม่เสื่อมแน่นอนครับ ยกเว้นคนสักและคนลงทอง หลวงพ่อจึงไม่ลงทองให้ใครง่าย ๆ ในยุคหลังมานี้ ท่านว่า
"คนสมัยนี้ไม่รักในของ ให้ไปก็ไม่รู้ค่า ลงบันไดไปสามขั้นก็เสื่อมแล้ว"
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:ken เขียน:ขอสอบถามพี่รณธรรมหน่อยครับว่าพระหรือเครื่องรางที่ปลุกเสก วันเสาร์5 จะไม่มีเสื่อมจริงหรือป่าวครับ
เรียนตอบคุณken ตามความเห็นของผม และความรู้ที่ได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์หลายรูป เช่น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร หลวงพ่อสาลีโข(สมภพ เตชปุญโญ) หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ หลวงพ่อจ้อย พุทธสโร ท่านพ่อเมือง พลวัฑโฒ เป็นต้น
และความรู้จากอาจารย์ฆราวาส เช่น อาจารย์ธรรมนูญ บุญธรรม อาจารย์ประคอง รุ่นเจริญ เป็นต้น
วัตถุมงคลจะเสื่อมหรือไม่ ใจความสำคัญอยู่ที่ "ผู้เสก" เป็นอันดับที่หนึ่งครับ ถ้าผู้เสกเป็นผู้มีคุณธรรมสูงจริง เป็นผู้มีฌาน-ญาณที่แข็งแกร่งจริง เสกแล้วก็ยากจะเสื่อมครับ ถ้าจะพูดว่าไม่เสื่อมเอาเสียเลยก็จะขัดกับกฏพระไตรลักษณ์ไป เอาเป็นว่า จะเสื่อมก็ต่อเมื่อสิ้นพระศาสนาถ้วน 5,000 ปีแล้วกัน แต่ตลอดระยะเวลาที่พระพุทธศาสนายังดำรงตัวอยู่อย่างนี้ของที่ดีจริง ๆ ไม่มีเสื่อมครับ
หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยบอกว่า คนที่เสกของโดยอาศัยฌานเพียงอย่างเดียว หากต่อไปวันข้างหน้ามีเหตุให้ฌานเสื่อมจะเพราะอะไรก็ตาม ของที่เคยเสกไว้แล้วทั้งหมดเป็นอันว่าเสื่อมตาม เพราะฉะนั้น การเสกพระแม้ต้องอาศัยฌานแต่ก็ต้องมีลูกเล่นในการเสก คือเดินหน้าถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลมและยังต้องอาศัยการอธิษฐานทับด้วยอำนาจ "ญาณ" ซึ่งจะสูงกว่าฌาน รายละเอียดต่าง ๆ ผมขออนุญาตข้ามไปนะครับ เพราะผมทำไม่เป็น หากพูดมากไปก็จะร้ายมากกว่าดี
ความสำคัญอย่างที่สอง คือ "ผู้ที่นำวัตถุมงคลมาใช้" ถ้าเป็นคนดีมีศีลมีธรรม ของนั้นก็ยิ่งขลังยิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าเป็นคนเลวก็คือเสื่อม เสื่อมที่ว่าเป็นปัญหากันมาก เพราะแต่ละคนก็มีความเชื่อในครูอาจารย์หรือวิชาของตนว่าไม่มีทางเสื่อม ก็ไม่ได้ว่าของเสื่อมดอก การที่บอกว่าของเสื่อมเป็นการพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ที่จริงของไม่เสื่อม "คนนั่นแหละที่เสื่อม" คนเสื่อมจากของ ใช้ของไม่ขึ้น คล้าย ๆ แว่นกันแดดที่คนตาดีใส่ก็ช่วยให้มองสบายตาอย่างยิ่ง แต่พอเอาไปให้คนตาบอดใส่ก็หาประโยชน์อะไรไม่ได้
แว่นกันแดดเสื่อมหรือ ?
วัตถุมงคลถูกปลุกเสกด้วย "จิต" และเพราะเรื่องของ "จิต" มีความสลับซับซ้อน จึงเป็นการยากที่จะอธิบายครับ เอาเป็นว่าทำดีไว้เถิด มีวัตถุมงคลหรือไม่มีก็จะดีอยู่ในตัวเองครับ
สรุปคือ วันและเวลาไม่ใช่ตัวกำหนดว่าเสกของแล้วจะเสื่อมหรือไม่เสื่อมครับ อยู่ที่ผู้เสกเป็นสำคัญอันดับหนึ่ง และอยู่ที่ผู้ใช้เป็นข้อสำคัญอันดับสองครับ
ศุกร์ 15 ม.ค. 2010 6:55 am
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:ken เขียน:ขอสอบถามพี่รณธรรมหน่อยครับว่าพระหรือเครื่องรางที่ปลุกเสก วันเสาร์5 จะไม่มีเสื่อมจริงหรือป่าวครับ
เรียนตอบคุณken ตามความเห็นของผม และความรู้ที่ได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์หลายรูป เช่น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่ท่อน ญาณธโร หลวงพ่อสาลีโข(สมภพ เตชปุญโญ) หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ หลวงพ่อจ้อย พุทธสโร ท่านพ่อเมือง พลวัฑโฒ เป็นต้น
และความรู้จากอาจารย์ฆราวาส เช่น อาจารย์ธรรมนูญ บุญธรรม อาจารย์ประคอง รุ่นเจริญ เป็นต้น
วัตถุมงคลจะเสื่อมหรือไม่ ใจความสำคัญอยู่ที่ "ผู้เสก" เป็นอันดับที่หนึ่งครับ ถ้าผู้เสกเป็นผู้มีคุณธรรมสูงจริง เป็นผู้มีฌาน-ญาณที่แข็งแกร่งจริง เสกแล้วก็ยากจะเสื่อมครับ ถ้าจะพูดว่าไม่เสื่อมเอาเสียเลยก็จะขัดกับกฏพระไตรลักษณ์ไป เอาเป็นว่า จะเสื่อมก็ต่อเมื่อสิ้นพระศาสนาถ้วน 5,000 ปีแล้วกัน แต่ตลอดระยะเวลาที่พระพุทธศาสนายังดำรงตัวอยู่อย่างนี้ของที่ดีจริง ๆ ไม่มีเสื่อมครับ
หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยบอกว่า คนที่เสกของโดยอาศัยฌานเพียงอย่างเดียว หากต่อไปวันข้างหน้ามีเหตุให้ฌานเสื่อมจะเพราะอะไรก็ตาม ของที่เคยเสกไว้แล้วทั้งหมดเป็นอันว่าเสื่อมตาม เพราะฉะนั้น การเสกพระแม้ต้องอาศัยฌานแต่ก็ต้องมีลูกเล่นในการเสก คือเดินหน้าถอยหลังเป็นอนุโลมปฏิโลมและยังต้องอาศัยการอธิษฐานทับด้วยอำนาจ "ญาณ" ซึ่งจะสูงกว่าฌาน รายละเอียดต่าง ๆ ผมขออนุญาตข้ามไปนะครับ เพราะผมทำไม่เป็น หากพูดมากไปก็จะร้ายมากกว่าดี
ความสำคัญอย่างที่สอง คือ "ผู้ที่นำวัตถุมงคลมาใช้" ถ้าเป็นคนดีมีศีลมีธรรม ของนั้นก็ยิ่งขลังยิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าเป็นคนเลวก็คือเสื่อม เสื่อมที่ว่าเป็นปัญหากันมาก เพราะแต่ละคนก็มีความเชื่อในครูอาจารย์หรือวิชาของตนว่าไม่มีทางเสื่อม ก็ไม่ได้ว่าของเสื่อมดอก การที่บอกว่าของเสื่อมเป็นการพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ที่จริงของไม่เสื่อม "คนนั่นแหละที่เสื่อม" คนเสื่อมจากของ ใช้ของไม่ขึ้น คล้าย ๆ แว่นกันแดดที่คนตาดีใส่ก็ช่วยให้มองสบายตาอย่างยิ่ง แต่พอเอาไปให้คนตาบอดใส่ก็หาประโยชน์อะไรไม่ได้
แว่นกันแดดเสื่อมหรือ ?
วัตถุมงคลถูกปลุกเสกด้วย "จิต" และเพราะเรื่องของ "จิต" มีความสลับซับซ้อน จึงเป็นการยากที่จะอธิบายครับ เอาเป็นว่าทำดีไว้เถิด มีวัตถุมงคลหรือไม่มีก็จะดีอยู่ในตัวเองครับ
สรุปคือ วันและเวลาไม่ใช่ตัวกำหนดว่าเสกของแล้วจะเสื่อมหรือไม่เสื่อมครับ อยู่ที่ผู้เสกเป็นสำคัญอันดับหนึ่ง และอยู่ที่ผู้ใช้เป็นข้อสำคัญอันดับสองครับ
ศิษย์กวง เขียน:สุดยอดครับ สมแล้วกับที่เป็น DNA ของหลวงพ่อ
ถ้าได้สักครึ่งของคุณรณธรรม ก็เจ๋งแล้ว
ว่าแต่ว่า ขอถามหน่อยครับ
"ในจำนวนวัตถุมงคลของหลวงพ่อสมภพ ที่คุณรณธรรมมีอยู่ ชิ้นไหนบ้างครับ ที่จะแจกให้กับพวกเรา"
ถือว่าเป็นการให้เกียรติครับพี่น้องงงงงง
ศุกร์ 15 ม.ค. 2010 6:42 pm
เสาร์ 16 ม.ค. 2010 1:39 am
เสาร์ 16 ม.ค. 2010 3:45 am
เสาร์ 16 ม.ค. 2010 3:53 am
Mann เขียน:อ่านคำอธิบายอาจารย์ข้างต้นแล้วชวนนึกว่ายุคนี้สมัยนี้จะมีใครมีความรู้(จริง)เรื่องนี้เท่าอาจารย์ผมอีก...
เสาร์ 16 ม.ค. 2010 3:56 am
artcrub เขียน:ถามใหม่ดีกว่าครับ
ในวัตถุมงคลของหลวงพ่อสมภพ ที่คุณรณธรรมมีอยู่ ชิ้นไหนบ้างที่รักที่หวง หรือแบบที่ว่าโดนใจครับ
รณธรรม ธาราพันธุ์ เขียน:ทั้งหมดครับ
เสาร์ 16 ม.ค. 2010 3:57 am