อาทิตย์ 28 มี.ค. 2010 11:08 pm
วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2512 ได้ปรากฏ
"มหานักขัตฤกษ์เสาร์ห้า" อันหาได้ยากยิ่ง กล่าวคือ
วันเสาร์ เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ อันควรแก่การประกอบมหาพุทธาภิเษกเพื่อให้ได้ความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งทวีคูณ ด้วยถือเป็นวันแข็งและแรงด้วยฤทธานุภาพ หลวงพ่อสาลีโขจึงดำริจัดสร้างมงคลวัตถุ วัตถุประสงค์เพื่อนำปัจจัยมาใช้บูรณะ วัดสาลีโขภิตาราม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพราะในขณะนั้นวัดค่อนข้างทรุดโทรมเป็นอันมาก ทั้งหมู่กุฏิ หอฉัน และหอสวดมนต์ ก็ได้หลวงพ่อนี่แหละที่บูรณาการจนกลายเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างไปเลยทีเดียว
ประกอบด้วย
1. พระพุทธรูปนาคปรกหน้าตัก 18 นิ้ว โดยสร้างเพียง 1 องค์ เพื่อประดิษฐานไว้ประจำสำนัก เพราะพระนาคปรกเป็นพระประจำวันเสาร์ซึ่งเป็นวันเกิดของท่านเอง
2. พระปางห้ามสมุทรสูง 36 นิ้ว จำนวน 2 องค์ มีความสูงวัดจากพระเกศถึงพระบาทเท่ากับความสูงขององค์หลวงพ่อสาลีโขเอง ประดิษฐานไว้กราบไหว้บูชาประจำสำนักเพื่อความเป็นสิริมงคล
3. พระเสาวภาคย์นิรภัยชัยวัฒน์หน้าตัก 9 มิลลิเมตร เป็นเนื้อทองคำนพเก้า สร้างจำนวน 108 องค์ เนื้อนวโลหะกลับดำสนิท สร้างจำนวน 2,512 องค์
- 3.jpg (26.35 KiB) เปิดดู 5427 ครั้ง
4. พระฤาษีนารอทหน้าตัก 18 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ซึ่งขนาดหน้าตักจัดทำให้เท่ากับกำลังของพระมหาจักรพัตราธิราช ประดิษฐานไว้ประจำสำนัก
5. รูปหล่อหลวงปู่เผือกหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 106 องค์ ที่สร้าง 106 องค์นั้นก็เพื่อเป็นที่ระลึกถึงจำนวนปีที่เป็นชนมายุของ หลวงปู่เผือก ท่านนั้นเอง
6. พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนทรงพระแสงดาบคาบค่าย ความสูง 36 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ไว้ประจำสำนัก จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงปกปักษ์รักษาประเทศตลอดมาควรแก่การเทอดทูนบูชายิ่งนัก และยังทรงเป็นศิษย์ในสมเด็จพระนพรัตน วัดป่าแก้ว กรุงอโยธยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับหลวงปู่เผือก
7. เหรียญรูปหลวงพ่อสาลีโขเนื้อเงินบริสุทธิ์ จำนวน 150 เหรียญ เนื้อทองแดงเถื่อน จำนวน 5,000 เหรียญ
- zddsol554hkrdd45evvo23122009735.jpg (40.1 KiB) เปิดดู 4215 ครั้ง
8. เสื้อยันต์เกราะเพชรพระพุทธเจ้าสีแดง จำนวน 5,000 ตัว เพื่อประสิทธิ์ประสาทให้กับข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ที่ออกปฏิบัติการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย และยังมอบให้แก่ศิษยานุศิษย์เพื่อใช้ป้องกันภยันตราย
- 2-horz.jpg (29.66 KiB) เปิดดู 4212 ครั้ง
9. ตะกรุดโทนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเนื้อทองแดง จำนวน 500 ดอก สร้างตามตำรับของ
สมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ที่ลงจาร ม้วน เสก ทูนเกล้าฯให้กับ
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้คาดบั้นพระองค์เพื่อการศึกสงคราม
ตะกรุดนี้ทรงอานุภาพมากมายนัก กรำศึกครั้งใดก็ทรงได้รับชัยชนะเสมอมาไม่เคยแพ้ใคร แม้ต้องศาสตราวุธ หน้าไม้ และปืนไฟ ก็ไม่เคยได้รับบาดเจ็บแต่ประการใด จึงนับได้ว่าพระมหายันต์นี้เป็นยอดแห่งความอยู่คงแคล้วคลาดอย่างยากจะหายันต์ใดมาเปรียบได้ และพระยันต์นี้ก็ถูกรจนาขึ้นเพื่อคู่ควรแก่พระมหากษัตริย์ ท้าวพระยาผู้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและศาสนาเท่านั้น หากเป็นประชาชนธรรมดา ก็ควรแก่ผู้ทรงไว้ซึ่งศีลธรรมอันดีงาม ดำเนินชีวิตอยู่ในรอยบาทของพระศาสดา มิใช่มหาโจรปล้นชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือ
บุคคลประเภทศีลไม่เคยปะสัจจะไม่เคยมี แบบนี้เอาไปใช้ก็รังแต่จะพบกับความวิบัติในชีวิตเท่านั้นเอง
- 006.jpg (57.08 KiB) เปิดดู 4211 ครั้ง
มงคลวัตถุทั้ง 9 รายการนี้ บางอย่างได้นำขึ้นทูนเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมวงศานุวงศ์ทุก ๆ พระองค์
พระมหาเถระที่มาร่วมนั่งปรกเจริญจิตภาวนานั้น ทางวัดได้ทำการแบ่งออกเป็นสองคณะ เพื่อประกอบพุทธาภิเษกในวันศุกร์และเสาร์
โดยในวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีจำนวนทั้งสิ้น 9 รูป ประกอบด้วย1. พระนันทวิริยาจารย์ (หลวงพ่อหลาบ) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
2. พระครูปัญญาโชติวัฒน์ (เจริญ) วัดทองนพคุณ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
3. พระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพ
4. พระครูเมธีวรานุวัตร (ผล) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพ
5. พระครูสิริธรรมสาร (บาง) วัดหนองพลับ อ.หนองแซง จ.สระบุรี
6. พระครูปลัดศีลวัฒน์ (วิเชียร) วัดเครือวัลย์ อ.เมือง จ.ชลบุรี
7. พระครูใบฎีกาเติม วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
8. หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.ลพบุรี
9. พระครูกัลยาณกิตติ วัดแหลมมะขาม อ.แหลมงอบ จ.ตราด
และองค์หลวงพ่อสาลีโขเอง
ต่อจากนั้น ได้จัดพิธีขึ้นใน
วันเสาร์ห้า ตรงกับวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีพระมหาเถระนั่งปรก 9 รูปเช่นกันคือ1. พระภัทรมุขมุนี (ชิต) วัดเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
2. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระครูภาวนารังษี วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดป่าแก้ว) อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
4. พระครูสังฆรักษ์จันทร์ วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
5. หลวงพ่อแอ วัดราษฎร์ศรัทธาราม ห้วยประดู่ จ.สระบุรี
6. หลวงพ่อภักดิ์ วัดสุทธาวาส อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
7. พระอาจารย์นคร วัดเขาอิติสุคโต อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
8. หลวงพ่อมิ วัดสิงห์ บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพ
9. พระครูวินัยธรวีระ วัดสาวชะโงก อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
และที่จะขาดเสียมิได้คือองค์หลวงพ่อสาลีโขเอง
บทความนี้คัดลอกมาจากเว็บพระเว็บนึง ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดเขียน ขออนุญาตผู้เขียนมา ณ ที่นี้ด้วย รูปตะกรุด เป็นของพี่ศิษย์กวงขอรับ