ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 10:44 pm โพสต์: 99
|
http://www.thaicert.org/paper/basic/phishing.php ชื่อเรื่อง : เทคนิคการโจมตีแบบ "Phishing" เรียบเรียงโดย : ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ เผยแพร่เมื่อ : 1 มิถุนายน 2547 Phishing คือ การโจมตีในรูปแบบของการปลอมแปลงอี-เมล์ (Email Spoofing) และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ อาทิ ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ Phishing สามารถทำได้โดยการขโมยหรือนำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ตลอดจนรูปลักษณ์ของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง และบัตรเครดิตประเภทต่างๆของผู้ประกอบการ การให้สินเชื่อทางอินเตอร์เน็ต มาประกอบเข้ากับการหลอกลวงเหยื่อหรือผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูล ซึ่งมีการประเมินเบื้องต้นว่า การโจมตีในรูปแบบของ phishing สามารถหลอกให้เหยื่อร้อยละ 5 ของทั้งหมด เปิดเผยข้อมูลที่ต้องการ นอกจากนี้ ผู้โจมตี (Hacker หรือ Spammer) ยังใช้ยุทธวิธีการหลอกลวงแบบ Social Engineering ประกอบเพิ่มเติม เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช่น การหลอกลวงชื่ออี-เมล์ เป็นต้นว่า เป็นเรื่องด่วนจากธนาคาร การหลอกลวงว่าบัญชีที่ใช้งานจะหมดอายุ การเสนอสินค้าที่มีดอกเบี้ยต่ำต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากการโจมตีแบบ phishing ได้มีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศ ซึ่งทำให้คาดการณ์ได้ว่า อาจมีการแพร่เข้ามาในประเทศไทยในอีกไม่นานนี้ จึงมีความจำเป็นต้องแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบถึงภัยที่มีความรุนแรงนี้…(อ่านต่อ)
วิธีการป้องกันและรับมือกับการถูกโจมตีแบบ phishing 1. หยุดคิดและพิจารณาข้อมูลที่ได้รับทางอี-เมล์ หรือข้อมูลที่เข้าไปดูในเว็บไซต์ทุกครั้ง 2. ควรลบข้อมูลที่น่าสงสัยนั้นทิ้งทันที 3. หากมีความจำเป็นต้องกรอกหรือส่งข้อมูลใดทางเว็บไซต์ ต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ดังกล่าวว่ามีตัวตนหรือมีการรับรองหรือไม่ หากไม่แน่ใจควรติดต่อไปยังเจ้าของเว็บไซต์หรือเจ้าของสถาบันการเงินดังกล่าว เพื่อสอบถามข้อมูลและยืนยันข้อมูลก่อนการดำเนินการใดๆ 4. ไม่ควรเข้าไปในเว็บไซต์หรือรันไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ ซึ่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไม่มั่นใจว่าผู้ส่งเป็นใคร หรือไม่ทราบว่าไฟล์ดังกล่าวเป็นไฟล์อะไร ตลอดจนเว็บไซต์หรือไฟล์ที่ถูกส่งมาด้วยโปรแกรมสนทนาประเภทต่างๆ เช่น IRC, ICQ, MSN หรือ PIRCH เป็นต้น 5. ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงช่องโหว่ (patch) ของทุกซอฟแวร์ที่มีการใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านอยู่เสมอ 6. ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ผ่านทางอี-เมล์ ของศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย (ThaiCERT)
|
|