เสาร์ 25 ต.ค. 2008 1:28 pm
สวัสดีครับพี่จิ้งจก...
ขออนุญาตออกตัวก่อนครับว่าผมไม่ได้มีความเชียวชาญหรือชำนาญเรื่องอักขระเลขยันต์มากนัก แต่ผมขออธิบายตามที่ผมเคยได้ฟังผ่านๆมา
๑.คำว่า “
ยันต์ครู”
ในสำนักแห่งนี้คงหมายถึงยันต์ทั้งหมดที่ “
ครูบาอาจารย์ให้มา”แหละครับ มิได้มุ่งหมายให้ใช้ยันต์รูปแบบใด รูปแบบหนึ่งเป็นหลัก....
สำหรับ “
ยันต์บัวแปดกลีบ” นั้น มีความสำคัญคือเป็นยันต์ที่ “
ท่านปู่พ่วง” คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของอาจารย์ธรรมนูญและลูกศิษย์ทุกท่าน
๒.ส่วนการที่รูปภายใน “
ตัวยันต์บัวแปดกลีบ” จะเป็นรูปอะไร คงจะต้องขึ้นอยู่กับบริบทของการใช้แหละครับ
หากว่าเป็นการสัก ก็คงใช้ตัวแบบที่เป็นพระปิดตา นัยยะมหาอุดเน้นความคงกระพัน การที่จะเอารูปท่านปู่พ่วงมาสักลง คงจะไม่เหมาะสมทำนองนั้นครับ
เช่นเดียวกับตัวเหรียญที่มุ่งเน้นความหมายและการมี "
เอกลักษณ์"ของคำว่า “
ท่านปู่พ่วง” และ “
ยันต์บัวแปดกลีบ” ดังนั้นลักษณะของตัวเหรียญจึงถูกออกแบบมาเป็นแนวทางนี้
ทั้งหมดนี้คงขึ้นอยู่กับคำว่า “
ความเหมาะสม” เป็นสำคัญ
๓.และตามตัวยันต์ที่สักลงบนหลังของ “
คุณjojo สุดหล่อ”
- 001.jpg (31.93 KiB) เปิดดู 4377 ครั้ง
ที่เห็นทั้งหมด(แต่ยังไม่หมด)คือ “
ยันต์ครู” มีการจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมและสวยงาม โดยเบื้องต้นเป็นการลง “
ยันต์พระนาม”
ซึ่งถือว่าเป็น “
เอกลักษณะเฉพาะ” ของสำนักฯ
เริ่มต้นครับ "
จรดปลายเข็มวางลายยันต์..."
- 1.jpg (16.19 KiB) เปิดดู 4373 ครั้ง
- 2.jpg (13.92 KiB) เปิดดู 4375 ครั้ง
- 3.jpg (15.04 KiB) เปิดดู 4376 ครั้ง
อักขระอื่นๆ ที่สักตามลงมา ก็มีความหมายและคุณภาพแตกต่างกันไปตามประเภทของตัวยันต์ ซึ่งก็คงทำนองเดียวกัน คือมุ่งเน้นด้าน “
ความเหมาะสม” เป็นที่ตั้งครับ....
ปล.ทั้งหมดนี้ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนะครับ เพียงแต่เป็นความคิดเห็นของผม ผู้ด้อยปัญญา”
ด้านอักขระ”และมุ่งเน้น “
ความบันเทิง” เป็นหลักครับ