พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 31 ส.ค. 2017 5:28 am
"คนเรา ไม่ได้เป็นไปตามชื่อ
แต่เป็นไปตามการกระทำ ของตนเอง
เพราะถ้าเป็นไปตามชื่อแล้ว
พระพุทธเจ้า จะมาตรัสสอนพวกเรา
ให้เชื่อเรื่องกรรมทำไม"
-:-หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ-:-
"เมื่อเราแยกดีชั่ว ออกจากกันไม่ได้
เหมือนไม่อาจแยกกายกับใจ
ก็ควรเพิ่มปริมาณความดี ให้มากขึ้น
ต้องเอาดีออกมาให้เขาเห็น
มิใช่เอาเด่นออกมาอวด
ดีอวดได้ แต่อย่าอวดเด่นเลย"
-:-หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป-:-
"ส่วนมาก เขาจะว่าดี
ก็ต่อเมื่อ เขาได้รับประโยชน์
จากการกระทำของเรา
ถ้าเขาไม่ได้ แต่ไปได้กับผู้อื่น
เราก็เป็นคนดี ที่เขาไม่ต้องการ"
-:-ท่านพุทธทาสภิกขุ-:-
"พระองค์เห็นว่า
ชีวิตของมนุษย์ปถุชน เหมือนกรง
เพราะถูกกักขัง ในที่คับแคบ
ด้วยอำนาจของความโลภ
ความโกรธ ความหลง
ถึงจะเป็นกรงทองคำ ก็ยังเป็นกรงอยู่ดี
สิ่งใด มีหน้าที่แค่ประดับกรง
เป็นของยอดเยี่ยมไม่ได้
สิ่งใด ช่วยให้เราพ้นจากกรง
สิ่งนั้นแหล่ะ ยอดเยี่ยม"
-:- พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ -:-
...พวกที่มีศีลบริสุทธิ์
เป็นนักบวชแต่ไม่มีสมาธิ
ยังฝึกยังนั่งสมาธิไม่เป็น
ยังหัดอยู่ ยังหัดนั่งสมาธิอยู่
ยังพุทโธ พุทโธอยู่ เดินจงกรม
หัดนั่งสมาธิอยู่ แต่จิตยังไม่รวม
อันนี้เป็นพวกที่สอง
.
...พวกที่สามก็คือ
"พวกญาติโยมนี่แหละ"
พวกที่ไม่ได้บวช
ศีลก็ขาดๆเกินๆ
สมาธิก็อย่าไปพูดถึงเลย
นั่งทีไรก็ฟุ้งซ่าน
ไม่เคยพบกับคำว่า
"จิตรวม" เป็นยังไง
พวกนี้เป็นพวกที่สาม.
.........................................
.
คัดลอกการสนทนาธรรม
ธรรมะบนเขา 28/8/2560
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"เจ้ากรรมนายเวร"
ถาม : มีสามีภรรยาคู่หนึ่งสามีชอบกินเหล้ามากๆ และพอภรรยามาปฏิบัติธรรมสามีก็จะมีเรื่องทุกที สามีเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือเปล่าคะ
พระอาจารย์ : ก็ใครที่เขาไม่ถูกกับเราเราก็เรียกว่าเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวร คนที่ถูกกับเราก็เป็นคู่บุญกัน คนที่โกรธเราเกลียดเราก็เป็นเจ้ากรรมนายเวรเรา (หัวเราะ)
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่นั้นหายากยิ่งนัก มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้เท่านั้น บุคคลทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เราก็ได้สุข เราไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้ เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่าสุขกับทุกข์ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์ เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ก็ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์ วางทุกข์ได้เหมือนกัน ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ออกจากกันได้ แต่เราตถาคตก็ไม่มีวิเศษที่จะพรากจากกันได้ ถ้าหากเราตถาคตพรากสุขแลทุกข์ออกจากกันได้ เราจะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม เราจะถือเอาแต่สุขอย่างเดียว เสวยแต่ความสุขอยู่ในโลกเท่านั้น ก็เป็นอันสุขสบายพออยู่แล้ว นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุขโดยส่วนเดียวไม่มีทางที่จะพึงได้ เราจึงวางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวาง ก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จพระนิพพานพ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการดังนี้
.
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - คิริมานนทสูตร
เรียบเรียงโดย ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
ส่วนพระรูปที่ฝึกซ้อมตระเตรียมท่องคำอปโลกน์กฐินและสวดญัตติทุติยกรรมวาจาอย่างดิบดีมาดังที่กล่าวมาแล้วนั้น คิดว่าจะได้สวดแสดงในการกรานกฐิน ๔ ครั้งนี้ เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น เรื่องต่าง ๆ เหล่านั้นก็เป็นอันว่าจบลงเพียงแค่นั้น แลภายหลังหมู่พระทั้งหลายจึงมาพูดกับหมู่เพื่อนว่า
“ ท่านพระอาจารย์ใหญ่เราเด็ดขาดจริง ๆ ไม่สะทกสะท้านสงสัยในเรื่องพิธีการเหล่านี้เลย”
จึงทำให้หมู่พระลูกศิษย์สมัยนั้นคิดสงวนภูมิใจอยู่องค์เดียวมาจนถึงทุกวันนี้
ปกิณกธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
โดย พระคูรสุทธิธรรมาภรณ์ (พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ)
เจ้าอาวาสวัดป่าภูริทัตตถิราวาส (วัดป่าบ้านหนองผือ)
อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
"...คนทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในโลกส่วนมาก ล้วนตายไปกับความมืดบอด ตอนยังมีชีวิต ก็หลงมัวเมาสนุกสนานเพลิดเพลิน ในการอยู่ การกิน หัวเราะ ร้องไห้กันไปตามแต่จะประสบสุข-ทุกข์ รักและชัง
ปล่อยตัว ปล่อยใจ ให้ชีวิตเดินไปตามยถากรรม โดยไม่สนใจที่จะคิดสร้างกรรมดีขึ้นด้วยจิตใจและเรี่ยวแรง ตามกำลังสติปัญญาที่มี ปล่อยให้วันคืนล่วงไปเหมือนสัตว์ตัวหนึ่ง ที่เขาเลี้ยงอย่างอ้วนพี แล้วก็นำไปสู่โรงฆ่าช่างน่าเวทนาเสียจริงๆ..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
"...เราเกิดมา นินทา-สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ในใจ ปล่อยผ่านไปเสีย ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นก็เพราะกิเลส มันเสวนากันอยู่
"จาโค ปฏินิสฺสคฺโค" สละคืนถอนออกจากใจนี้เสีย
ตัณหาทั้งหลายก็ไหลมาจากเหตุ ให้ละวางเสียให้หมด ให้ตั้งอยู่ในศีล ในทาน ในการบำเพ็ญกุศล ละบาปเสียให้หมด ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่ทุจริต ละเสียให้หมด รักษากาย วาจา ใจ ที่สุจริตไว้..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
เหตุที่จะไปอบายของสัตว์ที่โง่ ไม่รู้จักคนชั่วคนดี มีอยู่ ๔ จำพวก
พวก ๑ คนดี ๆ มีคุณควรสรรเสริญ กลับไปติเตียนเขา
พวก ๑ คนชั่วไม่ดี ควรติเตียน กลับไปสรรเสริญเขา
พวก ๑ คนที่มีคุณ ควรเลื่อมใส ไม่เลื่อมใส
พวก ๑ คนที่มีโทษทุจริตปฏิบัติผิด ไม่ควรเลื่อมใส ไปหลงเลื่อมใส.
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
ทำจิตให้สงบ ธรรมจะเกิดขึ้นที่ใจ จะมองเห็นทุกข์ได้ชัดและวางทุกข์ได้ จิตมากด้วยมายา ใจเฉยอยู่ จิตจึงเป็นส่วนที่ต้องฝึก พระนิพพานเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ เช่นการเดินทางถ้าตั้งใจเดินก็ถึงเร็ว แต่คนเรามีกำลังไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องอ้างถึงทางสายกลาง เพราะเมื่อเดินทุกท่านก็เหนื่อย แต่ได้ระยะทางไม่เท่ากันมากน้อยตามกำลัง การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน
สูตรสำเร็จก็คือมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติไปๆ….จะเข้าใจมากขึ้นตามลำดับ ความสุขก็เพิ่มขึ้นความทุกข์ก็ถอยไป ด้วยความตั้งใจโดยสม่ำเสมอ ผู้สำเร็จอรหันต์ท่านทำมามากแล้ว พวกเราตั้งใจทำให้มากก็สำเร็จได้ ยอมรับว่าเส้นทางมันยากแต่ก็ถึงได้ ฝากให้กลับไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ นั่งสมาธิทุกวันตอนกลางคืนเงียบๆ วันละสัก 1 ชม.
คนเราเกิดมาวันตายเราไม่รู้ นั่งรถไป เกิดอุบัติเหตุ ถึงแก่ชีวิต ก็ไม่มีใครจะรู้ได้ เมื่อเราทำสมาธิได้จนช่ำชองแล้ว (คือ เป็นวสี) เราก็กำหนดจิตเข้าสู่อัปปานาสมาธิในขณะจิตนั้น เมื่อเราตายก็ไม่มีเวทนา จิตก็แยกจากกาย ไปสู่สุขคติในที่นี้ ก็ชั้นพรหมนั่นแหละ ตายก่อนตายประเภทหนึ่ง
หลวงปู่เนตร จิรปุญโญ
วัดแหลมสัก ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
ใจและจิตไม่เหมือนกัน ใจอยู่นิ่งสว่างใสอยู่ดังเดิม จิตเป็นผู้ทำงานรับรู้เคลื่อนไหวส่งไปตามธรรมชาติ ไปไกลใกล้(ความคิด) และทำหน้าที่รู้ทุกเรื่องที่ ตา หู จมูก กายใจได้สัมผัส จิตก็นำสิ่งต่างๆ มากมายในชีวิต น มาอาบทาใจให้ดูหมองดำ ไม่ใสสว่าง
เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ คือใจ แสงของดวงอาทิตย์คือจิต ไม่มีดวงอาทิตย์ก็ไม่มีแสง สิ่งที่ทำให้ดวงอาทิตย์หมองมืดไป คือการบดบังแสง เช่น เมฆ หมอก ภูเขา เป็นต้น เมื่อเอาเมฆ หมอก ภูเขาออก ดวงอาทิตย์ก็เหมือนเดิม ดวงอาทิตย์คือใจ แสงของดวงอาทิตย์คือจิต ฉันใดก็ฉันนั้น ปรากฏการณ์ของความเศร้าหมองคือจิตไปรับเอาสภาวะภายนอกมาบดบัง อาบ ทาใจ ให้หมองคล้ำลงนั่นเอง
ฉะนั้นถ้าแก้ก็ให้แก้ที่จิต(จิตเสพคุ้นแนบแน่อยู่กับขันธ์5) เพราะจิตเกิดจากใจ และจิตก็ทำหน้าที่ของมันอยู่ไม่เคยหยุดนิ่งเพียงไปรับสิ่งต่างๆมาบดบังใจ จึงควรรักษาจิต ดูแลจิต อบรมจิต ด้วยขั้นตอนศีล สมาธิ ปัญญา
หลวงปู่เนตร จิรปุญโญ
วัดแหลมสัก ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
จำวัดผิดกันกับคำว่า นอน
หลวงปู่ขาว เล่าถึงคำสอนของ หลวงปู่มั่น
เกี่ยวกับการหลับนอนของพระ ต่อไปดังนี้
ท่านควรขบคิดคำว่า จำวัด กับคำว่า นอน ซึ่งเป็นคำทั่วๆ ไป
เทียบกันดูจะเห็นว่าผิดกันและมีความหมายต่างกันอยู่มาก
ระหว่างคำว่า จำวัดของศากยบุตร กับคำว่า นอนของคนและสัตว์ทั่วไป
ดังนั้นความรู้สึกของพระผู้เป็นศากยบุตรที่จะปลงใจจำวัดแต่ละครั้ง
จึงควรมีความสำคัญติดตัวในขณะนั้นและเวลาอื่นๆ
จึงจะสมชื่อว่า ผู้ประคองสติ
ผู้มีปัญญา คิดอ่านไตร่ตรองในทุกกรณี
ไม่สักว่าคิด สักว่าพูด สักว่าทำ สักว่านอน สักว่าตื่น
สักว่าฉัน สักว่าเดิน สักว่านั่ง
สัก เป็นอาการปล่อยตัวเกินเพศเกินภูมิของศากยบุตรที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
ในวงปฏิบัติโดยมากมักเข้าใจกันว่า
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายนิพพานไปแล้ว สาปสูญไปแล้ว
ไม่มีความหมายอะไรเกี่ยวกับท่านและตนเองเสียแล้ว
ก็พระธรรมอันเป็นฝ่ายเหตุที่สอนกันให้ปฏิบัติอยู่เวลานี้
เป็นธรรมของท่านผู้ใดขุดค้นขึ้นมาให้ได้เห็นและได้ปฏิบัติตามเล่า?
ความจริง พุทธะ และ สังฆะ
ก็คือ ดวงใจบริสุทธิ์ที่พ้นวิสัยแห่งความตาย
และความสาปสูญอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
จะให้ตายให้สาปสูญให้หมดความหมายไปได้อย่างไร
เมื่อธรรมชาตินั้นมิได้เป็นไปกับสมมติ
มิได้อยู่อำนาจแห่งความตาย
มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความสาปสูญ
มิได้อยู่ในอำนาจแห่งการหมดความหมายใดๆ
พุทธะ จึงคือ พุทธะอยู่โดยดี
ธัมมะ จึงคือธัมมะอยู่โดยดี
และสังฆะ จึงคือสังฆะอยู่โดยดี
มิได้สั่นสะเทือนไปกับความสำคัญใดๆ แห่งสมมติ
ที่เสกสรรทำลายให้เป็นไปตามอำนาจของตน
ฉะนั้นการปฏิบัติด้วย ธัมมานุธัมมะ
จึงเป็นเหมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
อยู่ตลอดเวลาที่มี ธัมมานุธัมมะ ภายในใจ
เพราะการรู้พุทธะ ธัมมะ สังฆะ
โดยหลักธรรมชาติจำต้องรู้ขึ้นที่ใจ
ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งธรรมอย่างเหมาะสมสุดส่วน
ไม่มีภาชนะใดยิ่งไปกว่า ดังนี้
โอวาทธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต เล่าไว้โดยพระอาจารย์ขาว อนาลโย
จาก หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔ หน้า ๒๗๗-๒๗๘
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.