พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 03 ก.ย. 2017 9:58 am
"อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่
หรือบุคคลใดๆ ว่าเป็นภัย หรือเป็นคุณ
ให้เสียเวลา หรือล่าช้าไปเปล่า
โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร
ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลส กับธรรม
ซึ่งมีอยู่ที่ใจ"
-:-พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ-
"อย่าเข้าใจว่า ธรรมะมันอยู่ห่างจากเรา
มันอยู่กับเรา ก็เป็นเรื่องของเรานี่แหละ
ลองดูซิ เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ
เดี๋ยวก็พอใจบ้าง เดี๋ยวก็โกรธคนนั้น
เดี๋ยวก็เกลียดคนนี้ ธรรมะทั้งนั้นแหละโยม"
-:- หลวงปู่ชา สุภัทโท -:-
"ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถูกของท่านที่สุด
ความเจ็บความป่วย ความแก่ชรา
ความตาย ใครก็ช่วยใครไม่ได้ นอกจากตัวเอง
ความดี ความไม่ดี ตัวเองก็ทำเอง
ใครก็ทำให้กันไม่ได้ จึงให้พากันภาวนา"
-:- หลวงปู่เพียร วิริโย -:-
"ความรู้สึกตัว เหมือนไม้กวาด
ไม้กวาดผ่านไปตรงไหน ตรงนั้นก็สะอาด"
-:- หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ -:-
"..คนที่ไม่เข้าวัด หรือไม่ปฏิบัติธรรมจำนวนมากมองว่า คนเข้าวัดเป็นคนเต่าล้านปีบ้าง งมงายบ้าง มัวแต่หาสิ่งเลื่อนลอยบ้าง คนที่คิดอย่างนี้มักจะเชื่อว่าสิ่งที่วัดไม่ได้ นับไม่ได้ ไม่มียี่ห้อ อวดคนอื่นไม่ได้ เป็นของลมๆ แล้งๆ ต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มีราคาในตลาด จึงจะเป็นของจริง เงินทอง บ้านช่อง รถยนต์ เครื่องเพชร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แหละคือของจริงของเขา
แต่ทำไมของจริง เหล่านั้นหายไปได้ ทำไมอยู่ดีๆ หนี้ต่างประเทศของนักธุรกิจสามารถเพิ่มขึ้นเท่าตัว ภายในไม่กี่วัน ทำไมรถยนต์ที่เจ้าของรัก และ หวงแหนเหลือเกิน ธนาคารยึดได้ ทำไมคนดังของสังคมหยุดทำงานหรือหมดอำนาจ เมื่อตายไปก็แทบจะไม่มีใครเอ่ยถึง ทรัพย์สมบัติเงินทอง อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ ต่างหาก ที่นักปราชญ์มองว่าเป็นของมายา เหมือนความฝัน
ถึงแม้ว่าวัตถุจะฝืดเคือง ปัจจัยสี่ต้องดิ้นรนมากกว่าแต่ก่อน ผู้เจริญด้วยนามธรรมก็ยังยิ้มได้ (ยิ้มจากใจ ไม่ใช่แค่บริหาร กล้ามเนื้อใบหน้าเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง) เพราะแหล่งความสุขของเขายังไม่ถูกทำลาย เศรษฐกิจดีใจเขาไม่ฟู เศรษฐกิจแย่ ใจเขาไม่แฟบ จะมีปัญหาบ้างก็ทำใจได้ เพราะสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมทำมาตลอดก็คือทำใจ
ภาวนาก็คือการทำใจนั่นเอง ทำใจให้มีกำลังพอที่จะอยู่กับความจริง พุทธศาสนาสอนว่าความสงบเกิดจาก การรู้เห็นความจริงในทุกเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น นักปฏิบัติพยายามสำรวมไม่ให้จิตวิ่งเตลิดตามสิ่งน่าปรารถนา ไม่ให้มุทะลุผลักไส หรือปฏิเสธสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เพียงแต่ให้พยายามรู้เข้าใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รู้ความเกิดของมัน รู้ความดับของมัน รู้คุณ รู้โทษของมัน รู้ วิธีที่จะไม่ตกเป็นทาสของมัน อยู่กับความจริง ปฏิบัติต่อความจริงของชีวิตในทุกขณะ ไม่กลัวความจริง ไม่หันหลังให้ความจริง หรือพยายามกลบเกลื่อนความจริงด้วยกามารมณ์ .."
พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
ภาวนา ทำอยู่บ้างนะ อย่าไปทิ้งเน้อ ทิ้งแล้วไม่มีที่อาศัยนะ มันเป็นว่าวเชือกขาด อย่าไปทิ้งธรรมะ เขาให้เงินเดือนของคุณเดือนละล้านบาทคุณจะเอาไปได้ไหม เดี๋ยวตายทิ้งเหมือนกันละ ต้องภาวนา อย่าไปลืมตัว ในวัฏสงสารมีแต่สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้น แปรปรวน และดับไป ความสุขในโลกมันไม่มี
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
๑ มกราคม ๒๕๓๔
"คนเราทุกวันนี้ ถ้าเป็นคนที่มีธรรม
จะคิด จะพูด จะทำอะไรก็เป็นธรรม
แต่ถ้าเป็นคนไม่มีธรรม เอาเรื่องโลกมาคิด
มาพูด มาทำ ก็มีแต่โลกทั้งนั้น
ให้เราทั้งหลายช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เห็นการกระทำอะไรที่ไม่ดี
ให้ช่วยกันบอกสอนแก้ไขให้ถูกให้ควร
อย่าปล่อยให้คนทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า"
ธรรมโอวาท องค์หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
พระอริยสงฆ์ผู้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่สุด
ขององค์หลวงตามหาบัว
และศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"..คนที่ไม่เข้าวัด หรือไม่ปฏิบัติธรรมจำนวนมากมองว่า คนเข้าวัดเป็นคนเต่าล้านปีบ้าง งมงายบ้าง มัวแต่หาสิ่งเลื่อนลอยบ้าง คนที่คิดอย่างนี้มักจะเชื่อว่าสิ่งที่วัดไม่ได้ นับไม่ได้ ไม่มียี่ห้อ อวดคนอื่นไม่ได้ เป็นของลมๆ แล้งๆ ต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มีราคาในตลาด จึงจะเป็นของจริง เงินทอง บ้านช่อง รถยนต์ เครื่องเพชร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แหละคือของจริงของเขา
แต่ทำไมของจริง เหล่านั้นหายไปได้ ทำไมอยู่ดีๆ หนี้ต่างประเทศของนักธุรกิจสามารถเพิ่มขึ้นเท่าตัว ภายในไม่กี่วัน ทำไมรถยนต์ที่เจ้าของรัก และ หวงแหนเหลือเกิน ธนาคารยึดได้ ทำไมคนดังของสังคมหยุดทำงานหรือหมดอำนาจ เมื่อตายไปก็แทบจะไม่มีใครเอ่ยถึง ทรัพย์สมบัติเงินทอง อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ ต่างหาก ที่นักปราชญ์มองว่าเป็นของมายา เหมือนความฝัน
ถึงแม้ว่าวัตถุจะฝืดเคือง ปัจจัยสี่ต้องดิ้นรนมากกว่าแต่ก่อน ผู้เจริญด้วยนามธรรมก็ยังยิ้มได้ (ยิ้มจากใจ ไม่ใช่แค่บริหาร กล้ามเนื้อใบหน้าเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง) เพราะแหล่งความสุขของเขายังไม่ถูกทำลาย เศรษฐกิจดีใจเขาไม่ฟู เศรษฐกิจแย่ ใจเขาไม่แฟบ จะมีปัญหาบ้างก็ทำใจได้ เพราะสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมทำมาตลอดก็คือทำใจ
ภาวนาก็คือการทำใจนั่นเอง ทำใจให้มีกำลังพอที่จะอยู่กับความจริง พุทธศาสนาสอนว่าความสงบเกิดจาก การรู้เห็นความจริงในทุกเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น นักปฏิบัติพยายามสำรวมไม่ให้จิตวิ่งเตลิดตามสิ่งน่าปรารถนา ไม่ให้มุทะลุผลักไส หรือปฏิเสธสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เพียงแต่ให้พยายามรู้เข้าใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รู้ความเกิดของมัน รู้ความดับของมัน รู้คุณ รู้โทษของมัน รู้ วิธีที่จะไม่ตกเป็นทาสของมัน อยู่กับความจริง ปฏิบัติต่อความจริงของชีวิตในทุกขณะ ไม่กลัวความจริง ไม่หันหลังให้ความจริง หรือพยายามกลบเกลื่อนความจริงด้วยกามารมณ์ .."
พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร
เรื่อง...การฆ่าสัตว์เพราะความจำเป็น จะมีผลให้จิตของเราไม่ถึงแดนนิพาน?
ถ้าถือว่าการฆ่าสัตว์มีความจำเป็น
ก็จำเป็นยังไม่ไปนิพพาน แต่ก็ตั้งใจไว้ก่อนดีกว่า บางทีมีความจำเป็นเกี่ยวกับอาชีพจะต้องทำ
แต่ถ้าเป็นเรื่องรับราชการหรือรับจ้าง
ก็ต้องถือว่านายสั่ง ไม่ใช่เรื่องของเรา
กลับมาที่บ้านตั้งใจใหม่ ตั้งใจสมาทานศีล ตั้งใจเจริญภาวนา
ให้มันยันกันไปยันกันมา
ถ้าบังเอิญคนปราถนามีกำลังสูงพอนะ
บังเอิญทรงอารมณ์พระโสดาบันได้
บาปทั้งหลายก็ตามไม่ทัน ดูตัวอย่าง
องคุลีมาล
ท่านฆ่าคนถึงพันคนกว่า
ท่านก็เป็นพระอรหันต์
ตัมพทาฐิกะโจร
ฆ่าคนหมื่นกว่าคน
ฟังเทศน์จากพระสารีบุตรจบเดียว
เป็นพระโสดาบันได้ ไปนิพพานได้
สันตติมหาอำมาตย์
กลับมาจากรบทัพจับศึก
ฆ่าคนไม่รู้เท่าไหร่ ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์
ยังเป็นพระอรหันต์ได้
ทีนี้กำลังใจต้องตั้งอยู่ที่นิพพาน
ถ้าตั้งใจจริงแสดงว่ากำลังใจเข้าขั้นปรมัตถบารมี แต่มันยังไม่บรรจบ
บุญเก่ายังเข้ามาไม่ครบ ถ้าบุญเก่าเข้ามาครบเมื่อใด
ความจำเป็นที่คิดจะต้องฆ่าสัตว์ก็หมดไป
อย่างนี้ไปนิพพานได้
~หนังสือพ่อรักลูก ๒
~พระราชพรหมยานมหาเถระ
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง~
เรื่อง "เอาชนะความโกรธ ด้วยการกราบพระ"
(คติธรรม หลวงปู่บุดดา ถาวโร)
หลวงปู่ท่านแนะนำว่า วิธีการเอาชนะความโกรธของท่าน เมื่อเวลาท่านโกรธ ท่านพยายามเอาชนะความโกรธด้วยการกราบพระ เพราะตัวโกรธกลัวการกราบ
ท่านว่า เวลาท่านโกรธ ๑ ครั้ง
ท่านก็ลุกขึ้นกราบพระ ๓ ครั้ง
โกรธ ๒ ครั้ง ก็กราบพระ ๖ ครั้ง
โกรธ ๑๐๐ ครั้ง ก็กราบ ๓๐๐ ครั้ง
ความแก่และความตาย
ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป
เหมือนเด็กเลี้ยงโค ถือท่อนไม้
คอยไล่ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน
ยถา ทณฺเฑน โคปาโล
คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ
อายุ ปาเชนฺติ ปาณินํ ฯ
" บาปกรรมเราทำทุกวัน.. บุญกุศลเราทำทุกวัน
ใครทำบุญต้องได้บุญ.. ใครทำบาปต้องได้บาป "
" ไม่ไปไหน ไม่หายไปไหนเลย "
ท่านแสดงใว้ว่า..
"กมฺมสฺสโกมหิ" ว่ายังไง..
เรามีกรรมเป็นของของตน ทำลงไปแล้วจะให้ไป แบ่งหนักแบ่งเบาให้ ผู้อื่นผู้ใดเอาไปช่วยนี้ไม่มี
ทำบาปก็เป็นบาป ของเราเต็มตัว
ทำบุญเป็นบุญ ของเราเต็มตัว
เพราะฉะนั้น..
เราจึงอย่า ไปคิดว่าให้คนนั้นช่วย คนนี้ช่วย
เราต้องช่วย ตัวเสียตั้งแต่บัดนี้ ที่ยังไม่ตาย ความสุขความเจริญ จะเป็นที่สมหมาย ของเราทุกคนๆ ขอให้พี่น้องทั้งหลาย ได้ตั้งอกตั้งใจนะ "
โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.