"ภูผา อาจถูกมนุษย์ทลายลงมาได้ แต่นิสัยของคนเรา กลับนอนนิ่ง อยู่ในก้นบึ้งของสันดาน แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ขัดเกลาให้ดีเหมือนกัน ได้ยาก
ผู้ใหญ่ ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดี ไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือ ต้องสุขุมรอบคอบ และ ไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหว กับ คำนินทาและสรรเสริญ"
-:-หลวงปู่ทวด วัดช้างให้-:-
"คนดี" .. อยู่ที่เรานี่แหละ ถ้าเราไม่ดีแล้ว เราจะอยู่ที่ไหนกับใคร มันก็ไม่ดีทั้งนั้น
-:- หลวงปู่ชา สุภทฺโท -:-
"การเตือนผู้อื่น ไม่ให้หลงผิดนั้น เป็นสิ่งดี แต่การเตือนตน ให้ได้นั้น ย่อมดีกว่า" -:-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ-:-
"พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในป่าเขา ป่าเขาต้นไม้ มีความสำคัญมาก พระพุทธองค์เมื่อตรัสรู้แล้ว ยังทรงระลึกถึงคุณของต้นโพธิ์ ได้ประทับเพ่งพระเนตรถึง ๗ วัน ลองคิดดูสิว่า ถ้าใครได้ปลูกต้นโพธิ์ต้นนั้น จะมีบุญเพียงไหน
เราได้มาสร้างวัดป่าที่นี่ แห่งนี้ มีค่าสุดประมาณได้ วัดจะได้ทำให้พระ ได้สัมผัสธรรมชาติป่าเขา เข้าถึงธรรมได้ง่าย
เห็นภูเขาไหม เขาก็เป็นดิน ธาตุดินของภูเขา ก็เหมือนธาตุดิน ในตัวเรา อีกหน่อย เราก็เป็นดิน
ได้สัมผัสลมเย็นนี้ไหม ลมนี้ ก็เหมือนลมในตัวเรา ตัวเราก็เป็นธรรมชาติ ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เหมือนกันนั่นเอง
ปลูกต้นไม้แล้วอย่าทิ้งวัด หมั่นมาดูแลต้นไม้ ของเราด้วย"
-:-พระอาจารย์ฟิลลิป ญาณธัมโม-:-
"เคยเห็นคนเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล หนีชาติตระกูลไหม พวกเขาไม่สามารถหนีใจตนเอง หรือ เปลี่ยนใจตนเองได้หรอก"
โอวาทธรรม พระอาจารย์จันมี อนาลโย
"..ไปวัดขี้เกียจก็เท่าเดิม ไปวัดไปทะเลาะกันก็เท่าเดิม ไม่ได้อะไร พระสงฆ์องค์เจ้าก็เหมือนกัน ขี้เกียจก็เท่าเดิม ป่ามันก็ทำให้ไม่ได้
แต่อาศัยจิตตัวนี้เป็นตัวจริง เมื่อจริงอยู่ในบ้านแล้ว ออกไปที่วัดก็เป็นคนจริง ออกไปในป่าในเขาก็เป็นคนจริง
ห้ำหั่นกิเลส กิเลสนี้ไม่จริง ธรรมเป็นของจริง จะชะล้างกิเลสออก ทำลายกิเลสลงจากจิตของเรา เหมือนพระพุทธเจ้า สาวก ตลอดสมัยปัจจุบัน เมืองไทยเรายังมี วิสุทธิบุคคล ยังพอมี.."
โอวาทธรรม หลวงปู่ทุย ฉันทกโร
แสดงธรรมเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2556 ณ สวนสุจิตรา พุทธมณฑลสาย 2
“ สงบนิดหน่อย”
ถาม : นั่งสมาธิได้สักพัก รู้สึกจิตนิ่ง แต่เคยเรียนถามท่านแล้ว ท่านบอกว่าจิตที่นิ่งสงบอาจจะเป็นเพราะเราหลับ แต่ครั้งนี้พยายามรู้ตัว และสำรวจว่าความนิ่งและสงบนี้เป็นความง่วงหรือเปล่า จิตก็ยังนิ่งสงบดังเดิม อย่างนี้เรียกว่าจิตรวมแล้วใช่ไหมเจ้าคะเพราะไม่ได้ง่วงรู้ตัวตลอดเวลา
พระอาจารย์ : ก็อาจจะรวมนิดหน่อย ถ้ารวมมากๆนี้ มันจะมหัศจรรย์ใจ มันเหมือนกับได้ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง มันจะมีความรู้สึกที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือเลย ถึงจะเรียกว่ารวมจริงๆ ถ้าอย่างนี้มันเพียงแต่สงบนิดๆหน่อยๆ เพียงแต่เข้าไปนิดหนึ่ง ยังเข้าไปไม่เต็มร้อย ถ้าเข้าไปเต็มร้อยแล้วมันจะมหัศจรรย์ใจ มันจะตื่นตาตื่นใจ มันจะร้อง โอ๋ เป็นอย่างนี้นี่เหรอ ความสงบเป็นอย่างนี้เหรอ
สนทนาธรรม
วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
“ฝืนกระแสฝึกหัดจิตใจ” ..เปรียบเทียบง่าย ๆ คล้ายกับว่า มีหนามปักเท้า หนามยอกเท้าอย่างนี้ มันเจ็บ เดินโขยกเขยกอะไรก็ตาม เราก็ต้องดูก่อน ถ้าไม่เห็นตัวหนามอยู่มุมไหน ตรงไหน เราก็เอาออกไม่ได้ ถ้าเอาออกได้แล้ว มันก็สบาย ไม่เจ็บ นี้ฉันใดก็ดี ใจนี้ก็เหมือนกัน ถ้าไม่เห็นว่าได้ประโยชน์ มีแต่ทำตามใจแบบนั้น แบบนี้ มันก็ไม่ได้เหมือนเดิม ต้องฝืน ฝืนจนกว่าจะเห็นว่าทุกข์มาจากไหน รู้ว่ามาจากใจนี้แล้วก็ เออ..ใจดวงนี้ เป็นผู้มาล้อเลียนเราอยู่นี้ กี่ภพกี่ชาติมาแล้ว ถ้ารู้เรื่องได้อย่างนี้แล้วก็สบาย แก้ได้ง่าย ที่ไหนอยากไปไม่ไป อยากนอนไม่นอน ที่ไหนอยากอยู่ไม่อยู่ อะไรอยากกินไม่กินมัน ฝืนกระแสอยู่อย่างนี้หละ อันนี้เรียกว่าเป็นการฝึกหัดจิตใจ..
หลวงปู่ศรี มหาวีโร เทศนา เรื่อง ทำใจให้ประเสริฐ
" เมื่อคุณสามารถควบคุมความคิดของคุณได้จากนั้นคุณจะสามารถหยุดการปรารถนาของคุณสำหรับเพลงหรือความบันเทิง."
คำถามจากเรา: ฉันศึกษาศาสนาพุทธอย่างจริงจัง. ยังไงก็ตามฉันเป็นนักดนตรีคลาสสิก ฉันกำลังสงสัยว่าฉันควรจะฟังเพลงหรือเล่นดนตรีบ่อยแค่ไหน?
มากกว่า ajahn: ถ้าคุณฟังเพลงและเล่นดนตรีคุณจะไม่ได้มีเวลาที่จะทำสมาธิ. นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องเก็บศีลไว้เพื่อที่คุณจะได้กำจัดกิจกรรมอื่นๆและมีเวลาที่จะทำสมาธิ ถ้าคุณต้องการจะทำสมาธิคุณต้องยอมแพ้กิจกรรมละครของคุณโดยคิดว่าผลจากการนั่งสมาธิของคุณอยู่ไกลกว่าผลลัพธ์ที่คุณได้รับจากการเล่นดนตรี. ……….
คำถาม: ฉันสามารถดำเนินการต่อ sakadāgāmī แม้ว่าเป็นนักดนตรีคลาสสิก?
มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณเป็นใคร ถ้าคุณมีการฝึกสามครั้งถ้าคุณมีไซลัส, สมาธิ, panna, คุณสามารถก้าวหน้าไปยังระดับสูงสุด อาชีพของคุณไม่สำคัญหรอก ……….
คำถาม (จากแคนาดา): ฉันเป็นครูโรงเรียนประถมและฉันมักจะสอนดนตรีร้องเพลงและเครื่องมืออื่นๆ. มันดีกว่าที่จะสอนคณิตศาสตร์และภาษามากกว่าเพลงเพื่อช่วยลดความต้องการของฉันสำหรับการเพลิดเพลินกับการสร้างความบันเทิง?
การสอนการสอนของคุณไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากในความต้องการของคุณ วิธีเดียวที่จะเปลี่ยนความต้องการของคุณคือการต่อต้านพวกเขาและทางเดียวที่จะต่อต้านพวกเขาคือสิ่งที่จะหยุดความคิดของคุณจากการคิดเกี่ยวกับพวกเขา. ถ้าคุณเอาแต่คิดเรื่องดนตรีคุณจะได้อยากกินเพลง คุณต้องหยุดคิดเกี่ยวกับมันและคุณสามารถใช้มนตร์เพื่อหยุดความคิดของคุณคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ. เจ้าควรจะท่องมนตร์และทำมันทั้งวันไม่ใช่แค่เวลาที่เจ้าจะทำสมาธิ คุณจะพูดซ้ำๆทั้งวันจากเวลาที่คุณลุกขึ้นมาได้ยกเว้นเมื่อคุณต้องคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องทำ นอกจากว่าคุณจะมีมนตร์ที่จะยับยั้งความคิดของคุณเกี่ยวกับความบันเทิงหรือเพลง เมื่อคุณสามารถควบคุมความคิดของคุณได้แล้วคุณจะสามารถหยุดการปรารถนาของคุณสำหรับเพลงหรือความบันเทิง
โดย aajaan สุชาติ abhijāto
ความรู้ตัวจริงนั้น ย่อมเป็นตัวที่อยู่คงที่ ไม่มีอาการยืน เดิน ไปมา
ส่วนจิต ก็คือ “ตัวรู้” ซึ่งไม่มีอาการไปอาการมา ไม่มีไปข้างหน้า ไม่มีมาข้างหลัง มันก็สงบเฉยอยู่ และเมื่อตัวจิตราบเรียบอยู่ในปกติไม่มีความคิดนึกวอกแวกไปอย่างนี้ ตัวเราก็ย่อมสบาย คือ จิตไม่มีเงา
ถ้าจิตของเราไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไหวตัวไปมาอยู่ก็ย่อมจะเกิดสัญญาขึ้นมา และเมื่อสัญญาเกิดขึ้น มันก็ฉายแสงออกมา และเราก็จะไหลไปตามมัน จะไปเหนี่ยวดึงเข้ามา การที่เราไปตามเข้ามานั่นแหละมันเสีย ใช้ไม่ได้ จึงให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า “ตัวรู้” นั้น ไม่เป็นไรดอก แต่ “เงา” สัญญานั้นแหละสำคัญ เราจะมุ่งไปทำให้ “เงา” มันดีขึ้นก็ไม่ได้ เช่น “เงา” มันดำเราจะเอาสบู่ไปขัดฟอกจนตายมันก็ไม่หายดำเพราะเงามันไม่มีตัว ฉะนั้น สัญญาความคิดนึกต่าง ๆ เราจะทำให้ดีเลว ย่อมได้ เพราะมันเป็นเพียง “หุ่น” หลอกเราเท่านั้น
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ใครไม่รู้จัก ตัว ไม่รู้จัก กาย ไม่รู้จัก ใจ ไม่รู้จัก เงา ของตัวเอง นั่นคือ อวิชชา
คนที่สำคัญว่าจิต เป็นตน ตนเป็นจิต จิตเป็นสัญญา ปนเปกันไปหมดเช่นนี้ เขาเรียกว่า “คนหลง” คือเหมือนกับคนที่หลงป่า
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
...นี่ทุกวันนี้เราถูกกดดันด้วย รสนิยมของสังคม สังคมเขาเป็นคนวัดเรา วัดตัวเราว่าดีหรือไม่ดี
เขาวัดอยู่ที่กระเป๋าที่เราใช้ วัดที่รองเท้าที่เราใส่ วัดที่รถที่เราขับ "ความจริงนี่ไม่ใช่เป็นเครื่องวัดคน"
เครื่องวัดคนอยู่ที่.. ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ว่ามีศีล มีสัตย์หรือเปล่า ว่าทำบาปหรือทำบุญ อันนี้แหละคือ.. "เครื่องวัดคน" ......................................... . คัดลอกการสนทนาธรรม ธรรมะบนเขา 27/9/2560 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
“ ทำใจเราเป็นเหมือนต้นเสา”
ใจเรานี่นะ ถ้าเราไปโต้ตอบมันจะไม่มีวันสิ้นสุดมันจะวุ่นวาย ถ้าใครเขาพูดอะไรไม่ชอบใจเรา เราก็เฉยๆ พุทโธ พุทโธเราไป ปล่อยเขาพูดไป ทำใจเราเป็นเหมือนต้นเสานี้ ลองไปคุยไปด่าต้นเสาดูสิ ด่าสักพักเดี๋ยวก็เหนื่อยเองแหละ
ต้นเสามันไม่ตอบโต้ มันไม่มี อะไร ถ้าเราทำใจให้เฉยๆ ไม่ตอบโต้ได้ เขาจะพูดอะไรก็ปล่อยเขาพูดไป เดี๋ยวเขาก็หุบปากเองแหละ ไม่ต้องไปสั่งให้เขาหุบปากหรอก ไม่ต้องไปขอร้องให้เขาหุบปาก เดี๋ยวเขาเมื่อยเขาก็หยุดเอง
ไอ้สิ่งที่ทำให้เขาไม่เมื่อยก็คือ เราไปตอบโต้เขานี่สิ พอเขาด่าเรา เราก็ด่ากลับ มันก็ยิ่งทำให้เขามีกำลังขึ้น มีคำพูดมากขึ้น ด่าได้แรงขึ้น ด่าขึ้นอีก เดี๋ยวก็ตีกัน เดี๋ยวก็ฆ่ากัน ทำใจให้นิ่งเถอะ จะปลอดภัย จะมีความสุข ไม่ว่าเราจะไปสัมผัสรับรู้กับเรื่องอะไร เฉย ให้มันเฉยอย่างเดียว อย่าไปตอบโต้อะไรกับใครทั้งนั้น ใครจะชมก็เฉย ไม่ต้องยิ้ม ไม่ต้องดีใจ ไม่ต้องบอกขอบคุณค่ะ (หัวเราะ) เดี๋ยววันไหนเขาไม่ได้บอกว่าสวยหน่อย ก็จะเสียใจ แล้วทำไมวันนี้ไม่บอกว่าหนูสวย ไม่ชอบหนูแล้วเหรอ คิดมากไปอีกแล้ว.
สนทนาธรรม
วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
"เอาธรรมเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่"
...เราเป็นสมณะมาประพฤติธรรม ทุกกิริยาอาการเยื้องย่างบางอย่าง โลกไม่นิยมชมชื่น แต่ถ้าประมวลลงแล้วว่า เป็นธรรม เราก็ต้องดำเนินตามนั้น
ธรรมแท้ไม่ได้เอามติเห็นชอบ แต่เอาใจที่บริสุทธิเห็นธรรม
คนหมู่มากถ้ากิเลสหนา ปัญญาหยาบมีมากเท่าใด ก็จะออกกฏอันเป็นไปเพื่อกิเลสพวกพ้องตน ฉะนั้น เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรมต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาตนเป็นใหญ่ ปลอดภัยกว่าการเอาคนหมู่มากเป็นใหญ่.
บทธรรมจาก "หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต"
"แนวทางหาความพอดีของตัวเองในการประพฤติปฏิบัติ"
.....เรามาฝึกการปฏิบัติ ทำไมท่านถึงให้เรากินน้อย นอนน้อย พูดน้อย อะไรๆ ทุกอย่างให้มันน้อยไปๆ คำที่ว่ามันน้อยน่ะ มันจะพอดีหรือ ความเป็นจริงนั้นยังไม่พอดี ไม่สม่ำเสมอ แต่ทำไมท่านถึงว่าให้เราทำให้มันน้อย พูดน้อยๆ คุยน้อยๆ นอนน้อยๆ เพื่อให้เรารู้จักความพอดี ความเหมาะสมของตัวเรานั่นเอง ทุกท่านให้พยายาม รีบเกินไปก็ไม่ได้ ให้รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว หาความพอดี ถ้ามันน้อยไปเราก็เติม ถ้ามากไปเราเอาออก เป็นสัมมาปฏิปทา คือพอดี ถ้ามันดื้อก็ใช้ข้อวัตรเข้าควบคุม ให้มันเข็ด ฝึกมันทรมานมัน
ถ้ามันเป็นอีกก็ทำอีก นี่เรียกว่าการปฏิบัติหาทางพ้นทุกข์ของเรา การพูดจาปราศรัย ทุกอิริยาบถให้มีความรู้สึกอยู่ในใจของเรา ความพอดีนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ข้องแวะกับสิ่งสุดโต่ง.
"หลวงปู่ชา สุภทฺโท"
"ทาน ศีล ภาวนา"
.....คนที่ทำทานมาก ก็จะให้ผลให้เขาเป็นคนมีทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์ คนมี ศีล จะทำให้ได้อัตภาพที่ดี มีรูปร่างผิวพรรณดีงาม ไม่เป็นใบ้ บอดหนวก หรือหน้าตาวิปริตน่าชัง ถ้ามีภาวนา ด้วยก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียงฉลาด ไม่เป็นบ้าวิกลจริต
เหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้เราทำทั้งทานศีลภาวนาให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการ
ให้ลองคิดดูเถิด สมมติว่ามีคนๆ หนึ่งเป็นเศรษฐี มีเงินทองมากมาย เพราะเขาได้ทำทานไว้ในชาติก่อนมาก แต่ไม่เคยรักษาศีลห้าเลย เขาจึงเกิดมามีร่างกายน่าเกลียดน่าชังมาก คือมือง่อย ตีนหงิก ตากลวงโบ๋ จมูกโหว่ ปากแหว่ง ดังนี้ มีใครบ้างที่อยากจะคบกับเศรษฐีคนนั้น
นี่แหละ ถึงเขาจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายเท่าใด ก็ไม่อาจช่วยตัวเขาให้มีความสุขได้ หรืออีกอย่างหนึ่ง สมมติว่า มีคนๆ หนึ่งเป็นลูกเศรษฐีและตัวเองก็เป็นคนสวยงามมาก แต่เป็นคนวิกลจริต คิดดูสิว่าพ่อแม่เขาจะยอมยกทรัพย์มรดกให้ลูกคนนี้ปกครองหรือไม่
เหตุนั้น ภาวนาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก.
"ท่านพ่อลี ธมฺมธโร"
"ค่าของธรรม - ค่าของคน"
.....หนังสือก็แจกทานล้วนๆ ถ้าจะขายแล้ว หนังสือของหลวงตาบัวไม่ทราบจะได้เงินกี่ล้านแหละ แต่ธรรมะนั้นแห้งผากเลย
หลวงตาบัวไม่เห็นค่าของเงินของทองมากยิ่งกว่าค่าของอรรถของธรรมในน้ำใจของผู้รับธรรมจากการอ่านหนังสือ
เพราะฉะนั้นจึงไม่สนใจ บางเล่ม เขาจะซื้อเล่มละเป็นแสนๆ บาท พูด เอาความจริงมาพูดเลย เขาซึ้อกรรมสิทธิ์ของเรา เขาจะเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา ขายเป็นล้านๆ เงินโน่น เราก็ไม่ได้
เราบอก เราไม่เห็นคุณค่าของเงินทองยิ่วกว่าหัวใจคน เราจึงไม่ขาย
ถ้าเราขายเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแล้ว ไม่แตะไม่ได้นะ เขาจะขายเล่มละเท่าไหร่ก็ได้ หนังสือของเราทุกเล่มจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของเราเอง แต่ผุ้ต้องการพิมพ์เพื่อแจกทานแล้ว พิมพ์ได้หมด ไม่ต้องมาขออนุญาต เราเปิดโล่งไว้เลย ถ้าพิมพ์จำหน่ายเราห้ามไม่ให้พิมพ์
ความคับแคบตีบตัน ความเห็นแก่ตัว คือการซื้อขายอรรถขายธรรมนั่นแหละ ขายอย่างอื่นเป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าขายอรรถขายธรรมแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง ผิดกันอยู่มากนะ.
"หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน"
เมื่อสัญญาผ่านเข้ามา ก็ปล่อยให้ผ่านไปตามเรื่องของมัน ความรู้ของเราก็ให้เฉยอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว
ข้อที่ว่าใจเราไปอย่างนั้นไปอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ตัวจริง เป็นเพียงแต่สัญญามันพาไป เท่านั้น
สัญญา นี้เปรียบเหมือนกับ “เงา” ส่วนตัวจริงของมันนั้นก็คือ “จิต” ต่างหาก
ถ้ากายของเราเฉยไม่มีอาการเคลื่อนไหวไปมาแล้ว เงาของเราจะเคลื่อนไหวไปได้อย่างไร? เพราะกายของเรามันไหวไม่อยู่นิ่ง เงาของเราจึงไหวไปด้วย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะไปจับเอาเงามาอย่างไร? เงานี้จะจับมันก็ยาก จะละมันก็ยาก จะตั้งให้เที่ยงก็ยาก
ความรู้ที่เป็นตัวปัจจุบัน นั่นแหละคือ “ตัวจริง” ส่วนความรู้ที่เป็นไปตามสัญญานั้น ก็คือ “เงา”
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
....การภาวนาก็เหมือนกัน ต้องรู้จักเลือกอุบายภาวนา พิจารณาอุบายที่ถูกจริต อาศัยความเพียรอย่างเดียวบ่ได้... กิเลสมันพลิกแพลงเก่งต้องตามให้ทัน คนรู้จักพิจารณาก็ได้บรรลุธรรมเร็ว
(คติธรรมคำสอน หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
.ช้าเวลาไป...
..โดยมาก คนเราผัดวันประกันพรุ่งนี้มาก การผัดวันประกันพรุ่ง หรือจิตใจเราเป็นไปในทำนองนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราล่าช้า เสียเวลา บางทีอาจเสียเวลาไปหลายภพหลายชาติ ก็ยังได้ เดี๋ยวก็วันนั้นก่อน เดี๋ยวก็ปีนั้นก่อน เดี๋ยวก็เดือนนี้ก่อน หนักเข้าหลายปี ก็หมดชาตินี้ไป รอชาติหน้า ผัดกันอยู่อย่างนั้นตลอดไป ตกลงก็เลยช้าเวลาไปเลย..
..หลวงปู่ศรี มหาวีโร..
กาลกฐิน . ปีนั้นมีกองกฐินพิเศษอยู่หนึ่งกอง อันเป็นกองที่ 5 เจ้าของกฐิน ชื่อ เถ้าแก่ไฮ มีเชื้อชาติจีน ค้าขายอยู่บ้านคางฮุง ตำบลพอกน้อย อำเภอพรรณานิคม ทุกคนรู้จักดี โดยไม่มีใครทราบล่วงหน้ามาก่อน เธอนำขบวนเกวียนบรรทุกเครื่องบริขารมาพักอยู่นอกบ้าน ตื่นเช้าพาคณะมาถวายบิณฑบาตเสร็จแล้ว จึงขอนิมนต์ท่านพระอาจารย์รับกฐิน . ท่านฯ เตรียมตัวลงศาลาพร้อมพระสงฆ์ แต่ลงไม่หมดทุกองค์ เพราะบางองค์ไม่รู้ ท่านก็ไม่ว่า พิธีกรนำรับศีล ถวายทานเสร็จ . พิธีกรถามเถ้าแก่ว่า "จะฟังเทศน์ไหม" . เถ้าแก่ตอบ "ฟังทำไมเทศน์ ให้ทานแล้วได้บุญแล้ว เสร็จแล้วก็จะลากลับ" . พระอาจารย์ยิ้มแล้วกล่าวว่า "ถูกต้องแล้วๆ โยมได้บุญมาตั้งแต่คิดจะทำแล้ว เพราะประกอบด้วยปัญญา" . เถ้าแก่ไฮ ยังพูดอีกว่า "ถ้าขอฟังเทศน์ท่าน เราไม่ให้ทานจริง เพราะขอสิ่งตอบแทน ได้บุญไม่เต็ม" . ท่านอาจารย์ย้ำอีกว่า "ถูกต้องๆ เถ้าแก่พูดถูกต้อง" แค่นั้น . เถ้าแก่ไฮก็กราบลา และลาชาวบ้านทุกคนเดินทางกลับ . ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่กุฏิหรือเที่ยวบิณฑบาต มักจะปรารภเรื่องเถ้าแก่ไฮเสมอ ว่าเขาทำถูก หลายปีผ่านไป หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ท่านมักจะปรารภเรื่องเถ้าแก่ไฮนี้เป็นตัวอย่าง . เกร็ดประวัติ และ ปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ
|