Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

สมมุติและวิมุติ

เสาร์ 07 ต.ค. 2017 5:46 am

"คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป
แต่เราไปเก็บมาคิด
เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว
เราไปเก็บมากิน แล้วจะว่าใครโง่"

-:- ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก -:-






"เมื่อเราเจ็บป่วย ต้องคิดว่า
หายก็เอา ตายก็เอา
ถ้าคิดอยากหายอย่างเดียว
เป็นทุกข์แน่"

-:- หลวงปู่ชา สุภัทโท -:-






"บุคคลผู้ใด เห็นเขาโกรธก่อน
แต่มิได้โกรธตอบ สู้อดทนอดกลั้น
บรรเทาเสียได้ ชื่อว่าผู้นั้น
ชนะสงครามอันใหญ่หลวง
ยากที่ผู้อื่นจะผจญได้"

-:- พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ -:-





บุคคลบางคนในโลกนี้
ได้เห็นโจรผู้ประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมืองถูกจับได้
ถูกโบยด้วยแซ่บ้าง โบยด้วยหวายบ้าง ฯ
ครั้นเห็นโทษเช่นนั้นแล้ว
จึงพิจารณาว่าถ้าเราทำชั่วเช่นนั้น
ก็จะต้องได้รับโทษอย่างนี้แน่นอน
เขาไม่ยอมทำความชั่วทางกาย วาจา ใจเลย
มีแต่ทำความดีตลอดไป
อย่างนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือ อาชญา.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)




พระนิพพานมีอันเดียว รสเดียวอันเดียว
บ่มีเจ็บมีไข้ บ่มีป่วย จังเป็นบรมสุขใหญ"
หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ






สมมุติและวิมุติ

" ต้องสมมุติขึ้นก่อนจึงจะเป็นวิมุติได้ เช่น การทำอสุภะหรือกสิณ ต้องอาศัยสัญญาและสังขารน้อมนึกเป็นนิมิตขึ้น ในขั้นนี้ไม่ควรสงสัยว่านิมิตนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม มาจากภายนอกหรือออกมาจากจิต เพราะเราจะอาศัยสมมุติตัวนี้ทำประโยชน์ คือยังจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ขึ้น แต่ก็อย่าสำคัญมั่นหมายว่าตนรู้เห็นแล้ว ดีวิเศษแล้ว

การน้อมจิตตั้งนิมิตเป็นองค์พระ เป็นสิ่งที่ดีไม่ผิด เป็นศุภนิมิตคือนิมิตที่ดี เมื่อเห็นองค์พระ ให้ตั้งสติคุมเข้าไปตรงๆ (ไม่ปรุงแต่ง หรืออยากโน้นนี้) ไม่ออกซ้าย ไม่ออกขวา ทำความเลื่อมใสเข้า เดินจิตให้แน่วแน่ สติละเอียดเข้า ต่อไปก็จะสามารถแยกแยะหรือพิจารณานิมิตให้เป็นไตรลักษณ์ จนเกิดปัญญาสามารถจะก้าวสู่วิมุติได้

“ก็เหมือนแกเรียนหนังสือทางโลกแหละ มาถึงทุกวันนี้ได้ ครูเขาก็ต้องหัดหลอกให้แกเขียนหนังสือ หัดให้แกอ่านโน่นนี่ มันถึงจะได้ดีในบั้นปลาย นี่ข้าเปรียบเทียบแบบโลกให้ฟัง”

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ





"กายนี้เป็นบ่อเกิดเหตุแห่งทุกข์ เรายังสนุกสนานอยู่
เราเพลิดเพลินเพราะความหลงตัว ยิ่งคือกามนี้แหละ ตัวกาม ตัวเจ้าของ เราหลงโลภ หลงสงสาร ไม่หลงกายจะไปหลงอะไร
เหตุนั้นท่านจึงบริกรรมพทโธ พิจารณากายข้างบนข้างล่าง เห็นธรรม "

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
จากหนังสือ ท่านใหญ่คือท่านบุญมีหน้า ๑๘๘





"ผู้ที่ตกในสภาวะอับจน ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยาก
ควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่
ก็จะค่อยๆหาทางออกให้แก่ตนได้
เพราะปัญหาทุกอย่าง
ที่ไม่มีทางออกทางแก้ย่อมไม่มีในโลก

ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์
อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้
สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อย จะไม่มีคําตอบได้อย่างไร"

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ตอบกระทู้