"คนส่วนมาก ยังมีความเชื่อว่า มีผู้ดลบันดาล ให้เกิดสิ่งต่างๆ ขึ้น แต่ทางพระพุทธศาสนา ได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุข หรือทุกข์ ก็เพราะกรรม
พระพุทธศาสนา ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม ไม่ได้สอน ให้ตกเป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจของกรรม
แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตน ในปัจจุบัน"
-:- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ -:-
"อะไรก็ตามเถอะ อย่าได้ลืมบุญคุณพ่อแม่ อันนี้เป็นหลักเกณฑ์ใหญ่โตมาก" -:- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -:-
ทีนี้พระพุทธเจ้าคืออะไร พระพุทธเจ้าคือพระพุทธรูปหรือ ไม่ใช่ พระพุทธรูปนั้นเป็นแต่เพียงรูป เพื่อเป็นสิ่งปัจจัย ที่แสดงให้ระลึกถึง พระองค์ท่าน เป็นสิ่งที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าก็มีรูปมีร่าง มีตัวมีตน
เดิมทีเดียว พระพุทธเจ้าก็คือมนุษย์เรา จะแตกต่างก็โดยที่ พระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ ซึ่งนักเรียนทั้งหลายก็ได้ทราบอยู่แล้วว่า คือท่านชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชา แล้วปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเราได้เรียนรู้หลักปฏิบัติของพระองค์ในการต่อไป
แต่แท้ที่จริงแล้ว องค์ของท่านชาย คือร่างกายตัวตนของท่านนั้น ไม่ใช่พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง แต่เป็นสิ่งที่สิงสถิตประดิษฐานของคุณธรรม ที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นในใจของเจ้าชายสิทธัตถะ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
พระต้องอาบัติปาราชิก บรรลุมรรคผลได้หรือไม่ การบวชนี่ สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวัง ก็คือ อกรณียกิจ ๔ : - เสพเมถุน - ลักของเขา - ฆ่ามนุษย์ให้ตาย - อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่ มีในตน
อันนี้ถ้าพลาดเข้าแล้วขาดจากความเป็นพระภิกษุ หมายถึง ต้องอาบัติปาราชิก ในเมื่อขาดจากความเป็นพระภิกษุเพราะวินัย ๔ ข้อนี้ ในชั่วชีวิตนี้ เราจะอุปสมบทหรือจะอยู่เป็นพระต่อไปอีกไม่ได้ ก็ต้องลาเพศไปเป็นคฤหัสถ์
ในเมื่อลาเพศไปเป็นคฤหัสถ์ ไปสมาทานศีล ๕ ไหว้พระสวด มนต์ เจริญสมาธิภาวนา...
ถ้าผู้มีบารมี สามารถสำเร็จได้ถึงพระอนาคามี แต่ถ้าหากยังเป็นพระอยู่นี่ ปิดทางมรรคผลนิพพาน ถ้าสละเพศบรรพชิตแล้วไปเป็นคฤหัสถ์ หรือบวชเป็นดาบส บวชเป็นสามเณร ก็สามารถปฏิบัติให้เกิดคุณธรรมขึ้นมาได้
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
"ผู้ที่จะปฏิบัติสมาธิให้ได้ผลเป็นที่พอใจ ต้องมี ศีลบริสุทธิ์ เพราะว่ากายกับวาจาเปรียบเหมือน เปลือกสำหรับหุ้มไข่ ใจเหมือนไข่แดงที่อยู่ ภายใน เราจะนำเอาไข่ของเราไปฟักให้มัน เกิดเป็นตัว เราต้องรักษาเปลือกไข่ให้ปกติ อย่าให้มีรอยร้าว รอยบุบ
เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งใจจะปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ เจริญก้าวหน้า ทางคุณธรรม อย่างต่ำต้อง ปฏิบัติศีล ๕ ให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ เพราะเป็นสิ่งที่ ปรับกาย วาจา ให้มีความบริสุทธิ์สะอาด ปราศจากโทษ ให้ทุกคนจำเอาไว้ บทสวดมนต์ ที่วิเศษที่สุดคือ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วก็แผ่เมตตา"
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
เราเจริญวิปัสสนา เพื่อตัดกิเลส คือ อนุสัย ซึ่งนอนดองอยู่ในใจของแต่ละบุคคล ให้เด็ดขาดออกไป. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร)
หาใจให้เจอเมื่อใดที่มีสติ ใจจะไม่เผลอพุ่งออกไปข้างนอก และโทษสิ่งรอบตัวว่าเป็นตัวการทำให้เราทุกข์ แต่จะกลับมารู้เท่าทันตนเอง ไม่เปิดทางหรือยินยอมให้ใครหรืออะไรมายัดเยียดความทุกข์แก่เราได้ เมื่อใจเราไม่เปิดทางหรือยินยอมเสียอย่าง ไม่ว่าใครจะทำอะไรเรา ก็มิอาจสร้างความทุกข์ใจแก่เราได้ เพราะตบมือข้างเดียวจะมีเสียงดังได้อย่างไร” ---พระไพศาล วิสาโล---
"ถ้าเราเป็นคนดีจริง จะมองไม่เห็นคนชั่วแม้แต่คนเดียวที่เป็นเช่นนั้นเพราะสายตาของคนดีจะมองโลกไปในทางสร้างสรรค์เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ความรัก และการให้อภัยในทางตรงกันข้ามยิ่งเราเห็นว่ามีคนชั่วมากเท่าไหร่ก็เป็นไปได้ว่า เรานั่นแหละที่ชั่วเสียเองเพราะไม่มีคนดีที่ไหน สนใจความชั่วของคนอื่นมากกว่าของตนเอง ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ จงอย่าเพ่งโทษผู้อื่น เพราะนอกจากจะไม่ก่อประโยชน์แล้วยังเป็นสิ่งที่สูบกินเวลาชีวิตให้สูญไปเปล่า ๆถ้าเขาไม่ดี แล้วเราไปวิจารณ์ จิตใจเราจะขุ่นมัวแต่ถ้าเขาดี แล้วเราไปวิจารณ์เราเองนั่นแหละ ที่จะเป็นคนไม่ดีเสียเอง สรุปแล้ว ไม่ว่าเขาจะดีหรือไม่ เราก็เสียทั้งขึ้นทั้งล่อง "โอวาทธรรมหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
" ถาม: เมื่อเราทำจิตให้หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวงแล้ว มิเป็นอันว่าไม่ต้องรู้อะไรกันหรือ " ตอบ: รู้อะไรๆได้ทุกอย่าง " ถาม: ถ้ารู้อะไรๆได้ทุกอย่างแล้วไซร้ ความที่รู้นั้นไม่ใช่รู้ด้วยความนึกคิดดอกหรือ ไม่ใช่สังขารดอกหรือ " ตอบ: จะว่ารู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าไม่รู้ด้วยความนึกคิดก็ใช่ จะว่าไม่ใช่สังขารก็ใช่ " ถาม: ทำไมจึงว่าอย่างนั้น " ตอบ: ที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะว่า ความนึกคิดนั้นมันแตกกันไปคนละอย่าง ต่างกันไปคนละนัยความนึกคิดของผู้ที่ยังไม่หลุดพ้นนั้น เป็นความนึกคิดที่ชุ่มด้วยยางเหนียว ปละจมอยู่ในความมืด คิดนึกอันใดก็คิดอันนั้น ไม่รู้อันนั้น จมลงไปในอันนั้นไม่เห็นรอบอันนั้นเหมือนต้นไม้ที่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในแผ่นดิน ส่วนความนึกคิดของผู้ที่หลุดพ้นแล้วนั้น เป็นความนึกคิดที่ตรงกันข้าม ด้วยมีความสว่างฉายอยู่รอบ นึกคิดอันใดก็รู้อันนั้น เพราะความรู้นั้นครอบงำเสียแล้ว ซึ่งความนึกคิดนั้น แม้นึกคิดอันใดก็ไม่ติดไม่จม เหมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก หรือเหมือนน้ำที่หยาดลงไปในบอน อนึ่งความนึกคิดของผู้หลุดพ้นแล้วนั้น แม้จะนึกคิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร ความนึกคิดนี้ ก็เป็นเพียงกิริยากรรมเท่านั้น และใช้นึกคิดขึ้นก็เพื่อประโยชน์ไม่ทำให้เดือดร้อน เช่นเดียวกับไฟที่ผู้จุดขึ้น เพื่อใช้ในการหุงต้มเป็นต้น เมื่อเสร็จแล้วๆก็ให้ดับไฟเสียฉะนั้น... โอวาทธรรมหลวงปู่ดาบส สุมโน
เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้น ทางปฏิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอณูเป็นอะตอมเล็กๆ ละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย โอวาทธรรม...หลวงพ่อดาบส
เราจะไม่ยอมก่อภพ ก่อชาติอีก การเวียนว่าย ตายเกิด ไม่ทราบว่าจะอีกกี่ภพ กี่ชาติ จึงจะหมด จึงจะภึงที่สุด วิมุติ นิพพานได้ เราจะยอมเกิด ยอมตาย เรื่อยไปอย่างนั้นหรีอ หรือจะประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นของ "ใจ" ไม่ให้ติดข้อง กับสัญญาอารมณ์กิเลสตัณหาต่อไป อะไรที่ติดข้องอยู่ในจิตใจ จะแก้ไขจะชำระ จนให้ประจักษ์ชัดเจน ในใจว่า ไม่มีอะไรที่จะละจะบำเพ็ญอีก โอวาทธรรม...พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
การนั่งภาวนา ถ้าจิตฟุ้งซ่านรำคาญอย่างนี้ ไม่อยู่กับตนกับตัว วิธีแก้นั้นมีอยู่ว่าให้ระลึกถึง"มรณานุสติ" คือระลึกนึกถึงความตายบ่อยๆ
ถ้าจิตใจไปคิด ติดอยู่กับบ้าน กับรถ กับเงิน ฯลฯ เช่นนี้ เมื่อมันไปติดกับสิ่งของเหล่านั้น เราใช้สติปัญญาไล่ไปทันจิต จิตไปคิดอยู่ ก็ให้ใช้สติปัญญานั้นถามจิตดูว่า นี่เงินของเราหรือ? บ้านของเราหรือ?
ถ้าจิตมันตอบว่าเป็นของเรา เราถามอีกว่า เมื่อตายไปจะเอาไปด้วยได้ไหม? ถ้าเอาไปด้วยไม่ได้ เมื่อจิตตอบเช่นนี้แล้ว มาคิดทำไม?
เดี๋ยวนี้ เราจะทำความสงบ เราต้องปราบปราม นี้เรียกว่าจิตที่ควรขู่ ต้องขู่ จิตที่ควรข่ม ต้องข่ม.. โอวาทธรรมคำสอน..องค์หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
|