"ถ้าละกิเลสไม่หมด ก็ยังมาเกิดอีก เกิดมาอีก ก็แก่ไปอีก แก่ไปอีก ก็เจ็บไข้ได้ป่วยไปอีก เจ็บไข้ได้ป่วยหนักเข้า ก็ตายไปอีก วนอยู่อย่างเก่า นั้นแหละ ฉะนั้น มรณัง เม ภวิสสติ เตือนจิตของตนเองให้ได้ ทุกคนย่อมมีความตายเป็นผลที่สุด" -:- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร -:-
"คนเรา ถ้าหากไม่มีเมตตา หวังดีต่อกันแล้ว มันก็ไม่ผิดแผก จากสัตว์เดรัจฉานเลย เอาแต่ได้ เอาแต่ดี เอาแต่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่คิดถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนของคนอื่น ก็เหมือนสัตว์ทั่วไป เท่านั้นเอง" -:- หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -:-
"การกระทำของตนเอง ยังไม่ถูกใจตนเองเสมอไป นับประสาอะไร กับการกระทำของผู้อื่น" -:- ท่านพุทธทาสภิกขุ -:-
"เรื่องของคนอื่น เราก็อย่าไปเพ่งเล็ง ให้ทำตัวของเรานี้ให้มันดี แก้ตัวของเรา" -:- พระอาจารย์วัน อุตฺตโม -:-
...ปากเราเอาไว้กินข้าว แล้วก็เอาไว้พูดดีๆ เป็นผู้หญิงต้องพูดดีๆ พูดสุภาพ
คนปากระเบิด ไม่มีใครอยากเป็นเพื่อน ปากบางคนพกลูกระเบิดธรรมดา บางคนก็ปากลูกระเบิดนิวเคลียร์ เราต้องปรับปรุง ถ้าเราปรับปรุง น่ารักขึ้นเยอะเลยนะ ต้องปรับปรุง เราปรับปรุง แป๊บเดียวก็ดี ถ้าเราอดพูดไม่ได้ เค้าเรียกว่าเราไม่ได้ปฏิบัติธรรม ถ้าพูดดีๆ ต่อไปคนก็รักเรา โรคประสาทเราก็น้อยลง
บางคนไปที่ไหนก็ไม่มีที่อยู่ เพราะปากติดลูกระเบิด...
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม วันอังคารที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
"พึ่งร่างกาย กายก็แตก พึ่งน้ำในกาย น้ำก็สลาย พึ่งไฟในกาย ไฟก็กระจาย กายทั้งร่างมีแต่เรื่องแตกกระจาย แล้วจะพึ่งอะไร? พึ่งบ้าน บ้านก็จะพัง พึ่งสมบัติเงินทอง ก็ล้วนแต่สิ่งจะพังทลาย ยังเพลินเมามัว มั่วสุมอยู่หรือ? มนุษย์เราตัวฉลาดแท้ๆ ไม่สมควรกับความเป็นดังที่กล่าวมา ความดีมีอยู่ แสวงหาซิมนุษย์ทั้งหลาย ท่านหาความดีได้ ทำไมเราหาไม่ได้? เวลาไพล่ไปหาความเลวทรามต่ำช้า ทำไมหาได้?
สิ่งเหล่านั้นมันวิเศษวิโสอะไร? ถ้ามันพาคนให้วิเศษ มนุษย์พากันวิเศษเลิศโลกไปนานแล้ว ไม่จมปลักดังที่เห็นกันอยู่นี้เลย จึงไม่ควรเพลิดเพลิน ไม่ควรมัวเมา ไม่เข้าเรื่องอยู่เปล่าๆ อะไรดี มีสาระ รีบแสวงหา"
หลวงปู่ขาว อนาลโย
"ให้ใช้ธรรมเปิดหัวใจตนเอง คลี่ออกดูสิ...ตรงไหนมันขัดข้อง ชำระออกไป ล้างออกไป พระพุทธเจ้าให้เจริญสติ ถ้าสติกลายเป็นมหาสติ มันจะเห็นเอง" -:- หลวงปู่ลี กุสลธโร -:- วัดภูผาแดง ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
"คนพาลนั้นคือคนที่หาเอาประโยชน์ใส่ตนเองเท่านั้น ไม่รู้จักเสียสละ และไม่มีหิริเลยแม้แต่น้อย"
-:- หลวงปู่เผย วิริโย -:- วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย
#แนวทางการพิจารณากาย "..การพิจารณากาย #ให้พิจารณาผมขนเล็บฟันหนัง เช่น ผมเป็นสีดำเมื่อเป็นหนุ่มสาว แต่จะเป็นสีขาวเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งการพิจาณาแบบนี้.. #เพื่อให้มองเห็นความไม่เที่ยง #ที่เกิดขึ้นไม่มีสิ่งใดที่จะอยู่กับเรา #ไปตลอดกาล
#มันต้องทำลายกายก่อน.. #แล้วถึงจะไปถึงเวทนาจิตธรรม #เราอย่าไปหนีฐานกาย
#เราฟังธรรมะครูอาจารย์ซาบซึ้ง #เสร็จแล้วก็ไปโม้ #จนคิดว่าธรรมะนี้เป็นของเรา ขอให้เราทำจนกลายเป็นสมบัติ ของเราจริงๆ
#การพิจารณา #ท่านให้แยกกายเป็นส่วนๆ อย่างไรก็ได้ เอาตามแบบของตัวเอง พวกผู้หญิงก็เอาเรื่องครัวมาเทียบเคียง เช่นแยกกระดูกไก่เป็นต้น ยำหมู อะไรก็ว่าไป
แต่ให้เอาที่ตัวเองชัดแยก #แล้วให้พิจารณาเป็นธาตุ๔ #อสุภะสุภะเปลี่ยนแปลง #และลงเป็นไตรลักษณ์ในที่สุด
ที่ให้แยกเพราะมันจะเห็นชัดว่า อะไรเป็นตนเป็นตัวหรือไม่ มันรวมกันแล้ว มันหลง.."
พระอาจารย์บัณฑิต สุปณฺฑิโต
ปฏิบัติคืออะไร ปฏิบัติกาย ปฏิบัติวาจา และปฏิบัติดวงใจของเจ้าของให้หมดจากความเห็นผิด สร้างจิตใจของตนให้มันมีความเห็นถูก เห็นถูกในทางพระพุทธศาสนา ผลสุดท้ายก็เอาธรรมพินิจ จิตของพวกเราก็เลยสูงขึ้น สูงกว่าความโลภ สูงกว่าความโกรธ สูงกว่าความหลง ผลสุดท้ายจิตก็เป็น กองกาลกุศล คือ จิตเป็นบุญ ต้นทุนที่เราได้บำเพ็ญ คือ ปฏิบัติชอบทางกาย ทางวาจา จิตใจ โดยบำเพ็ญศีลวัตร ทานวัตร ภาวนาวัตร กำจัดอาสวกิเลส ความหลง ออกจากจิตใจนั้นหนะพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นผู้ประเสริฐ มันเป็นอย่างนั้น เป็นมนุษย์ที่ดี เรียกว่า มนุสฺสธมฺโม มีธรรมประจำจิตประจำใจ
___________________
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ศาสนาพุทธช่างมีความอัศจรรย์เหลือเกิน
สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในศาสนาพุทธนั้นคือ การไม่บังคับให้ทุกคนเชื่อ ทุกคนมีอิสระที่จะนึกคิดและไต่ถาม
พระพุทธศาสนาชี้ทางไปสู่สัจธรรมโดยการปฏิบัติด้วยตัวเอง มันเริ่มจากความรู้สึกลึกๆ เมื่อเห็นพระสงฆ์เดินผ่าน เหมือนมีความซาบซึ้ง เกิดความพอใจและความเคารพเลื่อมใส เกิดศรัทธาอย่างบอกไม่ถูก
เราตัดสินใจแล้วว่าจะปวารณาชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา
พระราชสุเมธาจารย์(หลวงพ่อสุเมโธ)
“ กิเลสกามหมายถึง ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ซึ่งเปรียบได้กับไฟ วัตถุกามหมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น ซึ่งเปรียบเหมือนขยะมูลฝอยที่เป็นเชื้อทำให้ไฟติด ธรรมดาแล้วถ้าไฟไม่มีเชื้อมาใส่ มันก็จะไม่ลุก ถ้ามีเชื้อน้อยไฟก็ลุกแต่น้อย ถ้ามีเชื้อมากมันก็ลุกมาก ความร้อนก็ต้องมากเช่นกันฉันนั้น เมื่อเราอยู่ใกล้ไฟที่ร้อน ๆ ความร้อนนั้นเราจะหมายเอาฟืนหรือเอาอะไรที่จัดว่าร้อน อันแท้จริงแล้ว ความร้อนของไฟต่างหาก โดยธรรมชาติของฟืนแล้วก็ไม่ใช่เป็นของที่ร้อน ไม่ใช่เป็นของที่มีพิษ แต่พิษนั้นจะอยู่ที่ไฟนั้นเอง เพราะธรรมชาติไฟเป็นของที่ร้อน เรื่องกิเลสกามและวัตถุกามนี้ ก็เปรียบได้เหมือนกับไฟและฟืนเช่นกัน คำว่า ทุกข์ จะหมายเอารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือสิ่งที่เราปรารถนานั้นเป็นทุกข์หรือ บางแห่งท่านแสดงว่า ใจเรานั้นเป็นผู้ปรุงแต่งให้ทุกข์ เปรียบได้กับไฟ เราควรเห็นโทษภายในตัวเรานี้ เหตุนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ตาท่านก็มองเห็นรูปได้เหมือนกัน จมูกท่านก็ได้กลิ่นเหมือนกัน และยังมีอื่น ๆ อีกที่ท่านรับรู้ด้วยทวารต่าง ๆ แต่ทำไมท่านจึงไม่ทุกข์ เพราะท่านดับไฟของท่านได้แล้วนั่นเอง ไฟเหล่านี้ก็คือ ราคะ โทสะ โมหะ ไฟภายในเหล่านี้เองที่มาเผาให้เราร้อน ให้เราเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่จะได้มาเผาเราให้ร้อนให้เป็นทุกข์ ตัวของเราเองที่เป็นไฟมาคอยเผาตัวเอง ความจริงจิตใจของเราเองเป็นตัวก่อทุกข์ สังเกตได้จากพระอรหันต์และสาวกทั้งหลาย เมื่อท่านมีความรู้ปัญญาคุ้มครองรักษาใจของท่านดีแล้ว ท่านก็ไม่ทุกข์ เพราะท่านไม่ปรารถนาในสิ่งต่าง ๆ เมื่อเราประสบกับรูป รส กลิ่น เสียง หรืออื่น ๆ ก็เพราะใจเราเป็นตัณหาปรารถนา ทะเยอทะยานยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราเป็นทุกข์ เหตุนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านจึงเบื่อโลก ธรรมดาปุถุชนคนเรามักจะปรารถนาหวังมีความดีมีความสุขกับความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความคิดของพระอริยเจ้ากับปุถุชนนั้นจะผิดกันไกลมาก “ หลวงปู่คำดี ปภาโส
อย่าไปให้ความสำคัญกับของขลังภายนอก ยิ่งกว่าทำจิตของเราให้เป็นพระ ตัวเรานั้นแหละเป็นแก้วสารพัดนึก
หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร
ทุกอย่างเกิดที่จิต และดับที่จิต ไม่มีอะไรจริงเท่ากับจิต ไม่มีอะไรปลอมยิ่งกว่าจิต ไม่มีอะไรดีเท่ากับจิต ไม่มีอะไรเลวยิ่งกว่าจิต ไม่มีอะไรละเอียดเท่ากับจิต ไม่มีอะไรร้อนเท่ากับจิต และไม่มีอะไรเย็นยิ่งกว่าจิต และไม่มีอะไรวิจิตรพิสดารเท่ากับจิต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
“ไอพวกที่ชอบสอน ให้ดูโน่นดูนี่ อวดตนว่าเห็นโน่นเห็นนี่ มีญาณแบบโน้น มีวิชาแบบนี้ ไอพวกนี้มันเป็นพระที่ไหน..” ..มันขาด ตั้งแต่เห็นโน่นเห็นนี่แล้ว ทำไมไม่ดูกิเลสในตัวเองนะ ไม่รู้ว่ามันจะประจาน ตัวเองไปทำไม คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ยึด ไปยึดเอาตัวกิเลสเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่มีปัญญา ก็ให้ไอพวกนี้มันจูงจมูกเอา เอากิเลสมาพอกพูน ให้มันมากขึ้นไปกับมัน ละซิ วางซิ แค่นี้เอง.. โอวาทธรรมคำสอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
“คนที่เขาปฏิบัติ เขาได้ฌาณ เขาไม่พูดหรอก ส่วนคนที่ชอบพูดกันนั้น นั่นมันเป็นวิธีหลอก มันหาเงินหาลาภสักการะเข้าตัวมัน..” ..อย่าไปยุ่งกับพวกอย่างนี้นะ อย่าไปยุ่ง อย่าไปข้องเกี่ยวนะ นั่นมันหาหลอก..
โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร
"..#นักปฏิบัติสำคัญที่สุด #ต้องเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ พยายามรักษาจิตให้เสมอ
อย่าให้ขึ้นลงตามกิเลส ที่มาก่อกวน การรักษาให้เป็นปกติได้ จะมีความสุขในการปฏิบัติ.." หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
"..#การภาวนานั้น ไม่ต้องสอนกันมาก #ให้ดูลงไปที่กายใจ เพราะกายและใจจะสอนเราเอง #ของจริงนั้นไม่ต้องอาศัยตำรา #ไม่อาจเรียนจากตำรา #ไม่อาจหาเอาจากที่ใด
แม้แต่คำจากหลวงปู่ก็สอนไม่ได้ แม้พูดไปเท่าใด ก็ไม่อาจเข้าถึงจิตถึงใจ หากไม่มีความเพียร
#ขอให้ทำให้มาก #และใจเรานั่นแหละ #มันจะสอนตัวเอง.."
หลวงปู่อว้าน เขมโก
“ ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับใจ”
อันนี้ก็คือเรื่องของการไปเกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายตายเกิด ร่างกายไม่ได้ไป แต่ผู้ที่ไปคือใจ ผู้รู้ผู้คิดใจนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แปลก ลึกลับ เพราะว่าไม่มีรูปไม่มีร่าง ไม่มีขนาด ไม่มีความกว้างความแคบ ไม่มีหน้ามีตา ไม่มีแขนมีขา แต่ทำไมเป็นแหล่งที่เก็บข้อมูลต่างๆไว้หมดเลย ข้อมูลต่างๆที่เราทำไว้ มันอยู่ในใจและความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดจากข้อมูลเหล่านี้มันก็ติดมาด้วย เวลาฝันดีก็เกิดความสุขใจ อิ่มใจ ดีใจ สบายใจ เวลาฝันร้ายก็เกิดความทุกข์ใจ เวลาที่นอนหลับฝันร้ายนี่ ตื่นขึ้นมานี่ เหงื่อแตกพลักเลย คิดดู นี่คือพลังของใจ มันมีอำนาจมากต่อความรู้สึกของเรา ความรู้สึกของเรานี้หนักอยู่ที่ใจ ความสุขทุกข์ทางร่างกายนี้มันไม่รุนแรงเหมือนกับความสุขทุกข์ทางใจ นี่พระพุทธเจ้าท่านจึงเห็นความสำคัญของใจ ทรงบอกว่าไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับใจ ใจนี้เป็นใหญ่ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา เพราะมันมีผลกระทบกับตัวเรามากที่สุด ของอย่างอื่นนี้มันไม่มีผลกระทบมาก ร่างกายมันก็เจ็บบ้าง ปวดบ้าง แต่มันไม่ทุกข์ทรมานเหมือนกับเวลาใจทุกข์ ฉะนั้นท่านบอกว่าให้เรามาดูแลจิตใจเราดีกว่า เพราะเราสามารถดูแลรักษาจิตใจของเราให้ไม่ทุกข์ ได้ ให้มีแต่ความสุขได้. สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
“เราอย่าเสียดายอะไร ยิ่งกว่าเสียดายความพ้นทุกข์ เวลานี้เราอยู่ในกองทุกข์อยู่แล้วไม่บกพร่อง ความสมบูรณ์ภายในตัวของเราก็คือกองทุกข์ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เราสงสัยอะไรเวลานี้ เราจะพยายามตะเกียกตะกายออกจากกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ในตนนี้ ทำไมเราเสียดาย ถ้าเราเสียดายเรื่องโลกก็คือเสียดายเรื่องกองทุกข์ อยากแบกหามทุกข์ต่อไป ก็แสดงว่าเราไม่ต้องการมรรคผลนิพพาน คือ ความพ้นทุกข์ไปโดยลำดับ แล้วให้เราถามตัวเองให้ดี . กิเลสราคะตัณหามันเกิดก็เกิดอยู่ที่ใจ การปราบสิ่งเหล่านี้ก็ปราบลงที่ใจด้วยสติปัญญา ศรัทธาความเพียรนี้ เมื่อสิ่งเหล่านี้ค่อยด้อยลงไป ๆ ลดน้อยลงไปโดยลำดับความสุขก็มีช่องทาง ความสงบก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ นี่ก็เป็นผลให้เราทราบว่าความสงบกับความสุขมาตาม ๆ กัน สงบมากสุขมาก สงบเต็มที่ก็สุขเต็มที่ จนถึงขั้น นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ คือความสงบจากกิเลสทั้งปวงไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่ภายในจิตใจแล้ว ไม่มีความสุขอื่นใดจะเสมอเลย นั่นเป็นความสุขอันราบคาบ สงบในขั้นพระนิพพานหรือสงบในขั้นจิตตวิสุทธิ สงบขั้นสมาธิเป็นอีกประเภทหนึ่งเหล่านี้ออกจากสติปัญญาที่เป็นเครื่องปราบปรามกิเลส ซึ่งมีอยู่ในหัวใจ ปราบปรามลงที่นี่อย่าไปสนใจกับที่อื่นใดให้หนักยิ่งกว่านี้” หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๒
|