พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 25 พ.ย. 2017 6:14 am
“คนที่ทำแต่บุญ
แต่ไม่ได้ทำหลักของใจไว้
ก็เปรียบเหมือนกับ คนที่มีที่ดิน
แต่ไม่มีโฉนด จะซื้อจะขาย
เป็นเงินเป็นทอง ก็ได้ดอก
แต่มันอาจจะถูกเขาฉ้อโกงได้
เพราะไม่มีเสาหลักปักเขตไว้
คนที่มี ศีล มีทาน
แต่ไม่มี ภาวนา(คือหลักของใจ)
ก็เท่ากับถือศาสนา เพียงครึ่งเดียว
เหมือนคนที่อาบน้ำแค่บั้นเอว
ไม่ได้รดลงมาแต่ศีรษะ
ก็ย่อมจะไม่ได้รับความเย็นทั่วตัว
เพราะไม่เย็นถึงจิตถึงใจ
คนที่ใจบุญ คือ ใจเบิกบาน
คนใจบาป คือใจเป็นทุกข์เดือดร้อน”
-:- ท่านพ่อลี ธมฺมธโร -:-
พระพุทธเจ้าให้วิชาแก้ปัญหาชีวิตคือ
วิชากรรมฐาน แปลว่าการทำให้ฐานะดีขึ้น
แก้ปัญหาชีวิตได้ทุกประการ
แล้วก็สวดพาหุงมหากา
สวดให้มีสติ สวดให้เกิดปัญญา
จะได้แก้ไขปัญหาสมปรารถนา
สวดให้เท่ากับอายุ เป็นการต่ออายุได้
พระพุทธเจ้า ทรงสอน
ให้ช่วยตัวเอง ช่วยแม่ช่วยพ่อ
ช่วยส่วนรวม ช่วยสังคม
และต้องสอนตัวเอง อ ย่ า ถื อ ทิ ฐิ
คนเรามักมีทิฐิ ไม่เชื่อฟังคำผู้ใหญ่
นี่คือ "โมหะ" ทำให้ไม่มีปัญญา
ทำให้ไม่มี ส ติ ที่จะแผ่เมตตาให้ใคร
ถ้าอารมณ์ดีปลอดโปร่ง ไม่มีอะไรมาเจือปน
เมตตาไม่เจือปนโทสะ ไม่อิจฉาใคร
ก็ แ ผ่ เ ม ต ต า ไ ด้ (ไม่จำเป็นต้องไปห้องพระ)
ความรักความเมตตาคือความผูกพันธ์แห่งความดี
พระธรรมสิงหบุราจารย์
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
(วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)
กฎแห่งกรรม•ธรรมปฏิบัติ
เล่มที่ ๑๕ หน้า ๓๑๕-๓๑๖
สวรรค์ในอก นรกในใจ
.
ครั้งหนึ่ง ข้าหลวงเมืองเชียงใหม่ได้กราบอาราธนานิมนต์พระราชาคณะ ๓ รูป เพื่อมาถวายถามปัญหาธรรมว่า “สวรรค์ในอก นรกในใจ มีจริงหรือ” แต่ก็ไม่มีองค์ไหนตอบได้เป็นที่ถูกใจ เป็นที่เข้าใจ ทำให้หายสงสัยได้
.
ข้าหลวงเมืองเชียงใหม่จึงได้มอบหมายให้นายอำเภอไปกราบอาราธนานิมนต์ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เข้าไปตอบปัญหาธรรมดังกล่าว โดยหลวงปู่ตื้อ ตอบว่า
.
“ทำดีไว้ในตัวเป็นสวรรค์ ใจสวรรค์ ทำชั่วไว้ในตัวเป็นนรก ใจนรก หัวอกคนดีเป็นหัวอกสวรรค์ หัวอกคนบาปเป็นหัวอกนรก นรกดิบอยู่ในเมืองมนุษย์ คือ หัวใจมนุษย์ สวรรค์ดิบอยู่ในเมืองสวรรค์ คือ หัวใจสวรรค์
สวรรค์ที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์
สวรรค์ที่ ๒ ไม่หยิบหยองมองลัก
สวรรค์ที่ ๓ ไม่ผิดลูกเมียใคร
สวรรค์ที่ ๔ ไม่ขี้ปด
สวรรค์ที่ ๕ ไม่กินเหล้า
สวรรค์ที่ ๖ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา”
.
พอท่านเทศน์แจกแจงอย่างนี้แล้ว จึงเป็นที่พอใจ เป็นที่เข้าใจของข้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นอย่างมาก นับแต่นั้นมาหลวงปู่ตื้อจึงเป็นพระป่าที่มีชื่อเสียงมากองค์หนึ่งในสมัยนั้น.
.
• หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม •
.แผ่เมตตาที่ได้ผล..
" ที่ว่าแผ่เมตตาหน่ะ ท่านพระครูจำไว้ อัสสาสะ ปัสสาสะ
อัสสาสะ อัดเข้ามาก่อน ยะธาพุทโมนะ
นะโมพุทธายะ หายใจออกไป เหมือนเราจะไปพ่นให้ใคร ไปเป่าหน่ะ มันอยู่ในสมถะ อัสสาสะ ปัสสาสะ อัดลมหายใจเข้า แล้วก็ว่าถอยหลัง ปัสสาสะ เป่าออกไปแล้วก็ว่าไปเลย ปล่อยไปเลย
ปล่อยไปยังไง เขาเรียก คาบลม..!! เข้าใจใว้
คาบลม ในสมุดข่อยมี บางคนไม่รู้เลยนะ ไปถามพระเก่าๆ ไม่รู้เรื่อง
บอกอัสสาสะ ปัสสาสะ คาบลมคืออะไร ..???
คาบลม ๑ คาบ คือหายใจออกไป ๑ คาบ คาบลมจำไว้ หายใจเข้า
ถ้าจะพูดให้สั้นเข้ามาก็ อัสสาสะ หายใจเข้า อัดเข้ามาก่อน ปัสสาสะ ปัดออกไป เรียกว่า ..คาบลม..แรงมาก สามารถจะแผ่ออกไปเลย อัดเข้ามา หายใจเข้า หายใจออก พองหนอยุบหนอ พอหายใจเข้ามา หายใจออก พอหายใจออกก็ปล่อยไปตามขั้น ปล่อยเลย ปล่อยออกไปเลย อัสสาสะไม่ใช่ตรงนี้(หลวงพ่อชี้หน้าผาก) เห็นหนอ
อัดเข้ามาที่ตรงนี้ อัดเข้ามา หายใจเข้ามาตรงนี้ แต่เราอย่าไปดูท้อง หายใจเข้า รวมที่ท้อง หายใจออก ออกจากนี่ไปเลย(ลิ้นปี่) ปัสสาสะ เป่าออกไปเลย ถึงแน่นอน แล้วเขาจะได้รู้ตัวว่าเราแผ่ให้เขา เขาจะรู้เลยว่า หลวงพ่อแผ่มาเหรอ ทำให้เขารู้สึกตัวอย่างแรง บางคนไม่รู้ อัสาสะ ปัสสาสะ มันมีอยู่ในหนังสือ นักธรรมเอก วิปัสสนาญาณ "
ธรรม..คำสอน..พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
ทุกข์ คือ อะไร?
คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ใคร คือ ผู้เกิด ผู้ตาย?
คือ ร่างกายของเรานี้
ฉะนั้น ร่างกายของเรานี้ จึงเป็นตัวทุกข์ เพราะจิตเข้าไปยึดมั่น
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
“วิธีเอาชนะคำพูดของผู้อื่น คือการไม่พูดตอบ “
-:- หลวงตาสมหมาย อตตฺมโน -:-
วัดป่าสันติกาวาส ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
พวกเราท่านทั้งหลายได้มาเกิดได้มาพบพระพุทธศาสนา ได้มาพบพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ขอให้พวกเราท่านทั้งหลายอย่าตั้งอยู่ในความประมาท ชีวิตของพวกเราถึงจะเลี้ยงดีขนาดไหน อาหารดีขนาดไหน ผ้านุ่งห่มดีขนาดไหน ยาแก้โรคภัยไข้เจ็บดีขนาดไหน ที่อยู่อาศัยดีขนาดไหน ร่างกายของพวกเราก็ยังเป็นอื่นอยู่เสมอ ยังไม่ใช่เรา อีกสักวันหนึ่งก็แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย ไม่มีใครที่จะหลีกลี้หนีพ้นไปได้ มีแต่ดวงวิญญาณคือ ใจ นั้นแหละที่พระพุทธเจ้าให้ความสนใจอย่างมาก
พระพุทธองค์ตรัสว่า “มโน ปุพพังคมา ธัมมา มโน เสฏฐา มโน มยา เรื่องทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า สำเร็จแล้วด้วยใจ” เพราะฉะนั้นพระองค์ให้ความสนใจเรื่องใจนี้มากกว่ากาย ส่วนร่างกายนั้นพอเป็นพอไป ให้พอประทังชีวิตไปวันๆ และก็ถึงจุดจบ แต่ส่วนนามธรรมนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “ใจของเรานี้จะให้ฉลาดก็ได้ให้โง่ก็ได้ ให้เป็นอันธพาลก็ได้ ให้ตกนรกเป็นคนชั่วช้าลามก
ก็ได้ ให้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ก็ได้ ให้เป็นพระอริยะบุคคล พระโสดาบันบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ หรือเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ ใจของเรานี้ฝึกได้ ส่วนร่างกายนั้นถึงจะเลี้ยงทะนุถนอมขนาดไหน ร่างกายก็ยังเป็นอื่นอยู่เสมอ แก่ เจ็บ ตายในที่สุด”
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
คัดจาก “ใจนี้ฝึกได้”
หนังสือ “สันตุสสโกวาท”
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.