"ถ้าอยากเป็นคนงาม อย่าวู่วามโกรธง่าย" -:- หลวงปู่จันทร์ กุสโล -:-
"เอาชนะคนอื่นนะ มันเป็นเวรเป็นกรรมกัน สู้เอาชนะตัวเราเองไม่ได้หรอก ชนะตัวเองนั้น ประเสริฐที่สุด" -:- ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก -:-
• ประวัติปฏิปทาหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ • • วัดป่าบ้านตาด ปี พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน บุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาด โดยมีพระติดตามมาจากจันทบุรีมาร่วมบุกเบิกสร้างด้วยกันก็มีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร หลวงปู่เพียร วิริโย หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต สามเณรน้อย(หลวงตาน้อย ปัญญาวุโธ) คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ โดยหลวงตาได้กล่าวถึงวัดป่าบ้านตาดยุคนั้นไว้ว่า… “...ทีแรกเรามาพักอยู่นอกบ้านนู้น เขาจึงนิมนต์ให้มาพักที่ตรงนี้ มี ๒ เจ้าภาพถวายที่ดินกินกลายเป็นวัดขึ้นมา แล้วก็สงบสงัดดีเป็นเอกเทศประจวบกับโยมมารดาบวชชีเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีพอดี ส่วนโยมบิดานั้นได้สิ้นชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้วตอนอายุ ๕๕ ปี จากนั้นเราจึงได้พาโยมมารดาไปจำพรรษาด้วยที่จังหวัดจันทบุรีเป็นเวลา ๑ พรรษา โยมมารดาได้ล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาต จึงหวนกลับมาพามารักษาตัวที่บ้านตาด โรคของโยมมารดาถูกกับยาหมอที่อยู่บ้านจั่น ซึ่งไม่ห่างจากบ้านตาด(ประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร) เรามาพักและรักษาโยมแม่พร้อมๆ กัน ที่นี่พอนานๆ ไปก็เลยกลายเป็นสร้างวัดป่าบ้านตาดขึ้นมา เรื่องมันเป็นอย่างนั้น” ปี พ.ศ.๒๔๙๙ บ้านตาดเดิมทีเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีไม่กี่หลังคาเรือน อยู่ห่างจากถนนใหญ่ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถนนเข้าสู่บ้านตากผ่านหมู่บ้านดงเค็ง เป็นถนนลูกรังเล็กๆ กว้าง ๓ เมตรผ่ากลางทุ่งนา เวลารถวิ่งฝุ่นจะฟุ้งกระจายและม้วนตัวตามหลังรถทำให้ผู้โดยสารมอมแมมไปทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะผมจะถูกฝุ่นย้อมเป็นสีแดงในเวลาอันรวดเร็ว พอเข้าฤดูฝนถนนที่เคยเป็นทุ่งฝุ่นสีแดงก็จะเปลี่ยนกลายเป็นทะเลโคลนสีแดง สองข้างทางเป็นหลุมเป็นบ่อเจิ่งนองด้วยน้ำ รถต่างลื่นไถลเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออก ทั้งยังมีทางที่เชื่อมไปยังหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆ มากมาย ถนนเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดเป็นถนนลูกรังแคบๆ ชาวบ้านสมัยก่อนจึงคุ้นเคยกับภาพที่หลวงตามหาบัวเดินบนคันนาเข้ามาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ในเวลาต่อมาชาวบ้านทนดูท่านเดินเข้ามาบิณฑบาตลำบากไม่ได้จึงบริจาคที่ดินทีละเล็กละน้อยสร้างถนนเข้าวัด ทั้งหลวงตาจะคอยดูแลว่าจ้างตาอิฐ คนขับรถหกล้อมาช่วยซ่อมแซมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อนั้น ตาอิฐพร้อมกับคนงานที่มีอยู่ ๒ คน จึงทำหน้าที่ขนหินลูกรังมาถมตามหลุมตามบ่อ ช่วยกันกลบหลุมเกลี่ยดินและหินให้ราบเรียบดีขึ้น ถนนจึงดีขึ้นสะดวกขึ้นเป็นลำดับมา • จำกัดพระเณร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ามาบุกเบิกสร้างวัดป่าบ้านตาดในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ในปีต่อมาคือปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่บุญมีจึงเข้ามาศึกษากับหลวงตา ซึ่งเป็นยุคแรกทำให้ท่านได้มีส่วนสำคัญในการพาพระเณรสร้างกุฏิศาลา หรือกำแพงรอบวัดป่าบ้านตาด เนื่องจากท่านกับหลวงปู่ลี กุสลธโร เป็นพระที่มีอายุพรรษาพอสมควรแล้ว จริงมีหน้าที่คอยดูแลถนนให้อยู่ในสภาพดี แพะหลวงตาในคราวที่ท่านไม่อยู่ ยิ่งเมื่อฝนตกหนักทีไร ทั้งสองท่านต้องออกมาสำรวจถนนทุกครั้ง ช่วงแรกของยุคบ้านตาด หลวงตามหาบัวจำกัดพระเณรให้อยู่จำพรรษา ๑๒-๑๘ รูป กระทั่งมาปีหลังๆ จึงอนุโลมมากขึ้น ในเรื่องการรับพระเข้ามาศึกษาที่วัดป่าบ้านตาด ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่อยู่ศึกษากับหลวงตามหาบัวได้กล่าวว่าถ้าเป็นพระมาใหม่ท่านจะไม่ใช้มาตรการหนัก ท่านจะใช้เฉยๆไปก่อน นอกจากจะแย่จริงๆ ก็อาจจะถูกว่าโดยตรง แต่ไม่ใหม่ท่านจะสังเกตดู ถ้าเห็นว่ามีความตั้งใจปฏิบัติ จะช้ากว่าเขายังไม่เข้าร่องเข้ารอย ฉันก็จะไม่พูดอะไร ยิ่งเมื่อหลวงตามหาบัวอนุญาตให้รูปไหนอยู่จำพรรษาได้ พระรุ่นเก่าก็จะเข้ามาแสดงความยินดี เพราะหลวงตาจะไม่รักใครง่ายๆ มีพระหลายรูปด้วยกันที่ท่านไม่ให้อยู่ ในช่วงใกล้เข้าพรรษา ถ้าจะพูดว่าองค์นี้ไปนะ องค์นี้อยู่ได้นะ ฉันต้องการให้เห็นคุณค่าของการได้อยู่ศึกษาปฏิบัติจะได้มีความตั้งใจ เพราะเวลาได้อะไรมาง่ายๆ เราก็จะไม่เห็นคุณค่าของมัน สิ่งใดที่ได้มาด้วยความยากลำบาก แล้วก็จะรักษามันอย่างดี กรณีนี้ก็เป็นเหมือนกัน ในยุคแรกๆ แม้จะเป็นช่วงแรกของการสร้างวัดก็ตาม แต่ทางด้านการภาวนาเป็นสิ่งที่หลวงตาเน้นเป็นพิเศษอยู่เสมอ แม้ภายในวัดจะมีกิจการงานอะไรก็ตาม แต่เมื่อถึงเวลาบ่ายสามโมง การงานทุกอย่างที่ทำอยู่ในวัดต้องหยุดทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีเสียงดังรบกวนพระที่ภาวนาอยู่ภายในวัด ยิ่งในสมัยนั้นไม่มีญาติโยมเข้ามาเกี่ยวข้องมาก พระเณรก็จะมีเวลาประพฤติปฏิบัติทางด้านจิตตภาวนามากขึ้น ส่วนในเรื่องการประชุมอบรมพระก็ไม่แน่นอนตามเหตุอันเหมาะสมแล้วแต่หลวงตา หรือบางครั้งก็สามวัน เจ็ดวันนัดประชุมอบรมพระกาลครั้งหนึ่ง หลวงตาก็เจ้าเทศน์อบรมพระด้วยภาพปฏิบัติที่เข้มข้นจริงจังอยู่สม่ำเสมอ ดังนั้นพระที่อยู่ศึกษาจึงสำรวมระวังจิต ทำความเพียรบำเพ็ญภาวนาอยู่สม่ำเสมอ • โปรดโยมมารดา บรรดาสานุศิษย์ในหลวงตามหาบัวต่างรู้ดีกันว่าการจะออกจากวัดป่าบ้านตาดโดยไม่มีกิจจำเป็นนั้นเป็นเรื่องยาก เหตุผลหนึ่งก็คือความเคารพในองค์หลวงตามหาบัวอย่างยิ่ง ไม่ต้องการให้ท่านต้องเป็นห่วง เหลือเกินจะออกไปเที่ยววิเวกภาวนาก็ต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ได้ต้องการไปเที่ยวเพลินเล่นหวังอามิสอย่างอื่น ในหน้าแรกของปี พ.ศ.๒๕๐๒ มารดาของพระอาจารย์บุญมี ปริปุณโณท่านเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นจึงเป็นเหตุให้ลาหลวงตามาเยี่ยมมารดาที่บ้านหนองแสง พอใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว มารดายังไม่หายดีท่านจึงต้องหาที่จำพรรษาที่อยู่ใกล้บ้านหนองแสง ท่านจึงสะพายบาตรพร้อมกับบริขารไปที่บ้านกม.๓ โดยมีสามเณรคำภา ติดตามไปด้วย เมื่อไปถึงที่วัดบ้านกม.๓ แล้วเห็นว่าไม่มีพระอยู่จําพรรษาแม้แต่รูปเดียว ดังนั้นท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปที่วัดเทพประชาบำรุง พร้อมกับได้บอกกับสามเณรคำภาว่าจะหาที่จำพรรษา เมื่อไปถึงวัดเทพประชาบำรุงเห็นว่าเหมาะจะจำพรรษาจึงได้บอกกับสามเณรคำภาว่า “จะกลับก็ได้นะ เราจะจำพรรษาที่นี่” สามเณรคำภาเห็นท่านไม่กลับจึงกราบเรียนว่า “อาจารย์ไม่กลับ ผมก็ไม่กลับ” เป็นอันว่าท่านกับสามเณรคำภาจึงได้จำพรรษาที่วัดเทพประชาบำรุงด้วยกัน ในปีนั้นมีพระเณรร่วมจำพรรษาไม่มากนัก ความที่ท่านผ่านการเรียนนักธรรมมาจนสอบได้นักธรรมชั้นโท มีความรู้พอจะแนะนำพระและสามเณรบวชใหม่ได้ ดังนั้นในระหว่างพรรษาท่านจึงได้แนะนำสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมวินัยให้พระเณรบวชใหม่ได้รู้และเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้สอนจริงจังจนถึงเข้าสอบอะไร ออกพรรษาแล้วท่านจึงกลับไปที่วัดป่าบ้านตาด อยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถิ่นที่ทำให้เกิดความมั่นคงอบอุ่นในธรรมวินัย ในความเป็นศิษย์อาจารย์อย่างแท้จริง • เข้มงวดทุกตารางนิ้ว วัดป่าบ้านตาดยุคแรกๆ นอกจากพื้นที่รอบๆ จะเป็นป่าเป็นดงแล้วการสัญจรไปมาก็ลำบาก แม้ว่าชื่อเสียงของหลวงตามหาบัวจะเรื่องลือในวงพระกรรมฐาน แต่สำหรับประชาชนทั่วไปยังรู้จักท่านน้อยอยู่ ดังนั้นการเป็นอยู่ในสมัยนั้นของหลวงตาจึงเป็นไปเพื่อสานุศิษย์ที่เข้ามาศึกษาอบรมกับท่านอย่างเต็มที่ การสอดส่องดูแลลูกศิษย์จึงครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ทั้งเรื่องภายในจิตใจคือเรื่องจิตตภาวนา เรื่องภายนอกคือข้อวัตรปฏิบัติที่ละเอียดรอบคอบถูกต้องตามสิกขาบทพระธรรมวินัย โดยเฉพาะเรื่องจิตตภาวนาการทำความพากเพียรนั่งสมาธิภาวนา เรื่องความเข้มงวดกวดขันสอดส่องดูแล บางคืนช่วงเวลาประมาณ ๔ ทุ่ม ตั้งก็จะเดินตรวจตราดูว่าพระทำความเพียรเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่เห็นที่ทำจงกรม ก็จะสังเกตดูที่กุฏิถ้าคนนอนหลับเสียงลมหายใจก็จะแตกต่างจากการภาวนา โดยเฉพาะกิจสมัยก่อนก็ไม่ได้มงบังมิดชิดอะไร เป็นเพียงเสนาสนะที่พ่ออยู่เพราะอาศัยทำความพากความเพียรได้สะดวกเท่านั้น หากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม เที่ยงคืนไม่ลุกขึ้นภาวนา แล้วตื่นนอนหลังตี ๔ จะถูกไล่หนีจากวัดทันทีหรือหากรูปใดนอนก่อน ๔ ทุ่ม ก็ควรนอนตื่นขึ้นมาภาวนาช่วงเที่ยงคืนแล้วตื่นนอนก่อนตี ๔ รายละเอียดเหล่านี้หลวงตาก็จะเฝ้าสังเกตอยู่เป็นประจำ และเมื่ออยู่ไม่ตั้งใจภาวนาท่านก็จะกล่าวตักเตือน ถ้ายังไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็จะได้หนีออกจากวัด พระเณรที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นมาเพื่อภาวนาเป็นหลัก ไม่มีใครนิ่งนอนใจอยู่ได้เพราะถ้าไม่จริงจังตั้งใจมาเพื่อภาวนาก็จะถูกไล่หนีทันที ความเข้มงวดกวดขัน ความเคร่งครัดในธรรมวินัย ทำให้พระที่อยู่ศึกษาภายในวัดป่าบ้านตาดในยุคนั้นเคารพยำเกรงหลวงตามาก จะไม่มีใครออกมาเดินเพ่นพ่านบริเวณศาลาเลย ใครจะมาเดินเล่นหรือคุยกับญาติโยมในที่ตรงนั้นไม่ได้ วัดจึงเงียบสงบจริงๆ เคยมีผู้เปรียบเทียบความเคารพเกรงกลัวในหลวงตายุคนั้นไว้ว่า มีทางสองแพร่งที่ครั้งหนึ่งเดินเข้าไปเจอเสือ กับอีกทางหนึ่งเดินเข้าไปเจอหลวงตา ถึงขนาดที่ว่าถ้าให้เลือกแล้วพระเลือกที่จะเจอกับเสือดีกว่า • ธรรมเนียมการไปเที่ยววิเวก ตามพระวินัยกำหนดไว้ว่าถ้ายังไม่ได้ ๕ พรรษา ไม่ใช่อยู่ปราศจากครูบาอาจารย์ แต่ก็มีหลายครั้งที่พระบวชได้ ๒ พรรษาแล้วจะลาไปธุดงค์องค์เดียวก็ยังไปไม่ได้ นอกจากหลวงตาเห็นสมควรถ้าไปแล้วได้ประโยชน์ แต่ถ้าไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ทั้งก็จะไม่ให้ไป มีพระรูปหนึ่งอยู่ได้ ๒-๓ พรรษาก็ขอลาไปธุดงค์ ละสองสามครั้งก็ไม่อนุญาต จนครั้งสุดท้ายเวลาหลวงตาท่านจึงบอกว่าไปแล้วก็ไม่ต้องกลับมาเพราะท่านจะดูจิตของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก อายุพรรษาก็เป็นส่วนประกอบตามสมควรตามพระธรรมวินัย บางทีได้ ๕ พรรษาแล้ว ถ้าท่านเห็นว่ายังไม่สมควรไป ไปแล้วเสีย ท่านก็จะพยายามดึงไว้ อย่างน้อยอยู่ในวัดก็ได้ศึกษาแนวทางจากครูบาอาจารย์เป็นการสั่งสอนวิชาต่อไปก่อน บางรูปบางองค์ที่ยังไม่เข้มแข็ง จะอยู่ศึกษาก็เกรงกลัวหลวงตาที่เข้มงวดกวดขัน จะลาไปเที่ยวก็ไม่กล้าจะกล่าวลา จึงมีอยู่หลายครั้งที่ได้บาตรได้บริขารแล้วหนีไปเลยโดยไม่ได้บอกกล่าวลาใคร • เที่ยววิเวกพบปราชญ์กลางป่าเขา ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ถ้าไม่ขออนุญาตหลวงตาออกมาเที่ยววิเวกทางถ้ำพระ บ้านกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จึงได้พบหลวงปู่หล้า ขันติธโร ท่านอยู่กับต๊อบที่มุงบังด้วยฟาง แม้จะเป็นพระเถระผู้ใหญ่แต่เป็นอยู่อย่างสมถะและสงบมาก ตอนนั้นยังไม่รู้จักกิตติศัพท์อันงามของท่าน เห็นเป็นพระกรรมฐานที่อยู่อย่างเรียบง่าย รักความสมถะสันโดษ ในภายหลังจึงได้รับรู้เรื่องราวปฏิปทาของท่านจากครูบาอาจารย์ หลวงปู่หล้ามักจะเก็บตัวมากรูปหนึ่ง มีปฏิปทาที่น่าเคารพเลื่อมใส มีนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญ ชอบอยู่และไปคนเดียว ไม่ชอบออกสังคมคนหมู่มาก เรื่องจิตท่านมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลกๆ ได้ดี คือพวกกายทิพย์ มีเทวดา เป็นต้น หลวงปู่หล้า ขันติธโร เดิมทีท่านเป็นคนลาว แต่เมื่อบวชแล้วจึงมาอยู่ในประเทศไทย ในวาระสุดท้ายท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาเก็น อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ท่านมักจะอยู่ตามเถียงนาตามไร่ตามนาของชาวบ้าน หลวงปู่บุญมีได้กล่าวถุงปฏิปทาของหลวงปู่หล้า ขันติธโร ก่อนที่ท่านจะมาณภาพว่าท่านให้คนทำกองฟอนสำหรับการถวายเพลิงท่านไว้ก่อนแล้ว พร้อมทั้งยังกำชับต่อไปอีกว่ากระดูกท่านให้นำไปโยนลงเหว ในระยะที่ท่านออกเที่ยววิเวกนั้นมีอาจารย์ประยูร (ปัจจุบันสึกแล้ว) ติดตามไปด้วย โดยได้พากันออกจากบ้านตาดไปทางอำเภอบ้านผือ น้ำโสม เข้าเมืองเลยทางบ้านสานตม ภูเรือ ถึงหล่มสัก น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ พักภาวนาที่ถ้ำน้ำหนาว แล้วจึงกลับเข้าวัดป่าบ้านตาดเหมือนเดิม
สังขารความนึกคิดปรุงแต่งในแต่ละเรื่อง เป็นตัวสร้างภพสร้างชาติ สร้างภพน้อยภพใหญ่อันไม่มีสิ้นสุดในวัฏสงสาร ความหลงคืออวิชชา เป็นผู้คุมการแสดงละครให้สังขารปรุงแต่งไปตามบทบาทในแต่ละภพแต่ละชาติ เมื่อความรู้ (ปัญญา) เกิดขึ้น ความหลงในสังขารก็ดับลงไป ผู้ควบคุมการแสดงละครก็หมดหน้าที่ลง เลยไม่ก่อภพก่อชาติต่อไปอีกตลอดอนันตกาล พระอาจารย์อัครเดช ถิรจิตฺโต
ให้พิจารณาดูว่า ทำไมคนเราเกิดมาหน้าตาไม่เหมือนกัน ฉลาดไม่เท่ากัน สวยไม่เท่ากัน รวยไม่เท่ากัน ก็เพราะบุญที่เราทำนี้ไม่เท่ากัน คนที่ทำบุญมากก็จะได้สิ่งที่ดีกว่าเก่า ส่วนคนที่ทำบาป หน้าตาก็จะอัปลักษณ์ ผิวพรรณไม่ผ่องใส อานิสงส์จากการ ทำบุญ ทำบาป ต่างกัน เวลาทำบุญใส่บาตร หน้าตาจะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่เวลาทำบาปหน้าตามันดีมั๊ย เวลาโกรธใคร เคร่งเครียดด่าใคร หน้าตามันสวยงามมั๊ย การทำบาป ร่างกายมันสวยหรือไม่สวย ฉะนั้น ขอให้ เชื่อบุญ เชื่อบาป เพราะบุญบาปไม่ได้เป็นของโกหกหลอกลวง เป็นของที่มีผลกระทบกับชีวิตจิตใจเราเป็นอย่างมาก มากยิ่งกว่าของอย่างอื่น สมบัติเงินทองมันก็มีผลกระทบชั่วขณะที่เรามีชีวิตอยู่ แต่บุญกับบาปนี้ มีผลกับการเกิดใหม่ของเรา ต่อการที่เราจะไปอยู่ภพไหนชาติไหน จะอยู่ดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุญกับบาปที่เราทำใว้ ให้พยายามทำบุญ ละบาป ตามที่พระพุทธเจ้าสอน ถ้าเบื่อกับการเวียนว่ายตายเกิด ก็ไปบวช ไปปฏิบัติธรรม ไปฆ่ากิเลส ชำระกำจัดความโลภ โกรธ หลง ให้หมดไปจากจิตใจ จะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป ธรรมะชาวบ้าน พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอน วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
คติธรรม คำสอน หลวงพ่อสมบูรณ์ กนฺตสีโล วันพระ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ “ดูโลกให้เป็นไม่เป็นทุกข์ นี่แหละโลก ติดอันไหนทุกข์อันนั้น ดูให้เป็นก็ อย่าไปอยากได้ มันก็ไม่เป็นทุกข์ สังขารเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แต่เราก็ต้องอาศัยเขา เหมือนข้ามน้ำก็อาศัยเรือ พอถึงฝั่งก็ทิ้ง เราอาศัยสังขาร พาสร้างคุณงามความดี หมดลมหายใจแล้วไม่ได้อาศัยแล้ว”
คติธรรม คำสอน หลวงพ่อสมบูรณ์ กนฺตสีโล วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ "ใจเรานี่แหละมีทุกอย่าง เป็นเปตร เป็นผี เป็นยักษ์ เป็นมารก็ได้ มีหมดอยู่ที่เรา ไม่ใช่ใจจะเป็นพระอย่างเดียว ทางไหนไม่ดีก็แก้ไขเอา ละของไม่ดีสกปรกออกจากใจ ล้างออก เอาศีล สมาธิ ปัญญา ล้างออกให้เหลือแต่จิตที่บริสุทธิ์"
|