“บาปและบุญ นั้นมีอยู่ประจำโลก เหมือนกับน้ำและไฟนั้นแหละ ใครทำชั่ว ก็เดือดร้อน ใครทำดี ก็มีความสุขกายสบายใจ" -:- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร -:-
"อย่าไปมองคนอื่น อย่าไปดูคนอื่น คนอื่นจะผิด จะดี จะถูก ก็เป็นเรื่องของเขา เราอย่าไปเอาดี เอาชั่ว เอาผิด เอาถูก ของคนอื่น มาใส่ใจของเรา มันเป็นทุกข์ หมดศรัทธา เราพยายามให้ใจ อยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับความสงบ อยู่กับศีล อยู่กับคุณงามความดี มีความสุข กับการทำความดี กับการเสียสละ ปฏิบัติอย่างนี้เรื่อยๆ ตลอดไป" -:- หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม -:-
"โลกนี้.. มนุษย์ใช้กฏหมาย แต่โลกหน้า.. ใช้กฏแห่งกรรม" -:- หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป -:-
ท่านพ่อลีสอนเรื่องเภสัช ๕ (ยาสำหรับพระภิกษุ ๕ ประเภท) . ปัจจัยข้อที่สี่ คิลานเภสัช คือยาแก้โรค ยาแก้โรคนั้นน่ะในวินัยท่านจัดมีถึงหลายอย่าง สี่ห้าอย่าง แต่พูดแค่ยาแก้โรคนี้ก็ได้ความกัน จะ เป็นยาชนิดไหนก็ตาม แต่ทางพระวินัยมีกฎเกณฑ์หน่อย ไม่เหมือนฆราวาสๆ ก็มี แต่ว่าไม่สู้จะมาก ยา ในทางพระวินัยนี้ มันมีอยู่ ๔ ชนิด อันนี้เป็นส่วนสำคัญ จึงจะขยายเสียหน่อย ยาวกาลิก ชนิดที่หนึ่ง ยามกาลิก ชนิดที่สองสัตตาหกาลิก ชนิดที่สาม ยาวชีวิก ชนิดที่สี่ เครื่องที่เราจะต้องกลืนกินเข้าไปนั้น เรียกว่าของควรแก่การบริโภค มีถึงสี่ห้าอย่าง ยาวกาลิก นับแต่ผู้ถือศีล ๘ มา จะกินอาหารเวลาตอนบ่ายนั้นไม่ได้เด็ดขาด คือกิน ได้แต่เวลาตอนเช้าไปถึงเที่ยง นี่เป็นอายุของอาหารจะ ต้องบริโภคของผู้มีศีล ท่านเรียกว่ายาวกาลิก กล่าว กันง่าย ๆ คือ อาหารที่จะต้องกินกัน ข้อที่สอง เรียกว่า ยามกาลิก กิน ได้ชั่วเวลาครู่ของวัน ได้แก่น้ำอัฐบาน เมื่อทำเวลาตอน เช้า ถ้าแสงอรุณขึ้นวันใหม่กินไม่ได้ กินได้ตั้งแต่ตอน เช้าไปถึงกลางคืน พอสว่างกลืนไม่ได้เลย จะ เป็นโยมก็ตาม จะเป็นพระก็ตาม เมื่อรับประเคนไว้ ฉัน ได้เสมอชั่วยามหนึ่งเท่านั้น กลางวัน๑๒ ชั่วโมง กลางคืน ๑๒ ชั่วโมง เลยนั้นไปฉันไม่ได้ เรียกว่า ปานะ คือน้ำดื่ม นี่พูดถึงว่าเมื่อเราทำสำเร็จ เสร็จแล้วก็รับประเคน ถ้า ไม่ประเคนก็กินไม่ได้เหมือนกัน มันเสีย มันบูดมันเสีย มันก็จะทำให้เกิดโรคเกิดภัย กินไม่ได้ เมื่อกาลเวลาที่ควรแก่วินัยก็ฉันได้ ท่านเรียกว่ายามกาลิกคือน้ำอัฐบาน นี่ของที่ควรแก่การบริโภคของสมณะ สัตตาหกาลิก สปิ นวนิตํ เตลํ มธุ ผานิตํ กล่าวกันง่ายๆ คือน้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง แต่ ในบาลีท่านบอก สปิ เนย นวนิตํ เนยข้น เตลํ น้ำมัน มธุ น้ำผึ้ง ผานิตํ น้ำอ้อย ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านเรียกว่า ยาคิลานเภสัช ถ้าเป็นพระภิกษุรับประเคนแล้วก็เสมอได้ ๗ วัน เกิน ๗ วันนั้นไปต้องทิ้ง ไม่ทิ้งก็ต้องเสียสละ ให้ญาติโยม แต่สมัยนี้พระเราเรียนบาลีแปลไม่ออก แปลคำว่าเนยกับนมไม่ออก เลยฉันเนยกับแป้ง ทีนี้ ไม่รู้จักนมกระป๋องมันไม่ใช่เนย เห็นนมใสๆ ก็ไม่ใช่เนย เนยนั้นคือเอานมที่สด ๆ บริสุทธิ์มาเคี่ยว เมื่อเขามาเกี่ยว ไม่ต้องเจือปนอะไรมีแต่เกลือหรืออะไรก็ตาม ส่วนที่ ไม่มีโทษ เคี่ยวนมลงจนกลายเป็นน้ำมัน เป็นตัวน้ำมัน น้ำมันมีถึง ๓ ชนิด น้ำมันอันหนึ่งน่ะ มันก็ยังไม่สามารถ เป็นเนยได้ ท่านเรียกว่าเนยใส มันเป็นน้ำมันใสๆ น้ำมันชั้นที่สอง มันเลยใสเข้าไป มันเหลว ๆ แต่ไม่ ได้เจืออะไรเลย เป็นนมล้วน ๆ เอาความเหลวไปเคี่ยว เข้าไปจนแข็งเป็นเนยก้อนโดยไม่ต้องไปเจืออะไรเลย เป็นเนยล้วนๆ อันนี้พระฉันได้ ๗ วัน ไม่ให้เจืออะไร นอก จากเจือน้ำตาลได้ เจือน้ำมันอย่างอื่นได้ เช่นน้ำมันงา อย่างนั้นฉันได้จริงๆ แต่เนยวิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ มันเปลืองมาก ทำด้วยเนยจริง ๆ มันเปลืองมาก ขายราคาสูง ไม่มีใครซื้อ เขาจึงเอาแป้งไปปนเข้า เมื่อไปปนเข้า ก็ทำเป็นกระป๋อง ที่เขาเรียกว่า นมๆ พระ ไม่รู้จักก็นึกว่ากินเนยละทีนี้ ขนาบข้าวเย็นเข้าไปยัง ไม่รู้ตัว นี่ผู้ถือเคร่งเขาจึงไม่กิน ส่วนเนยบริสุทธิ์จริง ๆ ก็มี แต่มันไม่อร่อย ก็กินเป็นยาจะอร่อยยังไง พระพุทธเจ้าอนุญาตให้เป็นยาแก้ไข้ แล้วจะมาเอา ความอร่อย ถ้าจะเอาความอร่อยก็กินข้าวเย็นกันเท่า นั้นเอง โอวัลตินใส่ เอาแป้งใส่ กวนเข้าไปกับเนยกระป๋อง ก็อร่อยซี เพราะได้มีแป้งก็ข้าวเย็นกันเท่านั้น นี่เรื่องเองสัตตาหกาลิก ยาวชีวิก คือเมื่อรับประเคนแล้ว เก็บไว้ ด้วยดีแล้วฉันจนหมด กี่วันกี่คืนก็ตามเถอะ ถ้าหมดก็หมดอายุ ถ้ายังไม่หมดก็กินมันเรื่อยไป เช่นยาควินิน แอสไพริน หรือยารากไม้ ซึ่งไม่ ได้เจือปนอะไรเลย เป็นของบริสุทธิ์ อย่างนี้กินจนหมด เมื่อหมดเมื่อไรก็หมดอายุของยา อันนั้นเรียกยาวชีวิก นี่ ในเรื่องบิณฑบาต จำแนกออกเป็นสี่ห้ากระทงอย่างนี้ ในเรื่องคิลานเภสัชไปรวมกับเรื่องบิณฑบาต เพราะมัน เป็นเรื่องของบริโภค . คัดลอกจาก สีลานุสสติ : พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร)
"แม้ชักกายออกจากกาม แต่ใจยังเสพกาม เหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก" การปฏิบัติให้เราเข้าใจของแยบคาย ในพุทธศาสนาของเรา อย่างพวกเรานี้ เป็นพระ เป็นเณร...ถามไปอีกทีหนึ่งว่า มันเณรจริงหรือเปล่า มันเป็นพระจริงหรือเปล่า ถามตัวเองเข้าไปอีก ไปเห็นตัวจริงแล้ว แหม...มันจะไป เร่ร่อนอยู่ในบ้าน มันไปคลุกคลีอยู่ในบ้าน อย่างเรามาบวช ในพุทธศาสนานี้ ไม่ได้เสพกามแล้วเดี๋ยวนี้ ก็เลยดีใจ ฉันไม่ได้ เสพกามแล้ว เลิกมาแล้ว อันนี้เป็นคำพูดของเราที่ติดปากกันมา แต่เมื่อเรามองเข้าไปอีกทีว่า...ใครเสพนี่... ตามันเห็นรูป ถ้ามันยังเกลียดเค๊า...มันก็ไปเสพเค๊าอีก ถ้ามันชอบเค๊า มันก็ไปเสพเค๊าอีก ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต ถ้าไปรู้เรื่องมัน...มันก็เสพทั้งหมด เดี๋ยวนี้ ทั้งพระทั้งเณรนี่...เสพกามอยู่นี้ ไม่ได้หนีจากกามหรอก ตาเห็นรูปผู้หญิง มันชอบไม๊...มันเสพแล้ว นี่ จมูกดมกลิ่น มันหอม ชอบมัน...เสพแล้วนี่...เสพแล้ว ยังเสพกามอยู่ ยังปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้ เรียกว่ายังเสพกามอยู่ ที่ว่าเราเป็นพระนั้น สมมติขึ้นมาหรอก แต่ก่อนเราก็เป็นโยมอยู่ เมื่อวานเราเป็นโยม วันนี้ มาบวชเป็นพระ ก็นึกว่าเราเป็นพระ เป็นเณรแล้ว มันเป็น แต่รูปร่างน่ะ ความเป็นจริงใจมันยังอยู่ตรงนั้น...ใจยังอยู่ เรา ต้องการตรงนั้น ระวังตรงนั้น มันจึงถูก ตรงนั้นไม่ระงับ มันก็ เป็นไปไม่ได้ มันโลภ มันโกรธ มันหลง มันเกิดมาจากตัวนั้น คือจิตอันนั้น ถ้าระงับจิตไม่ได้ก็ไม่เป็นสมณะ ตรงนี้พระศาสดา ท่านว่า การปฏิบัติมันเป็นอย่างนั้น ให้ดูภายในจิตของเจ้าของ ให้มันเห็น พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
ทุกวันนี้เราแสวงหาทำบุญกัน แต่การละบาปนั้น ไม่ค่อยมีใครคิดถึง นี่! ในทางที่ดี มันจะต้องละบาปก่อนจึงบำเพ็ญบุญ ถ้าบาปไม่ละ จะเอาบุญไปไว้ตรงไหน หลวงปู่ชา สุภัทโท
ท่านถ้าท่านคิดว่า ฉันเก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโต ฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด เช่นนี้แล้ว... ท่านจะไม่เข้าใจความจริงในเรื่องของอนัตตา หรือความไม่ใช่ตัวตน ท่านจะมีแต่ตัวตน ตัวฉัน ของฉัน แต่พระพุทธศาสนาคือการละตัวตน เป็นความว่าง เป็นความไม่มีทุกข์ เป็นนิพพาน หลวงปู่ชา สุภัทโท จากหนังสือคำตอบหลวงปู่ชา
"...ชีวิตของคนเราทำหน้าที่เหมือนเทียน เมื่อจุดแล้วก็มีหน้าที่ดับอย่างเดียว แต่จะดับช้าดับเร็ว ก็สุดแท้แต่อุปสรรคของแต่ละคน เมื่อเทียนให้แสงสว่างแล้ว เราจะใช้แสงสว่างนั้นอย่างไร ก่อนจะดับ..." โอวาทธรรมคำสอน.. องค์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
|