นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 1:31 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 31 ม.ค. 2018 5:29 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
"บอดเสียบ้าง
หนวกเสียบ้าง
ใบ้เสียบ้าง
จิตจะสบาย"
-:- หลวงปู่บุดดา ถาวโร -:-



"เราเกิดมาชาติหนึ่ง
จะเอาอะไรไปด้วย จะเอาบุญ
หรือจะเอาบาป ถ้าเอาบาปไปด้วย
ก็ทุกข์ ถ้าเอาบุญไปด้วย ก็เป็นสุข
ถ้าจะหนีจากบาปจากบุญ จริงๆ น่ะ
ก็ให้หนีจาก ทางบุญทางบาป
บาปก็ให้หมด บุญก็ให้หมด
ไม่เอาอะไรสักอย่าง
ถ้าจะเอาบุญเอาบาป ก็ยังเหลืออยู่
มันคู่กัน ปล่อยทั้ง ๒ อย่าง ก็หมดสิ้นไป
ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
ในภพน้อยภพใหญ่ อีกต่อไป"
-:- หลวงปู่แสง ญาณวโร -:-




“เห็นไหมนั่น?
องค์นี้ตายไป องค์นั้นตายไป
คนนี้ตายไป คนนั้นตายไป
แล้วเราจะอยู่ค้ำฟ้าได้หรือ”
-:- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ -:-




“ต้องพิจารณาความจริงอยู่เรื่อยๆ”
ถาม : จะขอวิธีฝึกปล่อยวางหน่อยเจ้าค่ะหลวงพ่อ
พระอาจารย์ : ก็ต้องมองว่าทุกอย่างไม่ใช่เป็นของเรา เป็นของยืมเขามาชั่วคราว ไม่ช้าก็เร็วเราก็จะต้องคืนเขาไป คืนเจ้าของไป เวลาเรามาเราก็มาตัวเปล่าๆ ไม่ใช่เหรอ ร่างกายนี้ก็ไม่ได้เป็นของเรา เป็นของพ่อของแม่ แล้วเดี๋ยวเราก็ต้องยกให้กับสัปเหร่อไป ต้องพิจารณาความจริงอยู่เรื่อยๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของชั่วคราว ไม่เที่ยง ไม่ใช่เป็นของเรา เรามาเราคือใจ เรามาได้ร่างกายแล้วเราก็ใช้ร่างกายหาสิ่งต่างๆ แล้วเดี๋ยวต่อไปเวลาร่างกายตายไป เราก็เอาสิ่งต่างๆ ที่เราหามาได้ไปไม่ได้เลย ต้องคิดอย่างนี้บ่อยๆ ให้คิดถึงว่าเรามาตัวเปล่าๆ แล้วเดี๋ยวเราจะต้องไปตัวเปล่าๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่นี้จะต้องจากเราไป ไม่จากเป็นก็ต้องจากตาย แล้วเราก็จะไม่ยึดไม่ถือมาก
ถาม : ให้คิดบ่อยๆ ก็คือคิดทุกวันเลยหรือเจ้าคะ
พระอาจารย์: ทุกวันทุกลมหายใจเข้าออกเลย พอเห็นอะไรก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ของเรานะ เป็นของยืมเขามา เห็นลูกก็บอกเดี๋ยวเขาว่าจะจากเราไปได้เมื่อไหร่ก็ได้ เห็นพ่อเห็นแม่เห็นพี่เห็นน้องเห็นสามีเห็นอะไรเห็นทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต้องคอยเตือนใจอยู่เรื่อยๆ ต่อไปมันจะจำได้แล้วมันไม่ต้องเตือน พอมันจำได้แล้วมันก็จะไม่ยึดไม่ถือ.
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมันหลง หลง ผิดคิดว่า เป็นตัว เป็นตน
จึงได้มาเวียนว่ายอยู่ในโลก ในวัฎฎสงสารอันแสนทุรกันดารนี้
ผู้ปฎิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา
มารู้แจ้งแทงตลอดว่า
รูปนาม ไม่เที่ยงจริงอย่างนี้
รูปนาม เป็นก้อนทุกข์เป็นกองทุกข์อย่างนี้
รูปนาม ไม่ใช่ตัวตนของเราอย่างนี้
เมื่อไม่ใช่ตัวตนของเรา
ทำไมจิตจึงมายึดหน้าถือตา
ยึดตัว ถือตน มายึดเรายึดของของเรา
ยึดถือแล้วได้อะไร ก็ไม่มีอะไรได้
ได้แต่กิเลส โทสะ
ได้แต่กิเลส โมหะ เต็มไปหมด
เมื่อมีกิเลสอันนี้เกิดขึ้นมา ก็มายึดมาถือ
วุ่นว่ายอย่างที่โลกเขาวุ่นว่ายอยู่อย่างนี้แหละ
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




"เฉยๆ แล้วทุกข์จะไม่เกิด"
ความทุกข์ไม่ได้ดับไปจากการที่เราไปทำไปแก้สิ่งที่เราอยาก ถ้าเราไปแก้ที่ความอยาก เราหยุดความอยาก เราปล่อยให้สิ่งที่เราอยาก เป็นอะไรก็เป็นไป จะไปก็ไป จะอยู่ก็อยู่ จะไม่มาอยากให้อยู่หรืออยากให้ไป ใจก็จะไม่ทุกข์ ใจก็ดับทุกข์ได้ เพราะใจเห็นด้วยปัญญาเห็นด้วยมรรค ว่าเขาจะไปก็ไปห้ามเขาไม่ได้ เขาจะอยู่ก็ไปห้ามเขาไม่ได้ เขาจะด่าก็ห้ามเขาไม่ได้ เขาจะชมก็ห้ามเขาไม่ได้ นี่เรามองไม่เห็นตัวนี้ พอใครด่าขึ้นมาปั๊บนี่ ขึ้นเลย พอใครชมปั๊บนี่ ขึ้นเหมือนกัน ขึ้นอีกทาง ลอย ลอยขึ้นไปบนฟ้า ยิ้มแป้น พอใครด่าปั๊บก็หน้าคว่ำหน้างอ เพราะอยากให้เขาไม่ด่า อยากให้เขาชม แต่ถ้าเข้าไปถึงข้างในแล้วจะรู้ว่า อยากไม่ได้ อยากให้เขาชมก็ไม่ได้ อยากให้เขาไม่ด่าก็ไม่ได้ ต้องเฉยๆ ต้องเฉยๆ แล้วทุกข์จะไม่เกิด เขาด่าก็เฉยๆ เขาชมก็เฉยๆ ทุกอย่างก็เหมือนกัน เงินทองก็อยากไม่ได้ อยากให้มาก็ไม่ได้ อยากให้อยู่กับเราไม่จากเราไปก็ไม่ได้ เวลามันจะมามันก็มา เวลามันจะไปมันก็ไป เราต้องเฉยกับการมากับการไปของมัน ถ้าเราไม่เข้าข้างในเราจะเฉยไม่ได้ ถ้าใจเราเข้าข้างในแล้วเราจะเฉยได้ เพราะใจเราสงบใจเรามีความสุข เราไม่ต้องใช้เงิน เราไม่ต้องใช้คนนั้นคนนี้มาให้ความสุขกับเรา เขาจะไปก็ไป เขาจะมาก็มา เรามีความสุขเท่าเดิม เรามีความสุขจากอัปปนาสมาธิ จากความสงบของใจ ที่เป็นความสุขกว่าความสุขที่เราได้จากเงินทอง ความสุขที่เราได้จากคนนั้นคนนี้ ความสุขที่ได้จากยศฐาบรรดาศักดิ์ ความสุขที่ได้จากคำสรรเสริญเยินยอ มันสู้ความสุขที่ได้จากความสงบไม่ได้.
สนทนาธรรมะบนเขา
วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต




"คำบริกรรมกับพุทโธนี้
แม้จะเป็นความปรุงก็ตาม
แต่เป็นความปรุงอยู่ในจิตเดียว
ความปรุงอยู่ในจิตเดียวนั้น
เป็นเหตุที่จะให้จิตมีความสงบตัวได้
ด้วยความปรุงอันนั้น
เช่น คำว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ
หากว่าจิตมันจะแยกออกไปทำงาน
เพราะความเพลิดเพลินในงาน งานยังไม่เสร็จ
เราก็ให้พยายามทำกำหนดคำบริกรรมถี่ยิบเข้าไป
ไม่ยอมให้จิตนี้ออกไปทำงาน
คือจิตขั้นที่เพลินต่องานมันเป็น มันมี
เผลอไม่ได้ ถ้าจะว่าเผลอมันก็พูดยาก
รามือไม่ได้ว่างั้น พูดง่ายๆ
เรารามือไม่ได้ มันจะต้องโดดไปหางาน
เอ้าตอนนี้ เราต้องให้หนักแน่นในการบริกรรม
บังคับจิตให้อยู่กับอารมณ์อันเดียวคือ พุทโธ
เป็นเครื่องยับยั้งจิต
กำหนด พุทโธ พุทโธ ให้มันถี่ยิบอย่างนั้น
แล้วก็พุทโธกับจิตก็เป็นอันเดียวกัน
แน่วลง สงบ
พอจิตสงบลงไป จิตก็สบาย
ปล่อยวางงานอะไรทั้งหมด
เย็นขึ้นมา ซึ้งภายในจิตใจ
นี่คือสมาธิ สมาธิที่ชอบ"
พระธรรมวิสุทธิมงคล
(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
วัดป่าบ้านตาด อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO