“เลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เมื่อเราแก่แล้ว เขาคงดูแลเราด้วยวัตถุเหมือนกัน เป็นไปตามกฎแห่งกรรม” -:- พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ -:-
"คนเรา เมื่อถึงคราวตายนั้น ไม่มีใครไปต่อรองได้เลย ชีวิตคนนั้น จะตายเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร ไม่มีใครรู้ นั่งอยู่ดีๆ ก็อาจตายลงเดี๋ยวนี้เลยก็ได้" -:- ท่าน ว. วชิรเมธี -:-
"มิตรผู้มีปัญญา ย่อมสามารถ ให้คำแนะนำ ที่ถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์ ปราศจากโทษ ส่วนมิตรที่ขาดปัญญา แม้ปรารถนาดี ก็เหมือนมุ่งร้าย" -:- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ -:-
"เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องประจำโลก เรื่องกินขาดจากโลกไม่ได้ โลกขาดจากการกิน โลกก็ไม่มีอะไรเหลือ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนเรื่องการกิน ทรงให้รู้จักประมาณในการกิน ถ้าไม่รู้จักประมาณในการกินการปฏิบัติธรรมก็ขัดข้อง" หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศีสุพรรณ จ.สกลนคร
"ดีที่สุดก็คือจิตใจของพวกเราที่ชำระสะสางมลทินออกจากจิตใจให้มันบริสุทธิ์ไม่มีอะไร สรุปแล้วของดีที่สุดอยู่ที่จิตใจของพวกเรา ทีนี้ถ้าผู้ใดไม่เอาใจใส่ ทีนี่มันจะตรงกันข้าม มันจะเลวที่สุด นั่นล่ะเลวที่สุดกับดีที่สุด แล้วพวกเราจะเอาอะไร ถ้าเมตตาสงสารตนเองขอปฏิบัติให้มันดีที่สุดนั่นดีที่สุด ให้มันเบื่อหน่าย ให้มันเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายรูป เบื่อในเสียง เบื่อในกลิ่น เบื่อในรส เบื่อในเครื่องสัมผัส เบื่อในดวงจิตดวงใจของตนเองที่มันหลง หลงยึด หลงถือ หลงหยุด หลงโลก หลงสงสาร หลงดีใจ หลงเสียใจ หลงรัก หลงชัง หลงโกรธ หลงเกลียด ที่มันเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้น ที่มันวุ่นวายอยู่ในโลกในสงสาร โลกนี้แปลว่าวุ่นวาย โลกนี้แปลว่าขัดข้อง โลกอันนี้แหละแปลว่าไฟ ไฟอยู่ตรงไหน ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ เมื่อมีไฟราคะความกำหนัดยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในเครื่องสัมผัส เมื่อมีไฟราคะ โทสะมันก็บวกเข้ามา โมหะมันมืดตึ๊ดตื๋อบวกเข้ามานี่ เพราะฉะนั้นต้องเอาทานเข้าไปชำระ ศีลเข้าไปชำระ สมาธิเข้าไปชำระ" หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
"อยากทางกายยังรู้จักอิ่ม รู้จักพอ เป็นบางครั้งบางคราว แต่อยากทางใจไม่มีทาง ถ้าทำใจได้รู้จักว่าพอ มันจะพอตลอด ถ้าใจไม่รู้จักพอ มันจะทุกข์ตลอด เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประเมินดูตนเอง ถ้าดีไม่มีปัญหา อย่างก้อนอิฐอยู่เมืองอินเดีย เรายังนั่งไปกราบไปไหว้ แต่คนเฝ้าก้อนอิฐอยู่ไม่เห็นคุณค่า เหมือนกับเราเฝ้าสังขารร่างกาย ก็ไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นประโยชน์จากจุดนี้ ประโยชน์ที่จะได้มรรคผลนิพพานจากจุดนี้ ไม่เห็นได้ เราอยู่กับทุกข์แต่ไม่เห็นทุกข์ จะเอาประโยชน์จากธาตุขันธ์อันนี้นำทางไปสู่มรรคผล ไม่มี มีแต่บ่นทุกข์กัน เราได้ประโยชน์ก็แค่อยู่แค่กิน กินไปหาความทุกข์ความลำบากไปเรื่อยๆ" หลวงพ่อจันมี อนาลโย วัดป่าแก้งใหม่ อ.สังคม จ.หนองคาย
"เมตตากับคนที่เราเกลียดนี่มันยาก แต่ถ้าทำได้จะได้บุญมาก เพราะจะได้ระงับความเกลียดให้หมดไปจากจิตจากใจ ต่อไปเราจะไม่เกลียดใคร จะมองทุกคนดีชั่วว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่ เจ็บ ตายด้วยกัน คนชั่วก็ถือว่าเป็นกรรมของเขา ที่ต้องมาทำความชั่ว ความชั่วที่เขาทำนี้ก็จะเป็นโทษกับเขา เราไม่ต้องไปสาปไปแช่งเขา การกระทำของเขาจะเป็นตัวที่สาปเขาเอง" พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
"เราเท่านั้นที่จะทำตัวเราให้ดีขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติให้มากขึ้น ด้วยการตัด ด้วยการละสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ให้มากขึ้น ปล่อยวางให้มากขึ้น ไม่ไปยึด ไปติด ไปแสวงหาความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่หาความสุขทางใจด้วยการทำใจให้สงบ" พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
"... อย่างหลวงปู่ชอบนี่ เดินไปนี่ ทั้งวันก็อยู่ในสมาธิได้ จิตสงบอยู่อย่างนั้น เอาพุทโธอยู่อย่างนั้น เดินไปๆ เหยียบดินก็คล้ายกับว่าเดินอยู่บนอากาศ ถ้าจิตฟุ้งซ่านรำคาญก็จะเป็นเหมือนเอาไฟมาเผาหัวใจอยู่นั่น จะไฟอะไรก็ไฟราคะ โทสะ โมหะนั่นล่ะที่เผาอยู่นั่น...อันนี้ล่ะก่อกวนและปิดบังธรรมะของพระพุทธเจ้า ทิฐิมานะก็อีกตัวหนึ่ง ยกตัวเองอยู่นั่น แต่เห็นคนอื่นชั่วไปหมด แล้วอรรถธรรมของพระพุทธเจ้าจะโผล่ขึ้นได้ยังไง เพราะมันติดอยู่ จิตมันไม่สะอาด ให้ชำระจิตตนเองให้สะอาด วางจิตลงเป็นผ้าเช็ดเท้าหรือเป็นดินโน่น แล้วอรรถธรรมของพระพุทธเจ้าจะโผล่ขึ้นมาให้เห็นเอง ..." . โอวาทธรรมองค์ หลวงปู่ลี กุสลธรมหาเถร วัดป่าภูผาแดง ต.หนองอ้อ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
"อุปสรรคนี่แหละที่จะช่วยเพิ่มบารมีของตน" หลวงปู่สิม พุทธาจาโร กล่าวว่า.....คนเราโดยมากมันถืออุปสรรคเป็นเครื่องบั่นทอนกำลังใจ เลยท้อแท้ที่จะแก้ไขปรับปรุงหรือดำเนินกิจการให้รุดหน้าต่อไป ส่วนผู้ที่มีความเข้มแข็ง หรือจะทำจิตใจของตนให้เข้มแข็งต่อไป จะต้องถืออุปสรรคอันตรายต่างๆ เป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างเสริมบารมีของตนให้เพิ่มขึ้น.
มนุษย์ 5 จำพวก 1. มนุสสเนรยิโก มนุษย์สัตว์นรก ได้แก่ มนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบคาย ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจี้ปล้นเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยฆ่าเจ้า ทรัพย์ตายบ้าง ทุบตีจนบาดเจ็บสาหัสบ้าง ข่มขืนแล้วฆ่าบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นทรมานผู้อื่นสัตว์อื่น เป็นคนไร้ศีลธรรม ไม่มีมนุษยธรรมคือศีล 5 ประจำตัวเลย นามว่า มนุสสเนรยิโก แปลว่า มนุษย์สตว์นรกคือเป็นมนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติทางกาย วาจา ใจนั้นเลวทราม ดุร้ายหยาบคายเหมือนสัตว์นรกฉะนั้น 2. มนุสสเปโต มนุษย์เปรต ได้แก่ มนุษย์ผู้มากไปด้วยความโลภ มากไปด้วยตัณหา ชอบลักเล็กขโมยน้อยโลภเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน แย่งชิงวิ่งราวเป็นต้น แม้พวกที่เที่ยวขอทาน ก็สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย 3. มนุสสติรัจฉาโน มนุษย์สัตว์เดรัจฉาน ได้แก่มนุษย์ทีขวางศีลขวางธรรม มีโมหะคือความหลงมาก ไม่รู้จักบาป ไม่รู้จักบุญ ไม่รู้จักคุณ ไม่รู้จักโทษ ไม่รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น เป็นมนุษย์ผู้ไรศีลธรรม ดืมสุรา เสพยาบ้า กินกัญชา ทำอะไรทางกาย วาจา ใจ ก็ขวางๆผิดทำนองคลองธรรม นามว่า มนุสสติรัจฉาโน แปลว่ามนุษย์สัตว์เดรัจฉาน เดรัจฉาน แปลว่า ผู้ไปขวาง คือเดินทอดตัว ไม่ได้เดินตั้งตัวเหมือนคน คนเดรัจฉานก็ฉันนั้น ทำอะไรก็ขวางธรรม ขวางวินัย คือขาดศีลธรรมเสมอๆ 3. มนุสสภูโต มนุษย์แท้ๆ คือเป็นคนเต็มตัว ได้แก่คนรักษาศีล 5 มั่นเป็นนิตย์ไม่ขาด ไม่ประมาทต่อศีลเพราะศีลเป็นมนุษยธรรม คือเป็นธรรมประจำมนุษย์ ธรรมที่ทำให้คนเป็นคน มนุสสภูโต แปลว่ามนุษย์แท้ๆ เพราะมีคุณธรรมของคนคือศีล ศีล ท่านแปลว่า เศียร คือ หัว ถ้าคนขาดศีล ก็คือคนหัวขาดนันเอง เพราะขาดจากคุณธรรมของความเป็นคน 5. มนุสสเทโว มนุษย์เทวดา ได้แก่มนุษย์ผู้มีศีล 5 มั่นเป็นนิตย์ แล้วยังได้พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่มพูนบารมีอยู่เรื่อยๆ เช่น ให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม ปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ มีหิริคือความละอายต่อบาป มีโอตตัปปะ คือความสดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาปอยู่เสมอ เรียกว่าเป็นผู้มีใจสูงดุจเทวดา เพราะประกอบด้วยเทวธรรม 7 ประการคือ -บำรงเลี้ยงมารดาบิดา -ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ -พูดจาไพเราะเสนาะหู อ่อนหวาน นุ่มนวล - ไม่พูดส่อเสียดผู้อื่น - ละความตระหนี่เหนียวแน่น - รักษาคำสัตย์ - ไม่โกรธ มนุษย์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ท่านขนานนามว่า มนุสสเทโว แปลว่า มนุษย์เทวดา
“สุขต้นทุกข์ปลาย” เวลาที่เราอยากอะไรก็ให้เรามองให้เห็นว่าสิ่งที่เราอยากนี้มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงมันทำให้เราทุกข์ เพราะเวลามันหมดมันก็จะทำให้เราทุกข์ เวลามีมันก็ไม่ทุกข์ แต่พอเวลามันหมดมันทุกข์ ถ้าเราไม่ไปอยากได้ถ้าเราไม่ไปหามัน ต่อไปความอยากมันก็จะหายไป เหมือนคนที่จะเลิกสุราเลิกบุหรี่เลิกอะไรนี้เขาเลิกยังไง เวลาอยากสูบเขาก็ไม่สูบ เวลาอยากดื่มก็ไม่ดื่ม ทุกครั้งที่อยากจะสูบทุกครั้งที่อยากจะดื่มก็ไม่ดื่มไม่สูบ เดี๋ยวความอยากดื่มอยากสูบมันก็หายไป พระองค์ก็เลยทรงค้นพบว่าวิธีที่จะทำให้ใจมีความสุขโดยที่ไม่ต้องเข้าสมาธิ ก็คือต้องกำจัดความอยาก วิธีจะกำจัดความอยากก็คือต้องเห็นว่าสิ่งที่เราอยากมันเป็นทุกข์ ได้มาแล้วจะต้องเสียใจไม่เช้าก็เร็ว เพราะเขาจะต้องจากเราไป หรือเขาจะต้องเปลี่ยนไป พอเปลี่ยนไปเราก็ทุกข์ แล้วก็จะไม่อยากอยู่กับสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ใช่ไหม เช่นแต่งงานกันใหม่ๆ ก็รักกันดี พออยู่กันไปสักพักทะเลาะกันมีเรื่องมีราวกัน นี่เห็นแล้วมันทุกข์ ก็อย่ากันดีกว่า ถ้ารู้ก่อนล่วงหน้าก็จะได้ไม่ต้องไปแต่งให้เสียเงินเสียทอง นี่เพราะรู้ว่าต้องหย่ากัน แต่งแล้วต้องหย่ากัน ไปแต่งมันให้เสียเวลาเสียเงินเสียทองทำไม เสียความรู้สึกทำไม แล้วต้องมาเกลียดกันทีหลังอีกใช่ไหม ก็อย่าไปแต่งกันดีกว่า อย่างน้อยยังคบกันได้เป็นเพื่อนกันได้อยู่ ถ้าไม่ได้แต่งงานกันก็เป็นเพื่อนกันได้ พอแต่งงานแล้วกลายเป็นศัตรู เพราะเวลาอยู่ด้วยกันแล้วคนเราก็เปลี่ยน ถ้าเจอกันใหม่ๆ ก็เอาอกเอาใจกัน พอแต่งแล้วก็ทีนี้เอาอกเอาใจของตัวเองแล้วสิไม่เอาอกเอาใจกันแล้ว พอต่างคนต่างเอาใจตัวเองมันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ คนหนึ่งจะไปเที่ยวคนหนึ่งอยากจะอยู่บ้าน อย่างนี้มันก็ไปด้วยกันไม่ได้แล้ว นี่คือทุกครั้งที่เกิดความอยากให้เห็นว่าจะต้องเจอความทุกข์ไม่ใช่เจอความสุข มันเป็นแบบสุขต้น แล้วก็จะมาทุกข์ตอนปลาย เหมือนกับยาขมเคลือบน้ำตาลเนี่ย เวลาอมเข้าไปใหม่ๆ ก็หวาน พอน้ำตาลละลายนี่ก็อยากจะบ้วนทิ้ง ให้มองอย่างนี้ว่าทุกอย่างในโลกที่เราอยากได้ไม่ว่าลาภยศสรรเสริญ ไม่ว่ารูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นสุขต้นแล้วจะมาทุกข์ตอนปลาย สุขก่อนแล้วก็จะมาทุกข์. สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
|