นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 1:39 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: หมั่นพิจารณาสอนใจ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 10 มี.ค. 2018 5:54 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
“การทำบุญทีละน้อยๆ
ก็สามารถเป็นบุญกองใหญ่ได้
อย่าได้รั้งรอ วันนั้นวันนี้
ให้ค่อยทำไปเรื่อยๆ
เพราะความตายมันอยู่ใกล้ชิดเรา
เราไม่รู้ว่าจะไปวันไหน
ควรรีบสร้างคุณงามความดี
เอาไว้เป็นที่พึ่งของตน”
-:- หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป -:-



"ถ้าหากว่า เรารู้ธรรม
เราทำจิตให้เป็นกลางลงไป
แล้วไม่ลำเอียงกับใคร ให้ถือว่า
เป็นเพื่อนร่วมการร่วมงานกัน
เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน
ถือว่าเป็นเพื่อนสร้างบุญบารมีร่วมกัน
ถ้าต่างคน ต่างระลึกอย่างนี้
รู้อย่างนี้แล้ว เราก็ร่วมงานกันไป
จะผิดพลาดไปบ้าง ก็ให้อภัยกันไป
อย่างนี้ ไม่ถือสาหาความกัน นี่เรียกว่า
ความประพฤติเป็นธรรมต่อกันและกัน"
-:- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ -:-



"จิตที่เต็มไปด้วยธรรมะแล้ว
เป็นจิตที่สร้างสรรค์มาก
เพราะว่า ไม่มีอะไรบกพร่อง
พร้อมที่จะช่วยคนอื่นได้
พร้อมที่จะให้ความรักได้
ให้ความรัก โดยไม่หวังอะไรตอบแทน
คือ เขาจะรัก หรือไม่รัก เรื่องของเขา
แต่ว่า เราจะให้"
-:- พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ -:-




การบริกรรมพุทโธเป็นการกระทำภายในใจ ต้องมีสติกำกับในการบริกรรม ไม่ใช่บริกรรม พุทโธๆ แต่ไม่มีสติกำกับ ถ้าหากว่ามีสติควบคุม ก็จะไม่หลงลืม แล้วการบริกรรมพุทโธนั้นก็จะมีความละเอียด หรือมีความสดใสเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ พุทโธกับสติก็มีโอกาสที่จะรวมเป็นอันเดียวกัน
หลวงปู่แบน ธนากโร



สติเป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องกลั่นกรองอารมณ์
ทางที่อารมณ์จะผ่านเข้ามานั้นคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกายและทางใจ เราต้องมีสติคอยควบคุมกำลังจิตไว้เสมอ
สติเปรียบเหมือนทราย อารมณ์เปรียบเหมือนน้ำ
คนโบราณเมื่อต้องการใช้น้ำที่สะอาดเขาเอาทรายใส่ในหม้อน้ำ
แล้วเทน้ำลงไป ทรายจะกลั่นกรองของที่ไม่สะอาดไว้
น้ำที่สะอาดจะไหลซึมลงในหม้อที่รองไว้ตามความประสงค์ ฉันใด
จงกลั่นกรองอารมณ์ไว้ ฉันนั้น คือ ไม่ปล่อยให้จิตใจลุ่มหลง
ในอารมณ์ที่น่าลุ่มหลง ไม่ปล่อยให้จิตขัดเคืองในอารมณ์ที่ขัดเคือง
ไม่ปล่อยให้จิตมัวเมาในอารมณ์ที่น่ามัวเมา
จิตก็จะต้องอยู่ตามสภาพปรกติ นั่นคือความสงบสุข
..........................................................................................
ลิขิตธรรม หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
คัดจากหนังสือ “ธรรมลี เศรษฐีธรรม” หลวงปู่ลี กุสลธโร
พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งเศรษฐีธรรม โดยพระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร




สำคัญที่ใจ
ใจของเรานี้แหละสำคัญกว่าใจคนอื่น ตัวคนเรา
ใจคนเรานี้สำคัญมาก ไม่ให้มันแส่ส่ายออกไปหาผู้อื่น
ให้มันรวมเข้ามาสงบเข้ามา คนอื่นจะดีจะเด่นอย่างไร
ได้บรรลุมรรคผลก็เป็นเรื่องของคนอื่น จะชั่วเสียหายอย่างไร
ก็เป็นเรื่องของความชั่วเสียหยของบุคคลอื่น หน้าที่ของเรา
ทุกคน ทุกดวงใจ จะต้องรวบรวมกำลังจิต กำลังใจ
ให้ตั้งมั่นให้เกิดพลังงาน ความสามารถ อาจหาญขึ้นมา
ในจิตใจของเราให้เต็มที.......
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




ใจหนอใจ.....ท่านว่าร้ายใจยิ่งร้ายนัก
ใจหนอใจ.....ชอบนักคำเยินยอช่างน่าขัน
ใจนี่แหละ......คือสำนักงานของกิเลสมัน
แลใจนั่น......ช่างร้าย ทำร้ายเราให้เจ็บใจ
( ฉนั้นเเล้วให้พากันดูเเลจิตดูเเลใจของของตน
ให้ดีและอย่าเอาจิตเอาใจไป ในทางที่ไม่ดีนะ )
คติธรรม องค์หลวงปู่เผย วิริโย
วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย




”ธรรมนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา"
" จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้วปัญญาย่อมเกิดขึ้น
จะมองอะไรก็เป็นนิยายนิกธรรมทั้งสิ้น
ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้องปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด
แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล
ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป
ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก
แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆมาเป็นธรรม เป็นยอดไตรปิฎกได้
ยกตัวอย่างเช่น สังกิจจสามเณรไปบิณฑบาต เห็นเชาไถนา เห็นเขาไขน้ำ
นำเอามาเป็นอุบายจนเกิดปัญญาแล้วท่านก็สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้
เพราะเหตุที่ท่านได้นำเอาดินที่ชาวนากำลังไถมาเป็นอุบายว่า
ดินไม่มีใจทำไมเขาจึงนำเอาไปตามประสงค์ได้
น้ำไม่มีใจ ทำไมเขาจึงทำเอาตามประสงค์ได้
เรามีใจ ทำไมไม่ทำใจให้เป็นไปตามประสงค์
เพราะเหตุนั้นธรรม จึงมีอยู่ทุกหย่อมหญ้ามิใช่หรือ”
.
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




"ถ้ากินอยู่เกินฐานะ ชีวิตจะขรุขระ เดือดร้อน
ยอมลำบากเมื่อตอนต้น ดีกว่ายากจนทีหลัง
เป็นอยู่อย่างหมดหวัง คือการขุดหลุมฝังตัวเอง
ชีวิตคือการต่อสู้ จงเป็นอยู่ด้วยความอดทน"
.
หลวงปู่จันทร์ กุสโล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่




“ความลับไม่มีในโลก”
..ความลับไม่มีในโลก คนอื่นไม่เห็น ตัวเราก็เห็น
ทั้งเทวดา อินทร์ พรหม ก็เห็นไปด้วย
แล้วการกระทำสิ่งไม่ดี ไม่ใช่ว่าจะหายไปง่าย ๆ เป็นกรรมพันธุ์
ติดไปเท่าไหร่ภพ เท่าไหร่ชาติ แทรกสิงเข้าในจิตในใจ
จนเป็นวาสนาบารมี เป็นนิสัย เป็นความเคยชินทุกอย่าง
ให้พิจารณาดูชัด ๆ..
หลวงปู่ศรี มหาวีโร




“รักษาใจตนเอง”
..ต่างคน ต่างรักษาใจใครรักษาใจมัน รักษาตัวใครตัวมัน เรื่องนี้คล้าย ๆ กับว่า เรามารักษาตัวของเรานะ ไม่ต้องอาศัยพึ่งพิงคนอื่นหละ เพราะว่าเราเกิดมา ก็เกิดมาคนเดียว มาเกิดก็มีพ่อมีแม่เป็นแดนเกิด อันนี้ การรักษาความเป็นอยู่ในระยะนี้ ก็ต้องอาศัยตัวเจ้าของเอง การสร้างคุณงามความดี ก็ต้องอาศัยตัวเจ้าของเอง..
หลวงปู่ศรี มหาวีโร
เทศนา เรื่อง ปฏิปทาพระกรรมฐาน




"ละความอยากได้ อยู่เป็นสุข
ใจไม่สงบ ใจวุ่นวาย อยากเป็นเหตุ
ใจดวงไหนมีความอยากมาก
ใจดวงนั้นก็เป็นทุกข์มาก
ความอยาก พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนไฟ
ใจดวงไหนมีความอยากมาก
ใจดวงนั้นมีไฟอยู่ในใจมาก
กระวนกระวายมาก มีความทุกข์มาก
ใจดวงที่ความอยากไม่มี
ความร้อนเผาไฟก็ไม่มี
ความทุกข์ก็ไม่มี
ในเมื่อความอยากดับไป"
พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร
(หลวงปู่แบน ธนากโร)
วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร




"นิมิตนอก"
ในขณะที่นั่งภาวนาอยู่ "เห็นเหมือนเห็นด้วยตาเนื้อ" เช่น เห็นสัตว์, เห็นผี, ภูตปีศาจ, เป็นเทวบุตร, เทวดา, หรือเห็นเป็นรูปมนุษย์ที่คุ้นเคยกัน, *** ก็อย่าไปคำนึงถึง ***
"ให้นึกบริกรรม" มีสติอยู่เฉพาะ "พุทโธ-พุทโธ" เท่านั้น, หรืออาจจะเป็น "ปีติเกิดขึ้นก็ตาม" หรือเห็น "แสงสว่างอะไรๆก็ตาม" แทรกขึ้นมาระหว่างที่ "สติ" กำลังจะรวม, ก็อย่าไปคำนึงถึง นิมิตภาพที่ปรากฏขึ้นนั้น ให้บริกรรม และ มีสติ อยู่กับคำ พุทโธ เท่านั้น
นิมิตนอก มีหลายประการ บางทีอาจเป็นรูปนิมิต บางทีจะได้ยินเสียงโน่นเสียงนี่ ท่านมิให้คำนึงถึงนิมิต
หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ



"หมั่นพิจารณาสอนใจ"
ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์กับการ พลัดพรากจากสิ่งต่างๆ ที่เรามีอยู่นี้ พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีทำให้พวกเราไม่ทุกข์กันได้ นั่นก็คือให้เรามาเจริญศีล สมาธิ ปัญญา มาบำเพ็ญจิตตภาวนา มาควบคุมใจควบคุมต้นเหตุที่ทำให้ใจของเราทุกข์กัน ด้วยการใช้สติและปัญญา สติจะหยุดความคิด หยุดความอยากต่างๆ ที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ และปัญญาก็จะทำลายความคิดความอยากต่างๆ ที่สร้างความทุกข์ใจให้กับพวกเรา พวกเรานี้ไม่ต้องทุกข์กับความแก่ ไม่ต้องทุกข์กับความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ต้องทุกข์กับความตาย ไม่ต้องทุกข์กับการพลัดพรากจากกัน เพราะเรามีพระพุทธเจ้า ผู้ที่ทรงค้นพบทางสู่ความพ้นทุกข์จากความแก่ ความเจ็บ ความตาย จากการพลัดพรากจากสิ่งต่างๆ ทั้งหลายไป ถ้าเราไม่พิจารณากันอยู่เนืองๆ เราก็จะถูกความหลงเข้ามาครอบงำจิตใจ ทำให้เราลืมว่าเราจะต้องแก่ จะต้องเจ็บ จะต้องตายกัน จะต้องพลัดพรากจากกัน แล้วความหลงก็จะหลอกให้เราไปหาลาภ ยศ สรรเสริญ ไป หาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กายกัน จนลืมไปว่าเราจะต้องแก่ จะต้องเจ็บ จะต้องตาย เราจะต้องพลัดพรากจากลาภ ยศ สรรเสริญ จากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไป พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา เกิดความตายขึ้นมา หรือเกิดการพลัดพรากจากลาภ ยศ สรรเสริญ จากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ขึ้นมา ก็จะเกิดความทุกข์เกิดความเศร้าโศกเสียใจกัน นี่เป็นเพราะว่าเราไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น.
ธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๐
"หมั่นพิจารณาสอนใจ"
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 165 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO