ภิกษุและสามเณรสองรูปนั้น ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์สิ้น พุทธันดรหนึ่งแล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้ทอดพระเนตร เห็นด้วยพระญาณ, เหมือนได้ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ, ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า "เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ห้าร้อยปี ภิกษุสามเณรสอง รูปนั้นจักเกิดขึ้นแล้ว, จักจำแนกธรรมวินัยที่เราได้แสดงให้สุขุมละเอียดแล้ว, กระทำให้เป็นศาสนธรรมอันตนสะสางไม่ให้ฟั่นเฝือแล้ว ด้วยอำนาจถาม ปัญหาและประกอบอุปมา." ในภิกษุสามเณรสองรูปนั้น สามเณรได้มาเกิดเป็นพระเจ้ามิลินท์ใน สาคลราชธานี ในชมพูทวีป, เป็นปราชญ์เฉียบแหลม มีพระปัญญาสามารถ, ทราบเหตุผลทั้งที่ลวงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เป็นอยู่ในบัดนั้น; ในกาล เป็นที่จะทรงทำราชกิจน้อยใหญ่ ได้ทรงใคร่ครวญโดยรอบคอบ, แล้วจึงได้ทรง ประกอบราชกิจ ที่จะต้องประกอบ จะต้องจัด จะต้องกระทำ; และได้ทรง ศึกษาตำหรับวิทยาเป็นอันมาก ถึงสิบเก้าอย่าง: คือไตรเพทคัมภีร์พราหมณ์ วิทยาในกายตัว วิทยานับ วิทยาทำใจให้เป็นสมาธิ พระราชกำหนดกฎหมาย วิทยาที่รู้ธรรมดาที่แปลกกันแห่งสภาพนั้น ๆ วิทยาทำนายร้ายและดี วิทยา ดนตรีขับร้อง วิทยาแพทย์ วิทยาศาสนา ตำหรับพงศาวดาร โหราศาสตร์ วิทยาทำเล่ห์กล วิทยารู้จักกำหนดเหตุผล วิทยาคิด ตำหรับพิชัยสงคราม ตำรากาพย์ วิทยาทายลักษณะในกาย และภาษาต่าง ๆ, พอพระหฤทัยในการ ตรัสไล่เลียงในลัทธิต่าง ๆ ใคร ๆ จะโต้เถียงได้โดยยาก ใคร ๆ จะข่มให้แพ้ได้ โดยยาก ปรากฏเป็นยอดของเหล่าเดียรถีย์เป็นอันมาก. ในชมพูทวีปไม่มีใคร เสมอด้วยพระเจ้ามิลินท์ ด้วยเรี่ยวแรงกาย ด้วยกำลังความคิด ด้วยความกล้า หาญ ด้วยปัญญา. พระเจ้ามิลินท์นั้น ทรงมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยราชสมบูรณ์, มี พระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากพ้นที่จะนับคณนา, มีพล พาหนะหาที่สุดมิได้.
วันหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์เสด็จพระราชดำเนินออกนอกพระนครด้วยพระ ราชประสงค์จะทอดพระเนครขบวนจตุรงคินีเสนา อันมีพลพาหนะหาที่สุด มิได้ ในสนามที่ฝึกซ้อม, โปรดเกล้า ฯ ให้จัดการฝึกซ้อมหมู่เสนาที่ภายนอก พระนครเสร็จแล้ว, พระองค์พอพระหฤทัยในการตรัสสังสนทนาด้วยลัทธิ นั้น ๆ , ทรงนิยมในถ้อยคำของมหาชนที่เจรจากัน ซึ่งอ้างคัมภีร์โลกายต ศาสตร์และวิตัณฑศาสตร์, ทอดพระเนตรดวงอาทิตย์แล้ว, ตรัสแก่หมู่อมาตย์ ว่า "วันยังเหลืออยู่มาก, เดี๋ยวนี้ ถ้าเรากลับเข้าเมืองจะไปทำอะไร; มีใครที่เป็น บัณฑิตจะเป็นสมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็น คณาจารย์ แม้ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ผู้รู้ชอบเอง ที่อาจสังสนทนากับ เราบรรเทาความสงสัยเสียได้บ้างหรือ ?" เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอย่างนี้ แล้ว, โยนกอมาตย์ห้าร้อยได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาราชเจ้า, มี ศาสดาอยู่หกท่าน: คือ ปูรณกัสสป, มักขลิโคศาล, นิครนถนาฏบุตร, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, อชิตเกสกัมพล, ปกุธกัจจายนะ, ได้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็น คณาจารย์ เป็นคนมีชื่อเสียงปรากฏ มีเกียรติยศว่าเป็นดิตถกร คือ ผู้สอนลัทธิ แก่ประชุมชน; คนเป็นอันมากนับถือว่ามีลัทธิอันดี. ขอพระองค์เสด็จพระราช ดำเนินไปสู่สำนักของท่านทั้งหกนั้นแล้วตรัสถามปัญหาบรรเทากังขาเ สียเถิด." ครั้นพระองค์ได้ทรงสดับอย่างนี้แล้ว จึงพร้อมด้วยโยนกอมาตย์ห้าร้อย ห้อมล้อมเป็นราชบริวาร ทรงรถพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปยังสำนัก ปูรณกัสสป, ทรงปฏิสันถารปราศรัยกับปูรณกัสสปพอให้เกิดความยินดีแล้ว, ประทับ ณ สถานที่ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ตรัสถามว่า "ท่านกัสสป, อะไรรักษาโลก อยู่ ?" ปูรณกัสสปทูลตอบว่า "แผ่นดินแล, มหาราชเจ้า, รักษาโลกอยู่." พระเจ้ามิลินท์จึงทรงย้อนถามว่า "ถ้าแผ่นดินรักษาโลกอยู่, เหตุไฉน สัตว์ที่ไป
สู่อเวจีนรกจึงล่วงแผ่นดินไปเล่า ?" เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอย่างนี้แล้ว; ปูรณกัสสปไม่อาจฝืนคำนั้นและไม่อาจคืนคำนั้น, นั่งก้มหน้านิ่งหงอยเหงา อยู่. ลำดับนั้น จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังสำนักมักขลิโคศาลแล้ว, ตรัส ถามว่า "ท่านโคศาล, กุศลกรรมและอกุศาลกรรมมีหรือ, ผลวิบากแห่งกรรมที่ สัตว์ทำดีแล้วและทำชั่วแล้วมีหรือ ?" มักขลิโคศาลทูลตอบว่า "ไม่มี, มหาราชเจ้า. ชนเหล่าใดเคยเป็น กษัตริย์อยู่ในโลกนี้, ชนเหล่านั้นแม้ไปสู่ปรโลกแล้วก็จักเป็นกษัตริย์อีกเทียว; ชนเหล่าใดเคยเป็นพราหมณ์, เป็นแพศย์, เป็นศูทร, เป็นจัณฑาล, เป็นปุกกุ สะ, อยู่ในโลกนี้, ชนเหล่านั้นแม้ไปสู่ปรโลกแล้วก็จักเป็นเหมือนเช่นนั้นอีก: จะ ต้องการอะไรด้วยกุศลกรรมและอกุศลกรรม." พระเจ้ามิลินท์ทรงย้อนถามว่า "ถ้าใครเคยเป็นอะไรในโลกนี้ แม้ไป สู่ปรโลกแล้วก็จักเป็นเหมือนเช่นนั้นอีก, ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยกุศลกรรม และอกุศลกรรม; ถ้าอย่างนั้น ชนเหล่าใดเป็นคนมีมือขาดก็ดี มีเท้าขาดก็ดี มี หูและจมูกขาดก็ดี ในโลกนี้, ชนเหล่านั้นแม้ไปปรโลกแล้วก็จักต้องเป็นเหมือน เช่นนั้นอีกนะซิ ?" เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอย่างนี้แล้ว มักขลิโคศาลก็นิ่ง อั้น. ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ทรงพระราชดำริว่า "ชมพูทวีปนี้ว่างเปล่าทีเดียว หนอ, ไม่มีสมณะพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งสามารถจะเจรจากับเรา บรรเทา ความสงสัยเสียได้" คืนวันหนึ่ง ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า "คืนวันนี้เดือน หงายน่าสบายนัก, เราจะไปหาสมณะหรือพราหมณ์ผู้ไรดีหนอ เพื่อจะได้ถาม ปัญหา ? ใครหนอสามารถจะเจรจากับเรา บรรเทาความสงสัยเสียได้ ?" เมื่อ พระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้แล้วอมาตย์ทั้งหลายได้ยืนนิ่งแลดูพระพักตร์อยู่.
|