๓. เถรติกขปฏิภาณปัญหา ๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าจักเจรจากับข้าพเจ้าได้หรือ ?" พระเถรเจ้าทูลว่า "ถ้าพระองค์จักตรัสอย่างบัณฑิต, อาตมภาพจัก เจรจาด้วยได้; ก็ถ้าว่า พระองค์จักตรัสอย่างพระเจ้าแผ่นดิน, อาตมภาพจักเจรจาด้วยไม่ได้." ร. "บัณฑิตทั้งหลายเจรจากันอย่างไร ?" ถ. "เมื่อบัณฑิตเจรจากัน เขาผูกปัญหาไล่บ้าง เขาแก้ปัญหาบ้าง, เขา พูดข่มบ้าง, เขายอม รับบ้าง, เขาเจรจาแข่งบ้าง, เขากลับเจรจาแข่งบ้าง, เขาไม่โกรธเพราะการที่ เจรจากันนั้น, บัณฑิต ทั้งหลายเจรจากันอย่างนี้." ร. "พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ตรัสกันอย่างไร ?" ถ. "เมื่อพระเจ้าแผ่นดินตรัสนั้น พระองค์ตรัสเรื่องหนึ่งอยู่, ผู้ใดขัดขึ้น ก็ลงพระราชอาชญา แก่ผู้นั้น; พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ตรัสกันอย่างนี้." ร. "ข้าพเจ้าจักเจรจาอย่างบัณฑิต ไม่เจรจาอย่างพระเจ้าแผ่นดิน, ขอ พระผู้เป็นเจ้าจง เจรจาตามสบาย, เหมือนเจรจากับภิกษุก็ดี กับสามเณรก็ดี กับอุบาสกก็ดี กับ คนรักษาอารามก็ดี ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่ากลัวเลย." ถ. "ดีแล้ว." ร. "พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจะขอถามได้หรือ ?" ถ. ตรัสถามเถิด." ร. "ข้าพเจ้าถามพระผู้เป็นเจ้าแล้ว." ถ. "อาตมภาพวิสัชนาถวายแล้ว." ร. "พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาว่าอะไร ?" ถ. "พระองค์ตรัสถามว่าอะไร ?" ในเพลานั้น พระเจ้ามิลินท์ทรงพระราชดำริว่า "พระภิกษุองค์นี้มีปรีชา สามารถจะเจรจากับ เรา, และข้อที่เราจะต้องถามก็ยังมีอยู่มาก, ยังไม่ทันจะถามหมด ตะวันจะตก เสียก่อน, อย่าอย่าง นั้นเลย พรุ่งนี้เราจึงค่อยเจรจากันใหม่ที่ในวัง." ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว จึงมี พระราชดำรัสสั่งเทว มันติยอมาตย์ ให้อาราธนาพระเถรเจ้าเข้าไปเจรจากับพระองค์ที่ในพระราชวัง ในวันพรุ่งนี้ แล้ว เสด็จลุกจากราชอาสน์ทรงลาพระเถรเจ้าแล้ว ทรงม้าพระที่นั่งเสด็จกลับไป นึกบ่นอยู่ในพระราช หฤทัยว่า "พระนาคเสน ๆ" ดังนี้. ฝ่ายเทวมันติยอมาตย์ ก็อาราธนาพระเถรเจ้าตามรับสั่ง, พระเถรเจ้าก็ รับจะเข้าไป. ครั้น ล่วงราตรีนั้นแล้ว อมาตย์สี่นายคือเทวมันติยอมาตย์ หนึ่ง อนันกายอมาตย์ หนึ่ง มังกุรอมาตย์ หนึ่ง สัพพทินนอมาตย์ หนึ่ง เข้าไปกราบทูลถามว่า "จะโปรดให้พระนาคเสนเข้ามา หรือยัง." เมื่อรับสั่ง- อนุญาตว่า "นิมนต์ท่านเข้ามาเถิด." จึงทูลถามอีกว่า "จะโปรดให้ท่านมากับ ภิกษุสงฆ์กี่รูป." เมื่อรับ สั่งว่า "ท่านประสงค์จะมากับภิกษุสงฆ์กี่รูปก็มาเถิด." สัพพทินน อมาตย์ จึง กราบทูลว่า "ให้ท่านมา กับภิกษุสงฆ์สักสิบรูปหรือ ?" ก็รับสั่งยืนคำอยู่ว่า "จะมากี่รูปก็มาเถิด." สัพพ ทินนอมาตย์ทูลถาม และตรัสตอบดังนั้นถึงสองครั้ง, ครั้นครั้งที่สาม สัพพทินนอมาตย์ทูลถามอีก จึงตรัสตอบว่า "เราได้ จัดเครื่องสักการไว้เสร็จแล้ว, จึงพูดว่า "ท่านประสงค์จะมากับภิกษุสงฆ์กี่รูปก็ มาเถิด, แต่สัพพทิน นอมาตย์ผู้นี้พูดไปเสียอย่างอื่น, เราไม่สามารถจะถวายโภชนทานแก่ภิกษุทั้ง หลายหรือ." ครั้นตรัส ดังนี้แล้ว สัพพทินนอมาตย์ก็เก้อ มิอาจทูลอีกได้, จึงอมาตย์อีกสามนายไปสู่ สำนักพระนาคเสนเถร เจ้าแล้ว แจ้งความว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชามีพระราชดำรัสว่า 'พระผู้ เป็นเจ้าประสงค์จะ มากับภิกษุสงฆ์กี่รูปก็มาเถิด." ในเพลาเช้าวันนั้น พระนาคเสนเถรเจ้าครองผ้า ตามสมณวัตรแล้ว ถือบาตรจีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แปดหมื่นสี่พันรูป เข้าไปสู่พระนครสาคลราช ธานี. ๔. อนันตกายปัญหา ๔
อนันตกายอมาตย์เดินเคียงพระนาคเสนอยู่ ถามท่านว่า "ข้อที่พระผู้ เป็นเจ้าพูดว่า นาคเสน นั้น ใครเป็น นาคเสนในคำที่พูดนั้น." พระเถรเจ้าถามว่า "ท่านเข้าใจว่าอะไรเล่าเป็น นาคเสน ในคำนั้น ?" อนันตกายอมาตย์ตอบว่า "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ลมภายในอันใดที่เป็น ชีวิตเดินเข้าออกอยู่นั่น แหละเป็นนาคเสน." ถ. "ก็ถ้าลมนั้นออมาแล้วไม่กลับเข้าไปอีกก็ดี เข้าไปแล้วไม่กลับออก มาอีกก็ดี คนนั้นจะ เป็นอยุ่ได้หรือ ?" อ. "คนนั้นจะเป็นอยู่ไม่ได้เลย." ถ. "ผู้ใดเป่าสังข์ ลมของผู้นั้นกลับเข้าไปอีกหรือ ?" อ. "ห้ามมิได้." ถ. "ผู้ใดเป่าขลุ่ย ลมของผู้นั้นกลับเข้าไปอีกหรือ ?" อ. "หามิได้." ถ. "ผู้ใดเป่าเขนง ลมของผู้นั้นกลับเข้าไปอีกหรือ ?" อ. "หามิได้." ถ. "ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไฉน เขาไม่ตายเล่า ?" อ. "ข้าพเจ้าไม่สามารถเจรจากับพระผู้เป็นเจ้าผู้ช่างพูดได้, ขอพระผู้ เป็นเจ้าขยายความ เถิด."- พระเถรเจ้าได้กล่าวอภิธรรมกถาว่า "ลมหายใจเข้าออกนั้น ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่กายสังขาร คือ สภาพที่บำรุงร่างกาย." อนันตกายอมาตย์เลื่อมใสแล้ว ประกาศตนเป็นอุบาสก.
๕. ปัพพัชชาปัญหา ๕
พระนาคเสนเถรเจ้าไปถึงพระราชนิเวศน์แล้ว ก็นั่งลงบนอาสนะที่ปู ลาดไว้ท่า. พระราชทรง อังคาสพระเถรเจ้าพร้อมทั้งบริษัทด้วยชัชะโภชชาหารอันประณีต ด้วยพระ หัตถ์ของพระองค์เอง ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ทรงถวายคู่ผ้าแก่พระภิกษุสงฆ์ ทรงถวายไตรจีวรแก่ พระนาคเสนเถรเจ้า ให้ ครองทั่วกันทุกรูปแล้ว ตรัสกะพระเถรเจ้าว่า "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงนั่งอยู่ที่นี่กับ พระภิกษุสักสิบรูป, พระภิกษุที่เหลือจะกลับไปก่อนก้ได้. ดังนี้แล้ว; เสด็จประทับ ณ ราชอาสน์ซึ่ง ปูลาดไว้ให้ต่ำกว่า อาสน์แห่งพระเถรเจ้าในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว, ตรัสถามพระเถรเจ้าว่า "พระผู้ เป็นเจ้าจะสังสนทนากัน ในข้อไหนดีหนอ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "เราจะสังสนทนากันนี้ ก็ประสงค์แต่ใจความ เท่านั้น, ควรจะ สังสนทนากันแต่ใจความ." "บรรพชาของพระผู้เป็นเจ้ามีประโยชน์อย่างไร ? และอะไรเป็นคุณที่ ต้องประสงค์เป็นอย่าง ยิ่ง ของพระผู้เป็นเจ้า ?" "บรรพชาของอาตมภาพมีประโยชน์ที่จะได้ทราบว่า ทำอย่างไรทุกข์นี้ จะดับไป และทุกข์อื่น จะไม่เกิดขึ้น, อนุปาทาปรินิพพาน (การดับหมดเชื้อ) เป็นคุณที่ต้องประสงค์ เป็นอย่างยิ่งของอาตม ภาพ." ร. "บรรดาบรรพชิตบวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้นหมดด้วยกันหรือ ?" ถ. "หามิได้, บรรพชิตบางพวกบวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้น, บาง พวกบวชหนีพระเจ้า แผ่นดิน, บางพวกบวชหนีโจร, บางพวกบวชหลบหนี้, บางพวกบวชเพื่อจะ อาศัยเลี้ยงชีวิต; แต่ผู้ใด บวชดีบวชชอบ ผู้นั้นบวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้น." ร. "ก็พระผู้เป็นเจ้าเล่า บวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้นหรือ ?" ถ. "อาตมภาพบวชแต่ยังเป็นเด็ก ไม่ทราบว่าตัวบวชเพื่อประโยชน์นี้ ๆ, ก็แต่ว่า อาตมภาพ คิดเห็นว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนมีปัญญา, ท่านคงจักให้เรา ศึกษาสำเหนียกตาม' ดังนี้ เพราะท่านให้อาตมภาพศึกษาสำเหนียกจึงได้ทราบว่า บรรพชานั้นก็เพื่อ ประโยชน์นี้ ๆ." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."-
๖. ปฏิสนธิคหณปัญหา ๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มีใคร ๆ ที่ตายแล้ว ไม่กลับ ปฏิสนธิอีกบ้างหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "บางคนกลับปฏิสนธิ (เข้าท้อง) อีก, บางคนไม่ กลับปฏิสนธิอีก." ร. "ใครกลับปฏิสนธิอีก, ใครไม่กลับปฏิสนธิอีก ?" ถ. "ผู้มีกิเลสกลับปฏิสนธิอีก, ผู้สิ้นกิเลสแล้วไม่กลับปฏิสนธิอีก." ร. "ก็พระผู้เป็นเจ้าเล่า จักกลับปฏิสนธิอีกหรือไม่ ?" ถ. "ถ้าอาตมภาพยังมีอุปาทาน (กิเลสที่เป็นเชื้อ) อยู่ จักกลับปฏิสนธิ อีก, ถ้าไม่มีอุปาทาน ก็จักไม่กลับปฏิสนธิอีก." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๗. มนสิการปัญหา ๗
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่ไม่กลับปฏิสนธิอีกนั้น เพราะ โยนิโสมนสิการ (นึก ชอบ) ไม่ใช่หรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "เพราะโยนิโสมนสิการด้วย เพราะปัญญาด้วย เพราะกุศาลธรรม เหล่าอื่นด้วย" ร. "ปัญญา ก็คือโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่หรือ พระผู้เป็นเจ้า ?" ถ. "มิใช่อย่างนั้นดอก มหาราช มนสิการ (ความนึก) อย่างหนึ่ง ปัญญาอย่างหนึ่ง, มนสิการย่อมมีแม้แก่สัตว์ดิรัจฉานเช่น แพะ แกะ โค กระบือ อูฐ ลา, แต่ ปัญญาไม่มีแก่มัน." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๘. มนสิการลักขณปัญหา ๘
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มนสิการมีลักษณะอย่าง ไร, ปัญญามีลักษณะ อย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มนสิการมีลักษณะยกขึ้น, ปัญญามีลักษณะ ตัด." ร. "มนสิการมีลักษณะยกขึ้น เป็นอย่างไร, ปัญญามีลักษณะตัดเป็น อย่างไร, ขอพระผู้เป็น เจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง ?" ถ. "มหาราช พระองค์ทรงรู้จักคนเกี่ยวข้าวหรือ ?" ร. "ข้าพเจ้ารู้จักซิ พระผู้เป็นเจ้า."- ถ. "เขาเกี่ยวข้าวกันอย่างไร ?" ร. "เขาจับกำข้าวด้วยมือข้างซ้ายเข้า จับเคียวด้วยมือข้างขวา แล้วก็ ตัดกำข้าวนั้นด้วย เคียว." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; พระโยคาวจร (ผู้บำเพ็ญเพียร) คุมใจไว้ด้วย มนสิการแล้ว ตัด กิเลสเสียด้วยปัญญา ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น. ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๙. สีลปติฏฐานลักขณปัญหา ๙
พระราชาตรัสถามว่า "ข้อที่พระผู้เป็นเจ้าพูดว่า เพราะกุศลธรรมเหล่า อื่นด้วยนั้น, กุศล ธรรมเหล่านั้นอะไรบ้าง ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "กุศลธรรมเหล่านั้น คือ ศีล (ความระวัง) ศรัทธา (ความเชื่อ) วิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึก) สมาธิ (ความตั้งใจ)." ร. "ศีลมีลักษณะอย่างไร ?" ถ. "ศีลมีลักษณะ คือ เป็นที่ตั้งอาศัย, ศีลนั้นเป็นที่อาศัยแห่งกุศลธรรม ทั้งปวง ซึ่งได้ชื่อว่า อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ, เมื่อ พระโยคาวจรตั้งอยู่ในศีลแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงย่อมไม่เสื่อมรอบ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "บรรดาพีชคาม (พืช) และภูตคาม (ของสีเขียว) เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอก งามไพบูลย์ ,พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทุกอย่าง ต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้ง อยู่ที่แผ่นดิน จึงถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; พระโยคาวจร อาศัยศีล แล้วตั้งอยู่ในศีลแล้วจึง ทำอินทรีย์ห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้เกิดได้ ข้อนี้ก็มีอุปไมย ฉันนั้นใ" ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "นายช่างผู้สร้างเมือง ปรารถนาจะสร้างเมือง ต้องให้ถางสถานที่จะ ตั้งเมืองนั้น ให้ถอน หลักตอหน่อหนามขึ้น ให้เกลี่ยที่ให้ราบก่อนแล้ว ภายหลังจึงกะที่ตามกำหนด สัณฐานซึ่งจะเป็น ถนนสี่แยก สามแยกเป็นต้นแล้ว สร้างขึ้นให้เป็นเมือง ข้อนั้นฉันใด; พระโยคาวจร อาศัยศีลแล้ว ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำอินทรีย์ห้าให้เกิดได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "พวกญวนหก ปรารถนาจะแสดงศิลปของตน ให้ขุดคุ้ยแผ่นดินเอา กรวดกระเบื้องออก เสีย ให้ทำพื้นให้ราบแล้ว จึงแสดงศิลปะของตนบนพื้นที่น่วมดีแล้ว ข้อนั้นฉัน ใด; พระโยคาวจร อาศัยศีลแล้ว ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงทำอินทรีย์ห้าให้เกิดได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. แม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้- ตรัสว่า 'นรชนคนมีปัญญา เป็นภิกษุตั้งอยู่ในศีลแล้ว มีปัญญาแก่กล้า พากเพียรให้สมาธิและ ปัญญาเกิดขึ้นได้ เธออาจสางชัฏอันนี้เสียได้" ดังนี้. ศีลขันธ์ที่นับว่าพระปาฏิ โมกข์นี้ เป็นที่ตั้งอาศัย แห่งกุศลธรรม เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, และเป็นรากเง่า เพื่อให้เจริญกุศล ธรรม,และเป็นประธานในคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ฉะนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๐. สัทธาลักขณาปัญหา ๑๐
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ศรัทธามีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ศรัทธามีลักษณะให้ใจผ่องใสอย่างหนึ่งมี ลักษณะให้แล่นไปด้วยดี อย่างหนึ่ง." ร. "ศรัทธามีลักษณะให้ใจผ่องใส่นั้นเป็นอย่างไร ?" ถ. "ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้, จิตก็ปราศจากนิวรณ์ผ่อง ใส่ไม่ขุ่นมัว, ศรัทธามี ลักษณะทำให้ใจผ่องใสอย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิราช เสด็จพระราชดำเนินโดย สถลมารคเป็นทางไกล ด้วยกระบวนจตุรงคินีเสนา ข้ามลำน้ำอันน้อยไป, น้ำนั้นจะกระฉอกเพราะ ช้างม้ารถและพลทหาร ราบแล้วจะขุ่นมัวเป็นตม, ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิราชเสด็จข้ามลำน้ำแล้ว อยากจะเสวยน้ำ จึงตรัส สั่งราชบุรุษให้ไปนำน้ำเสวยมาถวาย, และดวงแก้วมณีที่สำหรับแช่น้ำให้ใส ของพระเจ้าจักรพรรดิ ราชนั้นจะมีอยู่, ราชบุรุษนั้น ครั้นรับพระราชโองการแล้ว ก็จะเอาดวงแก้วมณี นั้นแช่ลงในน้ำ, แต่ พอแช่ลง สาหร่ายจอกแหนก็จะหลีกลอยไป ตมก็จะจมลง, น้ำก็จะผ่องใสไม่ ขุ่นมัว, แต่นั้นราชบุรษ ก็จะนำน้ำนั้นมาถวายพระเจ้าจักรพรรดิราชเสวย. ผู้มีปัญญาควรเห็นว่าจิต เหมือนน้ำ, พระ โยคาวจรเหมือนราชบุรุษ, กิเลสเหมือนสาหร่าย จอก แหน และตม ศรัทธา เหมือนดวงแก้วมณีที่ สำหรับแช่น้ำให้ใส, เมื่อดวงแก้วมณีนั้น พอราชบุรุษแช่ลงไปในน้ำแล้ว สาหร่าย จอก แหน ก็ หลีกลอยไป, ตมก็จมลง, น้ำก็ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ฉันใด; ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อม ข่มนิวรณ์ไว้ได้, จิตก็ ปราศจากนิวรณ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ฉันนั้น. ศรัทธามีลักษณะให้ใจผ่องใสอย่าง นี้." ร. "ศรัทธามีลักษณะให้แล่นไปด้วยดีเป็นอย่างไร ?" ถ. "เหมือนอย่างว่า พระโยคาวจรได้เห็นจิตของผู้อื่น พ้นพิเศษจาก กิเลสอาสวะแล้ว ย่อม แล่นไปด้วยดีในพระโสดาปัตติผลบ้าง ในพระสกทาคามิผลบ้าง ในพระ อนาคามิผลบ้าง ในพระ อรหัตตผลบ้างย่อมทำความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ตนไม่บรรลุแล้ว เพื่อได้ ธรรมที่ตนยังไม่ได้แล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว; ศรัทธามีลักษณะให้แล่นไปด้วย ดีอย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง."-------------------- ถ. "เหมือนอย่างว่า มหาเมฆจะให้ฝนตกบนยอดภูเขา, น้ำนั้นจะไหล ลงมาที่ต่ำ ทำลำธาร ห้วยละหานให้เต็มแล้ว ทำแม่น้ำให้เต็ม, แม่น้ำนั้นก็จะไหลเซาะให้เป็นฝั่งทั้ง สองข้างไป, ทีนั้น ประชุมชนหมู่ใหญ่มาถึงแล้ว ไม่ทราบว่าแม่น้ำนั้นตื้นหรือ ลึกก็กลัวไม่อาจข้ามได้ ต้องยืนที่ขอบฝั่ง, เมื่อเป็นดังนั้น บุรุษคนหนึ่งมาถึง แล้ว เห็นเรี่ยวแรงและกำลังของตนว่าสามารถจะข้ามได้ ก็นุ่งผ้าขอดชาย กระเบนให้มั่นแล้ว ก็แล่นข้ามไปได้, ประชุมชนหมู่ใหญ่เห็นบุรุษนั้นข้าไปได้ แล้ว ก็ข้ามตามได้บ้าง ข้อนั้นฉันใด; พระโยคาวจรได้เห็นจิตของผู้อื่นพ้น พิเศษจากกิเลสอาสวะแล้ว ย่อมแล่นไปด้วยดีในพระโสดาปัตติผลบ้าง ใน พระสกทาคามิผลบ้าง ในพระอนาคามิผลบ้าง ในพระอรหัตตผลบ้าง ย่อมทำ ความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุแล้ว เพื่อได้ธรรมที่ตนยังไม่ได้ แล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ศรัทธามี ลักษณะให้แล่นไปด้วยดีอย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสไว้ในพระ คัมภีร์สังยุตตนิกายว่า "บุคคลย่อมข้ามห้วงกิเลสได้ เพราะศรัทธา, ข้าม มหาสมุทร คือ สังสารวัฏฏ์ได้ เพราะความไม่ประมาท, ล่วงทุกข์ไปได้ เพราะ ความเพียร, ย่อมบริสุทธ์ได้เพราะปัญญา ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๑๑. วิริยลักขณปัญหา ๑๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิริยะมีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "วิริยะมีลักษณะค้ำจุนไว้, กุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ที่วิริยะค้ำจุนไว้แล้ว ย่อมไม่เสื่อมรอบ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า เมื่อเรือนซวนจะล้ม บุรุษค้ำจุนไว้ด้วยไม้อื่น ก็ไม่ ล้ม ฉันใด; วิริยะมีลักษณะค้ำจุนไว้, กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่วิริยะค้ำจุนไว้ แล้วย่อมไม่เสื่อมรอบ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้า อุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. เหมือนอย่างว่า กองทัพหมู่ใหญ่ตีหักกองทัพที่น้อยกว่าให้แตกพ่าย ไป, ในภายหลัง พระราชาจะทรงจัดกองทัพหมู่อื่น ๆ ส่งเป็นกองหนุนเพิ่มเติม ไป, กองทัพหมู่ที่น้อยกว่านั้น ครั้นสมทบเข้ากับกองทัพที่ยกหนุนไป ก็อาจหัก เอาชัยชำนะตีกองทัพหมู่ใหญ่นั้นให้แตกพ่ายได้ ฉันใด; วิริยะมีลักษณะค้ำจุน ไว้, กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่วิริยะค้ำจนไว้แล้ว ย่อมไม่เสื่อมรอบ ฉันนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีเพียร ย่อมละ อกุศล ทั้งกุศลให้เกิดได้, ย่อมละกรรมที่มีโทษเสีย ทำกรรมที่ไม่มีโทษให้เกิด ได้, ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๑๒. สติลักขณปัญหา ๑๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สติมีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "สติมีลักษณะให้นึกได้ และมีลักษณะถือไว้." ร. "สติมีลักษณะให้นึกได้เป็นอย่างไร ?" ถ. "สติเมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้นึกถึงธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและ ไม่มีโทษ เลวทรามและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยของดำและของขาวได้, นี้ อินทรีย์ห้า, นี้พละห้า, นี้โพชฌงค์เจ็ด, นี้มรรคมีองค์แปดอย่างประเสริฐ, นี้ สมถะ, นี้วิปัสสนา, นี้วิชชา, นี้วิมุตติ" ดังนี้. แต่นั้นพระโยคาวจร ย่อมเสพ ธรรมที่ควรเสพ ย่อมไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ, ย่อมคบธรรมที่ควรคบ ย่อมไม่ คบธรรมที่ไม่ควรคบ, สตินี้มีลักษณะให้นึกได้อย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า คฤหบดีรัตน์ผู้จัดการพระคลังหลวง ของพระเจ้า จักรพรรดิราช กราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิราชให้ทรงระลึกพระราชอิสริยยศ ของพระองค์ได้ทุกเย็นเช้าว่า "ช้างของพระองค์มีเท่านั้น ม้ามีเท่านั้น รถมีเท่า นั้น พลราบมีเท่านั้น เงินมีเท่านั้น ทองมีเท่านั้น พัสดุต่าง ๆ มีอย่างละเท่านั้น ๆ "เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิราชให้ทรงนึกถึงราชสมบัติได้ ข้อนั้นมีอุปมา ฉันใด; สติเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมให้นึกถึงธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่ มีโทษ เลวทรามและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยของดำและของขาวได้, และให้ นึกได้ว่า "นี้สติปัฏฐานสี่, นี้สัมมัปปธานสี่, นี้อิทธิบาทสี่, นี้อินทรีย์ห้า, นี้พละ ห้า, นี้โพชฌงค์เจ็ด, นี้มรรคมีองคืแปดอย่างประเสริฐ, นี้สมถะ, นี้วิปัสสนา, นี้ วิชชา, นี้วิมุตติ" ดังนี้. แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเสพธรรมที่ควรเสพ ย่อมไม่ เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ, ย่อมคบธรรมที่ควรคบ ย่อมไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ ข้อ นี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น สติมีลักษระให้นึกได้อย่างนี้." ร. "สติมีลักษณะถือไว้นั้นเป็นอย่างไร ?" ถ. "สติเมื่อเกิดขึ้นย่อมค้นหาที่ไปแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์; ให้รู้ว่า "ธรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ ,ธรรมเหล่านี้ไม่เป็น ประโยชน์, ธรรมเหล่านี้เป็นอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็น ประโยชน์, ย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็นอุปการะเสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็น อุปการะ. สติมีลักษณะถือไว้อย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า ปริณายกรัตน์ของพระเจ้าจักรพรรดิราช ย่อม ทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ กราบทูลแด่พระเจ้าจักรพรรดิ ราชว่า "สิ่งนี้เป็นประโยชน์แด่พระราชา สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็น อุปการะ สิ่งนี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น ย่อมเกียดกันสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย ประคองไว้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์, ย่อมเดียดกันสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะเสีย ถือไว้ แต่สิ่งที่เป็นอุปการะ," ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; สติเมื่อเกิดขึ้น ย่อมค้นหาที่ไป แห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์; ให้รู้ว่า "ธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์, ธรรมเหล่านี้เป็นอุปการะ ธรรม เหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็น ประโยชน์เสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นประโยชน์, ย่อมเดียดกันธรรมที่ไม่เป็น อุปการะเสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นอุปการะ ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น. สติมี ลักษณะถือไว้อย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวสติว่าเป็นธรรมที่ควรปรารถนาในที่ทั้วงปวง ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
|