๑๓. สมาธิลักขณปัญหา ๑๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สมาธิ มีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "สมาธิ มีลักษณะเป็นประธาน, บรรดากุศล ธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปในสมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "บรรดากลอนของเรือนที่มียอด ย่อมน้อมไปหายอด ย่อมเอนไปหา ยอด มียอดเป็นที่ชุมชน, เขาจึงกล่าวยอดว่าเป็นประธานของกลอนเหล่านั้น ข้อนั้นฉันใด, บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปใน สมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง จะเสด็จพระราชดำเนินสู่ งานพระราชสงคราม พรือมด้วยจตุรงคินีเสนา, บรรดาหมู่กองทัพนั้น หมดทั้ง ช้างม้ารถและพลราบ ย่อมมีพระราชานั้นเป็นประธานตามเสด็จห้อมล้อมพระ ราชานั้น ข้อนั้นฉันใด; บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปในสมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. สมาธิมี ลักษณะเป็นประธาน อย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า "ภิกษุทั้ง หลาย ท่านทั้งหลายเจริญสมาธิเถิด, เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ประจักษ์ตามเป็นจริงอย่างไร ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๔. ปัญญาลักขณปัญหา ๑๔
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ปัญญา มีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "แต่ก่อนอาตมภาพได้กล่าวว่า 'ปัญญา มี ลักษณะตัดให้ขาด,' อีกอย่างหนึ่ง ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่าง." ร. "ปัญญามีลักษณะส่องให้สว่างเป็นอย่างไร ?" ถ. "ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดมืด คือ อวิชชา, ทำความสว่าง คือ วิชชาให้เกิด, ส่องแสง คือ ญาณ, ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระ โยคาวจรย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า 'สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ ใช่ตัว." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า จะมีบุรุษถือไฟเข้าไปในเรือนที่มืด, ไฟที่เข้าไปแล้ว นั้นย่อมกำจัดมืดเสียทำความสว่างให้เกิด, ส่องแสง ทำรูปให้ปรากฏ ข้อนั้น ฉันใด; ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดมืด คือ อวิชชา, ทำความสว่าง คือ วิชชา ให้เกิด, ส่องแสง คือ ญาณ, ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระ โยคาวจรย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า 'สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้มิใช่ ตัว' ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่างอย่างนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๕. นานาเอกกิจจกรณปัญหา ๑๕
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ธรรมเหล่านี้เป็นต่าง ๆ กัน แต่ทำ ประโยชน์ให้สำเร็จได้เป็นอันเดียวกันหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร ธรรมเหล่านี้ เป็นต่าง ๆ กัน แต่ทำประโยชน์ให้สำเร็จได้เป็นอันเดียวกัน คือ กำจัดกิเลส." ร. "ข้อนี้เป็นอย่างไร, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า กองทัพเป็นต่าง ๆ กัน คือ ช้าง ม้า รถ และพล ราบ, แต่ทำประโยชน์ให้สำเร็จได้เป็นอันเดียวกัน คือ เอาชัยชำนะกองทัพ ข้าศึกในสงครามได้ ฉันใด; ธรรมเหล่านี้ ถึงเป็นต่าง ๆ กัน แต่ทำประโยชน์ให้ สำเร็จได้เป็นอันเดียวกัน คือ กำจัดกิเลส ฉันนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
วรรคที่สอง
๑. ธัมมสันตติปัญหา ๑๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดเกิดขึ้น เขาจะเป็นผู้นั้น หรือ จะเป็นผู้อื่น ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "จะเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ไม่ใช่." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "พระองค์จะทรางสดับต่อไปนั้นเป็นไฉน ข้อความที่อาตมภาพจะ ทูลถาม: ก็เมื่อเวลาใด พระองค์ยังทรงพระเยาว์เป็นเด็กอ่อน บรรทมหงายอยู่ ในพระอู่, พระองค์นั้นนั่นแหละได้ทรงพระเจริญวัย เป็นผู้ใหญ่ขึ้นในเวลานี้ ?" ร. "ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า, ในเวลานั้น ข้าพเจ้าเป็นเด็กอ่อน นอนหงายอยู่นั้นคนหนึ่ง ในเวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ขึ้นคนหนึ่ง." ถ. "ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้มารดาบิดาอาจารย์ และคนมีศีลมีสิปปะมี ปัญญาก็จักไม่มีนะซิ, มารดาของสัตว์ซึ่งแรกปฏิสนธิ เป้นกลละ เป็นอัมพุทะ เป็นชิ้นเนื้อ เป็นแท่ง และมารดาของสัตว์ที่เป็นทารก มารดาของสัตว์ที่เป็นผู้ ใหญ่ คนละคน ไม่ใช่คนเดียวกันดอกหรือ ? คนหนึ่งศึกษาสิปปะ คนหนึ่งเป็น ผู้ได้ศึกษาแล้ว คนหนึ่งทำบาปกรรม มือและเท้าทั้งหลายของคนหนึ่งขาดไป หรือ ?" ร. "ไม่เป็นอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า, ก็เมื่อเขาถามพระผู้เป็นเจ้าอย่าง นั้น พระผู้เป็นเจ้าจะตอบอย่างไร ?" ถ. "อาตมภาพนี้แหละเป็นเด็ก อาตมภาพนี้แหละเป็นผู้ใหญ่ ในเวลา นี้ สภาวธรรมทั้งหลายอาศัยกายนี้นี่แหละ นับว่าเป็นอันเดียวกันทั้งหมด." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งจะตามประทีป อาจตามไปได้จน ตลอดรุ่งหรือไม่ ?" ร. "ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เปลวไปอันใดในยามแรก เปลวไฟอันนั้นหรือในยามกลาง?" ร. ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เปลวไฟอันใดในยามกลาง เปลวไฟอันนั้นหรือในยามสุด ?" ร. ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. ประทีบในยามแรก ในยามกลาง และในยามสุด ดวงหนึ่ง ๆ ต่าง หากกันหรือ ?" ร. "ไม่ใช่ พระผู้เป์นเจ้า, ประทีปที่อาศัยประทีปนั้นนั่นแหละสว่างไป แล้วจนตลอดรุ่ง." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ความสืบต่อแห่งสภาวธรรมก็สืบต่อกัน ฉันนั้นนั่น แหละ; สภาวะอันหนึ่งเกิดขึ้น สภาวะอันหนึ่งดับไป, เหมือนกะสืบต่อพร้อม ๆ กัน, เพราะเหตุนั้น ผู้ที่เกิดขึ้นจึงได้ชื่อว่าจะเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ไม่ใช่ แต่ถึงความสงเคราะห์ว่าปัจฉิมวิญญาณ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า น้ำนมที่เขารีดออก ครั้นเวลาอื่น แปรเป็นนมส้ม ไป, และแปรไปจากนมส้มก็เป็นเนยข้น, แปรไปจากเนยข้นก็เป็นเปรียง, และ จะมีผู้ใดผู้หนึ่งมาพูดอย่างนี้ว่า 'น้ำนมอันใด นมส้มก็อันนั้นนั่นเอง นมส้มอัน ใด เนยข้นก็อันนั้นนั่นเอง เนยข้นอันใด เปรียงก็อันนั้นนั่นเอง' ฉะนี้. เมื่อผู้นั้น เขาพูดอยู่ จะชื่อว่าเขาพูดถูกหรือไม่ ?" ร. "ไม่ถูก พระผู้เป็นเจ้า, มันอาศัยน้ำนมนั้นนั่นเองเกิดขึ้น." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ความสืบต่อแห่งสภาวธรรม ก็สืบต่อกันฉันนั้นนั่น แหละ; สภาวะอันหนึ่งเกิดขึ้น สภาวะอันหนึ่งดับไป, เหมือนกะสืบต่อพร้อม ๆ กัน, เพราะเหตุนั้น ผู้ที่เกิดขึ้นจึงได้ชื่อว่าจะเป็นผู้นั้นก็ไม่ใช่ จะเป็นผู้อื่นก็ไม่ใช่ แต่ถึงความสงเคราะห์ว่าปัจฉิมวิญญาณ." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๒. นับปปฏิสันธิคหณปัญหา ๑๗
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดไม่ปฏิสนธิ ผู้นั้นรู้ได้หรือไม่ ว่า 'เราจักไม่ปฏิสนธิ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร รู้ได้." ร. "รู้ได้ด้วยอย่างไร ?" ถ. "สิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัยของความถือเอาปฏิสนธิ, เพราะความสิ้น ไปแห่งเหตุและปัจจัยนั้นนั่นแหละ เขาจึงรู้ได้ว่า 'เราจักไม่ปฏิสนธิ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า ชาวนาเขาไถแล้ว หว่านแล้ว ก็ขนข้าวเปลือกมาไว้ ในฉางให้เต็มแล้ว, สมัยอื่นอีก ชาวนานั้นก็ได้ไถและมิได้หว่านอีก บริโภค ข้าวเปลือกที่ตนได้สั่งสมไว้อย่างไรนั้นเสียบ้าง จำหน่ายเสียบ้าง น้อมไปตาม ประสงค์บ้าง, เขาจะรู้ได้หรือไม่ว่า 'ฉางสำหรับเก็บข้าวเปลือกของเราจักไม่ เต็มขึ้นได้อีก." ร. "รู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "รู้ได้ด้วยอย่างไร ?" ร. "สิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัย ซึ่งจะทำฉางสำหรับไว้ข้าวเปลือกให้เต็ม ขึ้นได้, เพราะความสิ้นไปแห่งเหตุและปัจจัยนั้นนั่นแหละ เขาจึงรู้ได้ว่า 'ฉาง สำหรับไว้ข้าวเปลือกของเราจักไม่เต็มขึ้นได้อีก." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัยของความถือเอาปฏิสนธิ, เพราะความสิ้นไปแห่งเหตุและปัจจัยนั้นนั่นแหละ เขาจึงรู้ได้ว่า 'เราจักรไม่ ปฏิสนธิ' ก็ฉันนั้นนั่นแหละ." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๓. ปัญญานิรุชฌนปัญหา ๑๘
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด ปัญญาก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด ปัญญาก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น." ร. "ญาณอันใด ปัญญาก็อันนั้นนั่นเองหรือ ?" ถ. "ขอถวายพระพร ญาณอันใด ปัญญาก็อันนั่นนั่นแหละ." ร. "ก็ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ใด ปัญญาก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น, ผู้นั้นจะหลง หรือไม่หลง ?" ถ. "หลงในที่บางแห่ง, ไม่หลงในที่บางแห่ง." ร. "หลงในที่ไหน, ไม่หลงในที่ไหน ?" ถ. "หลงในสิปปะที่ตนยังไม่ได้เคยเรียน ในทิศที่ตนยังไม่เคยไป และ ในการตั้งชื่อ (คือภาษา) ที่ตนยังไม่ได้เคยฟัง." ร. "เขาไม่หลงในที่ไหนเล่า ?" ถ. "ก็สิ่งใด คือ อนิจจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ที่ปัญญาได้ทำไว้, เขาไม่หลงในสิ่งนั้น." ร. "ก็โมหะของผู้นั้นไปในที่ไหนเล่า ?" ถ. "เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้ว โมหะก็ดับไปในที่นั้นเอง." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งส่องแสงไฟเข้าไปในเรือนที่มือ, แต่นั้น มืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้น, เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้ว โมหะก็ดับไปในที่ นั้น ฉะนั้น." ร. "ก็ปัญญาไปในที่ไหนเล่า ?" ถ. "ถึงปัญญาเมื่อทำกจของตนแล้ว ก็ดับไปในที่นั้นเอง, ก็แต่ว่าสิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนันตตาก็ดี ที่ปัญญาได้ทำไว้, สิ่งนั้นมิได้ดับไป." ร. "ข้อที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าว่า 'ปัญญาทำกิจของตนแล้ว ดับไปในที่นั้น เอง, ก็แต่ว่าสิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ก็ดี อนันตาก็ดี ที่ปัญญาได้ทำไว้ สิ่ง นั้นมิได้ดับไป,' ฉะนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาสิ่งนั้นให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่ง อยากจะส่งจดหมายไปในกลางคืน ให้เรียกเสมียนมาแล้ว จึงให้จุดไฟแล้วให้เขียนจดหมาย ครั้นให้เขียนจด หมายเสร็จแล้ว ก็ให้ดับไฟเสีย, เมื่อไฟดับไปแล้ว จดหมายก็มิได้หายไป ฉัน ใด; ปัญญาทำกิจของตนแล้ว ก็ดับไปในที่นั้นเอง ฉะนั้น; ก็แต่ว่าสิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ที่ปัญญานั้นได้ทำไว้, สิ่งนั้นมิได้ดับไป." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาสิ่งนั้นให้ข้าพเจ้าฟัง ให้ยิ่งขึ้นอีกสัก หน่อย." ถ. "เหมือนอย่างว่า มนุษย์ทั้งหลายในปุรัตถิมชนบท ตั้งหม้อน้ำไว้ เรือนละห้าหม้อ ๆ สำหรับดับไฟ, ครั้นเมื่อไฟไหม้เรือนแล้ว เขาก็โยนหม้อน้ำ ห้าหม้อนั้นขึ้นไปบนหลังคาเรือน, ไฟนั้นก็ดับไป, มนุษย์ทั้งหลายนั้นจะต้อง คิดว่า 'ตนจักทำกิจด้วยหม้อแห่งน้ำน้ำอีกหรือ ?" ร. "ไม่ต้องคิดอีกเลย พระผู้เป็นเจ้า, พอแล้วด้วยหม้อเหล่านั้น, ประโยชน์อะไรด้วยหม้อน้ำเหล่านั้นอีก." ถ. "ผู้มีปัญญาควรเห็นอินทรีย์ทั้งห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนหม้อน้ำห้าหม้อ, ควรเห็นพระโยคาวจรเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย นั้น, ควรเห็นกิเลสทั้งหลายเหมือนไฟ, กิเลสทั้งหลายดับไปด้วยอินทรีย์ทั้งห้า และกิเลสทั้งหลายเหมือนไฟ, กิเลสทั้งหลายดับไปด้วยอินทรีย์ทั้งห้า และ กิเลสที่ดับไปแล้วไม่เกิดอีก เหมือนไฟดับไปด้วยหม้อน้ำทั้งห้า ข้อนั้นฉันใด; ปัญญาทำกิจของตนแล้ว ก็ดับไปในที่นั้นฉันนั้น, ก็แต่ว่าสิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ที่ปัญญาได้ทำไว้, สิ่งนั้นมิได้ดับไป." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า แพทย์ถือเอารากไม้ที่เป็นยาห้าอย่าง เข้าไปหาคน ไข้แล้ว บดรากไม้ที่เป็นยาห้าอย่างนั้นให้คนไข้ดื่มกิน, โทษทั้งหลายก็ระงับไป ด้วยรากไม้ที่เป็นยาห้าอย่างนั้น, แพทย์นั้นจะต้องคิดว่า 'ตนจักทำกิจด้วยราก ไม้นั้นอีกหรือ ?" ร. "ไม่ต้องคิดอีกเลย พระผู้เป็นเจ้า, พอแล้วด้วยรากไม้ที่เป็นยาห้า อย่างเหล่านั้น, จะประโยชน์อะไรด้วยรากไม้เหล่านั้น." ถ. "ผู้มีปัญญา ควรเห็นอินทรีย์ทั้งห้ามีอินทรีย์ คือ ศรัทธาเป็นต้น เหมือนรากไม้ที่เป็นยาห้าอย่าง, ควรเห็นพระโยคาวจรเหมือนแพทย์, ควรเห็น กิเลสทั้งหลายเหมือนพยาธิ, ควรเห็นปุถุชนทั้งหลายเหมือนบุรุษที่เจ็บ, กิเลส ทั้งหลายระงับไปด้วยอินทรีย์ทั้งห้า และกิเลสที่ระงับไปแล้วไม่เกิดอีก เหมือน โทษทั้งหลายของคนไข้ระงับไปด้วยรากไม้ที่เป็นยาห้าอย่าง ครั้นเมื่อโทษ ระงับไป คนไข้ก็เป็นผู้หายโรค ฉะนั้น ข้อนี้ฉันใด; ปัญญาทำกิจของตนแล้วก็ ดับไปในที่นั้น ฉันนั้น, ก็แต่ว่าสิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ที่ ปัญญาได้ทำไว้, สิ่งนั้นมิได้ดับไป." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า ทหารที่เข้าสู่สงคราม ถือเอาลูกศรไปห้าลูกแล้ว เข้าสู่สงคราม เพื่อจะเอาชัยชำนะกองทัพแห่งข้าศึก, ทหารนั้นเข้าสู่สงคราม แล้วยิงลูกศรทั้งห้านั้นไป, กองทัพแห่งข้าศึกก็แตกไปด้วยลูกศรทั้งห้านั้น, ทหารที่เข้าสู่สงครามนั้น จะต้องคิดว่า 'ตนจักทำกิจด้วยลูกศรอีกหรือ" ร. "ไม่ต้องคิดอีกเลย พระผู้เป็นเจ้า, พอแล้วด้วยลูกศรห้าลูกนั้น, จะ ประโยชน์อะไรด้วยลูกศรเหล่านั้น." ถ. "ผู้มีปัญญา ควรเห็นอินทรีย์ทั้งห้ามีศรัทธาเป็นต้น เหมือนลูกศรทั้ง ห้า, ควรเห็นพระโยคาวจร เหมือนทหารผู้เข้าสู่สงคราม, ควรเห็นกิเลสทั้ง หลาย เหมือนกองทัพแห่งข้าศึก, กิเลสทั้งหลายที่แตกไปด้วยอินทรีย์ทั้งห้า และกิเลสที่แตกไปแล้วไม่เกิดอีก เหมือนกองทัพแห่งข้าศึกที่แตกไปด้วยลูกศร ทั้งห้า ขอนั้นฉันใด; ปัญญาทำกิจของตนแล้วก็ดับไปในที่นั้น ฉันนั้น, ก็แต่ว่า สิ่งใด คือ อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ที่ปัญญาได้ทำไว้, สิ่งนั้นมิได้ดับ ไป." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๔. ปรินิพพานปัญหา ๑๙
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดไม่ปฏิสนธิ เขาจะเสวย เวทนาที่เป็นทุกข์หรือไม่ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "เสวยบ้าง ไม่เสวยบ้าง." ร. "เสวยเวทนาชนิดไหน, ไม่เสวยเวทนาชนิดไหน ?" ถ. "เสวยเวทนาที่มีกายเป็นสมุฏฐาน, ไม่เสวยเวทนาที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน." ร. "ไฉนจึงเสวยเวทนาที่มีกายเป็นสมุฏฐาน, ไฉนจึงไม่เสวยเวทนาที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ?" ถ. "สิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนา ที่มีกายเป็นสมุฏฐาน, เพราะยังไม่สิ้นแห่งเหตุและปัจจัยนั้น จึงเสวยทุกขเวทนาที่มีกายเป็น สมุฏฐาน, สิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน, เพราะความสิ้นแห่งเหตุและปัจจัยนั้น จึงไม่เสวยทุกขเวทนาที่มีจิตเป็น สมุฏฐาน. แม้คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "พระอรหันต์ท่านเสวยแต่ เวทนาที่มีกายเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว, มิได้เสวยเวทนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน." ร. "พระผู้เป็นเจ้า ก็เมื่อพระอรหันต์ท่านเสวยทุกขเวทนาอยู่, เหตุไฉน ท่านไม่ปรินิพพานเสียเล่า ?" ถ. "เพราะว่า ความรักความชังของพระอรหันต์ไม่มีเลย, อนึ่ง พระ อรหันต์ทั้งหลายท่านไม่เร่งกาลเวลา ท่านคอยกาลเวลาอยู่. ถึงคำนี้ พระธรรม เสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้าก็ได้กล่าวไว้ว่า "เรามิได้ยินดีความตาย หรือชีวิต (ความเป็นอยู่) แต่เราคอยกาลเวลาอยู่, เหมือนลูกจ้างคอยค่าจ้างอยู่ และเรา มิได้ยินดีความตายหรือชีวิตเลย, แต่เรามีสติรู้ รอคอยกาลเวลาอยู่." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๕. สุขเวทนาปัญหา ๒๐
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เวทนาที่เป็นสุขเป็นกุศลหรือ อกุศล หรือเป็นอพยากฤต." พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "เป็นกุศลก็มี อกุศลก็มี อพยากฤตก็มี." ร. "ถ้าว่าเป็นกุศล ก็ไม่ใช่ทุกข์, ถ้าว่าเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่กุศล, คำว่า 'เวทนาเป็นทั้งกุศลเป็นทั้งทุกข์' ไม่ชอบ." ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญข้อความนั้นเป็นไฉน: เหมือนอย่างว่าผู้ใดผู้ หนึ่งจะวางก้อนเหล็กที่ร้อนลงในมือข้างหนึ่งของบุรุษ, ในมือที่สองวางก้อนน้ำ ค้างที่เย็นอย่างที่สุดลง, สิ่งทั้งสองนั้นจะเผาหรือไม่ ?" ร. "เผาซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ก็สิ่งนั้นจะร้อนทั้งสองสิ่งหรือ ?" ร. "ไม่ร้อนทั้งสองสิ่ง พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เย็นทั้งสองสิ่งหรือ ?" ร. "ไม่เย็น พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ขอพระองค์จงทรงทราบ: ข้อนี้แหละเป็นเครื่องข่มพระองค์, ถ้าว่า ของที่ร้อนเผาได้, มิใช่ของนั้นจะร้อนทั้งสองสิ่ง, เหตุนั้นข้อที่ว่านั้นมิไม่ชอบ หรือ ? ถ้าว่าของที่เย็นเผาได้, มิใช่ของนั้นจะเย็นทั้งสองสิ่ง, เหตุนั้น ข้อที่ว่านั้น มิไม่ชอบหรือ ? ก็เหตุไฉน สิ่งทั้งสองนั้นเผาได้, แต่ไม่ร้อนทั้งสองสิ่ง, และไม่ เย็นทั้งสองสิ่ง, สิ่งหนึ่งร้อน สิ่งหนึ่งเย็น, แต่ว่าเผาได้ทั้งสองสิ่ง, เหตุนั้น ข้อที่ ว่านั้น มิไม่ชอบหรือ ?" ร. "ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจากับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ช่างพูดได้ ขอพระผู้ เป็นเจ้าจงขยายความเถิด." แต่นั้น พระเถรเจ้าอธิบายความให้พระเจ้ามิลินท์ เข้าพระราชหฤทัยด้วยอภิธรรมกถาว่า "จักรทั้งหลายหกเหล่านี้: คือ โสมนัส ที่ อาศัยความกำหนัดหก ที่อาศัยเนกขัมมะ (คุณ คือ ความออกไป) หก, โทมนัส ที่อาศัยความกำหนัดหก ที่อาศัยเนกขัมมะหก, อุเบกขา ที่อาศัยความกำหนัด หก ที่อาศัยเนกขัมมะหก, เวทนา ที่เป็นอดีตสามสิบหกอย่าง, ที่เป็นอนาคต สามสิบหกอย่าง, ที่เป็นปัจจุบันสามสิบหกอย่าง, รวมย่นเวทนาเหล่านั้นเข้า ด้วยกัน เป็นเวทนาร้อยแปด." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๖. นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา ๒๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า อะไรเล่าจะปฏิสนธิ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "นามและรูปนั่นแหละจะปฏิสนธิ." ร. "นามและรูปนี้หรือจะปฏิสนธิ ?" ถ. "นามและรูปนี้จะปฏิสนธิหามิได้, ก็แต่ใครทำกรรมดีกรรมชั่วไว้ด้วย นามและรูปนี้, นามและรูปอื่นจะปฏิสนธิขึ้นด้วยกรรมนั้น." ร. "ถ้าว่า นามและรูปนั้นไม่ปฏิสนธิ ผู้นั้นเขาจักพ้นจากบาปกรรมมิใช่ หรือ ?" ถ. "ถ้าว่า นามและรูปนั้นจะไม่ปฏิสนธิ เขาก็อาจพ้นจากบาปกรรมได้, ก็แต่ว่า เหตุใดนามและรูปนั้นยังจะปฏิสนธิอยู่ เหตุนั้น เขาจึงไม่พ้นจาก บาปกรรมได้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งไปลักมะม่วงของคนใดคนหนึ่ง, เจ้า ของมะม่วงก็จับบุรุษนั้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินว่า 'บุรุษนี้ลักมะม่วงของ ข้าพระองค์' ฉะนี้, บุรุษนั้นก็ให้การแก้ว่า 'ข้าพระองค์ไม่ได้ลักมะม่วงของบุรุษ นี้, มะม่วงที่บุรุษนี้ปลูกไว้นั้นต้นหนึ่งต่างหาก, มะม่วงที่ข้าพระองค์ลักนั้นต้น หนึ่งต่างหาก, ข้าพระองค์ไม่ต้องรับราชทัณฑ์เลย' ฉะนี้, บุรุษนั้นจะต้องรับ ทัณฑ์หรือไม่ ?" ร. "ต้องรับซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ต้องรับเพราะเหตุอะไร ?" ร. "ถึงบุรุษนั้นจะให้การปฏิเสธมะม่วงที่เขาหาเสีย, ก็ต้องรับราชทัณฑ์ ด้วยมะม่วงที่ตนรับทีหลัง." ถ. "ข้อนั้นฉันใด; ใครทำกรรมดีหรือชั่วไว้ด้วยนามและรูปนี้, นามและ รูปอื่นก็ปฏิสนธิขึ้นด้วยกรรมนั้น, เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่พ้นจากบาปกรรม ก็ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. ก็อุปมาบุรุษลักข้าวสาลี ลักอ้อย เหมือนฉะนั้น, อีกอุปมาหนึ่งว่า บุรุษก่อไฟผิงในฤดูหนาวแล้วไม่ดับ หลีกไปเสีย, ไฟนั้นก็ไหม้ไร่ของบุรุษผู้อื่น, เจ้าของไร่จับบุรุษนั้นมาถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน (กราบทูลฟ้อง) ว่า 'บุรุษผู้นี้ เผาไร่ของข้าพระองค์' ฉะนี้, บุรุษนั้นกราบทูลว่า 'ข้าพระองค์ไม่ได้เผาไร่ของ บุรุษนี้, ไฟที่ข้าพระองค์ไม่ได้ดับนั้นแห่งหนึ่ง, ไฟที่เผาไร่ของบุรุษนั้นแห่งหนึ่ง, ข้าพระองค์ไม่ต้องรับราชทัณฑ์เลย' ฉะนี้, บุรุษนั้น จะต้องรับราชทัณฑ์ หรือไม่ ?" ร. "ต้องรับซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ต้องรับเพราะเหตุไร ?" ร. "ถึงบุรุษนั้นจะให้การปฏิเสธไฟที่เขาหาเสีย, ก็ต้องรับราชทัณฑ์ด้วย ไฟที่ตนรับทีหลัง." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; ผู้ใดทำกรรมดีหรือชั่วไว้ด้วยนามและรูปนี้, นามและรูปอื่นปฏิสนธิขึ้นด้วยกรรมนั้น, เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่พ้นจาก บาปกรรมได้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งถือไฟขึ้นสู่เรือนแล้วบริโภคอาหารอยู่ เมื่อไฟไหม้อยู่ก็ไหม้หญ้า, เมื่อหญ้าไหม้อยู่ ก็ไหม้เรือน, เมื่อเรือนไหม้อยู่ ก็ ไหม้บ้าน, ชนชาวบ้านจับบุรุษนั้นได้แล้วถามว่า 'เหตุไฉนเจ้าจึงทำให้ไฟไหม้ บ้าน,' บุรุษนั้นบอกว่า 'ข้าพเจ้าไม่ได้ทำไฟให้ไหม้บ้าน, ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ด้วยแสงสว่างไฟดวงหนึ่ง, ไฟที่ไหม้บ้านนั้นดวงหนึ่ง' ฉะนี้; เมื่อชนเหล่านั้น วิวาทกันอยู่ มาในราชสำนักของพระองค์ ๆ จะทรงวินิจฉัยอรรถคดีข้อนั้นให้ ใคร (ชนะ)." ร. "วินิจฉัยให้ชนชาวบ้าน (ชนะ) นะซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงวินิจฉัยอย่างนี้ ?" ร. "ถึงบุรุษนั้นจะพูดอย่างนั้น, ก็แต่ว่า ไฟนั้นเกิดขึ้นแต่ไฟนั้นนั่นเอง." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด ถึงนามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะแผนก หนึ่ง นามและรูปที่ปฏิสนธิแผนกหนึ่ง, ก็แต่ว่า นามรูปในปฏิสนธินั้น เกิดขึ้น แต่นามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะนั่นเอง เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่พ้น บาปกรรมได้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งขอนางทาริกาที่ยังเด็กอยู่แล้ว หมั้นไว้ แล้วหลีกไปเสีย, ภายหลังนางทาริกานั้นโตเป็นสาวขึ้น, แต่นั้นบุรุษอื่นก็มา หมั้นแล้วกระทำววาหมงคลเสีย, บุรุษคนที่ขอไว้เดิมนั้นมา แล้วพูดว่า 'ก็เหตุ ไฉนท่านจึงนำเอาภริยาของเราไป,' บุรุษนั้นจึงพูดว่า 'เราไม่ได้นำเอาภริยา ของท่านมา, นางทาริกาที่ยังเด็กเล็กอยู่ยังไม่เป็นสาว และซึ่งท่านได้ขอไว้และ ได้หมั้นไว้นั้นคนหนึ่ง, นางทาริกาที่โตเป็นสาวขึ้น ข้าพเจ้าได้ขอได้และได้หมั้น ไว้นั้นคนหนึ่ง' ฉะนี้, เมื่อชนเหล่านี้นวิวาทกันอยู่ มาในพระราชสำนักของพระ องค์ ๆ จะทรงวินิจฉัยอรรถคดีข้อนั้นให้ใคร (ชนะ)." ร. "วินิจฉัยให้บุรุษเดิม (ชนะ) นะซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงวินิจฉัยอย่างนั้น ?" ร. "ถึงบุรุษนั้นจะพูดอย่างนั้น, ก็แต่ว่า นางทาริกานั้นก็โตเป็นสาวขึ้น แต่นางทาริกานั้นนั่นเอง." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด ถึงนามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะแผนก หนึ่ง นามและรูปในปฏิสนธิแผนกหนึ่ง, ก็แต่ว่า นามและรูปในปฏิสนธินั้น เกิดแต่นามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะนั่นเอง, เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่ พ้นจากบาปกรรมได้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งซื้อน้ำนมสดแต่มือนายโคบาลแล้ว ฝากไว้ในมือนายโคบาลแล้วหลีกไปเสีย ด้วยคิดว่า 'ในวันรุ่งขึ้นเราจักไปเอา' ฉะนี้, ในเวลาอื่น นมสดนั้นก็แปรเป็นนมส้มไปเสีย บุรุษนั้นมาแล้วกล่าวว่า 'ท่านจงให้นมสดนั้นแก่เรา' ฉะนี้ นายโคบาลนั้นก็ให้นมส้ม, บุรุษนั้นกล่าวว่า 'เราไม่ได้ซื้อนมส้มแต่มือท่าน ๆ จงให้นมสดนั้นแก่เรา,' นายโคบาลบอกว่า 'ท่านไม่รู้จัก นมสดนั้นแหละกลายเป็นนมส้ม' ฉะนี้; เมื่อชนเหล่านั้นวิวาทกัน อยู่ มาในราชสำนักของพระองค์ ๆ จะทรงวินิจฉัยอรรถคดีข้อนั้นให้ใคร (ชนะ) ?" ร. "วินิจฉัยให้นายโคบาล (ชนะ) นะซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงวินิจฉัยอย่างนั้น ?" ร. "ถึงบุรุษนั้นจะพูดอย่างนั้น, ก็แต่ว่า นมส้มนั้นเกิดแต่นมสมดนั้นนั่น เอง." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; ถึงนามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะ แผนกหนึ่ง นามรูปในปฏิสนธิแผนกหนึ่ง, ก็แต่ว่า นามรูปในปฏิสนธินั้นเกิดแต่ นามและรูปที่มีในสมัยใกล้ต่อมรณะนั้นเอง, เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่พ้นจาก บาปกรรมได้ ก็มีอุปไมยฉันนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๗. ปุนปฏิสนธิคหณปัญหา ๒๒
พระราชาตรัสถามว่า "ก็พระผู้เป็นเจ้าจักปฏิสนธิหรือไม่ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "อย่าเลย มหาราช ประโยชน์อะไรของพระองค์ ด้วยข้อที่ตรัสถามนั้น, อาตมภาพได้กล่าวไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ถ้าอาตม ภาพยังมีอุปาทานอยู่ ก็จักปฏิสนธิ, ถ้าว่าไม่มีอุมาทาน ก็จักไม่ปฏิสนธิ" ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งทำความชอบไว้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ๆ ก็ทรงยินดี พระราชทานบำเหน็จแก่บุรุษนั้น ๆ บำเรอตนให้เอิบอิ่มบริบูรณ์ ด้วยกามคุณทั้งห้า เพราะบำเหน็จที่ได้รับพระราชทานนั้น, ถ้าว่าบุรุษนั้นบอก แก่ชนว่า 'พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงตอบแทนแก่เราสักนิดเดียว' ฉะนี้, บุรุษนั้น จะชื่อว่าทำถูกหรือไม่ ?" ร. "ไม่ถูกเลย พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; ประโยชน์อะไร ของพระองค์ด้วยข้อที่ตรัส ถามนั้น, อาตมภาพได้กล่าวไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ถ้าว่าอาตมภาพยังมี อุปาทานอยู่ ก็จักปฏิสนธิ, ถ้าว่าไม่มีอุปาทาน ก็จักไม่ปฏิสนธิ ก็มีอุปไมยฉัน นั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๘. นามรูปปัญหา ๒๓
พระราชาตรัสถามว่า "ข้อที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'นามและรูป' ดังนี้ นั้น, อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ?" พระเถรเจ้าทูลตอบวง่า "สิ่งใดหยาบ สิ่งนั้นเป็นรูป, ธรรมทั้งหลาย คือ จิตและอารมณ์ที่เกิดกับจิตอันใดซึ่งเป็นของละเอียด สิ่งนั้นเป็นนาม." ร. "เพราะเหตุไร นามอย่างเดียวก็ไม่ปฏิสนธิ หรือรูปอย่างเดียว ก็ไม่ ปฏิสนธิ." ถ. "เพราะธรรมเหล่านั้น อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นด้วยกัน." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า ถ้ากลละของแม่ไก่ไม่มี ฟองของแม่ไก่ ก็ไม่มี, สิ่ง ใดเป็นกลละ สิ่งใดเป็นฟอง แม้สิ่งทั้งสองนั้นอาศัยกันและกัน เกิดขึ้นด้วยกัน ข้อนั้นฉันใด, ถ้าว่า ในนามและรูปนั้น นามไม่มี แม้รูปก็ไม่มี ฉันนั้น, สิ่งใดเป็น นาม สิ่งใดเป็นรูป สิ่งทั้งสองนั้น อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นด้วยกัน ข้อนี้ได้เป็น มาแล้ว สิ้นกาลยืดยาว." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๙. ทีฆมัทธาปัญหา ๒๔
พระราชาตรัสถามว่า "ข้อที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'กาลไกลอันยืดยาว' ฉะนี้นั้น, อะไรชื่อว่ากาลไกลนั้น ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "กาลไกลที่เป็นอดีตอย่างหนึ่ง, กาลไกลที่เป็น อนาคตอย่างหนึ่ง, กาลไกลที่เป็นปัจจุบันอย่างหนึ่ง." ร. "กาลไกลทั้งหมดนั้น มีหรือพระผุ้เป็นเจ้า." ถ. "บางอย่างมี บางอย่างไม่มี." ถ. "สังขารทั้งหลายใด ที่เป็นอดีตล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรไปแล้ว กาลไกลนั้นไม่มี, ธรรมทั้งหลายใด ที่เป็นวิบาก และธรรมที่มีวิบากเป็น ธรรมดา และธรรมที่ให้ปฏิสนธิในที่อื่น กาลไกลนั้นมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายใด ทำ กาลกิริยาแล้ว เกิดในที่อื่น กาลไกลนั้นมีอยู่, ส่วนสัตว์ทั้งหลายใด ปรินิพพาน แล้ว กาลไกลนั้นไม่มี เพราะว่ากาลไกลนั้น ดับเสียแล้ว." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
วรรคที่สาม ๑. อัทธานปัญหา ๒๕
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ก็อะไรเป็นมูลของกาลไกลที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบันเล่า ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช อวิชชาเป็นมูลของกาลไกลที่เป็น อดีตอนาคตปัจจุบัน, (คือ) สังขารย่อมมีมา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย, วิญญาณย่อมมีมา เพราะสังขารเป็นปัจจัย, นามรูปย่อมมีมา เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย, สฬายตนะย่อมมีมา เพราะนามรูปเป็นปัจจัย, ผัสสะเป็นปัจจัย, ตัณหาย่อมมีมา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย, อุปาทานย่อมมีมา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย, ภพย่อมเป็นปัจจัย, ชราและมรณโสกปริเทวทุกขโสมนัสอุปายาส ย่อมมีมา เพราะชาติเป็นปัจจัย; เงื่อนต้นแห่งกาลไกลนั้นย่อมไม่ปรากฏดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๒. ปุริมโกฏิปัญหา ๒๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ก็ข้อที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'เงื่อนต้นไม่ปรากฏนั้น,' ขอพระผู้เ)นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง" พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่ง จะ เพาะพืชลงในแผ่นดินสักนิดหน่อย, หน่อก็จะแตกขึ้นจากพืชนั้นแล้ว ถึงความ เจริญงอกงามไพบูลย์โดยลำดับแล้วจะเผล็ดผล, และบุรุษคนนั้น จะถือเอาพืช แม้แต่ผลไม้นั้นไปปลูกอีก, หน่อก็จะแตกขึ้น แม้จากพืชนั้นแล้ว ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์โดยลำดับแล้วจะเผล็ดผล, เมื่อเป็นดังนั้น ที่สุดของความสืบ ต่ออันนี้มีหรือไม่ ?" ร. "ไม่มีซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, เงื่อนต้นของกาลไกล ก็ไม่ปรากฏฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า ฟองไก่มาจากแม่ไก่ แม่ไก่ก็มาจากฟองไก่ ฟองไก่ ก็มาจากแม่ไก่นั้นอีก, เมื่อเป็นดังนี้ ที่สุดของความสืบต่ออันนี้มีหรือไม่ ?" ร. "ไม่มีซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, เงื่อนต้นของกาลไกล ก็ไม่ปรากฏฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." พระเถรเจ้า เขียนรูปจักรลงที่พื้นแล้ว ทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า "ขอ ถวายพระพร ที่สุดของจักรนี้มีหรือไม่ ?" ร. "ไม่มีซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, จักรทั้งหลาย (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสแล้วเหล่านี้ ก็เหมือนฉันนั้น, (คือ) อาศัยตากับรูป เกิดจักขุ วิญญาณขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิดโสตวิญญาณขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณขึ้น, อาศัยลิ้นกับรสเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น, อาศัยกายกับ โผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาขึ้น, อาศัยใจกับธรรม เกิดมโนวิญญาณขึ้น, ความ ประชุมแห่งธรรมทั้งหลายสามประการ ๆ ชื่อผัสสะ, ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา, เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา, ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน, อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดกรรมล ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ย่อมเกิดขึ้นแต่กรรม นั้นอีก, ก็เมื่อเป็นดังนี้ ที่สุดของความสืบต่ออันนี้ มีหรือไม่ ?" ร. "ไม่มีซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ขอถวายพระพร ข้อนั้นฉันใด, เงื่อนต้นของกาลไกลก็ไม่ปรากฏฉัน นั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๓. โกฏิยาปุริมปัญหา ๒๗
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ก็ข้อที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'เงื่อนต้นไม่ปรากฏนั้น,' เงื่อนต้นนั้นอะไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "เงื่อนต้นนั้น คือ กาลไกลที่เป็นอดีต." ร. "ก็ข้อที่พระผู้เป็นเจ้าว่า 'เงื่อนต้นไม่ปรากฏนั้น,' ไม่ปรากฏทั้งหมด หรือ ?" ถ. "บางอย่างปรากฏ, บางอย่างไม่ปรากฏ." ร. "อย่างไหนปรากฏ อย่างไหนไม่ปรากฏ ?" ถ. "ขอถวายพระพร ในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่ได้มีแล้วด้วยประการ ทั้งปวง, เงื่อนต้นนั้นแหละไม่ปรากฏ; สิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมมีขึ้น ที่มีแล้วย่อม กลับไปปราศ, เงื่อนต้นนั้นแหละปรากฏ." ร. "ก็สิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมมีขึ้น, ที่มีแล้วกลับไปปราศ, สิ่งนั้นขาดทั้งสอง ข้างแล้ว ย่อมถึงความล่วงลับไปไม่ใช่หรือ พระผู้เป็นเจ้า ?" ถ. "ขอถวายพระพร ได้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "ได้ทำต้นไม้ให้เป็นอุปมาในข้อนั้นว่า 'ก็แต่ว่าขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า พืชแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๔. สังขารชายนปัญหา ๒๘
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เจ้า สังขารทั้งหลายบางอย่างที่เกิดอยู่ มี หรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร มี." ร. "สังขารทั้งหลายเหล่าไหน พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เมื่อตาและรูปมี จักขุวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อจักขุวิญญาณมีจักขุ สัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อหูและเสียงมี โสตวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อโสตวิญญามี โสต สัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อจมูกและกลิ่นมี ฆานวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อฆานวิญญาณมี ฆานสัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อลิ้นและรสมี ชิวหาวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อชิวหาวิญญาณ มี ชิวหาสัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อกายและโผฏฐัพพะมี กายวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อกาย วิญญาณมี กายสัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อใจและธรรมมี มโนวิญญาณก็มีขึ้น, เมื่อ มโนวิญญาณมี มโนสัมผัสก็มีขึ้น, เมื่อสัมผัสทั้งหกนี้มีอยู่แล้ว เวทนาก็มีขึ้น, เมื่อเวทนามี ตัณหาก็มีขึ้น, เมื่อตัณหามี อุปาทานก็มีขึ้น, เมื่ออุปาทานมี ภพก็ มีขึ้น, เมื่อภพมี ชาติก็มีขึ้น, เมื่อชาติมี ชรา มรณะ โสก ปริเทวทุกข โทมนัส อุ ปายาส ก็มีขึ้นพร้อม, ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีอย่าง นี้, ก็เมื่อตาและรูปไม่มี จักขุวิญญาณก็มิได้มี, เมื่อจักขุวิญญาณไม่มี จักขุ สัมผัสก็มิได้มี, เมื่อจักขุสัมผัสไม่มี เวทนาก็มิได้มี, เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็มิ ได้มี, เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็มิได้มี, เมื่ออุปทานไม่มี ภพก็มิได้มี, เมื่อภพ ไม่มี ชาติก็มิได้มี, เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ก็ดับไป, ความดับโดยไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีอย่างนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๕. ภวันตสังขารชายนปัญหา ๒๙
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่ เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้นมีบ้างหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร ไม่มี." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน, พระที่นั่งซึ่งเป็นที่ ประทับแห่งพระองค์หลังนี้ ไม่เคยเกิด เกิดแล้วหรือ ?" ร. "อะไร ๆ ในที่นี้ ซึ่งไม่เคยเกิด เกิดแล้วไม่มี, ของในที่นี้ล้วนแต่เคย เกิด เกิดแล้วทั้งสิ้น, ไม้ทั้งหลายนี้ได้เกิดแล้วในป่า, ดินนี้ได้เกิดแล้วที่แผ่นดิน, เรือนหลังนี้ได้เกิดแล้วอย่างนี้ เพราะอาศัยความเพียรที่พอจะให้เป็นได้ของ หญิงและบุรุษ." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้นไม่ มี, ที่เคยเกิดจึงเกิดขึ้นได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น" ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า พืชคามและภูตคามทั้งหลายบางอย่างที่ปลูกไว้ใน แผ่นดินแล้ว ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์โดยลำดับ ก็เผล็ดดอกออกผล ใช่ ว่าต้นไม้ทั้งหลายเหล่านั้นไม่เคยเกิด เกิดแล้ว, ต้นไม้ทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่ เคยเกิด เกิดแล้วทั้งสิ้น. ข้อนี้ฉันใด; สังขารทั้งหลายบางอย่าง ที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่มี, ที่เคยเกิดจึงเกิดขึ้นได้ ก็เหมือนฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า ช่างหม้อทั้งหลาย ขุดดินขึ้นจากแผ่นดินแล้ว ทำ ภาชนะทั้งหลายต่าง ๆ, มิใช่ว่าภาชนะทั้งหลายนั้น ไม่เคยเกิดแล้ว, ภาชนะทั้ง หลายนั้น เคยเกิดจึงเกิดแล้ว ข้อนั้นฉันใด; สังขารทั้งหลาย บางอย่างที่ไม่เคย เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่มี, ที่เคยเกิดจึงเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า "ตัวของพิณไม่มี, หนังไม่มี, ราง ไม่มี, คันไม่มี, ลูกบิดไม่มี, สายไม่มี, เครื่องดีดไม่มี, ความเพียรที่พอจะให้เกิด เสียงได้ของบุรุษไม่มี, เสียงจะเกิดขึ้นได้หรือ ?" ร. "ไม่ได้ซิ." ถ. "ก็เมื่อใด ตัวของพิณมี, หนังมี, รางมี, คันมี, ลูกบิดมี, สายมี, เครื่องดีดมี, ความเพียรที่พอจะให้เกิดเสียงได้ของบุรุษมีอยู่เสียงจะเกิดขึ้น ได้หรือไม่ ?" ร. "ได้ซิ." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่มี, ที่เคยเกิด จึงเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นอีก" ถ. "เหมือนอย่างว่า ไม้สีไฟไม่มี, ลูกไม้สีไฟสำหรับรองข้างล่างไม่มี, เชือกสำหรับผูกไม้สีไฟไม่มี. ไม้สำหรับสีข้างบนไม่มี, ปุยไม่มี ความเพียรที่พอ จะให้เกิดไฟได้ของบุรุษไม่มี, ไฟนั้นจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ?" ร. "ไม่ได้ซิ." ถ. ก็เมื่อใดไม้สีไฟมี, ลูกไม้สีไฟสำหรับรองข้างล่างมี, เชือกสำหรับผูก ไม้สีไฟมี, ไม้สำหรับสีข้างบนมี, ปุยมี, ความเพียรที่พอจะให้เกิดไฟได้ของบุรุษ มี, ไฟนั้นจะเกิดได้หรือไม่ ?" ร. "ได้ซิ." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่มี, ที่เคยเกิด จึงเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นอีก" ถ. "เหมือนอย่างว่า แก้วมณีไม่มี, แสงพระอาทิตย์ไม่มี, โคมัยไม่มี, ไฟ นั้นจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ?" ร. "ไม่ได้ซิ." ถ. "ก็เมื่อใดแล้วมณีมี, แสงพระอาทิตย์มี, โคมัยมี, ไฟนั้นจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ ?" ร. "ได้ซิ." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่มี, ที่เคยเกิด จึงเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังให้ยิ่งขึ้นอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า แว่นไม่มี, แสงสว่างไม่มี, หน้าไม่มี, ตัวจะเกิดขึ้น ได้หรือไม่ ?" ร. "ไม่ได้ซิ" ถ. "ก็เมื่อใด แว่นมี, แสงสว่างมี, หน้ามี, ตัวจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ?" ร. "ได้ซิ." ถ. ข้อนั้นฉันใด, สังขารทั้งหลายบางอย่างที่ไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ มี, ที่เคยเกิด จึงเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๖. เวทคูปัญหา ๓๐
พระราชาตรัสถามว่า "เจตภูต (เวทคู) มีอยู่หรือพระผู้เป็นเจ้า ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช อะไรชื่อว่า เจตภูต (เวทคู)." ร. "สภาวะที่เป็นอยู่ในภายใน ย่อมเห็นรูปได้ด้วยนัยน์ตา, ฟังเสียงได้ ด้วยหู, สูบดมกลิ่นได้ด้วยจมูก, ลิ้มรสได้ด้วยลิ้น, ถูกต้องอารมณ์ที่จะพึงถูก ต้องได้ด้วยกาย, รู้ธรรมที่ควรรู้ได้ด้วยใจ, เหมือนกะเราทั้งหลายนั่งอยู่ที่ ปราสาทนี้แล้ว ปรารถนาจะดูโดยหน้าต่างใด ๆ จะพึงเห็นได้โดยหน้าต่าง นั้น ๆ, ปรารถนาจะดูโดยหน้าต่างข้างทิศบูรพาก็จะเห็นได้โดยหน้าต่างข้าง ทิศบูรพา, ปรารถนาจะดูโดยหน้าต่างข้างทิศปัศจิม ก็จะแลเห็นได้โดยหน้า ต่างข้างทิศปศจิม, ปรารถนาจะดูโดยหน้าต่างข้างทิศอุดร ก็จะแลเห็นได้โดย หน้าต่างข้างทิศอุดร, ปรารถนาจะดูโดยหน้าต่างข้างทิศทักษิณ ก็จะแลเห็นได้ โดยหน้าต่างข้างทิศทักษิณ, ข้อนี้ฉันใด; สภาวะที่เป็นอยู่ในภายในนั้น ปรารถนาจะเห็นโดยทวารใด ๆ ย่อมเห็นได้โดยทวารนั้น ๆ." ถ. "ขอถวายพระพร อาตมภาพจะกล่าวถึงทวารห้า, ขอพระองค์ทรง สดับ ทำในพระทัยให้ชอบเถิด. ถ้าสภาวะที่เป็นอยู่ในภายในนั้นจะเห็นรูปได้ ด้วยนัยน์ตา, เหมือนอย่างว่า เราทั้งหลายนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ปรารถนาจะดู โดยพระแกลใด ๆ ก็ย่อมจะเห็นรูปได้โดยพระแกลนั้น ๆ, ปรารถนาจะดูโดย พระแกลข้างทิศบูรพา หรือทิศปัศจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็จะแลเห็นรูปได้โดย พระแกลข้างทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ, เมื่อเป็นเช่นนี้; สภาวะที่ เป็นอยู่ในภายในนั้นจะเห็นรูป ฟังเสียง สูบดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ ธรรมารมณ์ ด้วยตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, (ที่มิใช่วิสัยอีกห้าทวารนั้น) ก็ได้ ทั้งนั้นหรือมหาราช ?" ร. "ไม่ได้หมดทั้งนั้นซิ." ถ. "คำที่พระองค์ตรัสนั้น ข้างต้นกับข้างปลายมิได้สมกัน อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า เราทั้งหลายนั้งอยู่บนปราสาทนี้แล้ว, เมื่อพระบัญชรทั้งหลาย เหล่านี้เปิดแล้ว หันหน้าไปข้างนอก ย่อมเห็ฯรูปได้ดีกว่าทางอากาศอันใหญ่ ข้อนี้ฉันใด, สภาวะที่เป็นอยู่ในภายในนั้น, ครั้นเมื่อทวาร คือ ดวงตาเปิดแล้ว จะพึงเห็นรูปได้ดีกว่าทางอากาศอันใหญ่ ฉันนั้น, ครั้นเมื่อเปิดแล้ว จมูกเปิด แล้ว ลิ้นเปิดแล้ว กายเปิดแล้ว จะพึงฟังเสียงได้ จะพึงดมกลิ่นได้ จะพึงลิ้มรส ได้ จะพึงถูกต้องโผฏฐัพพะได้ ดีกว่าทางอากาศอันใหญ่หรือไม่ ?" ร. "ไม่ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ขอถวายพระพร คำที่พระองค์ตรัสนั้น ข้างต้นกับข้างปลายมิได้สม กัน. อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า ทินนอมาตย์นี้ออกไปยืนอยู่ที่ภายนอกซุ้ม พระทวารแล้ว, พระองค์จะทรงทราบหรือไม่ ?" ร. "ทราบซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า ทินนอมาตย์นี้เข้าไป ณ ภายใน แล้ว ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ๆ จะทรงทราบหรือไม่ ?" ร. "ทราบซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. ข้อนั้นฉันใด, สภาวะที่เป็นอยู่ในภายในนั้น จะพึงรู้รสที่วางไว้บน ลิ้นว่า 'เป็นรสเปรี้ยว, รสเค็ม, รสขม, รสเผ็ด, รสฝาด, รสหวาน' หรือไม่ ?" ร. "รู้ซิ พระผู้เป็น." ถ. "สภาวะที่เป็นอยู่ในภายในนั้น จะพึงรู้รสทั้งหลายที่เข้าไปในภายใน แล้วว่า 'เป็นรสเปรี้ยว, หรือรสเค็ม, รสขม, รสเผ็ด, รสฝาด, รสหวาน' หรือไม่ ?" ร. "รู้ไม่ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "คำที่พระองค์ตรัสนั้น ข้างต้นกับข้างปลายมิได้สมกัน. อีกอย่าง หนึ่ง เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่ง นำน้ำผึ้งมาสักร้อยหม้อแล้วเทลงในรางให้ เต็มแล้ว ปิดปากของบุรุษแล้ว จะจับลงวางไว้ในรางน้ำผึ้งนั้น, บุรุษนั้นจะรู้ได้ ไหมว่า 'น้ำผึ้งนั้นอร่อยหรือไม่อร่อย ?" ร. "รู้ไม่ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เพราะเหตุไร จึงรู้ไม่ได้ ?" ร. "เพราะน้ำผึ้งไม่ได้เข้าไปในปากของบุรุษนั้น" ถ. "คำที่พระองค์ตรัสนั้น ข้างต้นกับข้างปลายมได้สมกัน." ร. "ข้าพเจ้ามสามารถจะเจรจากับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ช่างพูดได้; ขอพระผู้ เป็นเจ้าขยายความเถิด." พระเถรเจ้าได้ถวายวิสัชนาให้พระเจ้ามิลินท์ทรงเข้าพระราชหฤทัย ด้วยพระอภิธรรมกถาว่า "ขอถวายพระพร อาศัยตากับรูป เกิดจักขุวิญญาณ ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิดโสตวิญญาณขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิดฆาน วิญญาณขึ้น, อาศัยลิ้นกับรส เกิดชิวหาวิญญาขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณขึ้น, อาศัยใจกับธรรม เกิดมโนวิญญาณขึ้น, ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการ เกิดพร้อมกับวิญญาณทั้ง หกนั้น, ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น เพราะปัจจัยอย่างนี้, แต่เจตภูต (เวทคู) ไม่ มีอยู่ในนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๗. จักขุวิญญาณ มโนวิญญาปัญหา ๓๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้อย่าง ใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในที่ใด; มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นในนั้นหรือ ? พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร." ร. "พระผู้เป็นเจ้า ก็วิญญาณทั้งห้านั้น อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน มโนวิญญาณเกิดขึ้นภายหลัง, หรือว่ามโนวิญญาณเกิดขึ้นก่อน, วิญญาณทั้ง ห้านั้นเกิดขึ้นภายหลังเล่า ?" ถ. "ขอถวายพระพร วิญญาณทั้งห้านั้นเกิดขึ้นก่อน มโนวิญญาณเกิด ขึ้นภายหลัง." ร. "ก็วิญญาณทั้งห้านั้น ได้สั่งมโนวิญญาณว่า 'เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่าน จงเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, หรือว่ามโนวิญญาณบอกวิญญาณทั้งห้าว่า 'ท่านจัก เกิดขึ้นในที่ใด เราจักเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้." ถ. "ขอถวายพระพร ไม่อย่างนั้น, ความเจรจาด้วยกันและกันแห่ง วิญญาณทั้งหลายเหล่านั้นมิได้มี." ร. "ก็อย่างไร วิญญาณทั้งห้านั้นเกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณจึงเกิด ขึ้นในที่นั่นเล่า พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "เพราะมโนวิญญาณเป็นดุจที่ลุ่ม เพราะเป็นทวาร เพราะเป็นที่เคย และเพราะเป็นที่ชำนาญ" ร. "วิญญาณทั้งห้าเกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่นั้น, เพราะ มโนวิญญาณเป็นดุจที่ลุ่มนั้นอย่างไร, ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้า ฟัง." ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นป็นไฉน: เหมือนอย่างว่า เมื่อฝนตกอยู่ น้ำจะพึงไหลไปโดยที่ไหนเล่า ?" ร. "ที่ลุ่มอยู่ทางไหน น้ำก็จะไหลไปโดยทางนั้นแหละ พระผู้เป็นเจ้า." ถ. "ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ฝนตกในสมัยอื่นอีก, น้ำจะพึงไหลไปทางไหน อีกเล่า ?" ร. "น้ำคราวก่อนไหลไปทางใด, น้ำคราวหลังก็ไหลไปทางนั้น." ถ. "ขอถวายพระพร น้ำคราวก่อนได้สั่งน้ำคราวหลังหรือว่า 'ถ้าเราไหล ไปทางใด, ท่านจงไหลไปทางนั้น' ดังนี้, หรือว่าน้ำคราวหลังบอกน้ำคราวหน้า ก่อนว่า 'ท่านจักไหลไปทางใด, เราจักไหลไปทางนั้น' ดังนี้." ร. "หามิได้ ความเจรจาด้วยกันและกัน ของน้ำทั้งสองคราวนั้นมิได้มี, น้ำทั้งสองคราวนั้นไหลไป ก็เพราะที่นั้นลุ่ม." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในที่ใด มโน วิญญาณก็เกิดขึ้นในที่นั้น เพราะเป็นดุจที่ลุ่ม, วิญญาณทั้งห้านั้น มิได้สั่งมโน วิญญาณว่า 'เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่านจงเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, มโนวิญญาณก็ มิได้บอกวิญญาณทั้งห้าว่า 'ท่านเกิดขึ้นในที่ใด เราจักเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้. ความเจรจาด้วยกันและกันของวิญญาณทั้งหลายนั้นมิได้มี, มโนวิญญาณ เกิดขึ้น ก็เพราะมโนวิญญาณเป็นดุจที่ลุ่ม ข้อนี้ก็เหมือนฉะนั้น." ร. "วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป์นทวารนั้นอย่างไร ? ขอพระพระผู้ เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า เมืองซึ่งตั้งอยู่ในที่สุดแดนของพระราชา มีกำแพง และเสาระเนียดแข็งแรงหนา มีประตู ๆ เดียว, บุรุษปรารถนาจะออกไปจาก เมืองนั้น บุรุษนั้นจะพึงออกไปทางไหน." ร. "ออกไปทางประตูนะซิ." ถ. "ขอถวายพระพร บุรุษคนอื่นอีก ปรารถนาจะออกไปจากเมืองนั้น จะพึงออกไปทางไหน ?" ร. "บุรุษคนก่อนออกไปทางใด บุรุษคนทีหลังก็ออกไปทางนั้นแหละ." ถ. บุรุษคนก่อนได้สั่งคนทีหลังว่า 'เราออกไปทางใด ท่านจงออกไป ทางนั้น' ดังนี้, หรือว่าบุรุษคนทีหลังบอกบุรุษคนก่อนว่า 'ท่านจักไปทางใด เรา จักไปทางนั้น' ดังนี้เล่า ?" ร. "หามิได้, ความเจรจาด้วยกันและกัน ของบุรุษทั้งสองนั้นมิได้มี." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป็นทวาร, วิญญาทั้งห้า นั้นมิได้สั่งมโนวิญญาณว่า 'เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่านจงเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, และมโนวิญญาณก็มิได้บอกวิญญาณทั้งห้าว่า 'ท่านจักเกิดขึ้นในที่ใด เราจัก เกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้. ความเจรจาด้วยกันและกัน ของวิญญาณทั้งหลายเหล่า นั้นมิได้มี, วิญญาณทั้งห้านั้น เกิดเพราะมโนวิญญาณเป็นทวาร ข้อนี้ก็เหมือน ฉะนั้น." ร. "วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป็นที่เคยนั้นอย่างไร ? ขอพระผู้เป็น เจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เกวียนเล่มหนึ่งไปก่อน, ในภายหลังเกวียนเล่มที่สองจะพึงไปทางไหน ?" ร. "เกวียนเล่มก่อนไปทางใด เกวียนเล่มทีหลังก็ไปทางนั้นนะซิ" ถ."ขอถวายพระพร เกวียนเล่มก่อนได้สั่งเกวียนเล่มทีหลังว่า 'เราไป ทางใด ท่านจงไปทางนั้น' ดังนี้, หรือว่าเกวียนเล่มทีหลังบอกเวียนเล่มก่อนว่า 'ท่านจักไปทางใด เราจักไปทางนั้น' ดังนี้" ร. "หามิได้, ความเจรจาด้วยกันและกัน ของเกวียนทั้งหลายนั้นมิได้มี, เกวียนเล่มก่อนไปทางใด เกวียนเล่มทีหลังก็ไปทางนั้น เพราะเป็นของเคย." ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในที่ใด มโน วิญญาณย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป็นที่เคย, วิญญาณทั้งห้า นั้นมิได้สั่งมโนวิญญาณว่า 'เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่านจงเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, และมโนวิญญาณก็มิได้บอกวิญญาณทั้งห้าว่า 'ท่านจักเกิดขึ้นในที่ใด เราจัก เกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, ความเจรจาด้วยกันและกัน ของวิญญาณทั้งหลายเหล่า นั้นมิได้, วิญญาณทั้งห้าเกิดขึ้นเพราะมโนวิญญาณเป็นที่เคย ข้อนี้ก็เหมือน ฉะนั้น. ร. "วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป็นที่ชำนาญนั้นอย่างไร ? ขอพระผู้ เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "คนแรกเรียนศิลป คือ วิธีนับ อันต่างโดยชื่อว่า มุทธา คณนา สังขา เลขา ย่อมมีความเงื่องช้า, ภายหลังในสมัยอื่น เพราะได้ตริตรองทำชำนาญ ย่อมไม่มีความเชื่องช้า เหมือนอย่างก่อนฉันใด; วิญญาณทั้งห้าอย่างใดอย่าง หนึ่งเกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เพราะมโนวิญญาณเป็น ที่ชำนาญ, วิญญาณทั้งห้านั้นมิได้สั่งมโนวิญญาณว่า 'เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่าน จงเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, และมโนวิญญาณก็มิได้บอกวิญญาณทั้งห้าว่า 'ท่าน จักเกิดขึ้นในที่ใด เราจักเกิดขึ้นในที่นั้น' ดังนี้, ความเจรจาด้วยกันและกันของ วิญญาณทั้งหลายนั้นมิได้มี, วิญญาณทั้งห้านั้นเกิดขึ้นเพราะมโนวิญญาณ เป็นที่ชำนาญ ข้อนี้ก็เหมือนฉะนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๘. ผัสสลักขณปัญหา ๓๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด, เวทนาก็เกิดขึ้นในที่นั้นหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด แม้ผัสสะ แม้เวทนา แม้สัญญา แม้เจตนา แม้วิจารก็ย่อมเกิดในที่นั้น; ธรรมทั้ง หลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้นแม้ทั้งหมด." ร. "พระผู้เป็นเจ้า ผัสสะมีลักษณะอย่างไร ?" ถ. "ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า แกะสองตัวจะชนกัน, พึงเห็นจักษุว่าเหมือนแกะ ตัวหนึ่งในแกะทั้งสองนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนแกะตัวที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือนความถูกกันแห่งแกะทั้งสองนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าของอุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่าฝ่ามือทั้งสองจะปรบกัน พึงเห็นจักษุว่าเหมือนฝ่า มือข้างนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนฝ่ามือข้างที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือน ความถูกกันแห่งฝ่ามือทั้งสองข้างนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก. ถ. "เหมือนอย่างว่า คนถือไม้กรับสองอันจะตีกัน, พึงเห็นจักษุว่า เหมือนไม้กรับอันหนึ่ง ในไม้กรับทั้งสองอันนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนไม้กรับอัน ที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือนความถูกกันแห่งไม้กรับทั้งสองอันนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๘. ผัสสลักขณปัญหา ๓๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด, เวทนาก็เกิดขึ้นในที่นั้นหรือ ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด แม้ผัสสะ แม้เวทนา แม้สัญญา แม้เจตนา แม้วิจารก็ย่อมเกิดในที่นั้น; ธรรมทั้ง หลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้นแม้ทั้งหมด." ร. "พระผู้เป็นเจ้า ผัสสะมีลักษณะอย่างไร ?" ถ. "ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า แกะสองตัวจะชนกัน, พึงเห็นจักษุว่าเหมือนแกะ ตัวหนึ่งในแกะทั้งสองนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนแกะตัวที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือนความถูกกันแห่งแกะทั้งสองนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าของอุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่าฝ่ามือทั้งสองจะปรบกัน พึงเห็นจักษุว่าเหมือนฝ่า มือข้างนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนฝ่ามือข้างที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือน ความถูกกันแห่งฝ่ามือทั้งสองข้างนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก. ถ. "เหมือนอย่างว่า คนถือไม้กรับสองอันจะตีกัน, พึงเห็นจักษุว่า เหมือนไม้กรับอันหนึ่ง ในไม้กรับทั้งสองอันนั้น, พึงเห็นรูปว่า เหมือนไม้กรับอัน ที่สอง, พึงเห็นผัสสะว่า เหมือนความถูกกันแห่งไม้กรับทั้งสองอันนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๙. เวทนาลักขณปัญหา ๓๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เวทนามีลักษณะอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช เวทนามีลักษณะรู้สึกและมีลักษณะ เสวย." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งทำความชอบไว้แด่พระเจ้าแผ่นดิน ๆ ก็ทรงยินดี พระราชทานบำเหน็จแก่บุรุษนั้น ๆ บำเรอตนให้อิ่มเอิบบริบูรณ์ ด้วยกามคุณทั้งห้า เพราะบำเหน็จที่ได้รับพระราชทานนั้น, บุรุษนั้นจึงมา คำนึงอยู่ว่า 'เราได้ทำความชอบไว้แด่พระเจ้าแผ่นดินในกาลก่อนแล้ว, พระ เจ้าแผ่นดินทรงยินดี พระราชทานบำเหน็จแก่เรา, เราจึงได้เสวยเวทนาอันนี้ มี การที่ได้ทำความชอบนั้นเป็นเหตุ' ก็อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหึ่งทำ กุศลไว้แล้ว ครั้นสิ้นชีพแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์, บุรุษนั้นก็บำเรอ ตนให้อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์อยู่ในที่นั้น, บุรุษนั้นจึงมา คำนึงว่า 'เราได้ทำกุศลกรรมไว้ในปางก่อนแหละ เราจึงได้เสวยเวทนาอันนี้ มี การที่ได้ทำกุศลกรรมอันนั้นเป็นเหตุ' ดังนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด; เวทนามี ลักษณะรู้สึก และมีลักษณะเสวย ก็เหมือนกันฉะนั้น." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
|