พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 22 มี.ค. 2018 5:14 am
๑๐. สัญญาลักขณปัญหา ๓๔
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สัญญามีลักษณะอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "สัญญามีลักษณะกำหนดรู้."
ร. "สัญญา กำหนดรู้อย่างไร ?"
ถ. "สัญญา กำหนดรู้สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีแสด; สัญญา
มีลักษณะกำหนดรู้อย่างนี้แหละ มหาราช."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า เจ้าพนักงานผู้จัดการพระคลังหลวง เข้าไปสู่พระ
คลังหลวงแล้ว เห็นเครื่องราชูปโภคทั้งหลาย ที่มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
และสีแสดแล้วก็กำหนดจำได้ ข้อนี้ฉันใด, สัญญามีลักษณะกำหนดจำเหมือน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๑. เจตนาลักขณปัญหา ๓๕
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เจตนามีลักษณะเป็นอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า "มหาราช เจตนามีลักษณะดำริและลักษณะ
แต่ง."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งแต่งยาพิษแล้วดื่มกินเองบ้าง ให้คน
อื่นดื่มกินบ้าง, บุรุษนั้นก็จะได้เสวยทุกข์ด้วยตนเอง, แม้ถึงคนอื่นก็จะได้เสวย
ทุกข์ ข้อนี้ฉันใด; บุคคลบางคนในโลกนี้ ดำริอกุศลกรรมด้วยเจตนาแล้ว ครั้น
สิ้นชีพแล้วก็จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก, แม้ผู้ใดสำเหนียกตามบุรุษ
นั้น ครั้นสิ้นชีพแล้ว ผู้นั้นก็จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้อนี้ก็เหมือน
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่งเหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งแต่งเนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้มีรสกลมเกลียวกันแล้ว ดื่มกินเองบ้าง ให้คนอื่นดื่มบ้าง,
บุรุษนั้นก็จะพึงได้ความสุขด้วยตนเอง แม้คนอื่นก็พึงได้ความสุขด้วย ข้อนี้ฉัน
ใด; บุคคลบางคนในโลกนี้ ดำริกุศลกรรมด้วยเจตนาแล้ว ครั้นสิ้นชีพแล้วก็จะ
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์, แม้ผู้ใดสำเหนียกตามบุคคลนั้น ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็
จะไปเกิดในสุคติในโลกสวรรค์ ข้อนี้ก็เหมือนฉะนั้น. เจตนามีลักษณะดำริและ
มีลักษณะแต่งอย่างนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๒. วิญญาณลักขณปัญหา ๓๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณมีลักษณะอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช วิญญาณมีลักษณะรู้แจ้ง."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า คนรักษาพระนครนั่งอยู่ที่ถนนสี่แยก ณ ท่ามกลาง
แห่งพระนครแล้ว จะพึงแลเห็นบุรุษที่มาอยู่แต่ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวัน
ตก ทิศเหนือได้ ฉันใด; บุคคลเห็นรูปใดด้วยนัยน์ตา ฟังเสียงด้วยหู สูบดม
กลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ควรถูกต้อง) ด้วยกาย รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ย่อมรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านั้นได้ชัดด้วย
วิญญาณ ข้อนี้ก็เหมือนฉะนั้น. วิญญาณมีลักษณะรู้แจ้งอย่างนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๓. วิตักกลักขณปัญหา ๓๗
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิตกมีลักษณะอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช วิตกมีลักษณะแนบกับจิต."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า นายช่างไม้เข้าปากไม้ ที่ทำบริกรรมดีแล้วให้สนิท
ข้อนี้ฉันใด, วิตกมีลักษณะแนบกับจิต เหมือนฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๔. วิจารลักขณปัญหา ๓๘
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิจารมีลักษณะอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช วิจารมีลักษณะตามเคล้า."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า กังสดาลอันบุคคลเคาะแล้ว ภายหลังยังครวญ
ครางอยู่; พึงเห็นวิตกว่า เหมือนความเคาะ, พึงเห็นวิจารว่าเหมือนความ
ครวญคราง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
วรรคสี่
๑. มนสิการลักขณปัญหา ๓๙
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มนสิการมีลักษณะอย่างไร ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "มหาราช นสิการมีลักษณะนึก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๒. เอกภาวคตปัญหา ๔๐
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป้นเจ้า ธรรมทั้งหลายที่ถึงความเป็นอัน
เดียวกันเหล่านี้ อาจแยกออกบัญญัติให้ต่างกันว่า 'นี่ผัสสะ นี่เวทนา นี่สัญญา
นี่เจตนา นี่วิญญาณ นี่วิตก นี่วิจาร' ดังนี้ ได้หรือไม่ ?"
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร การที่จะแยกออก
บัญญัติให้ต่างกันดังนั้นไม่ได้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า พนักงานผู้แต่งเครื่องเสวยของพระราชา เมื่อจะ
แต่งพยัญชนะสูปะวิกัติ ก็คงจะแทรกนมส้มบ้าง เกลือบ้าง ขิงบ้าง ผักชียี่หร่า
บ้าง พริกบ้าง เครื่องปรุงอื่น ๆ บ้าง ลงในพยัญชนะสูปะวิกัตินั้น; พระราชาจะ
รับสั่งให้ชาวเครื่องนั้นแยกเอารสแห่งของที่แทรกลงในพยัญชนะสูปะวิกัตินั้น
มาถวายเป็นอย่าง ๆ ทั้งหมด; ชาวเครื่องนั้นอาจแยกรสที่ปรุงเข้าเป็นอันเดียว
กันแล้วนั้น มาถวายเป็นอย่าง ๆ คือ รสเปรี้ยวบ้าง รสเค็มบ้าง รสขมบ้าง รส
เผ็ดบ้าง รสฝาดบ้าง รสหวานบ้าง ดังนี้ ได้หรือไม่ ?"
ร. "การที่จะแยกรสปรุงเข้าเป็นอันเดียวกันแล้ว ออกให้เป็นอย่าง ๆ ดัง
นั้นไม่ได้, ก็แต่รสเหล่านั้น ย่อมปรากฏชัดตามลักษณะของตัว ๆ เอง."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, การที่จะแยกธรรมทั้งหลายนั้นออกบัญญัติให้ต่าง
กันดังนั้นไม่ได้, ก็แต่ว่า ธรรมทั้งหลายนั้น ย่อมปรากฏชัดตามลักษณะของตัว
ๆ เองฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
พระเถรเจ้าทูลถามว่า "ขอถวายพระพร เกลือเป็นของรู้ได้ด้วยจักษุ
หรือ ?"
พระราชาตรัสตอบว่า "รู้ได้ด้วยจักษุซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "พระองค์ทรงพิจารณาจงดี."
ร. "รู้ได้ด้วยลิ้นหรือ."
ถ. "ขอถวายพระพร รู้ได้ด้วยลิ้น."
ร. "รู้ได้ด้วยลิ้นอย่างเดียวหรือ."
ถ. "ขอถวายพระพร."
ร. "ถ้าอย่างนั้น เรื่องอะไรโคจึงต้องขนมันมาด้วยเกวียนเล่า, นำมาแต่
เกลือก็แล้วกัน."
ถ. "ไม่อาจนำมาแต่เกลือ, เพราะสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ คือ เกลือกับ
น้ำหนัก เข้ากันเป็นอันเดียว ต่างกันแต่โดยความเป็นอารมณ์."
ถ. "ขอถวายพระพร คนอาจชั่งเกลือด้วยตาชั่งได้หรือไม่ ?"
ร. "ได้ซิ เพราะผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร ไม่ได้, ชั่งได้แต่น้ำหนักต่างหาก."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๓. ปัญจายตนกัมมนิพพัตตปัญหา ๔๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า อายตนะห้าอย่างเกิดแต่กรรม
ต่างกัน หรือเกิดแต่กรรมอันเดียวกัน."
พระเถรเจ้าถวายวิสัชนาว่า "ขอถวายพระพร เกิดแต่กรรมต่างกัน,
หากเกิดแต่กรรมเดียวกันไม่."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นข้อความนั้นเป็นไฉน: ถ้าใคร ๆ จะ
หว่านพืชห้าอย่างในไร่เดียวกัน, ผลของพืชที่ต่างกันนั้น ก็คงเป็นต่างกัน มิใช่
หรือ ?"
ร. "อย่างนั้น คงเป็นต่างกัน."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, อายตนะห้าอย่าง ก็เกิดแต่กรรมต่างกัน, หาเกิดแต่
กรรมเดียวกันไม่ ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๔. กัมมนานากรณปัญหา ๔๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า เหตุไฉนมนุษย์ทั้งหลายจึงไม่
เหมือนกันหมด, บางพวกมีอายุน้อย บางพวกมีอายุยืน, บางพวกมีโรคมาก
บางพวกมีโรคน้อย, บางพวกมีสีทราม บางพวกมีสีดี, บางพวกมีอำนาจน้อย
บางพวกมีอำนาจมาก, บางพวกมีสมบัติน้อย บางพวกมีสมบัติมาก, บางพวก
มีตระกูลต่ำ บางพวกมีตระกูลสูง, บางพวกมีปัญญาทราม บางพวกมีปัญญา
ดี."
พระเถรเจ้าทูลถามว่า "ขอถวายพระพร เหตุไฉนต้นไม้ทั้งหลายจึงไม่
เหมือนกันหมด, บางต้นมีผลเปรี้ยว บางต้นมีผลกร่อย (อญเญลวณา) บาง
ต้นมีผลขม บางต้นมีผลเผ็ด บางต้นมีผลฝาด บางต้นมีผลหวาน."
ร. "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นเพราะพืชต่างกัน."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, มนุษย์ทั้งหลายไม่เหมือนกันหมด บางพวกมีอายุ
น้อย บางพวกมีอายุยืน, บางพวกมีโรคมาก บางพวกมีโรคน้อย, บางพวกมีสี
ทราม บางพวกมีสีดี, บางพวกมีอำนาจน้อย บางพวกมีสมบัติมาก, บางพวก
มีตระกูลต่ำ บางพวกมีตระกูลสูง, บางพวกมีปัญญาทราม บางพวกมีปัญญา
ดี ดังนี้ ก็เพราะกรรมต่างกัน ฉันนั้น. ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัส (แก่สุภา
มาณพ) ว่า "มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มี
กรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, กรรมย่อม
จำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เป็นผู้เลวทราม้าง ดีบ้าง ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๕. ปฏิกัจเจววายามกรณปัญหา ๔๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า 'บรรพชาของอาตมภาพ
มีประโยชน์ที่จะได้รู้ว่า ทำอย่างไรทุกข์นี้จะดับไป และทุกข์อื่นจะไม่เกิดขึ้น'
ดังนี้. ต้องการอะไรด้วยความพยายามไว้ก่อน, เมื่อถึงกาลเข้า จึงค่อย
พยายามไม่ได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร เมื่อถึงกาลเข้า ความ
พยายามไม่ทำธุระให้สำเร็จได้, ความพยายามไว้ก่อน ย่อมทำธุระให้สำเร็จ
ได้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "พระองค์จะทรงดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: พระองค์ทรงระหาย
อยากจะเสวยน้ำในเวลาใด, พระองค์จึงตรัสสั่งให้ขุดบ่อน้ำ ขุดสระ ด้วยพระ
ราชประสงค์จะได้เสวยน้ำในเวลานั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "เมื่อถึงกาลเข้า ความพยายามไม่ทำธุระให้สำเร็จได้, ความ
พยายามไว้ก่อน ย่อมทำธุระให้สำเร็จได้ ก็เหมือนฉะนั้น."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: พระองค์ทรงหิว
อยากจะเสวยพระกระยาหารในเวลาใด, พระองค์จึงตรัสสั่งให้ไถนา ให้ปลูก
ข้าวสาลี ให้เก็บเมล็ดข้าวมา ด้วยพระราชประสงค์จะเสวยพระกระยาหารใน
เวลานั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "เมื่อถึงกาลเข้า ความพยามไม่ทำธุระให้สำเร็จได้ ก็เหมือนกัน."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: สงครามมีขึ้นแก่
พระองค์ในเวลาใด, พระองค์จึงตรัสสั่งให้ขุดคู ให้ก่อกำแพง ให้ปักเสา
ระเนียด ให้ถมดินทำเชิงเทิน ให้รวบรวมเสบียงอาหาร ในเวลานั้น, และพระ
องค์จะหัดทรงช้าง หัดทรงม้า หัดทรงรถ หัดทรงธนู หัดทรงพระแสง ในเวลา
นั้นหรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "เมื่อถึงกาลเข้า ความพยายามไม่ทำธุระให้สำเร็จได้, ความ
พยายามไว้ก่อน ย่อมทำธุระให้สำเร็จได้ ก็เหมือนฉะนั้น; ถึงพระผู้มีพระภาค
เจ้าก็ได้ตรัสว่า "บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่ตควรรีบขวนขวายด้วย
ปัญญาของตน. เหมือนอย่างว่า คนขับเกวียน ละทางใหญ่ที่ราบเสีย ขึ้นสู่ทาง
ที่ไม่ราบแล้ว มีเพลาหักแล้วจ๋อยอยู่ ฉันใด, คนโง่เล่า หลีกจากธรรม หันหา
สภาพที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ถึงปากแห่งมัจจุราชแล้วโศกเศร้าอยู่ เหมือนคนขับ
เกวียน มีเพลาหักแล้ว ฉันนั้น ดังนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๖. ปกติอัคคินิรยัคคีอุณหาการปัญหา ๔๔
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าพูดอยู่ว่า 'ไฟนรกร้อนมากกว่าไฟ
ปกติ, ศิลาน้อย ๆ ทิ้งลงไปในไฟปกติ แม้ชักสูบเผาอยู่วันยังค่ำ ก็ไม่แหลกย่อย
ไป, ศิลาใหญ่แม้ประมาณเท่าเรือนยอด ทิ้งลงไปในไฟนรกครู่เดียว ก็แหลก
ย่อยไป; ข้อนี้ข้าพเจ้ายังไม่เชื่อ. และพระผู้เป็นเจ้าพูดอยู่ว่า 'สัตว์ที่เกิดในนรก
นั้น แม้ไหม้อยู่หลายพันปี ก็ไม่แหลกย่อยไป;' ข้อนี้ข้าพเจ้าก็ไม่เชื่อ."
พระเถรเจ้าทูลถามว่า "ขอถวายพระพร พระองค์จะทรงพระดำริเห็น
ข้อนั้นเป็นอย่างไร: นางมังกรก็ดี นางจระเข้ก็ดี นางเต่าก็ดี นางนกยูงก็ดี นาง
นกพิราบก็ดี กลืนก้อนศิลาและกรวดอันแข็งกินเป็นอาหาร ไม่ใช่หรือ ?"
ร. "อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ก้อนศิลาและกรวดนั้น เข้าไปในภายในกะเพาะ ซึ่งอยู่ในท้องของ
สัตว์เหล่านั้น แหลกย่อยไปไม่ใช่หรือ ?"
ร. "อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ครรภ์ในท้องของสัตว์เหล่านั้นแหลกย่อยไปเหมือนกันหรือ ?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ขอถวายพระพร เพราะเหตุอะไร จึงไม่แหลกย่อยไป."
ร. "ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เพราะกรรมเป็นใหญ่."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในนรก ไหม้อยู่ในนรก แม้หลาย
พันปี ก็ไม่แหลกย่อยไป คือว่ายังเกิดนในนรกนั้นนั่นเอง เจริญอยู่ได้ในนรกนั้น
นั่นเอง ตายอยู่ในนรกนั้นนั่นเอง เพราะกรรมเป็นใหญ่เหมือนกันฉันนั้น. แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า "บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นเพียงใด สัตว์ผู้เกิดใน
นรกนั้นยังไม่ตายเพียงนั้น ดังนี้."
ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
พระเถรเจ้าชักเรื่องนางราชสีห์ นางเสือโคร่ง นางเสือเหลือง นางสุนัข
อันกินเนื้อซึ่งติดกระดูกอันแข็งเป็นอาหาร, และหญิงชาวโยนกซึ่งเป็นนาง
กษัตริย์ก็ดี เป็นนางพราหมณีก็ดี เป็นหญิงแม่เรือนก็ดี มีชาติละเอียดอ่อน
บริโภคขัชชะมังสาหารอันแข็งเป็นอาหาร, ของที่เป็นอาหารอันเข้าไปภายใน
กระเพาะ ซึ่งอยู่ในท้องสัตว์และหญิงเหล่านั้น ย่อมแหลกย่อยไป, ส่วนครรภ์ที่
ตั้งขึ้นในท้องของสัตว์และหญิงเหล่านั้น ย่อมไม่แหลกย่อยไป เพราะกรรมเป็น
ใหญ่, มาแสดงโดยข้ออุปมาอุปไมย ให้พระเจ้ามิลินท์ เข้าพระราชหฤทัย โดย
นัยหนหลัง.
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๗. ปฐวีสันธารกปัญหา ๔๕
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พูดอยู่ว่า 'แผ่นดินอันใหญ่นี้ตั้ง
อยู่บนน้ำ, น้ำตั้งอยู่บนลม, ลมตั้งอยู่บนอากาศ;' แม้ข้อนี้ ข้าพเจ้ายังไม่เชื่อ."
พระเถรเจ้าจับธรมกรกจุ่มน้ำยกขึ้น อธิบายให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระ
ราชหฤทัยว่า "น้ำนี้ลมอุ้มไว้ ฉันใด แม้น้ำนั้นลมก็อุ้มไว้ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๘. นิโรธนิพพานปัญหา ๔๖
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า นิพพาน คือ นิโรธหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร นิพพาน คือ นิโรธ."
ร. "นิพาน คือ นิโรธอย่างไร ?"
ถ. "บุถุชนคนเขลาทั้งหลายทั้งปวง ยินดีเพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ใน
อายตนะภายในภายนอก อันกระแสตัณฆาพัดให้ลอยไปอยู่, อาตมภาพจึง
กล่าวว่า 'ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสก ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปมายาส
ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้.' ส่วนอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อมไม่ยินดีเพลิดเพลิน
หมกหมุ่นอยู่ในอายตนะภายในภายนอก, เมื่อท่านไม่ยินดีเพิลดเพลินหมกมุ่น
เช่นนั้น ตัณหา คือ ความทะยานอยากย่อมดับไป, เพราะตัณหาดับไป
อุปาทาน คือ การถือมั่นก็ดับไป, เพราะอุปาทานดับ ภพ คือ กรรมก็ดับไป,
เพราะภพดับ ชาติ คือ ความเกิดก็ดับไป, เพราะชาติดับ ชรา คือ ความแก่
มรณะ คือ ความตาย โสก คือ ความแห้งใจ ปริเทวะ คือ ความร่ำไรรำพัน
ทุกข์ คือ ความเจ็บกาย โทมนัส คือ ความเสียใจ อุปายาส คือ ความคับใจก็
ย่อมดับไป, ความดับแห่งกองทุกข์สิ้นเชิงนั้น ย่อมมีด้วยอุบายอย่างนี้.
นิพพาน คือ นิโรธด้วยประการอย่างนี้."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๙. นิพพานลภนปัญหา ๔๗
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า คนทั้งหลายย่อมได้นิพพานหมด
ทุกคนหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "คนทั้งหลายได้นิพพานหมดทุกคนหามิได้, ยก
ไว้แต่ผู้ใดปฏิบัติชอบ รู้เฉพาะธรรมที่ควรรู้เฉพาะ คือ กำหนดรู้ ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้
แจ้ง, ผู้นั้นย่อมได้นิพพาน."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๐. นิพพานสุขภาวชานนปัญหา ๔๘
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดไม่ได้นิพพาน ผู้นั้นรู้หรือว่า
'นิพพานเป็นสุข."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร รู้ได้."
ร. "รู้ได้อย่างไร ?"
ถ. "พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน: มือและเท้าของผู้ใดไม่
ขาด ผู้นั้นจะรู้ได้หรือว่า 'การถูกตัดมือเท้าเป็นเหตุแห่งทุกข์."
ร. "รู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "รู้ได้อย่างไร ?"
ร. "ได้ฟังเสียงครางของคนอื่น ผู้มีมือเท้าอันขาดแล้ว ก็รู้ได้ซิพระผู้เป็น
เจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ผู้ใดไม่ได้นิพพาน ได้ฟังเสียงของคนที่เห็นนิพพาน ก็
รู้ได้ว่า 'นิพพานเป็นสุข ' ฉันนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
วรรคที่ห้า
๑. พุทธอัตถินัตถิภาวปัญหา ๔๙
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่ได้เห็น."
ร. "เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้เห็น พระอาจารย์ของพระผู้เป็นเจ้าได้เห็น
หรือไม่ ?"
ถ. "อาจารย์ของอาตมภาพก็ไม่เห็น."
ร. "ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้ามิไม่มีหรือ ?"
ถ. "พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำอูหานทีที่ป่าหิมพานต์หรือไม่
?"
ร. "ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น."
ถ. "เมื่อพระองค์ไม่ได้ทอดพระนครเห็นพระราชบิดาของพระองค์ได้
ทอดพระเนตรเห็นหรือไม่ ?"
ร. "พระราชบิดาของข้าพเจ้าก็ไม่ได้เห็น."
ถ. "ถ้าอย่างนั้น แม่น้ำอูหานทีมิไม่มีหรือ ?"
ร. "มีอยู่, แต่ข้าพเจ้าและบิดาของข้าพเจ้าไม่ได้เห็น."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, อาตมภาพและอาจารย์ของอาตมภาพก็ไม่ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนฉะนั้น, แต่พระผู้มีพระภาคมีอยู่จริง."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๒. พุทธานุตตรภาวปัญหา ๕๐
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไป
ได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ทำไมจึงทราบได้ว่า 'พระ
พุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้."
ถ. "พระองค์จะทรงดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: คนที่ยังไม่เห็น
มหาสมุทรเลย จะรู้ได้หรือว่า มหาสมุทรใหญ่ลึกเหลือที่จะนับยากที่จะหยั่ง
ถึง, แม่น้ำใหญ่ทั้งห้า คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหีไหลลงไปสู่มหาสมุทร
ไม่ขาดสาย, มหาสมุทรนั้นก็ไม่ปรากฏที่จะบกพร่อง หรือเต็มขึ้นกว่าเก่า ดัง
นี้."
ร. "เขาต้องรู้ได้ซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ถึงอาตมภาพได้เห็นพระอรหันตสาวกที่ปรินิพพาน
แล้ว ก็รู้ได้ว่า 'พระผู้มีพระภาคไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้' เหมือนฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๓. พุทธอนุตตรภาวชานนปัญหา ๕๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ประชุมชนอื่น ๆ จะสามารถรู้ได้
หรือไม่ว่า 'พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะยิ่งกว่าไปได้."
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร เขาสามารถจะรู้ได้."
ร. "รู้ได้อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "เรื่องเคยมีแล้ว พระเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อ ติสสะ เป็นอาจารย์
หนังสือ, เธอทำกาลกิริยาล่วงไปหลายปีแล้ว กิตติศัพท์ของเธอยังปรากฏอยู่
เพราะอะไร ?"
ร. "เพราะลายมือนะซิ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็ชื่อว่า ได้เห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้า เหมือนฉะนั้น, เพราะว่าพระธรรมเป็นของที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
แล้ว."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๔. ธัมมทิฏฐปัญหา ๕๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ได้เห็นพระธรรมหรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร สาวกทั้งหลายต้องประพฤติ
ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า ตามพระบัญญัติของพระพุทธเจ้า จนสิ้น
ชีวิต."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๕. นจสังกมติปฏิสันธหนปัญหา ๕๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณไม่เลื่อนไป ก็แต่
ปฏิสนธิได้หรือ ?"
พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "ขอถวายพระพร."
ร. "ข้อนั้นอย่างไร ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง."
ถ. "เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่ง จะจุดไฟจากดวงไฟ, ดวงไฟเลื่อนไป
จากดวงไฟหรือ ?"
ร. "หามิได้ พระผู้เป็นเจ้า."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณย่อมไม่เลื่อนไป ก็แต่ปฏิสนธิใดเหมือน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก."
ถ. "พระองค์ทรงจำได้หรือไม่ว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ทรง
เรียนแต่คำโศลก (คำโคลง) บางอย่าง ในสำนักแห่งอาจารย์ผู้สอนให้แต่คำ
โศลก."
ร. "จำได้."
ถ. "คำโศลกเลื่อนไปจากอาจารย์หรือ ?"
ร. "หามิได้."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, วิญญาณย่อมไม่เลื่อนไป ก็แต่ปฏิสนธิได้เหมือน
ฉะนั้น."
ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."