Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การพิจารณา

พุธ 18 เม.ย. 2018 5:11 am

“บรรดาพี่น้องทั้งหลายอย่าเข้าใจว่าการหาธรรมเป็นของหาง่าย หายากอยู่นะ ยากที่หัวใจ ไม่อยากทำไม่อยากไปไม่อยากขวนขวายเพื่อความดีงามใส่ตน ทั้งๆ ที่ความดีงามคือบุญคือกุศลคือธรรมนี้ เป็นสาระสำคัญต่อจิตใจร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งภายนอกอาศัยเพียงมีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อลมหายใจขาดปั๊บ สิ่งภายนอกทั้งหลายขาดไปพร้อมๆ กันไม่มีอะไรติดตัวเลย สิ่งที่ติดตัวคือบุญกับบาป ให้ระวังบาปนะ

บาปนี้เป็นเครื่องทรมานใจเรา เราชอบทำบาป แต่เวลาเกิดบาปเกิดทุกข์ขึ้นมาเราไม่ชอบเสวย ไม่ชอบรับกรรมคือบาป เหตุกับผลให้ลงกันนะ เราไม่ชอบบาปก็เท่ากับเราไม่ชอบความทุกข์ อยากทำบาปก็ไม่ทำ ทุกข์ก็ไม่มี เราไม่อยากทำบุญแล้วเราทำ บุญก็มี อยากทำบุญด้วยทำด้วย บุญก็มียิ่งเพิ่มพูน"

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙





...ที่นี่ไม่มีการสรงน้ำใดๆต่างๆ
การรดน้ำมันก็เป็นการแสดงความเคารพ
เขาเรียกบูชาให้ความเคารพ
แต่พระพุทธเจ้าบอกว่า
บูชาที่ถูกต้อง "ต้องปฏิบัติบูชา"
ทำความดี ทำทาน รักษาศีล
ปฏิบัติธรรม
.
เราไปทำผิด
เรื่องไปอาบน้ำให้คนอื่นเขา
คนอื่นเขาโตแล้ว เขาอาบน้ำเองได้
อาบน้ำได้เองไม่ต้องไปอาบให้เขาหรอก
.
ถ้าอยากจะบูชาให้ ทำความดี
เอาข้าวเอาของไปให้เขาได้อยู่
เราทำความดีให้กับ
บุคคลที่เราเคารพบูชาเช่น พ่อ
เราพาไปกินข้าว พาไปวัด
พ่ออยากจะไปไหน
อยากจะทำอะไร ก็พาไป
นี่เรียก ปฏิบัติบูชา

.
มาเทน้ำใส่มือ มันไปได้อะไร
ถามจริงๆมันได้อะไร
"ก็ได้เปียกสิ" มาเปียกมา
เอาน้ำเปียก เท่านั้นเอง
แล้วก็เอาน้ำเททิ้งแล้วก็จบ
มันไม่มีประโยชน์อะไร
...........................................
.
คัดลอกการสนทนาธรรม
ธรรมะบนเขา 17/4/2561
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี





อย่าเชื่อผู้อื่นโดยปราศจากการพิจารณา

..บุคคลที่เชื่อคนอื่น พระพุทธเจ้าของเราไม่ตรัสสรรเสริญ ว่าบุคคลนั้นเป็นปราชญ์ คนที่เป็นปราชญ์นั้น ก็คือคนที่ปฏิบัติธรรมะให้เป็นธรรมะ จนเชื่อตัวของตัว ไม่ต้องเชื่อคนอื่น

ในคราวหนึ่งครั้งพุทธกาล พระสารีบุตร และสาวกหลายรูป นั่งฟังธรรมด้วยความเคารพ ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ท่านก็อธิบายธรรมะให้ความเข้าใจไป แล้วที่สุด ท่านก็ย้อนถาม พระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตรเชื่อแล้วหรือยัง” พระสารีบุตรตอบว่า “ข้าพระองค์ยังไม่เชื่อ” นี่เป็นตัวอย่าง แต่ว่าท่านรับฟัง

คำที่ว่าท่านยังไม่เชื่อนั้น มิใช่ว่าท่านประมาท ท่านพูดความจริง ออกมา ท่านรับฟังเฉยๆ คือปัญญายังไม่เกิด ท่านจึงตอบพระพุทธองค์ว่า ยังไม่เชื่อ ก็เพราะว่ายังไม่เชื่อจริงๆ คำพูดนี้คล้ายๆ กับประมาท แต่ความจริงท่านมิได้ประมาทเลย ท่านพูดตามความจริงใจว่า ท่านยังไม่เชื่อ พระพุทธองค์ก็ทรงสรรเสริญ “เออ สารีบุตรดีแล้ว นักปราชญ์ไม่ควรเชื่อง่ายๆ ควรไตร่ตรองพิจารณาแล้วจึงเชื่อ”

โอวาทธรรมคำสอน..
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
ตอบกระทู้