...ดังนั้นขอให้เรา ให้ความสำคัญกับสติ "ฝึกสติอยู่เรื่อยๆ" อย่าปล่อยให้ใจลอยไปกับความคิดต่างๆ ดึงมันกลับมาให้อยู่กับพุทโธ พุทโธ หรืออยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย
. แล้วต่อไปเราจะมีสติ แล้วเราจะมีสมาธิ แล้วเราจะสามารถสอนใจ ให้คิดไปในทางปัญญาได้ แล้วเราก็จะตัดความอยากต่างๆได้ "ตัดความอยากก็เท่ากับตัดภพชาติ" เพราะภพชาติก็เกิดจาก.. "ความอยาก" นี้เอง
. เมื่อไม่มีความอยาก ก็จะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีภพชาติอีกต่อไป ไม่มีภพชาติ ก็ไม่มีความทุกข์นั่นเอง ทุกข์ย่อมมีแก่ผู้มาเกิดเท่านั้น ถ้ายังมีการเกิดอยู่ก็ย่อมมีความทุกข์ เพราะยังจะต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายอยู่
. นี่คือแก่นหรือสาระสำคัญ ของพระพุทธศาสนา ที่เราควรที่จะเข้าหากัน อย่าไปกังวลกับเปลือก พิธีกรรมต่างๆ สร้างถาวรวัตถุต่างๆ ..ทำได้.. "แต่อย่าถือว่ามันเป็นเนื้อหนัง" ก็แล้วกัน ทำไปตามความเหมาะสม ตามความจำเป็น
. แต่เนื้อหนังจริงๆก็คือ "การเจริญสติ" เพื่อให้เกิดศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อจะได้หลุดพ้นจาก..ความทุกข์ทั้งปวง. .......................................... คัดลอกการสนทนาธรรม ธรรมะบนเขา 20/4/2561 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
เรื่องความอยากของใจนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด วิ่งตามความอยาก เหมือนกันกับวิ่งตามเงา ถ้าเราไม่หยุดนิ่ง เงานั้นก็ไม่หยุด ความอยากทำให้ใจเป็นทุกข์ ความอยากทำให้ผิดหวังไปเรื่อย ๆ แต่คนก็ยังหวัง ถึงจะมีสิ่งของสมบูรณ์ ถ้าความอยากมีมาก ก็ไม่มีความสุข ระงับใจให้อยู่พอประมาณ ถึงยังละไม่ได้ ก็ให้ข่ม
หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗
ในเรื่องการอดอาหารนั้น เป็นอุบายวิธีหนึ่งที่ช่วยในการปฏิบัติภาวนา ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต มีการบัญญัติในบุพพสิกขา โดยองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เมตตาเทศน์ไว้ดังนี้
การอดอาหารนี้ ท่านมีบอกไว้สองแง่ คือ ถ้าอดเพื่ออวดแล้วปรับอาบัติทุกอิริยาบถ ทุกความเคลื่อนไหว ก็คือหมายความว่า ไม่ให้อด แต่ถ้าอดเพื่ออรรถเพื่อธรรม เพื่อความพากความเพียร อดเถิด เราตถาคตอนุญาต นี่มีแง่อยู่อย่างนี้ ถ้าอดเพื่อโอ้เพื่ออวดแล้วปรับอาบัติโทษตลอดเวลาทุกความเคลื่อนไหว แต่ถ้าอดเพื่อประกอบความพากเพียรแล้วอดเถิด เราตถาคตอนุญาตนั่นท่านว่าอย่างนั้น
กรณีของท่านพระอาจารย์จวนในระยะนั้น เมื่อท่านพระอาจารย์เกิ่งสั่งด้วยความเป็นห่วงเช่นนั้น ท่านจึงต้องยอมฉันอาหารบ้าง โดยฉันพอให้ได้เยียวยาธาตุขันธ์
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ จากหนังสือ มูลนิธิพระสงบ มนสฺสนฺโต
“ขันติ ความอดทนต่อบิดามารดาของตน ไม่ว่าจะมีเรื่องน้อยใจ เรื่องอะไร ก็แล้วแต่ ห้ามไม่ให้ทะเลาะกับพ่อแม่ ไม่ให้ทำหน้ายักษ์ หน้ามารเข้าใส่พ่อแม่ หรือในบางเรื่อง ที่เราถูก ก็ห้ามต่อว่าพ่อแม่ อย่างเอาเหตุเอาผล อย่างเด็ดขาด
เพราะในชีวิตประจำวัน ของเรานั้น บางครั้ง กับเพื่อนกับฝูง หรือเพื่อนร่วมงาน เขากลั่นแกล้งเรา ทุกอย่างสาระพัด เรายังอดทน ระงับโทสะเอาไว้ อดทนเก็บความโกรธไว้ในใจ
แล้วกับพ่อแม่เรา ที่มีบุญคุณต่อเราอย่างที่สุด เหนือกว่าเจ้านาย ผู้บังคับบัญชาทั้งหมด ทำไมเราจะยอมทน ยอมยกให้พ่อแม่ไม่ได้”
-:- หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป -:-
“เมื่อต้องเจอกับปัญหา หรือเหตุร้าย การยิ้มรับมัน ย่อมดีกว่าการปฏิเสธมัน ด้วยความกลัว
เพราะการยิ้มรับนั้น ในแง่หนึ่ง หมายถึง การไม่ยอมรับอำนาจคุกคามของมัน และทำให้มันไม่น่ากลัวอีกต่อไป
แทนที่จะมองเป็นศัตรู กลับเห็นเป็นมิตรไปเสีย ท่าทีเช่นนี้ ยังสามารถใช้ได้กับความตาย ซึ่งเป็นความจริง ที่ไม่มีใครหนีพ้น
เมื่อจะต้องเจอมันอย่างแน่นอน ควรเรียนรู้ที่จะยิ้มรับมัน เสียแต่ตอนนี้ หรือถึงจะไม่ได้เตรียมใจไว้ก่อนเลย เมื่อถึงคราวที่ต้องเจอมัน อย่างเลี่ยงไม่ได้ การเดินยิ้มเข้าหามัน ย่อมดีกว่า การพยายามเบือนหน้า หรือหลีกหนีมัน ด้วยความกลัว”
-:- พระไพศาล วิสาโล -:-
"คนอื่นเขาดี ก็ดีเขา เขาชั่ว ก็ชั่วเขา จิตใจของเรา เป็นอย่างไร" -:- หลวงปู่ขาว อนาลโย -:-
“คนเรามีภูมิจิต ภูมิธรรมต่างกัน ฝึกปฏิบัติมาไม่เท่ากัน จะให้ทุกคนรู้เหมือนเรา เข้าใจเราทุกอย่างไม่ได้ เมื่อเขาทำพลาดไป เราควรให้อภัย วันหนึ่งเค้าจะรู้เอง ทำได้ถูกต้องเอง”
-:- หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป -:-
"เกิดมาเป็นมนุษย์ ในชาตินี้ ควรรีบเร่ง อย่าชักช้า จะเสียการ จงพยายามฝึกจิต ฝึกใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้ได้ทัน
เพราะงานของจิต ต้องถือว่า เป็นงานเร่งด่วน โดยมีความตาย คืบคลานเข้ามา อย่างรวดเร็ว
ถ้าแม้ว่าเผลอสติ เพียงแว้บเดียว ความตาย ก็มาถึงตัวทันที"
-:- หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล -:-
"ร้อนในโลกเท่าไร ไม่ได้สักเสี้ยวของร้อนในนรก" -:- หลวงปู่หา สุภโร -:-
"เราไม่สามารถทำให้ผู้อื่น เป็นดั่งใจเราได้ แต่เราสามารถปรับใจของเรา ให้ยอมรับในตัวตน ที่เขาเป็นได้ อย่าไปติใคร ให้ติที่ตัวเราเอง"
-:- หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ -:-
|