ไปเอาบุญ แต่ไม่เจอบุญ
"..บางทีก็พากันไปแสวงหาบุญกัน ไปรถบัสคันใหญ่ ๆ สองคันสามคัน พากันไป ไปกันบางทีทะเลาะกันเสียบนรถก็มี บางทีกินเหล้าเมากันบนรถก็มี" ถามว่าไปทำไม ไปแสวงบุญกัน "ไปแสวงหาบุญ ไปเอาบุญ แต่ไม่ละบาป ก็ไม่เจอบุญกันสักที มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ
อันนี้มันอยู่อย่างนี้(ของวางอยู่) มันจะสะดุดเท้าเราใช่ไหมให้มองดูใกล้ ๆ มองดูตัวเรา พระพุทธเจ้าท่าน ให้มองดูตัวเรา ให้สติสัมปชัญญะอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ท่านสอนอย่างนี้
บาปกรรมทำชั่วทั้งหลาย มันเกิดขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ บ่อเกิดของบาปบุญคุณโทษ ก็คือกาย วาจา ใจ เราเอากาย วาจาใจมาด้วยหรือเปล่าวันนี้ หรือเอาไว้ที่บ้าน นี่ต้องดูอย่างนี้ ดูใกล้ ๆอย่า ไปดูไกล เราดูกายของเรานี่ ดูวาจา ดูใจของเรา ดูว่า ศีลของเราบกพร่องหรือไม่อย่างนี้ ไม่ค่อยจะเห็นมี.."
หลวงพ่อชา สุภัทโท
...ผู้ที่ต้องการเจริญทางวิปัสสนานี้ ต้องดึงจิตเข้าไปสู่ ความสงบ ที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ"
. คือ..สักแต่ว่ารู้ แล้วก็.. "ไม่มีอะไรให้รับรู้".. มีแต่อุเบกขา มีแต่ความว่าง สมาธิแบบนี้แหละเป็นประโยชน์
. เพราะว่าจะทำให้จิตใจมีกำลัง เพราะว่าเวลาอยู่ในสมาธิแบบนี้ จิตสามารถที่จะกดตัณหาต่างๆ ไม่ให้ออกมาทำงานได้
...................................... . คัดลอกการแสดงธรรม ธรรมะบนเขา 27/9/2558 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
...จิตที่ได้รับการฝึกฝนอบรมดีแล้ว นำความสุขมาให้อย่างยิ่ง จิตที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรม นำความทุกข์มาให้อย่างยิ่ง
. สุขทุกข์อยู่ที่จิต อยู่ที่การอบรมหรือไม่ได้อบรม อบรมจิตแล้วจิตจะเชื่อง จิตจะว่างนอนสอนง่าย จิตจะไม่ดื้อ จิตจะไม่ไปสร้างปัญหาต่างๆ
. ถ้าไม่ได้รับการอบรม จิตจะเป็นจิตที่ดื้อด้าน จะไปสร้างปัญหาต่างๆ นี่แหละคือหลักของการปฎิบัติ
. การปฏิบัติก็คือ การฝึกอบรมใจของพวกเรา ที่ตอนนี้ยังเป็นเหมือนสัตว์ป่าเหมือนม้าป่า ม้าป่านี่ถ้าไปขี่มันมันจะพยศ มันจะถีบจะเตะ จะพยายามทำให้ คนขี่นั้นตกลงจากหลังม้าให้ได้
. เพราะมันไม่ต้องการให้ใคร มาควบคุมบังคับมัน แต่ถ้าหลังจากได้ ควบคุมบังคับมันได้แล้ว มันยอมแพ้ แล้วมันก็จะเชื่อง มันก็จะให้คนขี่ ขี่อย่างสบาย คนขี่สั่งให้ไปไหนมันก็ไปตามคำสั่ง
. จิตของพวกเราก็เป็นเหมือน สัตว์ป่าที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนอบรม "จึงต้องทรมานจิต ต้องควบคุมบังคับจิต" ให้มันอยู่ภายใต้คำสั่งของสติให้ได้ ให้อยู่ภายใต้คำสั่งของ "สติ ปัญญา". .................................................. . คัดลอกการสนทนาธรรม ธรรมะบนเขา20/12/2560 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
...จิตของพระอนาคามีนี้ มันละเอียดขั้นรูปฌาน อรูปฌาน จิตที่ได้ตัดกามราคะไปนี้ มันจะละเอียดในระดับ รูปฌานและอรูปฌานโดยอัตโนมัติ
. จิตที่หยาบเพราะกามารมณ์ กามารมณ์มันทำให้จิตหยาบ พอทำลายกามารมณ์ได้ จิตมันก็จะละเอียดไป เข้าใจไหม
. กามารมณ์เหมือน คนเอาไม้ไปกวนน้ำให้มันขุ่น พอเราเอาไม้ออกไป น้ำมันก็ใส น้ำมันก็นิ่งขึ้นมา จิตถ้าไม่มีกามารมณ์ มันก็นิ่ง มันก็จะเป็นรูปฌาน อรูปฌานไป
. แล้วมันเป็นรูปฌานแบบถาวรคือ ไม่ต้องมาเข้าฌาน เหมือนกับคนที่นั่งเข้าฌาน อยู่ข้างนอกมันก็สามารถที่จะ นิ่ง เหมือนกับเป็นอรูปฌานได้
. เพราะไม่มีตัวที่จะมาทำให้ ใจมันว้าวุ่น มันขุ่นขึ้นมา "ใจมันนิ่ง มันเย็น". ........................................... . คัดลอกการแสดงธรรม ธรรมะบนเขา 14/2/2557 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
...วิธีเข้าสมาธิก็ให้หยุดความคิดนี่ ด้วยการใช้คำบริกรรมพุทโธๆ ไป อย่าไปคิดถึงเรื่องอะไร นั่งแล้วหลับตาแล้วก็พุทโธๆ ไป แล้วเดี๋ยวมันก็เข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เอง โดยเราไม่ต้องไปรู้ว่า ฌานที่ ๑ เป็นยังไง ที่ ๒ เป็นยังไง ที่ ๓ เป็นยังไง ขอให้มันถึงที่ ๔ ก็พอ
. ที่ ๔ ก็คือ จิตจะนิ่ง จะสงบ จะเบา จะมีความสุขมาก จะเป็นอุเบกขา จะไม่มีความรักชังกลัวหลงอยู่
. เวลาถึงฌานขั้นที่ ๔ ก็ให้อยู่ตรงนั้น แช่ไว้นานๆ อย่าไปดึงมันออกมา อย่าไปดึงออกมาพิจารณาปัญญา ยังไม่ใช่เวลา
. เวลาจะพิจารณาปัญญา ต้องรอให้ออกจากฌานก่อน ออกจากสมาธิก่อน เวลาเข้าสมาธินี้ไม่ต้องการพิจารณา ต้องการให้มันแช่อยู่ในฌานนานๆ
. เพื่อจะได้มีกำลังมากๆ สิ่งที่เราต้องการก็คืออุเบกขา ความไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงอันนี้ ถ้าเราแช่นานๆ มันก็จะติดมากับใจเรา
. เวลาเราออกจากสมาธิ เวลาเราเห็นอะไร เราก็จะไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลง แล้วเราก็จะสู้กับกิเลสได้ เวลาจะอยากได้อะไร มันก็ไม่อยาก เพราะมันไม่รัก ที่มันอยากเพราะมันรัก ถ้าชอบอะไรมันก็อยากจะได้ขึ้นมา ถ้าชังก็อยากจะให้มันหายไป
. แต่ถ้าเรามีอุเบกขา มันก็จะเฉยๆ อยู่กับสิ่งต่างๆ ได้ อยู่กับสิ่งที่เราไม่ชอบได้ แล้วก็สิ่งที่เราชอบ เราก็ ไม่มีมันก็ได้ ..ไม่เดือดร้อน. ......................................... คัดลอกการสนทนาธรรม ธรรมะบนเขา 14/12/2560 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
"ปลงให้เป็น เย็นให้ได้ ใจก็สุข เย็นที่เรา เขาก็สุข เรื่องก็หาย ปลงให้ไว ใจก็สงบ เรื่องก็คลาย ปลงให้ได้ ปล่อยให้ไว ใจก็เย็น"
-:- ท่านพุทธทาสภิกขุ -:-
“อย่ารักใครมากจนเกินไป อย่าเกลียดใครมากจนเกินไป อย่าชังใครมากจนเกินไป เพราะอีกไม่นาน ทุกคนจะต้องตายจากกัน”
-:- หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก -:-
“คนเรา ถึงจะอยู่ด้วยกัน ก็มีความเห็นไม่เหมือนกันหรอก แม้จะเป็นพี่น้องคลานตามกันมา ความรู้สึกนึกคิด ก็ไม่ตรงกัน
แต่เราก็นิ่งเฉยเสียแล้ว ปัญหาก็จบ ไม่ต้องไปขัดกัน ทุกวันก็อยู่กันอย่างร่มเย็น
ทำใจนะโยม นักปฏิบัติต้องทำใจ ทำใจตรงนี้ได้ก็สบาย ปลดทิฏฐิมานะได้ อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข
ถ้าปลงไม่ตก ก็นึกเสียว่าเป็นกรรมก็แล้วกัน”
-:- หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ -:-
อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฏของกรรม
จงนึกถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยาน เรื่องยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจให้สบายจะมีความสุข
เรื่องลูก ก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพาน ให้ไกลออกไป”
-:- พระราชพรหมยาน -:-
|