“การดำเนินชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม และหมั่นสร้างความดีอยู่เสมอ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้เราเผชิญความตาย ได้อย่างสงบ
อานิสงส์ประการหนึ่ง ของกาย วาจา และใจ ที่สุจริตก็คือ ช่วยให้ไม่หลงตาย หรือลืมสติเวลาตาย”
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
"ถ้าคุณคิดว่า เรื่องนี้มันเป็นปัญหา มันก็เป็นปัญหา ปัญหามันจะใหญ่ หรือเล็ก มันขึ้นอยู่กับว่า เราให้ความสำคัญ มันแค่ไหน
ถ้าคุณไม่ไปหมกมุ่น ไม่เอาใจไปฝักใฝ่กับมันมาก ตั้งสติขึ้นมา คุณจะเห็นทางออกของปัญหา ขณะที่คุณประสบกับปัญหาอยู่ คุณก็เห็นว่ามันใหญ่ แต่ถ้าคุณผ่านมันไปแล้ว คุณก็จะเห็นว่า เล็กนิดเดียว
คุณต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหามันจะเข้ามาหาคุณเรื่อยๆ ยิ่งโตขึ้น ปัญหามันก็เพิ่มมากขึ้น ยิ่งยากมากขึ้น ถ้าคุณแก้ปัญหายากๆ ผ่านพ้นไปได้ ก็แสดงว่า คุณกำลังโตขึ้นไปอีก
อย่าให้ผงเล็กที่เข้าตา แล้วมันบังตา จนเห็นว่ามันใหญ่ ที่จริงมันใหญ่ เพราะคุณเอาออกเองไม่ได้ ให้วางใจในปัญหานะ ตั้งสติขึ้นนะ
อย่าไปคิดว่า มันไม่มีทางออก เตรียมใจ ไว้รับปัญหา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเถอะ เมื่อคุณพบมัน ก็จงบอกตัวเองว่า มันเล็กนิดเดียว"
หลวงปู่หา สุภโร
"ไอ้คนเรานี้ มันก็แปลก ชอบเอาลมปาก เผากัน เอาไฟกิเลส โมหะ โทสะ ราคะ เผากัน
เผาตนเอง เผากาย เผาใจตนเอง ยังไม่พอ ชอบเผื่อแผ่ ไปเผาชาวบ้าน ชาวช่อง เขาด้วย เผาจิต เผากายของเขา
มันสนุกหรืออย่างไร วิสัยชาวโลก ชอบนินทา - สรรเสริญ ไฟร้อน ไฟเย็น ก็เผาได้เผาดี”
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
..."ความสงบนี้สำคัญมาก" ถ้าไม่สงบจะไม่เห็นกิเลส
. ถ้ามีความสงบ พอไปสัมผัสรับรู้อะไร แล้วใจกระเพื่อมขึ้นมา ก็จะรู้ทันทีว่า "กิเลสโผล่ออกมาแล้ว" ถ้าไม่กระเพื่อม ก็จะรู้ว่า "กิเลสไม่ได้ออกมา"
. ใจจะกระเพื่อม ถ้ามี "ความอยากกับสิ่งที่สัมผัสรับรู้" ถ้าไม่มีความอยาก ก็จะไม่กระเพื่อม ความกระเพื่อมก็คือ "ความทุกข์ใจ" ที่เกิดจากความอยากนี่เอง.
......................................... . คัดลอก(กำลังใจ57)กัณฑ์440 ธํรรมะบนเขา 11/6/2555 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
สิ่งไหนก็ตาม ถ้ามีอยู่ในจิตใจก็อโหสิ ให้ซึ่งกันและกัน อย่าถือโทษโกรธเคือง ให้กับใครทั้งหมด ถ้าถือโทษโกรธเคือง เราก็เดินทางไม่ถึงไหน เพราะจิตใจ ของเราไปเกาะเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นอยู่
ถ้าเราไม่เกาะเกี่ยว เราก็เดินไปข้างหน้า เพราะจุดมุ่งหมายของเราคือเพื่อมรรคผลนิพพาน ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารตามแนวแถวของพระพุทธเจ้าที่ท่านอบรมแนะนำสั่งสอน
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
เรารักตัวเรา คนอื่นก็รักตัวเขา เราไม่อยากให้ใครทำเช่นไรกับเรา คนอื่นก็ไม่อยากให้เราทำเช่นนั้นกับเขา เราอยากให้คนอื่นทำดีกับเราอย่างไร คนอื่นก็อยากให้เราทำดีกับเขาเช่นนั้น
ขอให้พยายามคิดถึงความจริงนี้ให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะมีสตินึกได้ จะเป็นคุณเเก่ตนเองอย่างยิ่ง การคิดพูดทำทั้งหมด จะเป็นไปอย่างดีที่สุด ไม่เป็นการทำร้ายผู้อื่น ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น
การสามารถรักษาจิตใจ รักษาวาจา รักษาการกระทำ ให้เป็นไปเพื่อไม่ก่อทุกข์โทษภัยเเก่ผู้อื่น ไม่เรียกว่า เป็นการทำเพื่อผู้อื่น ไม่เรียกว่าเป็นการถือผู้อื่นว่าเป็นที่รักของตน เเต่เป็นการทำเพื่อตนเอง เป็นการถือว่าตนเป็นที่รักของตนอย่างยิ่ง ไม่มีความรักอื่นเสมอด้วยความรักของตน
สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ผู้อื่นไม่ได้ทำจิตของเราเศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เราเองเป็นผู้ทำให้จิต ของตนเศร้าหมอง ผู้อื่นช่วยไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ ท่านทรงเป็นผู้บอกทางให้เท่านั้น
หลวงปู่ขาว อนาลโย
..พยายาม "นั่งให้สงบให้ได้" ถ้าปฏิบัติแล้วไม่สงบ ก็ถือว่าไม่ก้าวหน้า
. เช่นให้ตามรู้จิตนี้ "ดูไปจนตายก็ไม่สงบ" ถ้าจะตามดูจิตจะต้องได้สมาธิก่อน แล้วถึงจะดูจิตได้
. ดูจิตก็ดูอริยสัจ ๔ ให้ดูว่าตอนนี้ ใจกำลัง "อยาก" กับเรื่องอะไร ก็ต้องหยุดมันให้ได้ "หยุดด้วยปัญญา" ถ้าหยุดด้วยสติ..ก็จะหยุดได้ชั่วคราว
. พอเผลอสติก็จะอยากใหม่ พอโกรธแล้ว รู้ว่าโกรธก็หยุดโกรธได้ พอเผลอสติ..ก็กลับมาโกรธใหม่
. เหมือนจับปูใส่กระด้ง ไม่มีวันที่จะหมดปัญหา ขั้นต้นนี้จึงไม่ควรดูจิต "ควรหยุดความคิด"
. "หยุดจิต" อย่าให้จิตคิดปรุงแต่ง ให้อยู่กับพุทโธ หรือให้รู้เฉยๆ ไม่ให้คิดปรุงแต่ง เวลานั่งสมาธิถ้าจิตไม่ปรุงแต่ง ไม่ลอยไปลอยมา เช่นดูลมอย่างเดียว จิตก็จะสงบได้
. เหมือนกับเวลาร้อยด้ายเข้ารูเข็ม ถ้ามือไม่นิ่ง ส่ายไปส่ายมา จะร้อยด้ายเข้าไปในรูเข็มไม่ได้
. ใจ "ถ้าไม่นิ่ง" คิดไปอดีต คิดไปอนาคต ไม่อยู่ปัจจุบัน จะสงบไม่ได้ "ใจต้องอยู่ในปัจจุบันถึงจะสงบได้"
....................................... . คัดลอก(กำลังใจ57) กัณฑ์440 ธรรมะบนเขา11/6/2555 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
|