“ในเมื่อเราคิดดีแล้ว คนอื่นไม่เห็นด้วย มันก็ช่วยไม่ได้
จะให้ทุกคนเห็นด้วย ให้หมดเสียก่อน เราจึงปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แล้วจึงค่อยเข้าวัดวาศาสนา
ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย กี่ร้อย กี่พันชาติ เขาก็ยังไม่เห็นด้วย เราเลยไม่ได้ทำคุณงามความดี
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
"เมื่อเราทำความดี ในวันหนึ่งๆ อยู่ทุกวัน จะตายวันไหน ก็ดีทั้งนั้น ประเสริฐทั้งนั้น" สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
"อย่าเห็นว่าผ้าเหลืองๆ เป็นพระทั้งหมด พระอยู่ตรงที่ความบริสุทธิ์ต่างหากล่ะ" หลวงปู่บุดดา ถาวโร
ทำบุญไม่ต้องกรวดน้ำ ก็ได้บุญแล้ว ทำดีหรือทำชั่ว ผลก็เกิดขึ้นแล้วได้รับแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปกรวดน้ำ เหมือนกันกับฆ่าคนตาย ไม่ต้องกรวดน้ำก็ต้องติดคุกหรือรับผลของการกระทำนั้น หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ศรีสมเด็จ ร้อยเอ็ด
"ของกินดีอย่าสะแพงเมือหน้า ผ้าผืนกว้างอย่าเผื่อไว้ห่มผัวลุนเด้อ ของกินบ่กินมันสะเน่า ของเก่าบ่เล่ามันสะลืมเด้อ ต้องอย่าหวงแหนอย่าเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวเก้บกักไว้ ไม่เป็นประโยชน์ "***อย่าสะหวงแหนไว้ในใจขี้ตระหนี่ ให้มีใจแผ่กว้างให้ฝูงลุงและป้า อาวอาเพิ่นจั่งหลำ่าเฮาแหล๋ว ผุ้มีใจแผ่กว้างญาติและมิตรต่างรักใคร่เมตตา เวลาเจ็บป่วยมีแต่คนอยากดูแล ถ้าเป็นคนตระหนี่ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร)จากหนังสือบันทึกธรรมหลวงปู่
งามก็ให้งามทั้งภายนอกและภายใน อยู่ก็ให้สุคติ ไปก็ให้สุคติ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
". มันใกล้เข้ามาแล้วนะความตาย คาดหมายไม่ได้ บางทีนั่งอยู่ด้วยกันดีๆก็ไปแล้ว ความตายมีอยู่ประจำสังขารให้พากันดู อ่านเจ้าของเอง การภาวนา มีเท่านั้น...."
หลวงปู่ลี กุสลธโร
”ให้มองดูตนเอง"
ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์ได้ติดตามองค์หลวงปู่ลี ไปธุระต่างจังหวัด ระหว่างทางบังเอิญลูกศิษย์ได้มองไปเห็นสามเณร ๒ องค์ รูปร่างดีลักษณะท่าทางดีกำลังถือปิ่นโตเดินผ่านหมู่บ้านเพื่อที่จะกลับวัดในระหว่างเวลาก่อนเพล สามเณรนุ่งแต่อังสะไม่ได้ห่มจีวร ดูกิริยาไม่ค่อยเรียบร้อยงามตามแบบอย่าง ของครูบาอาจารย์ จึงได้แต่นึกตำหนิในใจและ ได้กราบเรียนองค์หลวงปู่ลีว่า
ลูกศิษย์ : หลวงปู่ครับ สามเณร ๒ องค์นี้รูปร่างดีท่าทางมีบุญ ถ้าหากท่านได้มีโอกาสอยู่ศึกษากับครูบาอาจารย์ที่ดีคงจะได้ดีกว่านี้นะครับ หลวงปู่ลี : ตนเองก็เหมือนกัน ขนาดอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ท่านอุตส่าห์สอนแทบตาย มันไม่เอาก็มี
หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี จากหนังสือ ๙๐ ปี เศรษฐีธรรม
...ถ้ามี "ความอยาก" เมื่อไหร่ ต่อให้มีสมาธิ ก็สามารถ ทำลายสมาธิความสงบได้
. ถ้ามีสมาธิแล้วอยากจะ รักษาความสงบของใจ ก็ต้องใช้ปัญญาสอนใจ ว่าสิ่งต่างๆที่อยากได้ ไม่ได้ให้ความสุข "อย่าไปอยาก"
. เช่นอยากจะดื่มเครื่องดื่ม ที่ไม่จำเป็นต้องดื่ม อยากจะลิ้มรสต่างๆ ก็ต้องบอกว่าอย่าดื่มดีกว่า ดื่มแล้วก็จะติด ต้องดื่มอีก เวลาอยากดื่มแล้วไม่ได้ดื่ม ก็จะหงุดหงิดใจ ไม่สบายใจ
. ถ้าไม่ดื่มได้ ใจก็จะสงบ เป็นอุเบกขา "หมายถึงเวลาที่มีสมาธิแล้ว" พอเกิดความอยากขึ้นมา มันก็จะกลบอุเบกขาที่มีอยู่
. ถ้าหยุดตัณหาได้ อุเบกขาก็จะกลับคืนมา "นี่คือวิธีรักษาอุเบกขา รักษาความสงบของใจ"
. หลังจากที่ออกจากสมาธิ ต้องคอยเตือนใจว่า อย่าทำตามความอยาก "ความอยาก"จะ ทำลายความสงบ ทำลายอุเบกขา. ................................... . คัดลอก(กำลังใจ 61) กัณฑ์ 455 ธรรมะบนเขา 21/4/2556 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
|