นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 4:38 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การภาวนาต้องบริกรรม
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 04 ก.ย. 2018 5:31 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
การภาวนาต้องบริกรรม

พวกเราอย่าไปเสียดายบริกรรม ว่าจนให้มันเหนื่อยที่สุด ให้มันนานเท่าไรได้ยิ่งดี สักประเดี๋ยวจิตมันก็สงบ มันโหยจากการไม่นึกคิดแล้ว ถ้าเราไม่บริกรรมมันกำลังแข็งตัว มันก็ต้องออกไปสู้กับเราอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องบริกรรม พุทโธๆ โธๆๆๆๆ ว่าให้เร็ว พอมันหมดลมก็เอาอีก โธๆๆๆๆ แต่อย่าให้เสียงดัง เดี๋ยวเขาว่าบ้า ให้เบาๆ ว่าอยู่อย่างนั้นให้เร็วๆๆ โธๆๆ หยุด โธๆๆ หยุด ถ้าเราโธเข้าโธออก ก็เสร็จฉิบ...หมดซิ หัวใจมันห่าง แล้วมันคิดหมด

การดูลมหายใจที่เรียกว่าอานาปานสตินี่ ต้องเหมือนคนเป็นเศรษฐี ต้องมีทรัพย์สินข้าวของเงินทองกินไม่หมดแล้ว จึงดูลมหายใจได้ นั้นบุคคลนั้นเป็นเศรษฐีแล้ว รวยแล้ว ถ้าพูดถึงสมมุติ ต้องเป็นอริยะเจ้าขั้นสูงแล้วเป็นพระขีณาสพ นั่นถึงดูลม ถ้าผู้ไม่เป็นพระขีณาสพไปดูลมไม่ได้ สมาธิยังไม่พอ ปัญญายังไม่พอ ยังไม่สิ้นอาสวะ ตัวนี้ตัวสำคัญมีคนมาถามกันแยะนะ ถ้าใครไม่เชื่อก็ให้กลับไป คุยกันไม่รู้เรื่อง

มี่ผู้หญิงคนหนึ่งมาถาม เราก็นั่งหลับตาคุยด้วย มันเอาตำรามาเปิด ทีหลังมันมาถามเรื่องรูปฌาน อรูปฌาน เอ๊ะ!... เปิดตำราดูตำรา เลยบอกโยมกลับเถอะ เราไม่เป็น...ไม่เป็นแล้ว ไล่กลับไปเลย

...หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท...





“...เฮาผู้ต้องการความดีความงาม ต้องรักษาโตทุกวันทุกคืน ยืน เดิน นั่ง นอน จั่งเป็นผู้บ่เสียหวัง เป็นผู้สมหวังในกาลเบื้องหน้า คั่นเฮาบ่เสียใจ เวลายังอยู่ทางหน้าเป็นอันว่าบ่ต้องเสียใจ คั่นเสียใจแต่เดี๋ยวนี้ เบื้องหน้ากะต้องเสียคือกัน เพิ่นจั่งรักษาใจ บ่ให้หวั่นไหว ให้คงที่ถาวรมั่นคง เป็นคนผู้สมหวังในโลก มีได้เป็นได้ ผู้อื่นเป็นกะบ่คือเฮาเป็น เฮาเป็นดีกะเรื่องของเฮา เป็นซั่วกะเรื่องของเฮา..”

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ





ก่อนที่จะพูดอะไร ให้ถามตัวเองว่าที่จะพูดนี้จำเป็นหรือเปล่า ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าพูด นี่เป็นขั้นต้นของการอบรมใจ เพราะถ้าเราควบคุมปากตัวเองไม่ได้ เราจะควบคุมใจได้อย่างไร

ไปกี่วัดกี่วัด รวมแล้วก็วัดเดียวนั่นหละคือ วัดตัวเรา

จิตเปรียบเหมือนพระราชา อารมณ์ทั้งหลายเปรียบเหมือนเสนา เราอย่าเป็นพระราชาที่หูเบา

มัวแต่นึกถึงวันเกิด ให้นึกถึงวันตายเสียบ้าง

ของดีจริงไม่ต้องโฆษณา คนชอบขายความดีตัวเอง ที่จริงขายความโง่ของตัวเองมากกว่า คมให้มีในฝัก ให้ถึงเวลาที่จะต้องใช้จริงๆ จึงค่อยชักออกมา จะได้ไม่เสียคม

สักวันหนึ่งความตายจะมาถึงเรา มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้าให้มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไปจะลำบาก

เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทันที แล้วกลับมาดูใจของตนเอง เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็นงานอันดับแรก

คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป แต่เราไปเก็บมาคิด เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว เราไปเก็บมากิน แล้วจะว่าใครโง่

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก






ตำนาน...พุทธกุมารกับดอกบัว ๗ ดอก

อุบาสกกราบเรียน

ท่านอาจารย์ครับ กระผมเห็นภาพพุทธประวัติ ภาพประสูติปรากฏว่ามีดอกบัวเจ็ดดอก คงมีความหมายว่าดอกบัวนี้รองรับเมื่อพระราชกุมารก้าวย่างไป เพราะกระผมได้ยินเขาว่าเมื่อพระราชกุมารประสูตินั้น พระราชกุมารก้าวเดินไปได้เจ็ดก้าว และกล่าวคาถาเจ็ดตัว นี่ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งว่าพระพุทธเจ้าเสด็จไปไหนจะมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับฝ่าพระบาททุกก้าวย่าง และพระองค์ประทับนั่งตรงไหนก็มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับทุกครั้ง และเวลาพระองค์บรรทมก็ปรากฏดอกบัวผุดขึ้นมารองรับเสมอใช่ไหมครับท่านอาจารย์

หลวงปู่ตอบ

อุบาสกอย่างมงาย อาตมาจะนำเหตุผลของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ ข้อนี้เทียบได้กับการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่าเกิดด้วยนามกาย พระองค์ตรัสรู้ ณ จังหวัดคยา อันเป็นหนใต้ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจเสด็จเที่ยวประกาศพระศาสนาไปหนเหนือแล้ว เสด็จด้วยพระบาท บ่ายพระพักตร์สู่อุดรทิศ ย่างพระบาทได้เจ็ดก้าวนั้น น่าจะทรงแผ่ศาสนาแพร่หลายในเจ็ดชนบท หรือเพียงเสด็จด้วยพระองค์เอง ลองนับประมาณก็ได้เช่นนั้น นับชนบทที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันเป็นหนึ่ง คือ กาสีกับโกศลหนึ่ง มคธกับอังคะหนึ่ง สักกะหนึ่ง วัชชีหนึ่ง มัลละหนึ่ง อังสะหนึ่ง กุรุหนึ่ง รวมเป็นเจ็ด นอกจากนี้มีแต่ชนบทน้อยที่ขึ้นในชนบทใหญ่ ทรงหยุดเพียงนี้ไม่ก้าวต่อไป นี่เป็นเหตุผลของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า และที่ว่าดอกบัวผุดรับ คือ พระพุทธองค์สมควรแก่เครื่องบูชาอันประเสริฐ คือ ดอกบัว เพราะคนสมัยนั้นแบ่งชั้นวรรณะให้รู้ว่าใครเป็นใคร จึงเป็นเหตุให้มีวรรณะสี่เหล่า พวกของใครพวกของเขาไม่ปะปนกัน ฉันใด เรื่องการบูชาเขาถือขลังฉันนั้น ตัวอย่าง ใครเป็นผู้สมควรแก่เครื่องบูชาอันประเสริฐคือดอกบัว จะต้องเป็นผู้ประเสริฐ เพราะการบูชาเขาจัดเป็นสัญลักษณ์ไว้ว่า เป็นผู้ประเสริฐหรือไม่ประเสริฐ เพราะพระพุทธองค์คู่ควรแก่ดอกบัว คนทั้งหลายจึงนิยมบูชาพระองค์ด้วยดอกบัว เขาถือดอกบัวเป็นของสำคัญมากในสมัยนั้น แม้แต่พระพุทธองค์ในคราวตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ทรงท้อพระทัยในการจะประกาศพระศาสนา เพราะธรรมะเป็นของลึกซึ้งคัมภีรภาพมากมายยากที่บุคคลจะตรัสรู้ตามได้ พระองค์จึงนึกถึงอุปนิสัยของเวไนยสัตว์เทียบได้กับดอกบัวสี่เหล่า ให้อุบาสกคิดอย่างนี้แล้วกัน

จากถามตอบปัญหาธรรม หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ปี 2508





...คิดมาก ก็ทุกข์มาก คิดน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่คิดก็ไม่ทุกข์ คิดไปก็เท่านั้นแหล่ะ ไม่รวยเพิ่มขึ้น ไม่จนลงหรอก ก็เท่านั้นเเหล่ะ

คัดลอกมาจากหนังสือเกสรธรรม :หน้าที่ (๑๑๕)
#หลวงพ่อกัณหา_สุขกาโม
วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 126 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO