นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 4:32 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อดทนเป็นตบะ
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 16 ก.ย. 2018 5:25 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
ความอดทนเป็นตบะอันยิ่งใหญ่ เพราะเหตุที่นิสัยจิตใจของคนมันมีต่างกัน

ท่านจึงสอนให้มีความอดทน แต่อยู่ด้วยกันแล้วจงหาความดีต่อกัน ไม่อิจฉาพยาบาทไม่จองล้างจองผลาญ ไม่โกรธเกลียดกัน ไม่มีทิฏฐิมานะ มีอะไรก็ควรที่จะปรึกษาหารือเข้าหากันได้ การมุ่งหน้าเข้าหากันได้เป็นการดีมาก
หลวงปู่เทสกฺ์ เทสรังสี




การกระทำ อานาปาน์ มีหลักสำคัญอยู่ ๓ อย่างคือ
ลมหายใจ
คำภาวนา "พุทโธ"
จิต
ดังนั้น ลม พุทโธ จิต ทั้ง ๓ สิ่งนี้ต้องให้กลมกลืนพร้อมกันไปเสมอ อย่าให้แตกแยกออกจากกันนั่นแหละจึงจะเป็นองค์ภาวนาที่แท้จริง
ท่านพ่อลีสอนศิษย์






...ก็ต้องไปหาสถานที่ทดสอบใจ
ไปสถานที่ที่เรากลัว
เพราะความกลัวคือความทุกข์
ที่เกิดจากความคิดปรุงแต่งของเราเอง
ต้องไปหาสถานที่แบบนั้น
เพื่อจะได้ทดสอบใจดูว่า
สามารถควบคุมความคิด
ไม่ให้สร้างความกลัวขึ้นมา
หลอกเราได้หรือไม่

.
ถ้ากลัวผีก็ต้องไปอยู่สถานที่
ที่เราคิดว่ามีผี กลัวสิงสาราสัตว์
ก็ต้องไปอยู่สถานที่ที่มีสิงสาราสัตว์
กลัวความตายก็ต้องไปอยู่สถานที่
ที่ล่อแหลมต่อความตาย
จะได้พิสูจน์กันจริงๆ ว่า
ยอมรับความตายได้หรือไม่ .
.................................
.
คัดลอก(กำลังใจ51)กัณฑ์416
ธรรมะบนเชา 19/9/2553
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี






ถ้าจะกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเป็นของกว้าง ก็กว้าง
กล่าวคือท่านสอนเรื่องจิตที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์
หาที่สุดมิได้ คือหาประมาณที่สุดไม่ได้นั่นเอง
ถ้าจะว่าเป็นของแคบ ก็แคบนิดเดียว
คือเมื่อสติควบคุมจิตได้แล้ว
หาต้นตอที่เกิดของกิเลสได้แล้ว
กิเลสก็ดับ ณ ที่นั้นเอง

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี






ถาม : อยากทราบว่าการกินเนื้อสัตว์นั้นเป็นการทำบาปทางอ้อมหรือไม่คะ การงดเว้นจากการทานเนื้อสัตว์จะได้บุญหรือไม่เจ้าคะ
.
.
ตอบ : เรื่องนี้ถ้าเถียงตามหลักเหตุผลก็พูดได้ทั้งวันทั้งคืนนะ อาตมาจึงขอฝากข้อคิดเห็นให้เอาไปพิจารณาว่า พระวินัยของสงฆ์ละเอียดอ่อนมากทีเดียว ในพระปาติโมกข์มี ๒๒๗ ข้อ นอกพระปาฏิโมกข์ยังมีอีกหลายพันข้อ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นบาปกรรมทางกายทางวาจา พระพุทธองค์ท่านบัญญัติสิกขาบทเพื่อห้ามหมด และพระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า ตราบใดที่พระธรรมวินัยไม่สมบูรณ์จะยังไม่ปรินิพพาน ที่พระพุทธองค์ทรงยอมปรินิพพาน เพราะคำสั่งสอนทั้งในด้านธรรมซึ่งเกี่ยวกับโลกภายใน และด้านวินัยคือด้านโลกภายนอกสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าการกินเนื้อสัตว์เป็นบาป พระพุทธองค์ต้องห้ามแน่นอน แต่ปรากฏว่าในพระวินัยมีแต่ห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ในกรณีที่ทราบว่าผู้ถวายฆ่าสัตว์เพื่อท่านโดยเฉพาะ เท่านั้น
.
.
เมื่อพระพุทธองค์ทรงสร้างสถาบันสงฆ์เพื่อผู้ที่มุ่งมั่นต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน ท่านต้องการป้องกันไม่ให้พระสงฆ์ทำบาปกรรมแม้แต่เล็กน้อย อาตมาจึงสรุปว่า ถ้าการฉันเนื้อสัตว์เป็นบาปแม้โดยทางอ้อม พระพุทธองค์คงห้ามไม่ให้พระฉัน แต่ก็มีหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฎก ว่าพระองค์ไม่ห้าม และพระองค์เองทรงเคยรับเนื้อสัตว์ในหลายกรณี อันนี้มีหลักฐานชัดเจน อาตมาเองใช้หลักว่าในเรื่องที่การถกเถียงทางเหตุผลไม่สามารถเข้าถึงความชัดเจนได้ "เชื่อพระพุทธเจ้าก่อนดีกว่า"
.
.
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจในสมัยปัจจุบันต่างกับในสมัยพุทธกาลมาก ทุกวันนี้การเลี้ยงสัตว์ทรมานสัตว์มากกว่าสมัยก่อน ถึงแม้ว่าเราทานเนื้อสัตว์ไม่บาป ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม เรายังควรถามตัวเองว่าเราอยากรับผลของการทรมานสัตว์มากน้อยแค่ไหน
.
.
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า การทรมานสัตว์เป็นบาป การฆ่าสัตว์เป็นบาป ฆ่าเองเป็นบาป สั่งให้คนอื่นฆ่าเป็นบาป ความยินดีในการฆ่าของคนอื่นก็เป็นบาปในระดับหนึ่ง การชี้ปลาที่ยังมีชีวิตอยู่ในร้านอาหารเป็นบาปอย่างชัดเจน การซื้อเนื้อสัตว์ในร้านไม่บาป แต่การพิจารณาว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ไม่ได้จบอยู่ที่กฎแห่งกรรม เราต้องไปคิดอีกทีว่า บางสิ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นบาปกรรมโดยตรง อาจจะไม่เหมาะสมก็ได้
.
.
สมัยนี้การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบของอุตสาหกรรมที่มองข้ามความเป็นสิ่งมีชีวิตของสัตว์ มองสัตว์ว่าสักแต่ว่าเงื่อนไขให้เกิดกำไร การเลี้ยงสัตว์ที่ผิดธรรมชาติของสัตว์แต่เพิ่มกำไรผู้เลี้ยงจึงมีทั่วไป ทำให้สัตว์เป็นโรคต่างๆ ทั้งทางกายและใจ ทรมานตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย อาตมายังรู้สึกเสียใจว่า ชาวพุทธในเมืองไทยเฉยเมยต่อความทุกข์ของสัตว์เลี้ยง ดูเหมือนกับว่าเราได้ปล่อยให้มุมมองต่อสัตว์จากศาสนาอื่นครอบงำโดยไม่ค่อยรู้สึกตัว ในภาคทฤษฎี เมตตาในพุทธธรรมกว้างกว่าความรักในคำสอนอื่น แต่ในภาคปฏิบัติ เรามักจะมองไม่เห็นเลย
.
.
คำถามอีกข้อหนึ่งที่ยังรอคำตอบที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ คือว่าการทานเนื้อสัตว์จำเป็นต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน ถ้าจำเป็นความน่าตำหนิน่าจะลดน้อยลง แต่ถ้าไม่จำเป็นน่าจะเพิ่มมากขึ้น เรื่องนี้ความเห็นมีมาก และเราต้องระวังไม่ให้เชื่อมั่นในความคิดของตนเองมากเกินไป อาตมาขอไม่ออกความเห็นมากนอกจากชวนศึกษาว่า การแบ่งอาหารออกเป็นหมวดหมู่ซึ่งให้ความสำคัญกับอาหารโปรตีนมาก กลายเป็นทฤษฎีตั้งแต่เมื่อไร และรับอิทธิพลจากกลุ่มธุรกิจอะไรบ้าง ไว้ใจได้ไหม ขอฝากเป็นการบ้านก็แล้วกัน
.
.
ท้ายนี้อาตมาขอเสริมว่าเหตุผลที่ดีที่สุด ข้อคิดที่น่าสนใจที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ ทุกวันนี้เราปลูกพืชให้สัตว์กินมากทีเดียว จะได้เนื้อสัตว์ ๑ กิโลกรัมต้องปลูกพืช ๑๐ หรือ ๒๐ กิโลกรัม ในโลกปัจจุบันที่มีคนอดอาหารและขาดอาหารเป็นร้อยๆ ล้านคน เรากำลังจัดการเกษตรในทางที่ฟุ่มเฟือยมาก ถ้าเรากินเนื้อสัตว์น้อยลง ปลูกพืชให้คนกินมากขึ้น จะไม่ดีกว่าหรือ
พระอาจารย์ชยสาโร


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO