พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 29 พ.ย. 2018 5:06 am
การภาวนาก็ให้บริกรรมติดต่ออยู่ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน
จะรวมหรือไม่รวมก็ไม่ต้องหากินทางคัดค้าน
คำว่า “บริกรรม “ คือ กำกับอยู่กับภาวนานั่นเอง
ถ้าบริกรรมไม่พอ มันก็ไม่ลง
ถ้าบริกรรมพอ มันลงเองไม่ต้องบังคับ
เมื่อมันลงรวมเป็นหนึ่งแล้ว ก็หยุดบริกรรมซะ
ปล่อยให้มันพักอยู่นั่นเอง
ถ้าไปเห็นสิ่งใดเป็นของแปลกหรือไม่แปลกก็ดี
เป็นของน่ากลัวหรือน่าชอบก็ดี
อย่าไปพะวงกับมัน วางเฉยซะ
ถ้านึกกลัว ก็ให้คว้ากรรมฐานมาภาวนาอีก
อย่างนี้เสมอๆ ให้มันเห็นคุณในชั้นนี้เสียก่อน
อย่าได้โลภไปในอุบายอันอื่นเลย
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
ความกังวลใจ เป็นภัยเป็นพิษ
เพราะเดินทางผิด จึงเกิดปัญหา
ทางถูกไม่เดิน เพราะไร้ปัญญา
ลงท้ายหมดท่า เป็นคนเข็ญใจ
ทำถูกเป็นศิษย์ ทำผิดเป็นครู
หมั่นตรวจตรองดู รู้จักแก้ไข
ทุกคนเคยล้ม ไม่ยอมจมไป
ลุกขึ้นสู้ใหม่ ลงท้ายรุ่งเรือง
โอวาทธรรม
หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน (พระพุทธิสารเถระ)
วัดอโศการาม
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
ปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้น้อยนักก็คือ ชีวิตในชาตินี้น้อยนัก ชีวิตในชาติข้างหน้ายาวนาน ไม่อาจประมาณได้ ชีวิตในภพข้างหน้าจะสิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นอยู่กับความหมดจดจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น เปรียบชีวิตข้างหน้ากับชีวิตนี้แล้ว ชีวิตนี้จึงน้อยนัก แม้รักตนจริงก็ควรรักให้ตลอดไปถึงชีวิตชาติหน้าข้างหน้าด้วย ไม่ใช่จะคิดเพียงสั้นๆ รักแต่ชีวิตนี้เท่านั้น
บทพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เรื่อง แสงส่องใจ
ท่านเริ่มต้นฝึกหัดภาวนาด้วยบทบริกรรมพุทโธ ท่านเทศน์ไว้ว่า "อย่างหลวงปู่มั่นท่านสอนท่านให้บริกรรมพุทโธ แม้จะได้เรียนมาถึง ๕ ประโยคก็ต้องได้มาเรียนพุทโธกับท่าน บางองค์ต้องเรียนถึง ๑ ปี ๖ เดือนก็มี บางองค์ ๒ ปีก็มี พอมันอยู่กับพุทโธเท่านั้นแหละ มันจะเกิดหรอก ธรรมะจะเกิดถ้ามันสงบ ให้มันเกิดความสงบเสียก่อน แต่นี่ถ้าทางความคิดพิจารณา ได้เห็นครูบาอาจารย์หรือได้ดูหนังสือ ก็เอาสิ่งนั้นแหละมา มันก็เป็นสัญญาไป เพราะมันไม่ได้เกิดกับตัวเอง มันต้องเห็นด้วยตัวเองมันถึงจะเป็นปัจจัตตัง"
พุทโธมีความสำคัญมาก ครูบาอาจารย์เทศน์เรื่องนี้ไว้ดังนี้
"พุทโธไว้ พุทโธนี่พุทธานุสติ มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่กับเรา" หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัวท่านเน้นประจำ "อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ" เห็นไหม เวลาหลวงปู่มั่นท่านเสีย หลวงตาไปนั่งอยู่ปลายเท้า จิตดวงนี้มันดื้อนัก มันไม่เคยฟังใคร คนที่มันฟังก็นิพพานไปแล้ว เสียอกเสียใจนั่งร้องไห้คร่ำครวญหลายชั่วโมง สุดท้ายเวลามันคิดได้ นี่ในเมื่อบัดนี้คนสอนเราก็ไม่มีแล้ว แต่คำสอนเป็นหลักของท่าน ท่านสอนบอก
"ถ้ามีสิ่งใดที่มันเป็นความสงสัย ให้เข้าสู่ภายใน อย่าส่งออก ถ้ามีสิ่งใดที่ปฏิบัติแล้วมันสงสัย มันอันตราย อย่าตามไป อย่าส่งออก ให้เข้าข้างใน ให้อยู่กับผู้รู้ ให้อยู่กับพุทโธ"
หลวงปู่ลี กุสลธโร
ศิษย์ : ถ้านั่งสมาธิยังไม่ได้เลยค่ะ
ก็แสดงว่ายังพิจารณาไม่ได้
.
พระอาจารย์ : "ก็ต้องฝึกสติไปก่อน" ง่ายจะตายไป
เราขี้เกียจเองน่ะ "พุทโธ พุทโธ แค่นี้"
...มันยากตรงไหน.
............................................
.
หนังสือธรรมะบนเขา
เล่ม4 หน้า197,200
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.