Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง

อาทิตย์ 24 ก.พ. 2019 5:12 am

วิธีใช้หนี้พ่อแม่

ไม่ยากเลย
จงสร้างความดีให้กับตัวเอง และนี่ก็เป็นการใช้หนี้ตัวเอง

ตัวเราพ่อให้หัวใจ
แม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลือง
อยู่ในตัวแล้ว
จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน
จะไปแสวงหาแม่ที่ไหน

บางคนรังเกียจแม่
ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม
พอตัวเองแก่ก็เลย

ถูกลูกหลานรังเกียจ
จึงเป็นกงกรรมกงเกวียน
ยืดเยื้อกันต่อไปอีก

พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก
ไม่ต้องไปตาม
พระอรหันต์ที่ไหนหรอก

เหลียวดูพ่อแม่ในบ้านบ้าง
แล้วท่านจะรู้สึกว่า
ได้ทำดีตั้งแต่วันนี้แล้ว

หลวงพ่อจรัญ
วัดอัมพวัน สิงหบุรี






"..พระพุทธเจ้าท่านค้นพบแล้ว ความสุข คือการไม่มีอะไร ความสุขคือการไม่คิด ไม่ห่วง ไม่กังวลอะไร ความสุขคือการละปล่อยวาง.."

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ
วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี




ความเป็นจริงที่ผู้ภาวนาควรรู้ไว้ ๒

ผู้ไม่ปฎิบัติภาวนา ผู้ไม่เคยฝึกฝนอบรมจิตใจตนเองจะไม่ทราบสัปปายะทั้ง4 ตามความเป็นจริงได้ เสนาสนะสัปปายะ อาหารสัปปายะ บุคคลสัปปายะ อุตุสัปปายะ นี่ คือ สัปปายะทั้ง 4 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ใช่สถานที่ๆไปโอ่โถง มีกุฎิมากมายสวยงาม วิหาร ศาลาวิจิตรหรูหราใหญ่โต ผู้คนเข้ามาทำบุญท่องเที่ยวมากมาย ลาภสักการะมีมากอาหารการกิน ก็ล้นเหลือ เลือกฉัน เลือกกิน ตามปากตามกิเลสได้ อยู่สุขสบาย ถือ ว่าสถานที่นั้น เป็นสัปปายะไปเสีย ไม่เคยสนใจตรวจตราพิจารณาภายใน คือ จิตใจของตนว่าเป็นอย่างไร ขาดการศึกษาตรึกตรองธรรม จึงไม่เกิด มีเพียงธรรมะ ที่จำมาจากตำหรับตำรา ธรรมะที่เกิดจากการปฎิบัติภาวนาไม่เกิดไม่มีเลย

"สัปปายะของธรรม" หมายถึง สัปปายะที่ถอดถอนและฆ่ากิเลส ไม่ใช่สัปปายะที่สะสม และเอาใจกิเลส

ส่วนใจนั้น หมายเอาธรรมะที่เกิดจากการภาวนา เป็นตัววัด เราปฎิบัติในสถานที่อย่างไร เอาใจใส่เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา ตั้งอกตั้งใจ ในการประพฤติปฎิบัติตลอดเวลา เราก็ย่อมทราบดีว่า จิตใจของเรานั้นเป็นอย่างไร สงบหรือละเอียดยังไง การปฎิบัติของเราสม่ำเสมอ ไม่มีขาดตกบกพร่อง แต่จิตใจไม่สงบ ไม่เยือกเย็น ไม่รวมเป็นสมาธิ ทั้งๆที่ไปในสถานที่ไหนเราก็ทำเหมือนเดิมอย่างเดิม แต่ในบางแห่ง พอกำหนดเท่านั้น จิตใจรวมเข้าสู่ความสงบทันที จิตเยือกเย็น สุข สบายในการพิจารณาธรรมมะ เวลาถอดถอนขึ้นมาพิจารณาอะไร ก็เข้าใจได้ รู้เห็นได้ ที่เคยสงสัยก็สิ้นไป หมดไปจบไป นี่คือสัปปายะของผู้ภาวนา

ให้ดูภายใน คือ ใจของตัว ไม่ใช่เที่ยวไปหาแต่สถานที่วิเวก แต่ตัวของตัวก่อแต่ความวิวุ่น ไม่มีอะไรในใจมีแต่ความวุ่นวายในจิตในใจ สัญญาอารมณ์นั้นเล่าก็ตามติดมาเต็มร้อย นำมาก่อกวนตัวเองไม่หยุดไม่ถอย ก็เลยไม่รู้ไม่เห็นได้เลยว่าจิตใจของตัว มันดีชั่วอย่างไร สถานที่แต่ละแห่งเป็นอย่างไร ก็เลยไม่รู้ว่าสถานที่เช่นใดเป็นที่สัปปายะของใจ

ส่วนผู้ตั้งหน้าตั้งตากำหนดพิจารณารักษาจิตใจของตน ในการปฎิบัติภาวนาอย่างจริงจัง ก็ย่อมทราบได้ว่าสถานที่เช่นไรเป็นสัปปายะ สถานที่เช่นนั้นให้ความสุขความสงบสบายแก่ใจ

เมื่อรู้แล้ว ก็ดูแลรักษาเอาไว้ เพื่อเราจะได้ไปบำเพ็ญคุณงามความดีให้จิตใจ ได้รับความสุขความสงบเยือกเย็นต่อจิตใจต่อไป นี่มันจะเห็นชัดเจนในใจตัวอย่างนี้ จะรู้ได้เข้าใจได้ว่าสถานที่เช่นนี้ เป็นสถานที่สัปปายะหรือไม่สัปปายะ นี่หมายถึงสถานที่

พระอาจารย์รังสรรค์ อภิปุญโญ
วันเสาร์ ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒




อย่าไปโลภแต่บุญระดับเดียว

โลภบุญก็คืออยากได้บุญเยอะๆ โลภบุญนี้ไม่เป็นกิเลส เป็นธรรม เพราะบุญนี้เป็นประโยชน์แก่จิตใจ บุญมีแต่คุณแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษต่อจิตใจ เป็นเหมือนยารักษาจิตใจให้หายจากความทุกข์ต่างๆ ฉะนั้นการโลภบุญนี้ถือว่าเป็นมรรคเป็นธรรม บุญก็มีหลายระดับ บุญระดับทาน บุญระดับศีล บุญระดับภาวนา อย่าไปโลภแต่บุญระดับเดียว เช่นอย่าไปโลภกับระดับทำบุญอย่างเดียว ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนา ต้องโลภให้มันครบเหมือนกับอาหารที่เรากินนี้ต้องกินครบ ๔ หมู่ ถึงจะดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงได้ ฉันใดบุญก็มี ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้เราโลภกับบุญเหล่านี้ แล้วต่อไปจิตของเราก็จะแข็งแรง จิตของเราก็จะมีแต่ความสุข ปราศจากความทุกข์...

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ตอบกระทู้