พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 24 พ.ค. 2019 4:17 am
“..ผู้หวังอรรถธรรม ความพ้นทุกข์จริง ๆ หลวงพ่อจึงอยากให้ตั้งใจภาวนาอยู่ที่บ้าน ฟังเทศน์พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงตาวัดป่าบ้านตาดเรา ทางสถานีวิทยุ แล้วตั้งใจปฏิบัติ ติดขัดอะไรเทศน์ท่านบอกในนั้นหมด
ให้เชื่อหลวงพ่อนะ ที่หลวงพ่อพูดนี้ เข้าใจไหม ให้เข้าใจหลวงพ่อนะ อยากได้อรรถได้ธรรมจริง ๆ อยู่ที่บ้านไม่มีใครรบกวน ตั้งใจเอา อยู่ที่เราคนเดียว..."
หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร
วัดป่าด่านวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ
เรื่อง "พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน"
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า
"ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว"บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
หลังจากนั้นพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งเสด็จปรินิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือ "วันเพ็ญวิสาขบูชา" ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ ณ สาลวันอุทยาน ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
(ข้อมูลจาก : จิตประภัสสร)
ถ้าหากเราไม่สามรถจะควบคุมจิตของเราอยู่ในอารมณ์ภาวนา
หรือในแนวทางแห่งสภาวธรรมที่เรายกขึ้นมาพิจารณา
ไม่สามารถที่จะให้อยู่ในเรื่องในราวที่เราต้องการนั้นได้
เราก็ปล่อยให้จิตมันปลงไปตามยถากรรม
แต่เราต้องกำหนดสติพิจารณาตามรู้ตามเห็นความคิดของตนเอง
อย่าละ พร้อมๆกันนั้นก็เอาพระไตรลักษณ์ตามจี้มันไปเรื่อย
คือจี้ว่าอย่างไร จี้ว่าความคิดนี้มันก็ไม่เที่ยง
มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันก็มีแต่เกิดแต่ดับ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
- สุวฑฒโนวาท
ความเมตตา เป็นธรรมที่ทำให้คนเรามีคุณธรรม
เมตตาคือความคิดความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
ผู้ที่มีเมตตาคือผู้มีความเป็นมิตร ตรงข้ามกับศัตรู
ซึ่งมีจิตพยาบาทมุ่งร้าย เมตตาตรงข้ามกับโทสะ
พยาบาท เมตตาเป็นเครื่องอุปถัมภ์ แต่โทสะ
พยาบาท เป็นเครื่องทำลายล้าง
เมื่อเรามีความเมตตาต่อกัน ย่อมคิดเกื้อกูลกัน
ให้มีความสุข ผิดพลาดไปบ้างก็ให้อภัยกัน แต่ถ้า
ขาดเมตตาต่อกันแล้ว ก็จะมีแต่การทำลายล้าง
มีความพยาบาท ใครทำความไม่พอใจให้ ก็จะ
ตอบแทนด้วยความไม่พอใจเช่นกัน จึงควรมี
ความเมตตาต่อกัน เพื่อสังคมที่เป็นสุข .
- สมเด็จพระญาณสังวร ฯ (เจริญ สุวฑฒโน)
"กิเลสไม่เคยกลัวใคร กลัวแต่ธรรมเท่านั้น ถ้าใครมีธรรมในใจแล้วกิเลสกลัว ไม่ว่าฆราวาส ไม่ว่าพระ กิเลสกลัว ถ้าไม่มีธรรมไม่กลัว
ให้ยึดเอาหลักนี้เป็นเกณฑ์นะ กิเลสดังที่เคยพูดแล้ว มันเป็นภัยต่อสัตว์โลกมานานสักเท่าไร แล้วกิเลสเหล่านั้นอยู่ที่ไหนเวลานี้ มันก็ติดแนบอยู่ในหัวใจของเราทุกคน เทศน์ก็ต้องเทศน์ตำหนิตรงนี้ด้วยกัน จะไปว่าใครดีใครไม่ดีไม่ได้ มันมีอยู่กับทุกคน ให้ต่างคนต่างแก้ ดัดแปลงเจ้าของให้เป็นคนดีขึ้นมา อย่าเป็นบ้าตั้งแต่ตกแต่งภายนอก เรื่องของกิเลสหลอกให้ตกแต่ง อะไรก็ไม่ดี อะไรไม่งาม อันนั้นไม่ดี อันนี้ไม่ดี ตกแต่งจนวันตายก็ไม่เห็นความสุขความเจริญอะไรในจิตใจเลย ไม่มีหลักมีเกณฑ์เลย
ถ้าตกแต่งภายในจิตใจนี้ ทุคตะเข็ญใจก็เถอะ เรื่องหัวใจสง่างาม ตัวใจนี้แหละตัวที่จะพาไปมรรค ไปผล ไปสวรรค์ นิพพาน ไม่ได้ไปด้วยการตกแต่งนั้นตกแต่งนี้ อันนี้เป็นวัตถุภายนอก เป็นเรื่องของกิเลส มันชอบสวยชอบงาม ใครไปตำหนิไม่ได้นะกิเลส ชอบยกชอบยอก็ตัวกิเลส ชอบสวยชอบงามตัวกิเลส ตัวปลิ้นปล้อนหลอกลวง หวานฉ่ำหลอกหูหลอกตาสัตว์โลกให้ล่มจมไปก็คือกิเลส ธรรมท่านไม่หลอก พูดอย่างตรงไปตรงมา ผิดบอกว่าผิด ถูกบอกว่าถูก นี้เรียกภาษาของธรรม ตายใจได้ทั้งนั้น แล้วก็ไม่เคยเห็นธรรมว่าหลอกลวงต้มตุ๋นสัตว์โลกรายใดให้ได้รับความฉิบหายลงไป ไม่เคยมี แต่เรื่องกิเลสนี้เต็มไปหมด
มีอยู่กับหัวใจของสัตว์จึงต้มกันได้ทุกแง่ทุกมุม"
"หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
ยืมเงิน แล้วไม่ให้คืนจะทำอย่างไร – คำแนะนำจาก
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
“มีเงินให้เขากู้ มีความรู้อยู่ในตำรา แต่เวลาจะหยิบยกมาใช้มันลำบากเหลือเกิน ทุกคนไม่อยากอยู่ในสภาพนี้ บางคนก็ตกอยู่ในสภาพจำยอม เกิดปัญหาแล้วไม่ทราบว่าจะแก้อย่างไร
ถ้าเรามาเจริญกรรมอาจช่วยได้ กำหนดยืนหนอ 5 ครั้ง เบื้องบนจากปลายผมลงไปถึงปลายเท้า เบื้องล่างจากปลายเท้าขึ้นมาถึงปลายผม
เมื่อกำหนดยืนหนอ 5 ครั้งจนคล่องแคล่วว่องไวแล้ว พอเห็นคนเดินมา จิตเราจะสัมผัสได้ทันทีว่า คนนี้จะมาทำไม สัมผัสจะบอกเราแล้วว่า “เป็นมิตรตอนกู้ เป็นศัตรูตอนทวง คนมาขอยืมเงินต้องไม่ให้”
อยากจะเรียนถามโยมว่า จะโกรธกันหนเดียวหรือโกรธกันหลายหนดี ถ้าอยากโกรธกันแค่หนเดียว ให้สะบัดก้นหนีเลย วันหน้าเขาจะมองหน้าสนิท แต่ถ้าให้ยืม วันหน้าจะโกรธกันอีกหลายหนเพราะทวงทีไรก็โกรธกันทุกที เพื่อนกันไม่พูดกันจนบัดนี้
หากเพื่อนถามว่า “เงินไม่มีหรืออย่างไร ถึงไม่ให้ยืม” ถ้าเรามี ต้องตอบว่า “มี” อย่าโกหก แต่เงินที่มีอยู่นั้นเราจำเป็นต้องใช้ ต้องส่งลูกเรียน ต้องซื้อบ้านให้ลูก ถ้าเพื่อนเอาไปเสียแล้ว ลูกจะเอาที่ไหนเล่า
บางคนเลือกโกหกเลย มีเงินอยู่ในตู้แต่บอกเพื่อนว่าไม่มี อย่าโกหกนะ เงินหนีเลย เงินมันจะเสียใจเลยหนีไปอยู่กับคนนั้นเลย
ทองลุกได้ ทองหนีได้ เงินหนีได้นะ ถ้าคนไหนมีมงคล คนนั้นเงินไหลนอง ทองไหลมา ถ้าคนนั้นเป็นอัปมงคล ทองจะหนีออกนอกบ้าน อย่าโกหกนะ
ถ้าใครยืมเงินเราไปแล้ว ให้อธิษฐานจิต แผ่เมตตาว่า เขาเอาไปแล้ว ขอให้เขารวย เขาจะได้นำมาใช้เรา แต่ถ้าเป็นศัตรูกันแล้ว คงแผ่เมตตาไม่ไป ต้องนั่งกรรมฐานพัฒนาจิตเราให้ลึกซึ้งและขออโหสิกรรมเขาก่อน แล้วจึงแผ่เมตตาให้เขา
ถ้าไม่อย่างนั้นยิ่งแผ่ยิ่งไปกันใหญ่เลย…”
ที่มาจาก หนังสือความเชื่อเรื่องกรรมและการแก้กรรม
(หลวงพ่อจรัญ)
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.