"หาบดีกว่าคอน นอนดีกว่านั่ง
หมานอนไม่หมุนหัวฟ้าผ่า "
แปลว่า"คนเราเวลาจะพดูจาปราศัยกัน ถ้าหากเขาพูดมาแรงๆหรือว่าจะเป็นการกระทบเบียดเบียน หรือจะพูดอะไรต่างๆนาๆที่อาจจะเป็นถ้อยคำที่ไม่ค่อยสุภาพมากนัก หรือเวลาจะคุยเรื่องการงานอะไรก็แล้วแต่ ให้เรา "หาบ"ไว้ หมายถึง ให้เราตามน้ำเขาไป ไม่ให้คำพูดของเรานั้น ไปพูดตัดบท หรือกระทบกระเทือนผู้อื่น ให้เราพูดคล้อยตามผู้นั้นไป ดีกว่าเราจะต้องมานั่งทะเราะ และเป็นทุกข์เสียปล่าวประโยชน์ จึงเป็นที่มาของคำว่า "หาบ ดีกว่า คอน นอนดีกว่านั่ง หมานอนไม่เวียนหัว ฟ้าผ่า
โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่บาครูจารย์ หลวงปู่ลี ตาณังกโร วัดป่าหัวตลุก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครรสวรรค์
"ธรรมะไม่ใช่เครื่องมือไปเถียงทะเลาะกัน ใครเก่งกว่า ใครเหนือกว่า ใครแน่กว่า ยิ่งเถียงมากอัตตายิ่งฟุ้งมาก ต่างฝ่ายยิ่งห่างไกลความพ้นทุกข์
สัญญาความจำที่ไปขโมยปัญญาผู้อื่นมา ถ้าใช้ปฏิบัติแก้กิเลสตนเองย่อมเกิดประโยชน์ หากนำไปใช้โต้วาทีกันจะเกิดโทษ
ได้ประทีปมาควรใช้ส่องแสงสว่างนำทาง ไม่ใช่นำไปใช้จุดไฟเผาทำร้ายทำลายกัน สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นก็มีโทษมหันต์..."
โอวาทธรรม
พระอาจารย์คม อภิวโร วัดป่าธรรมคีรี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
* หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านกล่าวไว้ว่า .....
"กรรมเวรใครทำลงไปแล้ว ผู้กระทำกรรมนั้นแหละย่อมได้รับผลด้วยตนเอง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ หรือคนอื่นจะถ่ายทอดให้ก็ไม่ได้เหมือนกัน
คนส่วนมาเข้าใจผิดในหลักพระพุทธศาสนาอยู่มากทีเดียว เมื่อคนได้ทำกรรมเวรไว้ด้วยเจตนาอันแรงกล้า จนเป็นเหตุให้ได้จองกรรมจองเวรกันแล้ว ภายหลังมาระลึกได้ว่าตนได้กระทำกรรมเวรมาก แล้วคิดอยากถ่ายถอนกรรมเวรนั้นให้หมดไปเสีย เมื่อได้ทำบุญก็อุทิศบุญนั้นไปให้เจ้ากรรมนายเวร เพื่อให้บุญนั้นไปถึงผู้กระทำกรรมเวรแก่เรา เพื่อว่าผู้นั้นเห็นบุญของเราแล้วจะได้ใจอ่อน จะได้อโหสิกรรมให้แก่เรา
ความเป็นจริงแล้ว ในพุทธศาสนานี้ ไม่มีอย่างนี้
มีแต่สอนว่า ใครทำกรรมเวรอันใดไว้แล้ว ผู้กระทำกรรมเวรนั้นย่อมได้รับผลกรรมนั้นด้วยตนเอง
กรรม เวร เป็นนามธรรม ไม่มีตัวตน เกิดจากเจตนาของคน เมื่อเกิดแล้วจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน นอกจากใจของคนเป็นผู้เก็บไว้ด้วยการระลึกถึงเท่านั้น เจ้ากรรมนายเวรคือ ตัวของเราเอง เมื่อเอาสติ คือ เจ้ากรรมนายเวร ควบคุมจิตใจของตนไว้ ไม่ให้ทำกรรมทำเวร นั้นแหละเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่แท้จริง"
โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า.. เจตนาหังภิกขเว สีลังปะทามิ.. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตตรัสว่าเจตนาเป็นตัวศีล นั้นก็คือ จิตใจนั้นเองที่มีเจตนา ไม่ใช่ร่างกายไม่ใช่วาจา เจตนามาจากจิตใจ เรียกว่าศีลจะบริบูรณ์ได้ก็โดยอาศัยซึ่งตัวเจตนานั้น งดเว้นสิ่งที่มันผิดจากข้อศีลธรรมที่เราได้สมาทานเอาไว้ เรียกว่าตั้งอยู่ในศีล
ศีล 5 นี้สามารถทำให้บุคคลบรรลุโสดาบันได้ ในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีสามีภรรยาเป็นพระโสดาบันบุคคลทั้งคู่ ก็อยู่กันได้ทั้งคู่ด้วยศีล 5
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
พุทธศาสนามีความสำคัญกับประเทศชาติ...หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ชาติไทยก็มีพระเกจิอาจารย์ที่ท่านมีของขลังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จโต ซึ่งท่านเป็นพระของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านก็ยังมีของขลัง ...จนกระทั่งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระป่ากรรมฐานปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านใช้เวลา ๔๐ ปี ในการภาวนาจนบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเป็นพระอรหันต์ มีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก...การบรรลุธรรมจนถึงพระอรหันต์นี่ยากมาก เทียบกับการจบปริญญาเอก ถ้าได้โสดาบันก็เทียบเท่าปริญญาโท พวกเราเอาแค่ระดับสมาธิ (ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา) ปริญญาตรีให้ได้ก่อน...
บางช่วงบางตอนจากธรรมเทศนาของ
หลวงปู่ทิวา อาภากโร ในวันอาสาฬหบูชา ๑๖ ก.ค.๒๕๖๒ ณ สวนปทุมภาวนา มูลนิธิพัฒนาจิต จ.ปทุมธานี
ถ้าหากคนเรามองดูเห็นความตายอยู่ใกล้ตนแล้ว ก็จะรีบขวนขวายสร้างคุณงามความดี ให้เกิดให้มีขึ้นแก่ตนเองได้ ถ้าบุคคลไม่เจริญมรณานุสติกรรมฐานไม่ระลึกถึงความตายในวัน หนึ่งวันหนึ่ง ไม่รู้ว่าตนเองจะตายในวันใดวันหนึ่งแล้วก็ย่อมเป็นคนประมาท เป็นคนที่หลง ระเริงเพลิดเพลินอยู่ว่า ชีวิตของเรานี้จะอยู่ได้ยืนยาวนาน ไปหลายวันหลายเดือนหลายปี ก็จะมีความประมาท
โอวาทธรรม:องค์หลวงเปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก(บ้านปง) จังหวัดเชียงใหม่
สตินั้นให้มีทุกเวลา ดังที่ท่านแสดงไว้แล้วว่า สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ในธรรมทุกขั้น สตินี้ปล่อยไม่ได้เลย ตั้งแต่พื้นๆ ที่เราเริ่มตั้งสติ จนกระทั่งสติสุดท้ายคือ มหาสติมหาปัญญา สตินี้จะติดแนบเข้าไปจนเป็นความละเอียดลออ ถึงขั้นมหาสติมหาปัญญา จากการบำรุงรักษาสืบต่อกันไม่หยุดไม่ถอยนี้แล
ท่านทั้งหลายต้องการมรรคผลนิพพาน อย่ามองไปที่อื่นที่ใด ให้นอกเหนือไปจากจุดหมายที่แสดงไว้เวลานี้ ในเบื้องต้นให้ตั้งคำบริกรรมให้ดี แล้วมีสติกำกับ เคลื่อนไหวไปไหน สติกับคำบริกรรมอย่าให้เคลื่อน ให้มีความรู้สึกตัว หากเรามีความเคลื่อนไหวกับกิจการงานใด ก็ให้มีสติ ถ้าไม่บริกรรม ก็ให้มีสติรับรู้อยู่นั้น เรียกว่า เป็นสัมปชัญญะ แต่ส่วนมากของท่านผู้ปฏิบัติจริงๆ แล้ว จะประกอบการงานใดๆ ก็ตาม คำบริกรรมจะติดแนบอยู่กับใจตลอดไป นี่เป็นความเหมาะสมมาก
เทศน์อบรมพระวันเข้าพรรษา ณ วัดป่าบ้านตาด หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เมื่อค่ำวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
เป้าหมายของการภาวนา
ไม่ใช่เพื่อกำจัดความคิด.. เสียทั้งหมด
แต่เพื่อระงับความคิดที่เป็นโทษ.. ต่อจิตใจเท่านั้น
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ ที่พำนักสงฆ์บ้านไร่ท่อสี
ถ้าจิตของตนสงบลงแล้ว ให้หยุดบริกรรมเสียอีก ให้กำหนดเอาตัวสำคัญทีเดียว คือ “ จิต “ เมื่อกำหนดจิตให้มั่นอยู่ที่ความรู้ เพ่งรวมลงทั้งหมดทีเดียว พิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จนจิตมีความสลดสังเวช เป็นเหตุให้จิตสงบรวมลงเข้าสู่ภวังค์ คือ ภพของจิต ที่เป็นกามภพบ้าง รูปภพบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง จิตที่เข้าสู่ภวังค์นั้นมีอาการวุบวับค่อยๆเบาๆบ้าง เป็นขณะๆแล้วกลับออกบ้าง เข้าไปตั้งแล้วอยู่ภายในบ้าง มีความรู้บ้าง ลืมบ้าง ถ้าสติอ่อนจักลืมตัวบ้าง ไปปรากฏนิมิต บางทีก็ยึดถือเอานิมิตที่เกิดบ้าง บางทีลืมกายตนเองบ้าง บางทีลืมคำบริกรรมภาวนาไปบ้าง ถ้าจิตเป็นเช่นนั้นจักกลายเป็นโมหสมาธิ หรือมิจฉาสมาธิ และเป็นมิจฉาวิมุตติบ้าง คือสมาธิหลง สมาธิผิด พ้นผิดเหตุนั้นเมื่อจิตเป็นสมถะ ถึงตอนนี้จึงให้ความรู้ตัวอยู่เสมอ อย่าลืมกายลืมจิต โดยมากถ้าจิตเข้าสู่ภวังค์บางขณะนั้นมักลืมตัว และมักปรากฏนิมิตต่างๆ บางทีก็เกิดอยากเห็นอยากดู เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ยึดถือเอา เกิดความพอใจ ทำให้จิตลอยไปต่างๆ เลยไม่พบสมาธิที่ดีที่แน่วแน่แกล้วกล้ามีปัญญา เพราะนิมิตมากีดกันเสีย ไม่เกิดวิปัสสนาปัญญาได้ ฉะนั้นจึงให้ปล่อยวางไปเสีย คือตั้งจิตไว้มิให้หวั่นไหวไปด้วยอาการต่างๆ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
|