พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 22 ส.ค. 2019 5:30 am
เราปฏิบัติดี ประพฤติดี เราทำแต่ความดีอยู่แล้วทำไมเราไม่ชื่นชมความดีของตัวเอง ไม่สรรเสริญความดีตนเอง ไม่ดีใจกับความดีตัวเอง แต่กลับเอาใจไปคิดไปจับผิด ไปหยุ่งวุ้นวายกับคนอื่นที่เขาไม่ปฏิบัติดี ไม่ประพฤติดี ไม่ทำความดี เอาสิงนั้นมาใส่จิตใส่ใจตัวเองให้มัวมองทำไม ได้ประโยชน์อะไร เป็นประโยชน์อะไรต่อตนเองเหล่า มีแต่จะทำให้ตนเองเป็นทุกและคนที่อยู่รอบข้างเป็นทุกและเดือดร้อนด้วย เขาจะทำสิ่งใดเขาจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นเรื่องของเขาเอาตัวเองให้รอดเป็นพอจากวัฏสงสารเป็นพอ
โอวาทธรรม หลวงปู่บุญ ปุญญรโต วัดป่าดงมะไฟบุษบาราม ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
ผู้ไม่ทำประโยชน์ตามวัย ย่อมเสียดาย และเสียใจ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(อัมพร อัมพโร)สมเด็จพระสังฆราช
สันตุสสโกวาท
“เชื่อคนง่าย”
เมื่อได้ยินได้ฟังอะไรมา อย่าไปหูเบาอย่าไปเชื่อง่าย
ยิ่งทุกวันนี้ เพราะมีทั้ง เฟสบุ๊ค ยูทูป โซเชี่ยล
สื่อข่าวต่างๆ ระดมบอกกล่าว
พวกที่หูเบาทั้งหลายก็กระโดดโลดเต้น เมื่อได้ยินมาแล้ว
ไม่ได้ฟังเหตุไม่ได้ฟังผล
เขาพูดด้วยเหตุอันใดในการที่เขาพูดหรือเขาแสดงมานั้น
อย่าเป็นผู้หูเบากระโดดโลดเต้น อย่าเป็นคนเชื่อคนง่าย
แต่ก็อย่าเป็นคนหูตึงไม่ยอมฟังใครเลย ถ้าหากไม่ยอมฟังใครเลย
เหมือนกับที่หลวงพ่อเปรียบเทียบให้ฟัง
เหมือนกับถ้วยน้ำชา ๔ ถ้วย ถ้วยหนึ่งคว่ำ ถ้วยหนึ่งหงายแต่ก้นรั่ว
ถ้วยหนึ่งน้ำเต็มแก้ว แต่ถ้วยหนึ่งมันพร่อง น้ำพร่องแก้ว น้ำไม่เต็มแก้ว
หลวงพ่อได้เปรียบเทียบให้ฟังว่า
ไอ้พวกที่น้ำคว่ำแก้ว เทใส่ยังไงก็ไม่เข้า
ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับคนทั้งหลาย
ไม่ยอมฟังใคร หัวดื้อหัวรั้นเชื่อแต่ตัวเอง ไม่ยอมเชื่อใคร
ปิดหูปิดตา ไม่ยอมฟังคำเสียงคนผู้หวังดีแนะนำสั่งสอนบอกกล่าว
แก้วอีกใบหนึ่งหงายปากจริงอยู่แต่ก้นรั่ว เทน้ำชาใส่ทีไรรั่วหมด
ถ้าจะเปรียบเทียบกับคนฟังได้ทุกอย่าง ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา
แต่ว่าไม่นำมาประพฤติปฏิบัติ ไม่ได้นำมากลั่นกรองไตร่ตรอง
เพราะมันรับไม่อยู่ เพราะใจมันรั่ว เหมือนกับถ้วยชามันรั่วมันเทน้ำไม่อยู่
แต่แก้วที่สามน้ำชาเต็มแก้ว เทน้ำเท่าไหร่มันก็ล้น
คนประเภทนี้คล้ายๆกับว่ารู้หมดทุกอย่าง ข้านี้รู้หมดทุกอย่าง
อย่ามาสอน อย่ามาพูด ข้ารู้หมดแล้ว
ประเภทนี้ก็มีอีกมากเหมือนกัน
ไม่ยอมฟังคำใคร เป็นผู้ฉลาด รู้หมดทุกอย่าง
แต่พอเอาเข้าจริงๆตัวเองจะฉลาดได้ยังไง
มันรู้แต่เพียงที่รู้เท่านั้นเอง สิ่งมันที่โง่มีตั้งมากมาย
มนุษย์น้ำเต็มแก้วมีมากขึ้นเรื่อยๆทุกวัน
ถ้าน้ำพร่องแก้ว คือ น้ำไม่เต็มแก้วนี่
พร้อมที่จะรับฟังเหตุผลของผู้ใดใครก็ตามมาเทใส่ก็ฟัง
ถ้าเขาเทมาเขาพูดมามากลั่นกรองดูอีก พูดมานี้มีเหตุมีผล
ถ้ามีแต่เอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้คนอื่นมาใส่ในแก้วไว้
เราพิจารณาดูแล้วไม่ได้เรื่อง
เททิ้ง...ไม่เอา อันนี้คือน้ำไม่เต็มแก้วคือพร้อมที่จะตรวจตราดู
กลั่นกรองไตร่ตรองด้วยเหตุและผล
เพราะฉะนั้นให้พวกเราตรวจตราดูตนเองน่ะทีนี่
พวกเราเป็นคนประเภทไหน น้ำเต็มแก้ว น้ำพร่องแก้ว
หรือแก้วก้นรั่ว หรือน้ำล้นแก้ว
ให้พวกเราศึกษามองตนเองน่ะ
โดย หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
จากพระธรรมเทศนา “ถ้วยน้ำชา ๔ ถ้วย”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒
การปฏิบัติการพิจารณาธรรมะ ให้เห็นเป็นปัจจุบันธรรม
อย่าส่งจิตถึงอดีต อนาคต จะเป็นความกังวลฟุ้งซ่านไป
เพราะว่าธรรมะทั้งหมดที่พระพุทธองค์ทรงแสดง
ออกมาจากจิตคือ พระทัยที่บริสุทธิ์นั้น
การดับทุกข์ คือ การรู้เท่าทันทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย ...
การพิจารณากายให้รู้เท่าทันทุกข์
ให้รู้เท่าทันความเป็นจริง
เวลาพิจารณาอย่าใส่สิ่งที่ไม่มีเข้ามา
และอย่านำสิ่งที่มีอยู่ออกหรือตัดออก
อันนี้จะเป็นความไม่ละเอียดในการพิจารณา
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
"พระนิพพานอยู่ใกล้ที่สุด ไม่ไกล อย่าไปหาไกล
หนังมันห่อไว้ กระดูกมันห่อไว้ ทำลายมันออกให้หมด
จิตอันนี้ มันก็ปิดบังมรรคผลนิพพานไว้
ทำลายจิตลงไปอีก จิตแตกสลายออกไปแล้ว
ไม่ต้องพูดถึงมรรคผลนิพพาน ทำลายให้เป็นของว่าง
ยึดผู้รู้ว่าเป็นเรา ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น
จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมสักแต่ว่าธรรม
ไม่ให้มันไปไหน ให้มันอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม
ของสมมุติแท้ๆ ก็มีของจริงอยู่ในสมมุตินั้น
จิตเป็นตัวสมุทัย เป็นตัวอริยสัจ
มีสติแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญาก็สมบูรณ์
ศูนย์รวมของธรรม อยู่ที่ใจ
กิเลสตัณหาอยู่ในจิตเท่านั้น ไม่ได้อยู่ใน รูป เสียง
ธรรมทั้งหลายเกิดจากจิตของเรา อยู่ที่จิต
เวทนาไม่มีตัวไม่มีตน จิตของเราก็เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก
แต่มันอยู่ในจิตอันนี้ หวงหนังห่อขี้ หนังห่อมูตรห่อคูถ”
หลวงปู่แบน ธนากโร
เรื่องปริญเญยฺยธรรม
การกำหนดพิจารณาธรรมเรียกบริกรรมจิต
ที่กำลังทำการกำหนดพิจารณาธรรมอย่างเอาใจใส่
เมื่อได้ความแน่ใจในเหตุผลของธรรมที่พิจารณานั้นแล้ว
จิตสงบลงสู่ภวังค์ ดำรงอยู่หน่อยหนึ่งแล้วก็ถอยออก
ความสงบในขั้นนี้เรียกว่า "บริกรรมสมาธิ" หรือ "ขณิกสมาธิ"
การกำหนดพิจารณาธรรม
แล้วจิตสงบรวมลงสู่ภวังค์เข้าถึงฐีติธรรม
ดำรงอยู่นานหน่อยแล้วถอยออกมารู้เห็นอสุภะปรากฏขึ้น
ความสงบในขั้นนี้เรียกว่า "อุปจารสมาธิ"
การกำหนดพิจารณาธรรมคือ อสุภนิมิตที่ปรากฏแก่จิต
ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต นั้นจนเพียงพอแล้ว
จิตปล่อยวางนิมิตเสีย สงบรวมลงสู่ภวังค์ถึงฐีติธรรม
ดำรงอยู่นาน เป็นเอกัคคตามีอารมณ์เดียว
สงบนิ่งแน่วแน่ มีสติรู้อยู่ว่า
จิตดำรงอยู่กับที่ ไม่หวั่นไหวไปมา
ความสงบชั้นนี้เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.