นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน เสาร์ 18 ม.ค. 2025 2:25 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: แผ่เมตตา
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 13 ก.ย. 2019 5:14 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4805
"...การตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ กะคือกันกับเฮาโยนหินลงนำ้นิหล่ะ แฮงคลื่นมันกะค่อยกะเพื่อมออกไปจนสุดฝั่ง
อำนาจแห่งความเมตตากะคือกัน กระแสจิตเฮาฮอดใส เขากะได้ทั่วฮอดนั้น..."

โอวาทธรรม
หลวงปู่ปั่น สมาหิโต
วัดป่าศิริดำรงวนาราม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร






สิ่งที่เราต้องจำให้แม่นอยู่ตลอดเวลาก็คือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ขอให้จำ ๓ คำนี้ไว้
แล้วนำเอาไปปฏิบัติเถิด
จะอยู่อย่างปลอดภัยจากความทุกข์ทั้งหลาย

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต






เมื่อสมาธิธรรมปรากฏแล้ว เอาแค่นี้ล่ะ ไม่ต้องเอาอะไรมาก แค่นี้ก็พออยู่พอกิน พอเป็นพอไป ใจมีเครื่องอยู่แล้ว ถ้าเราหาความสงบไม่ได้ ยังไงก็ไม่มีที่อยู่ อยู่ที่ไหนก็รำคาญ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ทุกข์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่สิ่งเหล่านี้ไปก่อกวน เราต้องหาที่พักของใจ หาเครื่องอยู่ให้จิตให้ได้ ก็คือการฝึกสมถะให้ใจแน่นหนามั่นคง ถ้าความสงบไม่ปรากฏ เราจะเอาอะไรเป็นรางวัลชีวิต เราจะเอาอะไรเป็นความภาคภูมิใจ มันก็มีแต่ความหดหู่ ขี้เกียจขี้คร้าน มันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นคนทั้งหลายจึงปฏิบัติในด้านจิตตภาวนา มันถึงขี้เกียจ มันถึงเลิกไป มันถึงไม่เอาไหน เพราะปฏิบัติไป ผลมันไม่ปรากฏ มันปรากฏแต่ทุกข์ เลยเกิดความท้อแท้ ลองให้สิ่งเหล่านี้ปรากฏมาดูสิ จากคนที่ไม่เชื่อในศาสนา จากคนที่ปฏิบัติแบบไม่อดทน จากคนที่ไม่มีความพากความเพียร จากคนที่มีใจหลักลอย มันจะเข้าใจขึ้นมาทันที นั่งอยู่ไหนก็นั่งได้ ไม่รำคาญ ไม่หงุดหงิด ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่ห่อเหี่ยว ไม่เอือมระอา ไม่ถูกความฟุ้งซ่านรำคาญไปยุแหย่ก่อกวน เพราะใจข้ามตรงนี้ไปแล้ว นั่งตรงไหนก็นั่งได้ เวล่ำเวลาไม่ต้องไปพูด กี่ชั่วโมงก็นั่งได้

คนที่นั่งไม่ได้เพราะใจหาความสงบไม่ได้ นักภาวนาทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายกัน เห็นธรรมเป็นปรปักษ์ เห็นการปฏิบัติแก้กิเลสเป็นเรื่องทุกข์ไป คนทั้งหลายจึงไม่คิดจะต่อสู้ ไม่คิดจะปฏิบัติ นอนเฝ้ากิเลส นั่งเฝ้ากิเลส ยืนเฝ้ากิเลส อยู่กับกิเลส กิเลสจึงไม่ถูกชำระ ยิ่งหมักหมมขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งหนาขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายความเชื่อความเลื่อมใสในศาสนาก็แทบจะไม่มี นานเข้า ๆ ก็ไม่มีศรัทธาในศาสนาเลย เมื่อก่อนไปที่ไหนก็คิดจะปฏิบัติ แต่พอกิเลสหนาขึ้นเรื่อย ๆ ก็ลืมแม้แต่ตัวเจ้าของ เลยหาทางออกให้จิตไม่ได้ สุดท้ายมาก็จมอยู่กับกิเลส ก็เพราะไม่เปิดใจดวงนี้ออกจากวงล้อมของกิเลส

พระอาจารย์โสภา สมโณ
๕ มกราคม ๒๕๖๒






"พระนิพพาน" อยู่ใกล้ที่สุด ไม่ไกล อย่าไปหาไกล
"หนัง" มันห่อไว้ กระดูกมันห่อไว้ ทำลายมันออกให้หมด
"จิต" อันนี้มันก็ปิดบังมรรคผลนิพพานไว้
ทำลายจิตลงไปอีก จิตแตกสลายออกไปแล้ว ไม่ต้องพูดถึงมรรคผลนิพพาน ทำลายให้เป็นของว่าง
ยึด "ผู้รู้" ว่า "เป็นเรา" ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น
"จิตสักแต่ว่าจิต" "ธรรมสักแต่ว่าธรรม"
ไม่ให้มันไปไหน ให้มันอยู่ใน "กาย เวทนา จิต ธรรม"
ของ "สมมุติแท้ๆ" ก็มี "ของจริง" อยู่ในสมมุตินั้น
"จิต" เป็นตัว "สมุทัย" เป็น "ตัวอริยะสัจ"
มี "สติ" แล้ว "ศีล สมาธิ ปัญญา" ก็สมบูรณ์
ศูนย์รวมของธรรม อยู่ที่ใจ
กิเลสตัณหาอยู่ในจิตเท่านั้น ไม่ได้อยู่ใน รูป เสียง....."
ธรรม" ทั้งหลายเกิดจาก "จิต" ของเรา
อยู่ที่ "จิต" เวทนาไม่มีตัวไม่มีตน
"จิต" ของเราก็เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก
แต่ "มันอยู่" ใน "จิตอันนี้" หวงหนังห่อขี้ หนังห่อมูตรห่อคูต

หลวงปู่ แบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ กิ่งอ.โคกศรีสุพรรณ สกลนคร






"โง่ก็โง่อย่างนักปราชญ์ หากฉลาดก็จะฉลาดอย่างคนโง่

เข้าใจไหม โง่อย่างนักปราชญ์คือยังไงล่ะ
นักปราชญ์ท่านศึกษาของจริงในจิตนี้
ฉลาดอย่างคนโง่ก็คือรู้หมดสารพัด รู้ตามตำราผูกนั้น ผูกนั้น นั่นล่ะ ฉลาดอย่างคนโง่
โง่อย่างนักปราชญ์ ฉลาดอย่างคนโง่ เราจะเอาอย่างไหน

ให้มันอยู่จุดเดียวอันนี้ จุดเดียวคือจิตของเรานี้ เพราะจิตรวมไว้หมดทุกอย่าง เป็นสถานที่อยู่ของกิเลส และก็เป็นสถานที่เกิดของธรรมด้วยสารพัด จิตทรงไว้ซึ่งความอัศจรรย์ เพราะทุกอย่างรวมอยู่ในจิต

พระพุทธเจ้าตรัสนะ
ธรรมทั้งหลายอยู่ในจิต
ธรรมทั้งหลายนะมันจะขนาดไหน
วิราคธรรม เป็นธรรมที่ประเสริฐสุด
พระนิพพานธรรม อมตธรรม เป็นธรรมที่ประเสริฐสูงสุดทั้งนั้น รวมอยู่ในจิตอันเดียว
วิมุติธรรม รวมอยู่ในจิตอันเดียว
หรือที่เรียกว่า กิเลสธรรม ที่ชั่วช้าลามก มันก็รวมอยู่ในจิตอันนี้ จึงว่าจิตนี่เขามีความอัศจรรย์ ไม่ปฏิเสธสักอย่าง

แล้วสมุทัยอยู่ที่ไหน
สมุทัยก็อยู่ที่จิต
ความเคลื่อนไหวของจิตที่เคลื่อนไหว ปราศจากสติ เป็นตัวสมุทัยทั้งนั้น
นี่จิตของเราเคลื่อนไหว เราคิดอ่านไม่มีสติ นั่นเป็นสมุทัย
เคลื่อนไหวนี่เขารวดเร็วที่สุด ไม่มีสตินั่นล่ะเป็นสมุทัยทั้งนั้น
ทุกข์มันก็เกิด ทุกข์เพราะอะไร เพราะกิเลสมันเผา

มรรคก็อยู่ที่จิต คำว่ามรรค คำว่าสติ
คำว่าปัญญา ก็เป็นการเคลื่อนไหวของจิต
แต่เคลื่อนไหวอย่างมีสติ เคลื่อนไหวอย่างมีสติมีธรรม
นี่เป็นมรรคขึ้นมาทันที
ที่เป็นปัญญาจริงๆ คือจิตของเรานี่มีความฉลาดคล่องตัวในการที่จะสลัดอะไรที่มันรุงรังในจิต
นี่คือปัญญา คล่องตัวรวดเร็วในการที่จะแก้ไข ปลดเปลื้อง ละถอน ในการที่จะสลัดกิเลสให้หลุดนี่คือปัญญา
ปัญญาเป็นการหมุนของจิต
สติคือตัวระลึกรู้
ปัญญาคือตัวหมุนของจิต

จิตของเราที่หมุน หมุนเพื่อที่จะทำลายข้าศึก นี่คือปัญญา เข้าใจไหม..."

หลวงปู่แบน ธนากโร
วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร





ธรรมที่ควรเจริญให้มีมากนั้น คือ สติ สตินี้ถึงมีมากเท่าไรก็ไม่เป็นภัย สติมีมากเท่าไรยิ่งดี มีสติมากใจมันจะไว ใจมันจะทันเหตุการณ์ เพียงอะไรนิดอะไรหน่อยที่จิตคิดปรุงภายใน ใจมันก็รู้ สติจะทำให้ไว รู้คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
เหมือนกับคนตาดี สิ่งไหนไม่ดีเขาเห็น เขาก็ไม่จับไม่ต้อง ไม่เอามา ส่วนคนตาบอด เมื่อมองไม่เห็น เมื่อเขาไม่รู้ เขาก็จับได้ทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ไฟก็ยังเหยียบ ยังจับได้ เพราะตาไม่เห็น คนตาดีเขาก็ต้องเว้น ไม่ไปเหยียบ ไม่ไปจับ ไม่ใช่แต่ไฟ ถึงหนามหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ เขาก็เลี่ยง ไม่ไปเหยียบ ไม่ไปจับ
สติก็เช่นกัน ถ้าเรามีอยู่ในจิตในใจ จะทำ จะพูด จะคิด สิ่งใดถ้าเรามีสติ สติจะพาเราเลี่ยงสิ่งที่เป็นภัย เป็นอันตรายทั้งหลาย
เรื่องสติจะหาที่ไหน จะไปหาที่ไหนก็ไม่เจอ ถ้าหากไม่ดูที่ตัวของตัวต้องฝึกต้องหัดให้รู้จักำหนดพิจารณาดูอยู่ภายนอก อย่าไปดูที่อื่น สำคัญที่ต้องกำหนดรู้ ให้ดูรู้ เข้าใจตามความเป็นจริง รู้จักพิจารณาไตร่ตรองที่เรียกว่า มีสัมปชัญญะ มีปัญญารู้จักทำความเข้าใจตามความเป็นจริง
ความรู้นี้จะเป็นสุขก็ตาม จะเป็นทุกข์ก็ตาม เฉยๆ ก็ตาม มันรู้ ตื่นอยู่ หลับอยู่มันก็รู้ นี่คือเรื่องของจิต สำคัญที่จิตอย่าไปติดข้อง
สติไม่มีทางเจริญขึ้นมาได้ ถ้าหากเราไม่มีปัญญาสอนใจให้รู้จักพิจารณาแก้ไขใจของตัว ไม่ใช่ว่ามันจะโง่เง่าเขลาอยู่ตลอด ไม่ใช่ว่ามันจะติดข้องอยู่ร่ำไป เมื่อฝึกอบรมแล้ว เราก็จะรู้เอง มันไม่คลุกเคล้าเมาความชั่วเหมือนเดิม มันจะฉลาดว่องไวขึ้น เรื่องอย่างนี้ต้องฝึก แล้วจะเข้าใจไม่ต้องมีใครมารับรอง ไม่ต้องหาประกาศนียบัตร เรารู้เอง ตัดสินตัวเองได้ว่าเราก้าวหน้ามีสติสัมปชัญญะเจริญขึ้นมาเพียงใด แต่ก่อนเป็นอย่างไร ปฏิบัติมาแล้วเป็นอย่างไร ตลอดปัจจุบันมันเป็นอย่างไร ตรวจชำระเองได้เรื่อยตลอดไป เมื่อทำแล้วสติย่อมดีขึ้น ความประมาทเผลอเรอก็จะลดลง

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO