Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

พิจารณาทุกอย่างเป็นอนัตตา

ศุกร์ 08 พ.ย. 2019 7:19 am

หลวงปู่แหวนให้ดูจิตอนิจจัง
”เมื่อดูร่างกายเสร็จแล้ว ให้ใช้ปัญญาพิจารณาดูจิต ดูอารมณ์ มีเกิด-ดับ เกิด-ดับ ดูอารมณ์อันนี้ออกไป อารมณ์อันนั้นเกิดขึ้น ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นอารมณ์ทุกข์ทั้งเกิดทั้งดับ ให้รู้ว่ามีอารมณ์โทสะเกิดขึ้นภายในจิต สังเกตให้ถูกให้ดี เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วเราจะต้องกำจัดมัน ไม่กำจัดไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นทุกข์ อารมณ์กลางๆ มันมีไม่ทุกข์ ไม่สุข มันเป็นเวทนา เวลาอารมณ์สุขเกิดขึ้น อารมณ์ทุกข์นั้นหายไป เมื่อรับอารมณ์สุข เราอยากได้อารมณ์ที่เป็นสุข แต่ว่าอารมณ์สุขมันไม่เที่ยง ถ้าท่านไปยึดไปประคองมัน ก็ทำให้ท่านมีความทุกข์ อารมณ์สุขมันก็เลยหายไปอีก
อารมณ์ทุกข์-สุขนี้ มันอยู่ในไตรลักษณ์เหมือนกัน ท่านต้องพิจารณาอย่างที่อธิบายมา พิจารณาจริงๆ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงไม่ควรที่จะไปก่อสร้างเกี่ยวกับสิ่งภายนอก ทำตัวเราให้ดีเสียก่อน เมื่อเราปฏิบัติดีแล้ว ญาติโยมมาทำบุญ ก็จะได้บุญมาก ทำตัวเราให้ดีนั้นเป็นทอง ส่วนสิ่งที่ก่อสร้างนั้นมันเป็นผง ผลพลอยได้อย่างอื่นนั้นมาเอง”
ธรรมเปลี่ยนโลก

หลวงพ่อพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป








"เฒ่ามากะเมื่อยง่ายย่างตำนั้นตำนี้เดินจงกรมกะชนของไปทั่วเป็นตาซังหลายเฒ่าแล้วกะดาย ถ้าย่างบ่ไหวกะสิคลานเอาหล่ะหลวงยายอ่ะ.."

หลวงยาย คุณแม่ชีบัวตูม
(พี่สาวในองค์หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต)






"เวทนา" มันเกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา เอ้า จับเอาจุดใด จุดหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดที่เด่นมากขึ้นมาพิจารณา จุดไหนที่ว่าเป็น "ทุกข์" เด่นกว่าเพื่อน กำหนดจุดนั้นเป็นต้นเหตุก่อน แล้วก็ซืมฐาบไปหมดในบรรดาเวทนาทั้งหลาย เพราะมันเกิดขึ้่นที่ไหน มันก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับ "จิต" ดวงเดียว พอพิจารณา "เวทนา" จิตมันก็วิ่งเข้าหากันทันที และทำการแยกแยะกัน เพราะ "สติปัฎฐานสี่" กายานุปัสสนา เวทนา จิตตา และ ธรรมานุปัสสนา เกี่ยวข้องกันอย่างนี้ อย่างไรเล่า "เวทนานอก" ก็หมายถึง "กายเวทนา" ที่เกิดความสุข ความทุกข์เฉยๆ มีอยู่ตามร่างกายส่วนต่างๆ "เวทนาใน" หมายถึงทุกขเวทนาภายในใจ สุขเวทนาภายในใจ และอทุกขมสุขะเวทนาภายในใจ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉยๆ ก็จัดเป็นเวทนาเหมือนกัน ซึ่งมีอยู่ภายในจิตของสามัญชนทั่วไป
เวทนาทั้งสามนี้ แม้ภาวนา ใจเข้าสู่ความสงบแล้ว ก็มีสุขเเวทนา อยู่ด้วยเหมือนกัน ปกติก็มีสวนมากมันมีทุกขเวทนาภายในใจ ถ้าเราไม่พิจารณา เช่นไม่เคยปฎิบัติธรรมเลย เวทนาทั้งสามนี้ก็มี แต่นี่ก็เป็นเวทนาแบบ "โลกๆ" ที่มีกัน ไม่ได้เป็นเวทนาที่เกี่ยวกับ ธรรมของผู้ปฎิบัติธรม
เวทนาเราปฎิบัติธรรมเข้าไป จิตใจเรามีความสงบเย็นใจ นี่เป็น "สุขเวทนา" จิตไม่รวมสงบลงได้ตามต้องการ เกิดความทุก่ขเวทนาทางกายทางใจขึ้ืนมา บางทีเหม่อลอยอยู่บ้าง อะไรบ้าง เฉยๆ บ้าง จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่ คำว่า "เหม่อลอย" อะไรอย่างนี้อยู่ภายในจิตของผู้ปฎิบัติ ไม่ได้หมายุถึง เหม่อลอยแบบคนไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย มันเป็นภายในจิตเอง นี้เป็น "อทุกขมะสุข เวทนา" เหมือนกัน
ตอนนี้เรายังไม่ทราบ ตอนที่มันเป็นอยู่อย่างเด่นๆนี้ เรายังไม่ทราบ เพราะยังไม่มีปัญญา ต่อเมื่อจิตมีความละเอียดเข้าไป มีอะไร อาการใด ปรากฎขึ้นมาย่่อมทราบได้ และค่อยๆ ทราบไปตามลำดับๆ ตามกำลังของสติปัญญาของตนเอง สิ่งเหล่านี้แล เป็นเจ้านายเหนือหัวของจิต เอ้า พูดให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเสียบ้าง เพราะความจริงเป็นเช่นนั้นมาดั้งเดิม

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศนาธรรมเรื่อง "ยอดธรรม"








จิตรวม
ก่อนที่จิตจะรวม บางคนก็ปรากฏว่า กายของตนหวั่นไหวสะทกสะท้านไป บางคนก็จะมีภาพนิมิตต่างๆ ปรากฏขึ้นเป็นภาพภายนอกก็มี แสดงอุบายภายในให้ปรากฏขึ้นก็มี แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละบุคคล ถ้าเป็นผู้ไม่มีสติก็จะมัวเพลิดเพลินลุ่มหลงอยู่ในนิมิตภาพนั้นๆ จิตก็จะไม่รวม

หากถอนออกเลยทำให้ไม่ได้รับประโยชน์ ไม่มีกำลัง แต่ถ้าเป็นผู้มีสติดีหากมีนิมิตภายนอก หรือธรรมผุดขึ้นภายในก็ให้น้อมเข้ามาเป็นอุบายของวิปัสสนากัมมัฏฐาน จิตก็จะรวมลงถึงฐีติจิต เมื่อจิตรวมลงก็ให้มีสติรู้ว่าจิตของเรารวมและให้รู้ว่าจิตของเรารวมลง
อิงอามิสคือ​ #กัมมัฏฐานหรือไม่ หรืออยู่เฉพาะจิตล้วนๆ ก็ให้รู้ อย่าไปบังคับให้จิตรวม และจิตรวมแล้ว อย่าบังคับให้จิตถอนขึ้นปล่อยให้จิตรวมเอง ปล่อยให้จิตถอนเอง และเมื่อจิตถอนหรือก่อนจะรวมชอบมีนิมิตแทรกขึ้นทั้งนิมิตภายนอกและนิมิตภายใน ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่านั่นเป็นเรื่องของนิมิตเป็นเรื่องของอุบาย

อย่าไปตามนิมิตหรืออุบายนั้นๆ ให้น้อมเข้ามาเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยกขึ้นสูงไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ให้พิจารณากำหนด
กัมมัฏฐานที่ตนเคยกำหนดไว้อย่าละเลยละทิ้งด้วยความมีสติอยู่ทุกระยะที่จิตรวม จิตถอน ถ้าหัดทำให้ได้อย่างนี้ ต่อไปจะเป็น
สันทิฏฐิโก คือเป็นผู้รู้เองเห็นเอง แจ้งชัดขึ้น จะตัดความเคลือบแคลงสงสัยไม่สงสัยลังเลในพระรัตนตรัยต่อไป

พระอาจารย์มั่น_ภูริทัตตเถระ






เกิดมาภพใดชาติใดก็ทุกข์แย่เต็มประดา
ทุกข์ตั้งแต่วันเกิดถึงวันแก่ ทุกข์จากวันแก่ถึงวันแตกดับวันตาย
ทุกถ้วนหน้าไม่มีใครข้ามมันไปได้

จึงให้เรามาสนใจในการรวมจิตใจของเรา มาให้สงบระงับ ตั้งมั่น เที่ยงตรง อยู่ภายในดวงใจให้ได้ทุกลมหายใจเข้า ทุกลมหายใจออก จนกระทั่งจิตใจสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนาให้ได้

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร








หลวงพ่อชาลงไปเยี่ยมวัด
ชิตเฮิร์สท์ที่อังกฤษ มีอุบาสกคนหนึ่ง
ที่เคยศึกษาธรรมะฝ่ายมหายาน
มาถามหลวงพ่อชา เรื่องการปฏิบัติว่า

คนที่ปฏิบัติเพื่อเป็นอรหันต์
กับคนปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์
อันไหนจะดีกว่ากัน อันไหนสูงกว่ากัน

หลวงพ่อชาตอบว่า..

อย่าเป็นอะไรเลย
พระอรหันต์ก็อย่าเป็นเลย
พระโพธิสัตว์ก็อย่าเป็นเลย
แม้พระพุทธเจ้าก็อย่าเป็นเลย
เป็นอะไรแล้วก็ต้องเป็นทุกข์ทันที

หลวงปู่ชา สุภัทโท​ วัด​หนองป​่าพง







การทำบุญนี้ คนรวยที่ทำบุญแต่ละครั้ง ด้วยเงิน 1 ล้านบาท กับคนจนที่ทำบุญแต่ละครั้งด้วยเงินครั้งละ 10 บาทนั้น บุญกุศลและอานิสงส์แห่งบุญที่จะได้รับ เท่าเทียมกันหรือไม่

หลวงปู่
การทำบุญ ทำน้อยทำมากก็ดี ได้บุญเสมอกันหรือไม่ ข้อนี้ได้ตอบยาวเหยียดดังต่อไปนี้

ผู้ที่รวยเป็นล้านๆ แต่บริจาคทานเพื่อประชดแดกดันท่านผู้อื่น เพื่อโล่ห์อันนั้น เป็นเกียรติเป็นอำนาจ เพื่ออวดคน อันนี้บุญก็ไม่ได้มาก

ถ้าไม่มีเจตนาอย่างนั้น มีเจตนาทำเพื่อให้สมเกียรติของตนอันนี้ก็ได้บุญมากกว่าบ้าง

และการให้ทานอธิบายมาเรียกว่าทักขิณาวิสุทธิ 4

- ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
- ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
- ทักขิณาบางอย่างไม่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย
- ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย

ยกอุทาหรณ์อีก
- กล้าดี นาไม่ดี ก็พอได้รับผลบ้าง
- กล้าไม่ดี นาดี ก็ได้รับผลบ้าง
- นาไม่ดี กล้าไม่ดี ก็ไม่ได้รับผล (เลวมาก)
- นาก็ดี กล้าก็ดี นี้เป็นชั้น 1 มีผลมาก

เรื่องติณบาล ในครั้งพุทธกาล ของพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ชายคนหนึ่งเป็นคนยากไร้มาก ไม่มีวิชาจะทำอะไร มีผ้านุ่งผืนเดียว เอากาบไม้มาทำต่างเสื่อ แล้วเอาใบไม้มาปูอีกเพื่อให้พอนอนได้ เศรษฐีให้นอนเฝ้าสวนหญ้าคา เศรษฐีให้ข้าวกินวันละ 1 ทะนาน แล้วแกก็แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งไว้กิน ส่วนหนึ่งให้กระยาจกพวกขอทาน ส่วนหนึ่งใส่บาตรให้พระเณร เมื่อเศรษฐีได้ทราบก็ให้ขึ้นอีกเป็น 2 ทะนาน แกก็แบ่งอย่างนั้นอีก แล้วเศรษฐีให้ขึ้นอีกเป็น 3 ทะนาน แกก็แบ่งอย่างนั้นอีก

ครั้นอยู่มา เศรษฐีก็สร้างกฐิน อะไรก็ครบหมดในกฐิน ก็ยังเหลือแต่ด้ายจะเย็บผ้า ชายคนจนคนนั้นได้ทราบเข้า ก็นึกสังเวชตนเองว่า "ผ้านี้กว่าจะเป็นผืน ก็ต้องเย็บเสียก่อน เออ...ดีละทีนี้ เรามีโอกาสจะได้ทำบุญ จะไปขอเอากับเศรษฐีในส่วนด้ายนี้ จะรับรองหามาเอง ขอให้คนจนได้ทำบุญด้วย เพราะแต่ชาติก่อนๆ ชะรอยจะไม่ได้สร้างกุศลเลย จึงเกิดมาเป็นคนจนถึงเพียงนี้" ว่าแล้วก็เย็บใบไม้มานุ่งแทนผ้าผืนที่น้องอยู่ แล้วเอาไปซักให้สะอาด เสร็จแล้วก็พับเรียบร้อย เอาไปขายในตลาด

คงจะเป็นชายหนุ่ม เพราะหญิงสาวพูดล้อเล่นว่า "คุณพี่เอ๋ย ผ้าของคุณพี่นั้นทำไมถึงไม่นุ่งเล่า จะนุ่งใบตองทำไม ดูแล้วขี้เหร่เหลือเกิน" ที่นี้แกก็ตอบเขาว่า
"มันจะขี้เหร่แต่ชาตินี้ ชาติหน้ามันจะสวยดอกคุณน้องเอ๋ย คุณพี่ไม่โกรธดอก" ว่าแล้ว ก็เอาไปขายได้เงินมา 1 มาสก

ถ้าเทียบในปัจจุบันของเรา ก็คงจะเพียงราคาบาทเดียวเท่านั้น แกก็ไปซื้อด้ายมาในกองกฐิน พอแกเอาไปถวายร่วมกองกฐินแล้ว เศรษฐีก็ให้ผ้านุ่งอันสวยงาม
เทพบุตร เทวดา ก็บันลือในสรวงสวรรค์ ใครก็อยากจะมาซื้อเอากองบุญของแก แกก็บอกว่า "ธรรมดาบุญแล้ว ไม่เป็นหน้าที่จะซื้อขาย จะให้เท่าใดก็ไม่เอา" นี้พูดแบบย่อเกินไป ....
แล้วตอนสุดท้ายก็ได้เป็นเศรษฐีด้วยผลทานอันนั้น
เพราะเศรษฐีแบ่งมรดกให้ ด้วยอำนาจวาสนาผลบุญอันนั้นเอง

นี้อย่างไรเล่า ผู้เขียนเข้าใจว่า แกมีเจตนาดี เชื่อบุญและผลของบุญ เห็นโทษในตนที่ไม่ได้ให้ทานในชาติก่อนๆ โดยหวนคิดด้วยเจตนาอันคาดคะเน ศรัทธาแก่กล้าก็เชื่อผลบุญคนบาปอย่างเต็มภูมิ เพราะไม่ได้บริจาคทานเพื่อจะแข่งดีกับใคร และก็ไม่ได้อวดอ้างว่าเป็นผู้ใจถึง และพระที่รับทานนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย ส่อแสดงให้เห็นว่า กล้าก็ดี นาก็ดี ก็ได้รับผลมากดังนี้

คำว่ากล้า หมายถึงเจตนาผู้บริจาคบริสุทธิ์

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต










สติ ความระลึกได้เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องช่วยอุปการะให้มีปัญญา ถ้าบุคคลขาดสติเสียแล้ว สังขารย่อมปรุงแต่งจิต ให้เป็นจิตแห่งความโลภ จิตแห่งความโกรธ และจิตแห่งความหลง อันเป็นมูลเหตุในการพูด และการกระทำความชั่วทุกชนิดขึ้นมาในทันที

สติย่อมเกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติจึงมีหลายระดับขั้น ทั้งที่เป็นไปในการให้ทาน ในการรักษาศีล และในการอบรมความสงบของจิต กระทั่งก้าวไปสู่ “มหาสติ” ในการอบรมเจริญปัญญาให้เข้าใจถูก เห็นถูก ในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรม อันเป็นสภาพทุกข์ที่กำลังปรากฏ ซึ่งล้วนเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน พลันประจักษ์ความว่างจากตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ในทุกขณะ ปัญญาจะเกิดได้ จำเป็นต้องมีสติเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ดังนั้น การรู้แจ้งอริยสัจธรรม ดับกิเลสตามลำดับขั้น ต้องเป็นเรื่องของสติและปัญญาเท่านั้น ที่เป็นไปเพื่อการระลึกรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง

โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร







“เกลียดก็ทุกข์ โกรธก็ทุกข์
แล้วเราจะเกลียด จะโกรธ
ไปให้เราเป็นทุกข์ทำไม

คนที่เราเกลียด คนที่เราโกรธ
เขาไม่ทุกข์ไปกับเราหรอก
เราทำให้เราทุกข์เอง ทั้งสิ้น

แต่ถ้าเราปล่อยวาง ไม่สนใจเขา
ไม่รับรู้เรื่องเขา ใจเราก็ไม่หมกหมุ่น
กับเรื่องของเขาอีก เราก็ไม่ทุกข์
เพราะใจมันสงบ”

หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล





“...คำว่า “พระ” คืออะไร? หมายถึงคนที่โกนขน โกนคิ้ว ห่มผ้าเหลืองไหม? ก็เรียกว่าเป็นพระ แต่จิตอาจจะยังไม่ใช่ก็ได้ “พระ” ในความหมายของพระพุทธเจ้า มาจากคำว่า “วร” (วะ-ระ) แปลว่าสิ่งประเสริฐ อะไรล่ะที่จะทำให้คนเราประเสริฐ ก็จิตของตัวเอง จิตของเรามันดีขึ้นมา การกระทำของเรามันก็มาจากจิต จิตมันเป็นคนสั่งการ มันต้องคิดขึ้นมาเสียก่อน แล้วมันถึงจะทำลงไป พูดออกไป เพราะฉะนั้นถ้าใครควบคุมจิตได้ ทำจิตของตัวเองให้ดีขึ้นมาได้ จิตดีคือจิตมันสงบร่มเย็น จิตสุข จิตสบาย หรือที่พระพุทธเจ้าใช้คำว่า ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็นกลาง ๆ นั่นแหละ เป็นจิตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว...”

พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต วัดป่าภูไม้ฮาว จังหวัดมุกดาหาร









ธรรมะสำคัญกว่าวัตถุ

ในวันหนึ่งซึ่งเป็นฤดูหนาว และในวันนั้นบรรดาพระเถรานุเถระ พระภิกษุ สามเณร ได้เข้าไป กราบหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถรเป็นจำนวนมาก จนเต็มกุฏิ เพี่อขอรับฟังธรรมะภาคปฏิบัติจากหลวงปู่ ส่วนหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในสมัยนั้นเป็นสามเณร) และหมู่คณะซึ่งเป็นสามเณรด้วยกัน ไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปรับฟังธรรมะบนกุฏิได้ เนื่องจากมีเหตุสองประการคือ
๑. สถานที่นั่งมีไม่เพียงพอ ๒. สามเณร มีหน้าที่ถวายการอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระและพระอาคันตุกะที่มาสู่สถานที่ เพราะตามปกติแล้วสำนักปฏิบัติ หรีอวัดพระกรรมฐาน พอถึงตอนเย็นบรรดาสามเณรทั้งหลายก็ต้องพากันต้มยาสมุนไพร เพื่อถวายพระเถรานุเถระ และถวายครูบาอาจารย์เป็นประจำ ประจวบกับในตอนนั้นท่านกับพวกสามเณร ด้วยกันได้พากันต้มยาไว้ถวายครูบาอาจารย์หม้อหนึ่ง เมื่อได้ยินเสียงหลวงปู่มั่นเทศน์ธรรมะ ก็ได้พากันรีบมาฟัง

เมื่อมาถึงกุฏิหลวงปู่มั่น ก็ได้เห็นพระเถรานุเถระนั่งเต็มกุฏิไปหมด เห็นว่าไม่มีโอกาสจะขึ้นข้างบนไปฟังได้แล้ว จึงได้พากันหลบเข้าไปยีนฟังอยู่ในใต้ถุนกุฏิด้วยความตั้งอกตั้งใจ บางคำหรือบางตอนหลวงปู่พูดค่อยฟังได้ยินไม่ชัดเจน

พวกสามเณรก็พากันเขย่งเท้าเงี่ยหูฟังด้วยความกระหาย จิตใจจดจ่ออยู่กับกระแสเสียงแห่งธรรมะนั้น จนเสียงธรรมะนั้นไม่ได้ผ่านเข้าหู คือผ่านเข้าทางใจโดยตรงจนทำให้ลืมนึกถึงหม้อยาที่ได้พากันต้มเอาไว้ และลืมนึกถึงความเย็นยะเยือกของอากาศในฤดูหนาว ในตอนนั้นผ้าจีวรจะห่มคลุมกายก็ไม่ได้เอาไปด้วย สิ่งที่คลุมกายก็เพียงสบงกับผ้าอังสะเท่านั้น

ในวันนั้นหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ได้อธิบายธรรมะวิจิตรพิสดารมากกว่าทุกวัน ในระหว่างฟังธรรมะอยู่นั้น ก็มีเสียงซุบซิบให้ไปดูหม้อยาที่พากันต้มไว้ ต่างองค์ต่างก็เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา และแล้วเสียงนั้นก็เกี่ยงมาถึงสามเณรสมชาย แต่เนื่องด้วยกำลังใจจดใจจ่อกับการฟังธรรมะและมีความเสียดายใน ธรรมะกลัวว่าธรรมะจะขาดตอน จึงสงบนิ่งอยู่ไม่สนใจกับเรื่องหม้อยา และก็ยังคงนิ่งฟังอยู่ต่อไป แล้วก็มีเสียงบางองค์สอดขึ้นมาว่า

ถ้าคูรบาสมชายไม่ไป ครูบาต้องรับผิดชอบเรื่องหม้อยานะ ท่านก็ยังคงตั้งอกตั้งใจฟังต่อไปจนหลวงปู่มั่นเทศน์จบ เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เทศน์จบลงแล้ว สามเณรสมชายก็ได้รีบไปดูหม้อยาทันที แต่ปรากฏว่าน้ำยาที่ต้มไว้นั้นเหือด แห้งจนหม้อยาแตกก้นทะลุแลัวใช้การไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อหมู่คณะเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนี้ ต่างองค์ต่างก็พากันตำหนิติเตียนและกล่าวโทษว่าสามเณรสมชาย ทำให้ของ สงฆ์เสียหาย พระบางองค์ถึงกับด่าว่าจะลงโทษท่านก็มี เพราะความหวั่นเกรงต่อหลวงปู่มั่นจึงได้พากันโยนความผิดทั้งหมดมาให้ท่านรับแต่เพียงผู้เดียว

สามเณรสมชายท่านมีนิสัยเป็นลูกผู้ชายเต็มตัวอยู่แล้ว เมื่อผิดท่านก็ยอมรับผิดแต่โดยดี จะลงโทษสถานใดท่านก็ยอมทั้งนั้น

ขอแต่ได้มีโอกาสอยู่ฟัง ธรรมะจากหลวงปู่มั่นเท่านั้นก็เป็นที่พอใจแล้ว ด้วยกุศลเจตนาที่มีอยู่ประกอบด้วยบารมีธรรม จึงทำให้ท่านไม่หวั่นไหวต่อการตำหนิ หรือการลงโทษจากหมู่คณะครูบาอาจารย์ และท่านก็ไม่มีการพูดโต้เถียงหรือแถลงการณ์แก้ตัวใดๆ ทั้งนั้น นิ่ง เงียบ ยอมรับผิด ยอมรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนของครูบา อาจารย์อยู่ตลอดเวลา

ในขณะที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหม้อยาแตกชำรุดใช้การไม่ได้นั้น หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ก็เดินผ่านมาทางนั้นพอดี และได้มองเห็นหม้อยาก้นทะลุตั้งอยู่บนเตานั้น ลวงปู่ท่านจึงได้หัวเราะออกมาเบาๆ ซึ่งเป็นลักษณะเข้าใจความหมายและไม่ตำหนิกับการกระทำอันนั้น พร้อมกันนั้นหลวงปู่ท่านจึงได้ปรารภออกมาเบาๆว่าธรรมะดีกว่าวัตถุและหายากกว่าวัตถุ
ภายนอก คำพูดของหลวงปู่เพียงสองประโยคเท่านั้นก็ทำให้บรรยากาศที่กำลังตึงเครียดอยู่นั้นกลับจาก
หน้ามีอเป็นหลังมือ

ทุกองค์ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น ก็มีสีหน้าเบิกบานอย่างมอง เห็นได้ชัด สำหรับสามเณรสมชาย ท่านยิ่งมีความปลื้มปีติ และ มีความซาบซึ้งในคุณธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เพิ่มขึ้น เป็นทวีคูณมาก ที่หลวงปู่ท่านสามารถเข้าใจเจตนาของท่านได้ ถูกต้องและเป็นธรรมสมกับที่เขายกย่องสรรเสริญว่า เป็น พระอรหันต์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐจริง ๆ แต่ก็
ไม่รู้จะ อธิบายอย่างไร จึงจะเหมีอนความรู้สึกภายในได้

ที่มา ชีวประวัติ และ พระธรรมเทศนา
ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิญาณเถร
(พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย)






ไม่มีประโยชน์
ที่จะแสวงหา ออกไป นอกตัวเอง
ผลที่สุด ท่านต้อง หันกลับ
มาเผชิญหน้า กับสภาวะที่แท้จริง
ของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละ
ที่ท่านจะ เข้าใจธรรมะ ได้

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)








โอปนะยิโก เราต้องน้อมเข้า ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนเท่านั้น ใครเป็นผู้รู้เวทนา ใครเป็นผู้รู้สัญญา ใครเป็นผู้รู้สังขาร ใครเป็นผู้รู้วิญญาณ เราก็ต้องน้อมเข้ามา ใครว่าธาตุดิน ใครว่าธาตุน้ำ

ใครว่าธาตุลมและธาตุไฟ ผู้ไม่ได้เป็นพุทธะก็ไม่รู้อะไร เราจำแนกแจกออกไปแล้วก็เหลือแต่พุทธะคือผู้รู้ ดังนี้เราจึงจับตัวมันได้ ที่ไม่รู้จักอันใดนั้นเพราะมันคลุมเครือกันอยู่ ไม่รู้จะเอาอันใดเป็นสุข ไม่รู้จะเอาอันใดเป็นทุกข์

จะเอาอันใดดีจะเอาอันใดชั่ว มืดอยู่ยังงั้น นี่เรา นี่เราจำแนกแล้ว ส่วนใดเป็นธาตุดินมันก็เป็นดินไปแล้ว ส่วนใดเป็นธาตุน้ำมันก็เป็นน้ำลงไปแล้ว ส่วนใดเป็นลมก็เป็นลมไปแล้ว ส่วนใดเป็นไฟก็เห็นว่าเป็นไฟไปหมด ไฟเขาเป็นอะไร ดินเขาอะไร

เขาหลับเขานอนไหมล่ะ เขาเจ็บเขาปวดเขาเหนื่อยเขาหิวไหมล่ะ สิ่งเหล่านี้เราก็พิจารณาให้มันรู้ เพื่อกำจัดภัยกำจัดเวรกำจัดกิเลส ตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เราจึงจะไม่ยึดไม่ถือ

เมื่อเห็นแล้วจิตของเรามันก็วางก็ละน่ะซิ ให้ดูซิ น้ำเขาเป็นอะไรล่ะ ดินเขาเป็นอะไรล่ะ เขาเจ็บเขาปวดไหมล่ะ เขาหมุนเขาเวียนไหมล่ะ เขาไม่ได้ว่าอะไร เขาอยู่เฉย ๆ ยังงั้น นี่หล่ะก้อนขี้ดินหล่ะ นั่งอยู่คนละก้อน ก็มัวถือว่าเป็นคน ว่าเป็นตัว ว่าเป็นตน มันก็ทุกข์ล่ะซี เกิดวุ่นวายเกิดเดือดร้อนซี่ ไปสมสุติเอาว่าเราเป็นโรคว่าเราเป็นภัย ว่าเราเป็นโน่น ว่าเราเป็นนี่

เรื่องสมมุตินี่สัตว์ทั้งหลายจมอยู่ในมหาสมุทร จมอยู่ที่สมมุติเป็นนั่นเป็นนี่ หากเราจำแนกแจกออกแล้วมันก็ไม่มี จิตมันก็สงบน่ะซี พอจิตสงบแล้วมันก็หายหมดภัยหมดเวรทั้งหลาย เหลือแต่กรรม

เหตุนั้นจึงพากันดูให้รู้ อายตนะเป็นบ่อเกิดของสิ่งทั้งหลาย คือ ตา หู จมูก ตาเขาเป็นอะไร หูเขาเป็นอะไร จมูกเขาเป็นอะไร ลิ้นเขาเป็นอะไร กายเขาเป็นอะไร เขาไม่ได้เป็นอะไรซักอย่าง

ตาสำหรับดู หูสำหรับฟัง จมูกสำหรับดม เท่านั้นไม่ใช่เรอะ ลิ้นก็สำหรับรับรสอาหาร กายก็สำหรับสัมผัส ใจเป็นธรรมารมณ์ นี่แหละให้พิจารณา

นี่เป็นบ่อเกิดแห่งสุขและทุกข์ เขาว่าเห็นอย่างโน้นเห็นอย่างนี้ เราต้องน้อมเข้าไป เราไม่ว่าแล้วมีอะไรไหมล่ะ นี่จึงพาให้กันพิจารณา

จงเพ่งพิจารณาให้มันรู้มันเห็นซิ พอเราจำแนกแจกสิ่งเหล่านั้นแล้วจิตของเราก็เป็นหนึ่งอยู่ มันไม่มีคน ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีผู้ ไม่มีคน ไม่มีบ้าน ไม่มีเมือง ไม่มีอะไรซักอย่าง จิตมันก็วางหมดละ พอจิตมันว่างหมดแล้วก็ไม่มีอะไร ไม่มีภัย ไม่มีเวร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร







หาอยู่หากิน…หาตาย

การเบียดเบียนตัวเองนี่ ไม่ใช่ต้องฆ่าตัวตายหรอก เพราะความโกรธความโลภความหลงของเรามันฆ่าตัวเราเอง อย่างการทำงาน หาเงินหาทองนี่ วุ่นทั้งวันทั้งคืน นอนน้อยที่สุด อายุสั้น อุปโภคบริโภคโดยไม่มีประมาณ จึงทำให้ชีวิตสั้นลง ภาษาโลกๆ คือมันทุกข์เพราะความไม่พอของเขาเอง มีเท่าไรๆ ก็ไม่พออยู่นั้นเอง

เราจะเห็นในประวัติศาสตร์ต่างๆ มากมาย เป็นการสร้างภัย สร้างเวร สร้างกรรมขึ้นมา เมื่อรู้ก็สายเสียแล้ว แก้ไขไม่ได้ ทำมาเยอะแล้ว เลยไม่มีโอกาสแก้ ตายไปเปล่าๆ ไม่ได้อะไรแม้แต่ทรัพย์สมบัติที่มีเต็มบ้านเต็มเมือง ก็ไม่ได้อะไรซักอย่าง เศรษฐีตายหลายคนแล้ว เราไปทำงาน แม้แต่ฟันทองในปากเขาก็ยังไปงัดเอา เขาบอกพ่อแม่ให้เขาซะอีกแน่ะ

หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
วัดใหม่บ้านตาล บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร









การสร้างพระพุทธรูป
แล้วอุทิศแก่เจ้ากรรมนายเวร แก้กรรมหนักให้เป็นเบา หรือหมดเลยได้จริงไหมครับ

คนที่รับทำพิธีนี้ เขาให้ข้อคิดว่า มีการทำบุญอะไรล่ะ ที่จะดีกว่าการสร้างพระพุทธรูปให้คนกราบไหว้บูชา
หลวงปู่มีความเห็นอย่างไรครับ...
ที่เขาพูดจริงเท็จประการใด?

หลวงปู่
การสร้างพระพุทธรูป อุทิศแก่เจ้ากรรมนายเวร แก้กรรมหนักให้เป็นเบา หรือหมดเลยนั้น...

ส่วนแก้กรรมหนักให้เป็นเบาก็เป็นการยากอยู่....
เพราะไม่ได้ทำวัตร ขอขมาโทษกันตอนที่ต่างคนต่างมีชีวิตอยู่

ส่วนกุศลผลบุญนั้นได้อยู่ แต่ก็ไม่พอที่จะลบล้างได้

การที่จะลบล้างได้บ้าง ก็เพราะต่างคนต่างมีชีวิตให้อภัยกัน ในระหว่างคู่เวรกันยังไม่ตาย

ยกอุทาหรณ์ที่พระบรมศาสดา ขอความลดหย่อนเวรภัยต่อพระเทวทัต
เพราะพระเทวทัต โกรธผูกเวรแต่ครั้งสร้างบารมีอยู่ในปฐมฤกษ์ ส่วนพระเทวทัตนั้น ไปกำเอาดินทรายมาสองกำ ขอผูกเวรพระองค์เท่าเม็ดทรายสองกำ ที่กำอยู่
พระองค์วิงวอนว่า ขอให้วางเสียเถิดเพื่อน อย่าผูกเวรเลย แต่พระเทวทัต วางกำมือเดียว เหลือกำมือหนึ่ง ฉะนั้นเวรภัยทั้งหลาย จึงตามพระองค์มาหลายภพหลายชาติ ชนชาติสุดท้ายที่เข้าสู่พระนิพพาน

แต่ขอให้เข้าใจ ว่าพระเทวทัต เป็นคนพาลไม่สมฐานะที่จะผูกเวร เพราะพระองค์ไม่ได้ทำผิด
พระเทวทัต ทำผิดเองแล้วโกรธให้พระองค์

เรื่องคือ พระเทวทัตไปซื้อถาดทองเก่าเขา เข้าไปพบก่อน ไปเห็นถาดทองเก่าเขา แล้วเอาเหล็กไปกรีดดูก็รู้ว่าเป็นทองแท้ แต่โกหกเจ้าของเขาว่าเป็นของเก๊ แล้วตีราคาลงต่ำ แต่จะต้องเอาไว้นี่เสียก่อน แล้วแกก็ลาจากไป แกนึกในใจว่า เวลาขากลับจึงจะมาเอาแบบราคาถูกๆ

แต่อนิจจา เทวทัตผ่านไปนานพอควร ประมาณเข้าถึงกลางบ้านแล้ว พระโพธิสัตว์ก็หาซื้อทองด้วยเหมือนกัน มาเจอเข้าทีหลัง แต่เป็นวันเดียวกัน เขาบอกว่ามีทองเก่าใบเดียวนี่เอง มีชายคนหนึ่งไปห่างจากนี้พอสมควรแล้ว แต่คงอยู่ในบ้านนี้ เพราะยังไม่ทันข้ามวันข้ามคืน แกบอกว่าถาดทองใบนี้เป็นของเก๊

แล้วพระโพธิสัตว์ตอบว่า
"โอ้ ถาดทองใบนี้ เงินที่ข้าพเจ้าถือมาเดี๋ยวนี้นั้น ไม่ได้เสี้ยวถาดทองใบนี้เลย ถาดทองใบนี้เป็นถาดทองร้อยเปอร์เซ็นต์ เงินข้าพเจ้ามีอยู่เพียงเปอร์เซ็นต์เดียวเท่านั้น"

เจ้าของถาดทอง เมื่อได้ฟังแล้วเกิดสลดสังเวชมากนัก และเคารพพระโพธิสัตว์มากยิ่ง พร้อมทั้งรักด้วย จึงว่า "อ้ายตัวนั้น มันขี้โกง มันกดข่ม จะให้ท่านซะ ถึงมีเสี้ยวเดียวเราก็จะเอา เพราะเราเอาคุณธรรมของท่านที่ซื่อตรง"

ครั้นพระโพธิสัตว์ได้ถาดทองใบนั้นแล้ว ก็ออกไปนอกบ้าน จะไปทางอื่น พระเทวทัต (สมัยนั้นชื่ออะไรไม่ทราบ) พอกลับมาถึง ถาดทองใบซึ่งจะเอาแบบขี้เท็จ
เจ้าของเขาก็บอกว่าเป็นทองที่มีค่ามาก ผู้นั้นมีความสัตย์ซื่อ เราก็เอามูลค่าท่านเพียงเสี้ยวเดียว แล้วเทวทัต โกรธหน้าแดงหน้าดำ ถามว่าเธอคนนั้นออกไปทางไหน ออกไปตรงนี้แหละ คงพอใจแล้วไม่ไปถามที่อื่น พระเทวทัตก็ตามไปโดยด่วน ก็ไปเจอกันอยู่นอกบ้านไม่ไกลนัก แล้วก็ขอแบ่งส่วนด้วย มิหนำซ้ำจะไปแย่งเอามาเลย
พระโพธิสัตว์ไม่ยอมให้ จึงได้ผูกเวรดังกล่าวมาแล้ว

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต







หนึ่งเดียวคือพระพุทธเจ้า

"...ถ้าไม่พอใจก็คือแล้วไป ไม่ได้แคร์ใครนะลูกพ่อไม่ได้แคร์ใครนะ พ่อนี้หนึ่งเดียวคือพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์แค่นั้นนะลูก ไม่ได้แคร์กับใครใดๆในไตรโลกธาตุทั้งนั้นนะลูกนะ ถ้าผิดก็คือผิดไปเลย จะเป็นกาลกิณีก็เป็นไปเลย พ่อไม่ได้แคร์ เพราะว่าพ่อถือว่าพ่อเกิดมาคนเดียวก็ตายคนเดียว พ่อพาสร้างคุณงามความดีแล้วไม่พากันสร้างก็แล้วแต่ใจของใครของมันนั่น มันก็ลงตรงนั้น จะไปแคร์คนนั้นคนนี้ไปแคร์ทำไมเราเป็นครูเป็นบาเขา ไม่ใช่ว่าเขาเป็นครูเป็นบาเรา เราพาทำแล้วเขาไม่พอใจทำก็ไม่ต้องทำสิใช่ไหม ศิษย์พระเทวทัตก็ไปตามเทวทัตสิ นั่น พ่อก็เอาอย่างนั้นเป็นเครื่องวัด

นี่อย่าลืมว่าพ่อนะลูกนะพ่อไม่ได้แคร์ใครนะ ถ้าได้ลั่นวาจาก็คือแล้วไปเลยนั่นคือพ่อ ไม่พอใจมาก็ไม่ต้องมาพ่อไม่ได้อาราธนานิมนต์ใครนะลูกนะ เพียรพยายามเพื่อสร้างลูกพัฒนาลูกให้เป็นคนดี แต่ถ้าไม่เป็นคนดีก็คือแล้วไป มันก็หากเป็นของมันคือพ่อไม่แคร์ใครนะลูก นิสัยของพ่อนะลูกอย่าลืมนะ

พ่ออยู่เพื่อลูกนะ พ่อไม่ได้อยู่เพื่อพ่อนะ
พ่ออยู่เมื่อพ่อสอนลูกได้แค่นั้นนะ
พ่อสอนลูกไม่ได้พ่อก็ไม่อยู่นะ มันก็แค่นั้นเองมันจะมีอะไรล่ะ สู้ทุกข์สู้ยากร่วมกันมายังเป็นเปรตเป็นผีแล้วจะสอนคนอื่นเขาได้ยังไง เราก็ไม่มีภูมิที่จะสอนคนอื่นสิ เมื่อสอนคนอยู่ใกล้ไม่ได้ นี่พ่อก็เอานี่เป็นเครื่องวัด..."

พระธรรมเทศนา องค์หลวงปู่น้อย ญาณวโร
๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
วัดป่าห้วยริน






พุทโธ..
ที่ให้ภาวนา​ "พุทโธ" นั้น
เพราะพุทโธเป็นกิริยา
ของใจซึ่งเมื่อจิตภาวนา
พุทโธแล้วมันสงบวูบลงไป
นิ่ง สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน
พอหลังจากนั้น คำว่า
พุทโธมันก็หายไป
แล้วทำไมมันจึงหายไป..
#เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว
จิตกลายเป็นพุทธะ
ผู้รู้​ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้
เป็นพุทธะเกิดขึ้นในจิตของ
ท่านผู้ภาวนา

โอวาทธรรมคำสอน
หลวงปู่เสาร์_กันตสีโล







"อันความรักหรือที่รัก
เมื่อผู้ใดมีร้อยหนึ่ง ผู้นั้นก็มีทุกข์ร้อยหนึ่ง
รักเก้าสิบ แปดสิบ เจ็ดสิบ หกสิบ ห้าสิบ เป็นต้น
จำนวนทุกข์ก็มีเท่านั้น
ถึงแม้มีรักเพียงอย่างหนึ่ง ก็มีทุกข์อย่างหนึ่ง
ต่อเมื่อไม่มีรักจึงจะไม่มีทุกข์

...ผู้หมดรักหมดทุกข์นั้น พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า
'เป็นผู้ไม่มีโศก ไม่มีธุลีใจ ไม่มีคับแค้น' "

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก







“....เตือนตนด้วยตนเอง รู้ตนด้วยตนเอง แก้ไขด้วยตนเอง... ร่างกายภายนอก เกิดมาเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แก้ไขไม่ได้ แต่ใจ เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้...ด้วยการปฏิบัติ ทำใจให้สงบตั้งมั่น...ใจเป็นเพียงตัวรู้ มันไม่มีตัวตน ไม่มีเพศ ไม่มีเชื้อชาติ ไม่มีสมมติบัญญัติ...คนเราติดสมมติมันจึงไปยาก เวลามันสงบจริงๆ มันไม่มีสมมติอะไร มันมีแต่รู้ หามันให้เห็น ดูให้มันชัด รักษาให้ดี รักษาใจอันเดียว ก็คือรักษาศีลทั้งหมด ทำให้มันเป็นสัณทิฏฐิโก....”

หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก แสดงที่วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547








ผู้ใดเชื่อธรรม ผู้นั้นจะเจริญสมหวัง

ผู้ใดเชื่อกิเลสตัณหา
ผู้นั้นจะนับวันล่มจมไปเรื่อยๆ
จนจมมิดในที่สุด
ไม่มีใครและอะไรช่วยได้


หลวงปู่ขาว อนาลโย








พิจารณาความทุกข์ ความไม่เที่ยง อนัตตา พิจารณาไปเลย ให้มันเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆไป ให้มองเห็นชัดว่าสิ่งต่างๆไม่มีอะไรเป็นของเรา พิจารณาให้มันรู้ให้มันเห็นของสิ่งเหล่านี้ พิจารณาความทุกข์ พิจารณาความไม่เที่ยง พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรเป็นของๆเรา ส่วนมากไปเน้นหนักเรื่องวัตถุสมบัติ เรื่องวัตถุสมบัติที่มีอยู่ในตัวเองทั้งหมดที่เอาเป็นกรรมสิทธิ์ว่าสิ่งนี้เป็นของๆเรา หรือวัตถุอื่นที่มีวิญญาณครองหรือไม่มีก็ตาม เอาของสิ่งนี้มาพิจารณา การพิจารณาไม่ใช่พิจารณาให้มันรู้เฉยๆนะ ให้มันเห็นด้วย เมื่อพิจารณาไปแล้วดูจิตเราเองบ้างว่ามีความยินดีผูกพันไหม การพิจารณาไปพูดไปนั้นถูกไหม ถูกต้อง แต่ดูจิตตัวเองด้วย ถ้าจิตตัวเองยังมีความยินดีผูกพันกับของเหล่านี้อยู่ ถึงความรู้เราจะพิจารณาได้ถูกต้อง แม่นยำ คล่องแคล่วสักเท่าใดก็ตาม ก็ยังไม่เป็นประโยชน์กับตัวเรา เพราะจิตเรายังไม่ได้ถอน ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในส่วนลึกอยู่ ก็เอาเรื่องเก่านั่นหล่ะมาพิจารณาอีก พิจารณาซ้ำๆซากๆ ไปๆมาๆ หลายครั้งหลายหน มีการทบทวนดูตัวเองอยู่บ่อยๆ นี่คือพิ้นฐานครั้งพุทธกาลเขาทำกันอย่างงั้น

หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
ตอบกระทู้