...ใจเราคิดดี คือ “มองอะไรดีไปหมด” แต่ถ้าเรามองแล้ว เราไปวิพากษ์วิจารณ์ ไปเข้าข้างเขา หรือไปโกรธไปเกลียดเขา “ใจเรานั่นแหละ”เป็นคนที่รับกับความทุกข์ เขาไม่รู้เรื่องหรอก
. เพียงแต่เราดู แล้วเราก็ด่าเขาไปภายในใจ แล้วเราก็ร้อนขึ้นมาภายในใจ นี่เรียกว่า..”ใจคิดไม่ดี”
. ถ้าใจคิดดีแล้ว “ต้องคิดแบบปล่อยวาง” อะไรจะเกิดก็เกิด อะไรจะเป็นก็เป็น ใครจะทําอะไรก็เรื่องของเขา “เราดูแลใจเราอย่างเดียวพอ”. ........................................ . หนังสือธรรมะโดนใจ1หน้า25 ธรรมะในศาลา 18/11/2550 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
ให้เบิ่งเจ้าของ เร่งเข้าเด้ความเพียร ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันมอเข้าๆ แล้วเด้ อย่าไปย้านมันเลย ย้านตายนั่น เอามันโลด สังขารอันนี้ มันเป็นจังซั่นละ...
โอวาทธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร)
วิปัสสนากรรมฐาน มิใช่เป็นเรื่องของการนั่งหลับตา เพื่อให้เห็นภาพวิจิตรพิสดาร หรือเพื่ออิทธิฤทธิ์ใดๆ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นเรื่องของการศึกษาชีวิต เพื่อที่จะปลดเปลื้องความทุกข์นานาประการออกเสียจากชีวิต หรือปลดเปลื้องชีวิตออกเสียจากความทุกข์
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
มนุษย์มี_๒_แบบ แบบแรก_สะสมวัตถุต่างๆ เพื่อให้กายอยู่เย็นเป็นสุข แบบสอง_สะสมบุญกุศล ทั้งมีสร้างสมมาแต่ปางก่อน มาชาตินี้ นิสัยปัจจัยก็ตามมาอีก ความสะสมบุญนำสุขมาให้ "บุญกุศลที่ทำไว้แต่ชาติที่แล้ว ติดตามเรามาอยู่ บุญกุศลเป็น ของละเอียด ถ้าบุญกุศล ไม่รักษา จะไม่สุขเท่า บุญกุศลนั้นจะพร้อม ทุกอย่างทั้งสมบัติภายนอกและ สมบัติภายใน คนที่เกิดมาร่วมกัน ก็เคยสร้างสมบุญกุศลมาคล้ายๆ กัน" ถ้าสร้างสมบุญกุศลไว้มากๆ "ชาติหน้าชาติต่อไปก็จะดี หมั่นสะสมบุญกุศลไว้เรื่อยๆ เพราะว่านอกจากในความเป็น มนุษย์แล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้ ทำบุญทำกุศล มนุษย์สะสมอะไร ได้บ้าง สิ่งที่มนุษย์สะสมได้คือ การทำทาน - การรักษาศีล และ การเจริญเมตตา ภาวนา"
หลวงปู่จันทร์โสม_กิตติกาโร
"ธรรมะมีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ท่านได้เสียสละ ...เช่น ความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น พระองค์ท่านผู้มีคนยกย่องสรรเสริญ คอยปฎิบัติวัฎฐาก แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้ ถึงกับอดอาหาร เป็นต้น การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือ ธรรมะ เป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ อันเป็นสถานที่เงียบสงัด และได้ทรงพิจารณาถึงความจริง คือ อริยะสัจ 4 นี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า"
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
|