พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 07 ธ.ค. 2019 7:04 am
โอวาทธรรม เรื่อง "เสียงในใจตัวเอง"
เราจะโกรธ เราจะเกลียด หรือเราจะด่าใคร เราคนแรกที่ได้ยิน แม้เสียงกัมปนาท ฟ้าผ่าดังขนาดไหน ก็ไม่ดังเท่า เสียงกัมปนาทที่ดังใน " ใจ " ตัวเอง
เสียงในใจเราดังยิ่งกว่าเสียงใดๆ
เสียงในใจเรา ดังทั่วไปหมด ฟ้าดินสะเทือน แม้กระทั่งเทวบุตร เทวดาก็ได้ยิน
#เสียงฟ้ากัมปนายังดังไม่เท่าเสียงใจตัวเอง
หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
มารดาบิดาท่านว่า “เป็นพรหม”
(พระพุทธเจ้า)
ดูแลกันและกันให้ดี
เพราะ “ไม่มีวันนี้สองครั้ง”
(ว.วชิรเมธี)
ทำบุญกับพ่อแม่ทุกวัน
ดีกว่าไปทำ ๑๐๐ วัน ครั้งเดียว
(ว.วชิรเมธี)
พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี
วาระสุดท้ายของชีวิตคือ มีกรรมดี กับ กรรมชั่วเท่านั้น ที่จะติดตัวเราไป
โอวาทธรรม:องค์หลวงปู่บุญพิน กตฺปุญฺโญ
“โรคยา ปรมาลาภา” การมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
มีโยมคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก เดินค้ำไม้เท้าโดยมีภรรยาคอยประคองเข้าไปในกุฏิหลวงตา พอเข้าประตูกำลังก้มลงกราบ หลวงตาก็ทักว่า
หลวงตา “คนป่วยบ่นั่น”
ภรรยาคนป่วย “เจ้าค่ะ”
หลวงตา “หลวงปู่บุญมาเคยเทศน์ว่า ‘โรคยา ปรมาลาภา’ การมีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
คนส่วนใหญ่ในกุฏิต่างก็งงกัน โยมคนหนึ่งจึงถามขึ้นว่า “หลวงตาครับ อโรคยาปรมาลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ไม่ใช่หรือครับ”
หลวงตา “หากไม่มีโรค มันก็สุขสบาย อยากกินอะไรก็ได้กิน อยากไปเที่ยวไหนก็ได้ไป มันสุขสบายจนลืมภาวนา การเจ็บป่วยมันเป็นทุกข์ พอไปไหนมาไหนไม่ได้ก็ต้องฝึก พุท-โธ เพื่อให้หายจากทุกข์ นั่นแหละคือผลของการมีโรค คิดในแง่ดีมันก็ดี”
แล้วท่านก็หันหน้าไปทางผู้ป่วยคนนั้นและย้ำว่า “ไปเฮ็ดเอาเด้อ อย่าลืมเด้อ”
หลวงตาบุญหนา ธมฺมทินฺโน
"การปฏิบัตินี้อย่าสงสัยเลย อย่าประมาทนะ ทำไว้ได้น้อยหนึ่งก็ให้เอาเถิด พอใจเถิด เพราะเป็นจริงเฉพาะตน เป็นที่พึ่งเฉพาะตน ให้นึกถึงตัวเอง ใครเป็นผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย รูปนาม ชีวิตเป็นอยู่ มันมิใช่เรา อย่าเอาตัวเองไปสกปรกอยู่กับทุกข์"
แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
ใจเราตายไม่เป็น ใจเราเป็นอมตธาตุ
เวลาปฏิบัติลงไปถึงที่ จะมีเพียงจิตดวงเดียว
เอกายะโน เอยังมัคโค .. เป็นหนึ่งเดียวไม่มีสอง
ถ้าเราทำใจอย่างนี้ได้เป็นการภาวนา
ระงับทั้งโสมนัสและโทมนัสได้
ทุกอย่างจะระงับไปได้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
"...บางคนมีความโลภ โกรธ หลง อย่างแรงกล้า
ก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสนี้ได้...
พอพิจารณามรณสติ คือ การระลึกถึงความตายอยู่บ่อยๆ
ก็เกิดความสลดสังเวช เพราะว่าจนมันก็ตาย รวยมันก็ตาย
ดีมันก็ตาย ชั่วมันก็ตาย อะไร ๆ มันก็ตายหมดทั้งนั้น...."
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ธรรมะคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
พวกเรามองข้ามไปเสียหมด
อยู่ที่ตัวของเรานี้เอง มิใช่อื่น
พุทธะ คือ ผู้รู้
ก็ตัวของเรานี้เองมิใช่ใครอื่น
เช่นเดียวกันกับไข่
ไข่อยู่ข้างในของเปลือกของไข่
ทำให้เปลือกไข่แตก เราก็ได้ไข่
พิจารณาร่างกายของเราให้แตก
แล้วเราก็จะได้ธรรมะ
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
แค่นี้ยังทนไม่ได้ แล้วไปหวังอะไรในวันข้างหน้า
#อดทน #อดกลั้น #มุ่งมั่น #และรอคอย
คติธรรมหลวงพ่อประทวน อัตตทีโป
..ต้องถามตนเองว่าตนเองเกิดขึ้นมาทำอะไร...
..ควรแล้วพวกเราจะไม่หลงลืม มรณานุสติ คือ ความตาย ให้ระลึกถึงความตายอยู่บ่อยๆ อยู่ที่ไหนก็รีบขวนขวาย สร้างคุณงามความดีให้เกิดให้มีขึ้นแก่ตนเองได้ เราจะดูอะไรให้เข้าใจ ศึกษาธรรมะให้เข้าใจ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ตรัสไว้ให้พวกเรานี้เกิดมาเพื่อทำประโยชน์เท่านั้นเอง ไม่ได้เกิดขึ้นมาทำอะไร ต้องถามตนเองว่า ตนเองเกิดขึ้นมาทำอะไร ตนเองถาม..ให้รู้ให้เข้าใจ
..พระพุทธเจ้า ว่าเกิดขึ้นมาแล้ว ควรทำประโยชน์ ทำประโยชน์ให้ได้ประโยชน์ตนเอง จิตใจยังไม่สงบ ก็รีบฝึกฝนอบรมจิตใจของตน ตนเองไม่มีสติปัญญา ก็รีบศึกษาให้มีสติปัญญาเกิดขึ้นเพื่อจะให้รู้ดีรู้ชั่ว ให้รู้อะไรเป็นบาปนำความทุกข์มาให้ รู้อะไรเป็นบุญนำความสุขมาให้แก่ตน นี้เรียกว่า หัดเป็นคนฉลาด
..การเจริญมรณานุสติ ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดจะทำกิจการอันใด เช่น จะทำบุญ ก็รีบทำบุญ จะรักษาศีล ก็รีบรักษาศีล จะเจริญภาวนา ก็รีบตั้งใจเจริญภาวนา เพื่อให้จิตใจของตนเองสงบ จะได้ไม่ตายไปก่อน ที่จะได้สร้างคุณงามความดี หากบุคคลใดได้เจริญมรณานุสติ เวลาทำสมาธิจิตใจจะไม่ฟุ้งซ่าน สงบได้เร็ว เพราะได้ระลึกถึงความตายบ่อยๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นประโยชน์..
..โอวาทธรรมหลวงปู่เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป..
หัวใจตัวเอง...เราไม่เคยอบรมสักที แล้วมันจะเกิดสมาธิเกิดปัญญาได้อย่างไร เวลานั่งภาวนาก็คิดไปแต่เรื่องอื่น คิดไป กวนไปอยู่อย่างนั้น สติไม่เพียงพอแล้ว มันก็ไม่เกิดนะธรรมะ...วิ่งตามอารมณ์อยู่อย่างนั้น เวลานั่งลงปั๊บ ก็อยากเห็นสวรรค์อยากเห็นนิพพาน คาดหมายไปแล้ว โอ๊ย...ของเก่าทั้งนั้น หากบริกรรมบทใดก็ให้อยู่กับคำบริกรรมบทนั้นๆ หากจิตมันเกิดเป็นสมาธิ เกิดรวมลงได้แล้ว เออ...มันจะผุดขึ้นมาหรอกธรรมะน่ะ...เออ...มันจะเร่งเองหรอกความเพียร เดินจงกรมก็ไม่ได้บังคับมันยาก มันจะรื้อภพชาติที่เคยเกิดเคยตายมา เป็นสัตว์เดรัจฉานให้เขาตีอยู่ตุ้บๆอยู่อย่างนั้นก็มี โห...เกิดสลดสังเวชตัวเอง น้ำตาร่วงขณะภาวนาไปก็มี
โอวาทธรรม:องค์หลวงปู่ลี กุสลธโร
ความหมายของ “ปัญญา” ในพุทธศาสนา
.
“ ถ้ามีสิ่งที่เรียกว่า “ปัญญา” แล้ว จะต้องหมายถึงการมีความเห็นแจ้ง ท่านทั้งหลายจะใช้คำว่า “เข้าใจ” ก็ได้ แต่ต้องให้มีความหมายเป็นความเห็นแจ้ง คือเห็นด้วยปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง หรือใครจะใช้คำอื่น เช่นคำว่า “รู้แจ้ง” ก็ตามใจ แต่ต้องให้ได้ความหมายเต็มตามความหมายของพระพุทธเจ้า คือมีผลเป็นความรู้สึกเบื่อหน่าย สลดสังเวช ถอยหลังออกมาจากสิ่งทั้งปวงที่เคยหลงรัก หลงยึดถือ ถ้ายังรี่เข้าไปหาสิ่งทั้งปวงด้วยความรักความยึดถือ ความหลงใหลแล้ว ไม่ชื่อว่าเป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา
.
ถ้าเป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา จะชะงักหรือถอยหลังจากการหลงยึดถือในสิ่งทั้งปวง ที่ว่าจะชะงักหรือถอยหลังนี้เป็นทางจิตใจ ไม่ใช่ทางกิริยาอาการเช่นจะต้องจับสิ่งนั้นขว้างทิ้งหรือทุบตีให้แตกหัก หรือว่าจะต้องวิ่งหนีเข้าป่าไปอย่างนี้หาไม่ได้ แต่หมายถึงชะงักถอยหลังทางจิตใจโดยเฉพาะ คือมีจิตใจถอยออกจากการที่เคยตกเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง มาเป็นจิตที่อิสระ ผลของความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากสิ่งทั้งปวงเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ให้ไปฆ่าตัวตาย หรือไม่ใช่ให้วิ่งหนีเข้าป่าไปบวชเป็นฤาษี หรือว่าเอาไฟจุดเผาสิ่งต่างๆเสียให้หมดก็ไม่ใช่ ทางภายนอกจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเรื่อง ยังคงเป็นไปตามเหตุผล ตามความเหมาะสม แต่ภายในจิตใจนั้นย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของสิ่งใดอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป นี่แหละคือ อานิสงส์ของปัญญา แต่ท่านเรียกด้วยคำบาลีว่า “วิมุตติ” ท่านจงจำความหมายของคำว่า “วิมุตติ” ให้ดีๆ มีคนชอบพูดถึงกันนัก และเอามาล้อเลียนกันอย่างไม่เข้าใจความหมาย คำว่า “วิมุตติ” ต้องหมายความว่าหลุดจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะก็เป็นทาสของสิ่งที่เรารัก แต่แม้สิ่งที่เราไม่รักเราก็ตกเป็นทาสของมันเหมือนกัน ถ้ากล่าวตามโวหารธรรม เป็นทาสตรงที่ไปเกลียดมันนั่นเอง อยู่เฉยๆไม่ได้ ก็อุตส่าห์ไปเกลียดมัน ไปร้อนใจกับมัน มันบังคับเราได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับของที่เรารัก แต่อยู่ในลักษณะคนละอย่าง
.
ฉะนั้น คำว่าเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมหมายถึง ทั้งทางที่พอใจและไม่พอใจ ทั้งหมดนี้แสดงว่า เราหลุดออกจากการเป็นทาส ของสิ่งทั้งปวงมาเป็นอิสระ อยู่ได้ด้วยอำนาจของปัญญา พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ตรัสหลักไว้สั้นๆที่สุดว่า “ ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ ” แปลว่า คนเราบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยตรัสว่า บริสุทธิ์ได้ด้วยศีล ด้วยสมาธิ แต่ตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะมันทำให้หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง การไม่หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง หรือการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ไม่บริสุทธิ์ คือ สกปรกมืดมัว เร่าร้อน เมื่อหลุดออกมาจากอำนาจครอบงำของสิ่งทั้งปวงในโลกนี้หรือโลกไหนๆแล้ว ก็จะมีความบริสุทธิ์ สะอาด สว่างแจ่มแจ้ง และ สงบเย็น เป็นผลของปัญญา หรือเป็นลักษณะอาการที่แสดงว่าปัญญาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ของมันถึงที่สุดแล้ว”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยาย หัวข้อเรื่อง “ขั้นของการปฏิบัติในพุทธศาสนา” จากหนังสือ “คู่มือมนุษย์”
...สติคุมอารมณ์ก็คือ
"การคุมใจ คุมความคิด"
...ความคิด เป็นผู้สร้าง
อารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา
“ถ้ามีสติ เราหยุดความคิดได้ “
อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดจากความคิด
ก็จะสงบตัวลงไป .
.....................................
หนังสือสติธรรม หน้า16
ธรรมะบนเขา ณ เขาชีโอน
พระอาจาร์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
เรื่อง “พระโสดาบัน มี ๓ อย่าง”
โสดาบัน มี ๓ อย่าง
๑. เกิดอีกชาติเดียว เอกพีซี
๒. เกิดอีก ๒ ชาติ โกลัง โกละ
๓. เกิดอีก ๗ ชาติ สัตตัก ขัตตุ ปรมะ
ทำไมพระโสดาบันจึงมีชาติต่างกัน มีปัญหาเกิดขึ้นทำไมไม่เหมือนกัน เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน ทำไมมีชาติเร็วช้ากว่ากัน อันนี้อาตมาพิจารณาแบ่งตามพระป่า
๑.ประเภท เอกพีซี เกิดเพียงชาติเดียว นี่ท่านแก่กล้า เป็นปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาของท่านแก่กล้า
๒.ประเภทโกลัง โกละ เกิดอีกสองชาตินี่ ท่านแก่กล้าในทาง สัทธินทรีย์ มีศรัทธา
๓.ประเภทสัตตะ ขัตตุ เกิดอีก ๗ ชาติ ท่านแก่กล้าในทางวิริยินทรีย์ ความเพียร
คติธรรม หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ
" ผู้ที่เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน.
ไม่เบียดเบียนทำลายกัน.
ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปสู่สุคติในโลกสวรรค์.
ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน.
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์.
ธรรมก็สั่งสอนแล้ว ควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง.
จะเป็นผู้คงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน."
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.