...ความจริงก็ไม่ยากอะไร ยากที่การปฏิบัติหลักใหญ่ อยู่ที่ “ให้มีสติรู้อยู่กับตัวตลอดเวลา”
...ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ให้รู้อยู่กับการกระทำนั้นๆ “แต่ใจเราชอบแกว่งไปแกว่งมา”
... ไปทางโน้นที มาทางนี้ที ไม่ชอบอยู่กับตัว ไม่ชอบอยู่กับที่ “ไม่ชอบอยู่กับปัจจุบัน..อยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ “
...กายอยู่ตรงนี้ แต่ใจไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน ไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ ..“มันยากตรงนี้เอง”
...ถ้าสามารถดึงใจ ให้อยู่กับเราได้ตลอดเวลา “ก็จะควบคุมใจได้ “ ถ้าควบคุมใจได้..ก็ตัดปัญหาไปได้มาก. .................................. . จุลธรรมนำใจ10 กัณฑ์372 ธรรมะบนเขา 2/9/2550 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
เอากำไรจากคำด่าเขาดีกว่า หากเราด่ากลับก็แปลว่าใจต่ำเหมือนเขา รักษาความดีเราให้ลอยข้ามหัวเขาไปเลย
สติปัญญาจะว่องไวเวลาถูกกระทบนี่แหละ ถ้าเราเลวจริงจะต้องโกรธตอบเขาทำไม ถ้าเราไม่เป็นอย่างเขาว่าก็อย่าบ้าตามเขา
ดึงสติปัญญากลับมาแก้ไขพัฒนาตนเอง เดี๋ยวความสำเร็จของเราจะตอกกลับหน้าเขา โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายเขาเลยสักนิด
โอวาทธรรม : พระอาจารย์คม อภิวโร
“ผู้มีสติปัญญาย่อมหาความสุขสงบแก่ใจ ด้วยอภัยทาน”
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
"ถ้าเป็นเรื่องจริง เมื่อถึงเวลาที่ควรติ ก็ต้องติ เมื่อถึงเวลาที่ควรชม ก็ต้องชม
แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง ก็ไม่ควรพูดแท้
และแม้เป็นเรื่องจริง หากไม่ถึงเวลาที่ควรติ หรือชม ก็อย่าไปติหรือชม นิ่งเสียดีกว่า"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
อย่าไปตำหนิติโทษผู้อื่น ให้ติเจ้าของ.. ให้แก้เจ้าของเอง สิแก้จั๋งใด๋ก็ให้ฟ่าวแก้
หลวงปู่ศรี มหาวีโร
"..พระบ่ได้อยู่ที่หัวโล้นกับผ้าเหลืองเด้อ พระกะอยู่กับจิตใจผู้มีศีลมีธรรม บ่ว่าศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ด กะเป็นพระได้คือกัน ขั่นบ่มีศีลกะเป็นพระบ่ได้ เป็นได้แต่ผ้าเหลืองห่มตอเท่านั้น.."
คติธรรมหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
#ผู้ที่ไม่ได้ไปอินเดียก็บ่ต้องเสียใจ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
•กราบสามครั้ง ระลึกถึงสถานที่พระพุทธองค์ทรงประสูติ
•กราบสามครั้ง ระลึกสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
•กราบสามครั้ง ระลึกถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
•กราบสามครั้ง ระลึกถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน
•กราบอีกสามครั้ง กราบพุทโธ กราบธัมโม กราบสังโฆ
:: รวมกราบ15ครั้งเข้าใจบ่
:::หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร วัดถํ้าสหายธรรมจันทร์นิมิต อ.หนองแสง จ. อุดรธานี
#การบริกรรมภาวนาให้จิตอยู่_ณ_จุดเดียว #คือ_พุทโธ
เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาตามองค์ ฌาน ๕ คือ การนึกถึง พุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับ พุทโธ ไม่พรากจากไปเรียกว่า วิจารณ์ หลังจากนี้ ปิติ และ ความสุข ก็เกิดขึ้น...เมื่อ ปิติและความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปนนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่ง สว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ
ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปนนาจิต
ถ้าเรียกโดยสมาธิเรียกว่า อัปปนาสมาธิ
ถ้าเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน
#บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่_๕
จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ให้พิจารณา กายคตาสติ เรียกว่ากายคตาปฏิปทา โดยการพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนังโดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา
เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็น อสุภกรรมฐาน
และเมื่อได้พิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญ จนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว ให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อจิตรู้ว่าเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า ตามที่พูดกันว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี มีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น.
เมื่อเป็นเข่นนั้น จิตก็ย่อมรู้จักอำนาจของความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ไม่มีอะไรอัตตา ทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น
"ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่าเพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้น สมถกรรมฐานและในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติปฏิบัติความรู้ไปสู่ พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง...ถ้าหากมีอนิจจสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ทุกขสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา.."
"เมื่อฝึกฝนอบรมจิต ให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะของอสุภกรรมฐานโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ พิจารณาย้อนกลับไปกลับมาจิตจะค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป.."
#หลวงปู่เสาร์_กนฺตสีโล
พระอาจารย์วันชัย : หลวงพ่อเปลี่ยนอายุเท่าไหร่นะ
โยม : 84เจ้าค่ะ
พระอาจารย์วันชัย :หลวงพ่อประสิทธิ์หละ
โยม : จำไม่ได้ค่ะ
พระอาจารย์วันชัย : ยังไม่ถึง 80 มั้งคงยังไม่ถึง มาก็มาใกล้เคียงกัน เวลาไปก็ไปใกล้เคียงกันนะ ธุระอะไรมาทำเสร็จเรียบร้อยหมดธุระแล้วไปสบาย ทำประโยชน์ให้โลก ในส่วนที่เหลือก็แล้วกันไป จบภารกิจ ภารกิจอันเดียว ธุรกิจเดียว ทำเสร็จแล้วเสร็จเลยไม่ต้องมาซ้ำซาก ต้องไปทำอีกไหม ไม่มี ปฏิบัติต่อใจตนเองได้หมดจดแล้วเรียบร้อยแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำอีกแล้วหน้าที่เพื่อสิ่งนี้ไม่มีอีกแล้วจบจริง จบจริงๆพวกท่านถึงได้สบายเหลือเกิน จะเป็นจะอยู่จะเจ็บจะไข้จนกระทั่งถึงกำลังจะตายไม่มีปัญหาอะไร ดวงจิตของพวกเราไม่รู้จักจบจักสิ้นสักที. ทำแล้วเสร็จจริงๆมีอยู่อันเดียวเสร็จจริงๆเสร็จเรียบร้อยเลยสมบูรณ์แบบ ทำไม่จบแหม๋น่าเบื่อทำไม่เสร็จ ทำเสร็จแล้วก็ต้องมาทำใหม่ พวกท่านมาใกล้เคียงกันนะไปใกล้เคียงกัน จบภารกิจก็เป็นกลุ่มเป็นก้อนมาเลยต่างท่านต่างกับภารกิจแล้วไปสบาย ....................... พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต วัดป่าภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เทศน์ 17 กุมภาพันธ์ 2561 (เช้า)
|