นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 8:26 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อิริยาบท
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 22 ก.พ. 2020 5:40 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4805
...ถ้าเปรียบกับคนอื่น พวกเราก็ถือว่า
"ได้บำเพ็ญบุญมาพอสมควร"
ถึงใฝ่บุญ ใฝ่ภาวนากัน
สนใจฟังเทศน์ฟังธรรมกัน

...มีคนอีกมากที่ไม่เห็นคุณค่า
ไม่เข้าใจธรรมะว่า
มีคุณมีประโยชน์อย่างไร
มัวแต่แข่งหาชื่อเสียงกัน

...เป็นนักกีฬาก็แข่งหารางวัล
เป็นพ่อค้าก็แข่งทำมาหากิน
ให้บริษัทใหญ่โตขึ้นไปเรื่อยๆ
ไปทางนั้นกันหมด

...ไม่เคยคิดเลยว่า
มี"ประโยชน์อะไรกับจิตใจของตนบ้าง"
มองไม่เห็น เพราะจิตใจมืดบอด
ไม่เห็น..จิตใจ..ของตน
....................................
.
จุลธรรมนำใจ 9กัณฑ์ที่ 335
ธรรมะบนเขา 1/5/2550
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี






"สมัยนี้ไปวัดไหนมีแต่ จุดธูปจุดเทียน ถวายสังฆทาน กองสังฆทานเต็มไปหมด ท่วมพระ ท่วมเณร ฉะนั้นอยากจะให้เน้นหนักเรื่องปฏิบัติบูชา ทำสมาธิภาวนา รักษาจิตใจกันบ้าง ไม่ได้เสียสักบาท เก่งแต่ทานๆๆ ไม่สนใจถือศีล ปฏิบัติภาวนา ภพหน้าชาติหน้ามันจะใช้ได้หรือ..."

หลวงพ่อทองอินทร์ กตปุญโญ
วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) จ.ร้อยเอ็ด









#ธรรมอยู่ที่ใจนั่นแล

"ต่อไปท่านจงรักษาระดับจิต
ระดับความเพียรไว้ให้ดีอย่า
ให้เสื่อมได้ นั่นแลคือฐานของจิต
ฐานของธรรม ฐานของความเชื่อ
มั่นในธรรม และฐานแห่งมรรคผล
นิพพานอยู่ที่นั่นแล จงมั่นใจและ
เข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยาก
พ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ต้องพ้นที่นั่น
แน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น
อย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่
คนตาบอดพอจะลูบคลำ.. "

#พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ. สกลนคร
(พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)
#จากหนังสือชีวประวัติของ
#หลวงปู่ขาวอนาลโย
#โดยท่านพระอาจารย์มหาบัว_ญาณสัมโน













#การเลือกคู่ครอง

"การเลือกคู่ครองเพื่อหวังพึ่งเป็นพึ่งตายจริง ๆ ควรถือเป็นกรณีพิเศษกว่าสิ่งอื่นใด เพราะคู่ครองนั้นเป็นเหมือนกับใช้ลมหายใจและความเป็นอยู่ทุกด้านร่วมอันเดียวกัน ความสุข ทุกข์ น้อยมากย่อมเป็นสิ่งกระเทือนถึงกันทุกระยะ ผู้ได้คู่ครองที่ดี แม้ตัวจะต่ำบ้างทางฐานะความรู้ความฉลาด การประพฤติ จริตนิสัย แต่ก็ยังดีที่มีผู้คอยฉุดคอยลากคอยให้คติเตือนใจเสมอ และพาประพฤติดำเนินในกิจการต่าง ๆ ทั้งทางโลกอันเป็นเครื่องส่งเสริมครอบครัวให้มั่นคงและสงบสุข และทางธรรมซึ่งเป็นความดีงามแก่จิตใจ ตลอดการงานอย่างอื่นที่พลอยมีส่วนดีงามไปด้วย ไม่มืดมิดปิดตากำดำกำขาวไปถ่ายเดียว โดยหาความแน่นอนและรับรองผลไม่ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างดีด้วยกันก็เท่ากับต่างช่วยกันสร้างวิมานหลังใหญ่ในครอบครัว ให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันไปตลอดอวสาน ไม่มีการทะเลาะวิวาทถกเถียงกัน ครัวเรือนย่อมเป็นสุข ไม่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจมารบกวน เพราะต่างฝ่ายต่างสร้างสรรค์ ต่างฝ่ายต่างสำรวมระวัง ต่างฝ่ายต่างตั้งอยู่ในเหตุผลหลักธรรม ไม่ทำตามใจชอบที่ผิดจากหลักศีลธรรม อันเป็นหลักรับรองความร่มเย็นผาสุกต่อกัน คู่ครองแต่ละฝ่ายจึงเป็นผู้ช่วยกันสร้างกรรมดี ชั่ว สุข ทุกข์ บุญ บาป นรก สวรรค์เกี่ยวเนื่องกันแต่เริ่มต้นชีวิตร่วมกันเป็นต้นไปเหมือนลูกโซ่ ทั้งปัจจุบันชาตินี้ตลอดอนาคตของภพชาติต่อไป.."

#จากหนังสือชีวประวัติ
#พระอาจารย์มั่น_ภูริทัตตเถระ
#โดยท่านพระอาจารย์มหาบัว_ญาณสัมปันโน
#วัดเกษรศีลคุณ_วัดป่าบ้านตาด
จ.อุดรธานี​ (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๕๕๔)









การปฏิบัติธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้เราเป็นอิสระจากกิเลสได้ การทำบุญอย่างเดียวไม่ปฏิบัติ ถึงจะทำให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวอยู่ในใจบ้าง แต่มันไม่มั่นคง ลึกๆ แล้วเราจะยังอยู่ในสภาพเดิม คือเคว้งคว้างอยู่เหมือนเรือเล็กๆ กลางทะเลอันกว้างใหญ่ มีเข็มทิศก็ใช้ไม่ค่อยเป็น มีสมอก็ไม่รู้จักทอด เอาแต่ประดับประดาเรือก่อนอับปาง ชาวพุทธเราควรสนใจวิธีอุดรู วิธีวิดน้ำบ้าง จะได้เอาตัวรอดได้ หากไม่สนใจศึกษาเรื่องตัวเอง เข้าวัดแล้วสักแต่ว่าไหว้พระพอเป็นพิธี ทำบุญบำรุงวัดตามประเพณี แล้วออกไปชมต้นไม้บ้างก่อนกลับ ไม่ใช่ว่าไม่ดี ดีอยู่หรอก แต่ยังดีไม่พอ ศาสนา ธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องน้อมเข้ามาเป็นเครื่องชำระ

พระอาจารย์ชยสาโร









บรรดาสิ่งสมมุติ ที่เราไปยึดถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์
ของเรานั้น ก็จะได้เพียงชีวิตหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น
สามี ภรรรยา หรือสมบัติต่างๆ
เมื่อเราตายไป เราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์
ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้น
ติดตามไปสวรรค์ นรก หรือที่ไหนๆ ก็ไม่ได้
ตรงกับคำว่า... "สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก"

หลวงปู่คำดี ปภาโส











เรื่องภัยพิบัตินั้น ก็จะเกิดมีอยู่ อาตมาเห็นอยู่
แต่อาตมาไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นช่วงไหน
จึงขอเตือนให้ญาติโยมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ กันไว้
"คนที่ภาวนาพุทโธ แล้วจะรอดพ้นจากภัยพิบัติหรอครับหลวงปู่" (โยมถาม)
"เปล่า.. คนภาวนาพุทโธ ตายแล้วจะไปสู่สุคติ"

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป










อย่าลืมพุทโธ เฮานิ เดิน ยื่น นั่ง เมื่อยแล้วกะนอน พุทโธ พุทโธแล้วกะค้นกายแล้วกะเมตตาหลวง กลับไปกลับมายุนี่ละ

โอวาทธรรม หลวงปู่เบ็ง ฐิตธัมโม










แต่กี้เฮากะด่าอยู่ แต่สุมื้อมันมีแนวเบรค หยุดเจ่าของไว้ โตดีปานได่สิไปด่าเขามันกะคายออกเอง

โอวาทธรรม หลวงปู่ เบ็ง ฐิตธัมโม












"...การฝึกสมาธิ โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต..."

"...การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ เจริญพรหมวิหาร ๔ และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม

การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมเหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้คือ

- ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
- ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
- เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
- สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน

วิธีการเดินสมาธิหรือเดินจงกรม

เลือกสถานที่ยาวประมาณ ๕ เมตร ถึง ๑๐ เมตร แล้วแต่ความกว้างของสถานที่ และความรู้สึกพอดี บางทียาวนักก็ไม่ดี เหนื่อย บางครั้งสั้นไปก็ทำให้เวียนหัว หันหน้าไปทางเดินจงกรม แต่อย่ามองไกลเกินไป มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้าประมาณ ๔ ก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ไม่ใกล้เกินไป จนรู้สึกปวดต้นคอ มือซ้ายมาวางที่หน้าท้องและมือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่งขณะเดิน และดูสวยงาม

เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึกคำว่า “พุท” และเมื่อก้าวขาซ้ายไป ก็นึกคำว่า “โธ” เวลาเดินไม่หลับตาแต่ให้ลืมตา และกำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น เดินว่าพุทโธ ไปเรื่อย พอถึงปลายทาง เดินก็หยุดนิดหนึ่ง แล้วก็หันกลับด้านขวามือ มาทางเดิม และเดินว่าพุทโธ ต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก

สิ่งสำคัญคือ การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น เราควรทำอย่างน้อย ๓๐ นาที และจะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยนอิริยาบท ปล่อยอารมณ์ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสู่การนั่งสมาธิ

อิริยาบถนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบายๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง (อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรม “...พุทโธ...” จนกว่าจะเป็นเอกัคคตาจิต..."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot] และ บุคคลทั่วไป 85 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO